..มวลสารหลักในการจัดสร้าง ..สมเด็จวัดระฆังทั้งหมดรวมเซียนพระ.เรียก..อิฐแดง,กากดำ,กรวดเทา,ก้อนขาว,ทรายแก้ว....
1..อิฐแดง. หรือเม็ดแดง .หมายถึง..ชิ้นส่วนแตกหัก..ของพระเนื้อดินกรุทุ่งเศรษฐี..จังหวัดกำแพงเพชร คือพระซุ้มกอ หรือพระกำแพงเขย่งโบราณที่ชอบเรียกกันนั้นเอง..เจ้าประคุณสมเด็จได้เดินทางไปเปิดกรุเมื่อ ปีพ.ศ.2392 และท่านคงได้พระแตกหักจำนวนมาก.. ขนาด หรือสัณฐานที่ปรากฎ..เป็นชินเล็ก ๆ สีแดงคล้ายอิฐมอญก้อนเล็ก ๆ แตกกระจายออกเหมือนเศษอิฐ
2..กากดำ หมายถึง..ชื้น หรือก้อนถ่านของก้านธูป หรือแผ่นใบลานจารอักขะ และสูตรทางพุทธมนต์เผา..ลักษณะคล้าย ๆ เสี้ยนถ่านในแนวนอน กากดำนี้จะปรากฎให้เห็นมากกว่า อิฐแดง หรือเม็ดแดง
3..กรวดเทา หมายถึง ลักษณะของมวลสารคล้าย..เม็ดกรวด หรือเม็ดทรายเล็ก ๆ มักจะมีวรรณะเป็นสีเทาส่วนใหญ่..สัณนิฐานเป็นชิ้นส่วนของเปลือกหอยที่ไม่ย่อยสลายจากการเผา
4..ก้อนขาว หมายถึง หมายถึงผงพระสมเด็จ หรือผงกฤติยาคมนั้นเอง จะมีสีขาวขุ่น หรือสีน้ำตาลอ่อน..หากพระสมเด็จวัดระฆังองค์ใดมีผงพุทธคุณมาก..จะเป็นพระที่ดูง่าย และมีเสน่ห์ชวนส่องกล้องมาก ๆ
5..ทรายแก้ว หมายถึง..มวลสารหลักพระธาตุหยดน้ำค้าง..มีสีใสเหมือนแก้ว หรือสีชมพูอ่อน ๆ ทรายแก้วนี้หากพบเห็นในเนื้อพระสมเด็จจะเห็นเป็นแสงส่องประกายแวววาวเป็นพิเศษ..หากเห็นพระองค์ใดมีทรายแก้วอยู่ในเนื้อพระ..พระองค์นั้นก็จะปรากฎมีทรายแก้ว.เป็นจำนวนมาก..
เพิ่มเติม..พระสมเด็จวัดระฆัง..นอกจากมวลสารหลััก...5 ประการแล้ว..อาจปรากฎมวลสารต่าง ๆ ที่เกิดจากการสร้าง..เช่น
1. จุดสีขาวขุ่น มี ทั้งขนาดใหม่และเล็ก ขนาดเล็กตั้งแต่ปลายเข็มหมุดขนานใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเขียวก็เคยพบ มีปรากฏอยู่ทั่วไปในเนื้อพระละเอียดแน่นนอน และ เนื้อพระชนิดหยาบเนื้อไม่แน่นนอน สันนิษฐานว่าคือ เม็ดพระธาตุ และเปลือกหอย
2. จุดสีแดงหรือสีแดงอิฐ ตั้งแต่ ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นเศษพระเครื่องหักของ กำแพงเมืองเพรช สมัยที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ได้ไปเดินธุดงค์พบพระเนื้อดินหัก แต่ยังเต็มเปี่ยมไป ด้วยพระพุทธคุณ จึงนำมาสร้างพระเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และความขลังแก่พระสมเด็จ
3. จุดสีดำ มีขนาดเล็กก็คือ เกสรดอกไม้ เม็ดกล้วย ถ้าเป็นขนาดกลาง สันนิษฐานว่าเป็นผงถ่านใบลาน และถ้าเป็นลักษณะยาว สันนิษฐานว่าเป็นกานธูป
4. จุดสีเขียวคล้ายสีคราม มีลักษณะใหญ่เล็กแล้วแต่จะพบในองค์พระ สันนิษฐานว่าเป็นหินเขียวหรือ ตะไคร่ ใบเสมา
5. จุดสีน้ำตาลอ่อน และ น้ำตาลแก่ สันนิษฐานว่า คือเกสรดอกไม้แห้งนานาชนิด อาจเป็นดอกไม้108 (ดอกไม้ที่ใช้บูชาพระ)
6. เม็ดทรายเสกขนาดกลาง และขนาดเล็ก พบในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
7. เม็ดขาวขุ่นหรือพระธาตุ ส่วนมากจะพบกระจายอยู่ทั่วไปในองค์พระบางองค์ พบอยู่ด้านหลัง บางองค์ไม่พบ
