วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ห้องรวมรัก กรมเจ้าท่า

ห้องรวมรัก

อริยสัจ ...ที่ว่า
การเกิดมันเป็นทุกข์
ความแก่ก็เป็นทุกข์
ความป่วยไข้ไม่สบายก็เป็นทุกข์
ความ พลัดพรากจากของรัก ของชอบใจก็เป็นทุกข์
ความตายก็เป็นทุกข์....
" ถ้าเราจะเกิดอย่างนี้ อีกกี่ชาติ ก็จะมีทุกข์อย่างนี้ เมื่อเวลาใกล้จะตาย จิตอย่าลืมนิพพาน ต้องยึดไว้ทุกวัน นิพพานนี้ นึกให้เป็นอารมณ์ไปจนชินตัว นึกว่าถ้าตายจาก โลกนี้เมื่อไหร่ขอไปนิพพานเมื่อนั้นให้จิตเป็นฌานที่ เรียกว่า อุปสมานุสสติกรรมฐาน อย่างนี้ทุกคนจะไม่พลาดนิพพาน "

2010-02-27- ตั้งชื่อห้อง..เหมือน..เข้าเรด R หรือ X อย่างไรก็ไม่รู้.....อย่าเข้าใจผิดครับ..สารเคลือบผิวพระสมเด็จวัดระฆังนะ

รัก หรือยางรัก มีคุณลักษณะเป็นยางเหนียว สามารถเกาะจับพื้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ประสงค์จะทาหรือถมทับ หรือเคลือบผิวได้ดี มีคุณสมบัติที่ทำให้ผิวพื้นซึ่งทาหรือเคลือบรักเป็นผิวมันภายหลังรักแห้ง สนิท มีคุณภาพคงทนต่อ ความร้อน ความชื้น กรดหรือด่างอ่อนๆ และยังเป็นวัสดุที่ใช้เชื่อมสมก หรือสีเข้าด้วยกัน เชื่อมระหว่างผิวพื้นกับวัสดุ สำหรับตกแต่ง เช่น กระจกสี เปลือกหอย และยังใช้ผสมสีเข้าด้วยกันมาแต่โบราณกาล งานศิลปกรรมที่ประกอบด้วย รักลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามที่กล่าวมานี้ เรียกว่า "เครื่องรัก" หรือ "งานเครื่องรัก"
"รัก" เป็นชื