8. ทองคำเปลว ที่ติดพระประธานในโบสถ์วัดระฆัง ใช้บดละเอียดผสมในเนื้อพระ
9. ผงวิเศษที่พบเป็นก้อน คล้ายกับก้อนดินสอพองก็คือ ผงวิเศษที่ได้จากผงอิทธิเจ ผงปัตถะมัง ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ ผงมหาราช
10. การยุบตัวของ เนื้อพระสมเด็จ เกิดจากปฎิกริยาการหดตัว แห้งตัว ยุบตัวของเศษอาหาร จึงทำให้ เนื้อพระยุบตัวลง ระยะเวลาและความร้อนของอากาศหลายๆปี ฤดูกาลธรรมชาติ
11. ที่แลเห็นพระบางองค์มีความมันบนองค์พระมาก เพราะว่าในเนื้อพระผสมนำมันตั้งอิ้วมากกว่าปกติ เนื้อพระชนิดนี้จึงหนึกนุ่มอยู่เสมอ ทำให้เนื้อพระเก่าได้ยาก
12. พระสมเด็จกับการลงรักปิดทอง พระสมเด็จวัดระฆังบางองค์มีการลงรักปิดทองไว้ แล้วในภายหลัง ได้ถูกล้างออก ซึ่งก็ทำให้สามารถดูเนื้อพระได้ง่ายขึ้น
13. คราบสีขาวบน องค์พระมักจะพบในพระสมเด็จวัดระฆังนั้นมี 2 นัย นัยแรกเกิดจากแป้งโรยพิมพ์พระ ในตอนสร้าง (สันนิษฐานว่าใช้แป้งขาวเจ้าผสมปูนขาว) นัยที่สองเกิดจากเชื้อราบางชนิดซึ่งเกิดขึ้นเนื่อง มาจากการเก่าเก็บไว้เป็นเวลานานซึ่งไม่มีผลทำให้ผิวพระเสียแต่อย่างใด ซี่งถ้าใช้นิ้วถูออกคราบสีขาว ก็จะหายไปและจะไม่มีผงฝุ่นสีขาวติดนิ้วเลย แต่ไม่ควรถูออกเพราะคราบสีขาวเป็นการแสดงความเก่า ความมีอายุอันยาวนานขององค์พระ
14. รอยปริแยกแตกบน ผิวพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัว หดตัวของเนื้อพระเนื่องจาก ความชื้นและอุณหภูมิในอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเนื้อพระมีส่วนผสมน้ำมันตังอิ้วที่เหมาะสมเป็นตัว ประสานเนื้อพระก็จะไม่พบลอยปริแตกบนผิว
15. กลิ่นหอมใน เนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ส่วนผสมมวลสารในเนื้อพระมีดอกไม้และ เกสรหลายชนิดรวมกัน รวมทั้งน้ำมันจันทน์ด้วย จึงทำให้พระสมเด็จมีกลิ่นหอม
16. รอยแตกลายงาบนผิวพระสมเด็จวัดระฆังเกิดจากการแห้งและหดตัวของผิวเนื้อพระ ชั้นนอกเร็วกว่า เนื้อพระชั้นใน พบได้ในองค์พระที่มีผิวระเอียดหนึกนุ่ม
หรือที่เคยพบเจอ...อีกเช่น
...ผ้าแพรสีเหลืองเข้าใจว่าเป็นผ้าแพรที่ถวายพระพุทธรูปแล้วเวลา เก่าหรือชำรุดแทนที่จะนำผ้าแพรที่ห่มพระพุทธรูปมีผู้คนกราบไหว้มากมายไปทิ้ง
...ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ได้นำผ้าแพรตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เอาดินสอลงอักขระเป็นอักษรไว้ แล้วผสมในมวลสารที่สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
...ชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ก้านธูปบูชาพระ สันนิษฐานว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ คงนำเอาสิ่งของที่บูชาพระทั้งหมดเมื่อกราบไหว้บูชาพระ แล้วก็ไม่ทิ้ง
...นำมาตัดหรือป่นกับเนื้อที่จะสร้างสมเด็จวัดระฆัง จะเห็นเป็นเศษไม้ลักษณะก้านธูปผสมอยู่ในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง กลายเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญยิ่งถ้ามีเศษธูปแล้วต้องเป็นสมเด็จวัดระฆัง
....เอกลักษณ์อันสำคัญที่สุดคือเม็ดเล็กๆมีผสมค่อนข้างมาก สีขาวออกเหลือง ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกว่า เม็ดพระธาตุ แต่คงไม่ใช่เม็ดพระธาตุเพราะถ้าเป็นเม็ดพระธาตุคงต้องใช้จำนวนมหาศาล เพราะพระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์จะมีเม็ดพระธาตุมาก จะไปเอาพระธาตุมาจากไหนมากมายมหาศาล
...จุดเม็ดพระธาตุนี้กลายเป็นจุดสำคัญของตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆัง ที่สำคัญที่สุด สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นปูนหินสีขาวๆเมื่อผสมกับน้ำมันตังอิ๊วจับตัวเป็นก้อน เมื่อตำผสมกับปูนขาวเปลือกหอยแล้ว ไม่กลืนกันภายหลังแยกกันเป็นเม็ดๆในเนื้อของสมเด็จวัดระฆัง
...แต่บางคนก็สันนิษฐานไปว่าอาจจะเป็นปูนขาวที่ปั้นพระบูชาตามโบสถ์ เสร็จแล้วทารักปิดทองให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชาเป็นร้อยเป็นพันปี
...บางครั้งปูนขาวพองขึ้นชำรุดเสียหาย จึงต้องลอกเอาปูนขาวออกปั้นด้วยปูนขาวใหม่ให้พระสมบูรณ์ เพื่อยืดอายุพระพุทธรูปบูชาในโบสถ์ให้มีอายุนับพันปี
...ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เห็นเป็นวัสดุบูชาที่ไม่ควรจะทิ้ง จึงนำมาตำผสมไว้ในมวลสารของพระสมเด็จวัดระฆัง มาจนถึงปัจจุบันอายุของพระสมเด็จวัดระฆังร้อยกว่าปี การหดตัวของมวลสารเกิดขึ้น
...วัสดุที่ต่างกัน อายุต่างกัน จึงหดตัวไม่เท่ากัน จึงเกิดรอยแยกตัวของรอบๆเม็ดพระธาตุอย่างสม่ำเสมอ เป็นตำนานอันสำคัญที่สุดในการดูพระสมเด็จวัดระฆัง แท้
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะนำดินสอพองมาเขียนเป็นตัวอักขระบนกระดานชนวน เสร็จแล้วก็ลบออก และเขียนอักขระใหม่แล้วก็ลบออกอีก นำเอาผงที่ลบออกมาเก็บเอาไว้ คนรุ่นเก่ารุ่นแก่เรียกว่า ผงอิทธิเจ นำมาผสมในพระสมเด็จวัดระฆัง
มวลสารต่างๆที่เป็นส่วนผสมที่สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน หรือถ้วยชามเบญจ รงค์ของไทย ปูนขาว
๒. หินอ่อน หรือ ศิลาธิคุณ
๓. ดินหลักเมือง ๗ หลัก
๔. ดินสอพอง
๕. ดินโปร่งเหลือง
๘. ข้าวสุก และอาหารสำรวม
๙. แป้งข้าวเหนียว
๑๐. กล้วยน้ำไทย
๑๑. ยางมะตูม
๑๒. น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อยเคี่ยว
๑๓. น้ำมันทัง
๑๔. ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธาน
๑๕. ผงใบลานเผา
๑๖. ดอกบัวสัตตบุษย์
๑๗. ดอกมะลิ
๑๘. ดอกกาหลง
๑๙. ยอดสวาท
๒๐. ยอดรักซ้อน
๒๑. ราชพฤกษ์
๒๒. พลูร่วมใจ
๒๓. พลูสองหาง
๒๔. กระแจะหอม
๒๕. ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด
บทความจากและ ศึกษาเพิ่มที่..
http://www.9pha.com/?cid=154716
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น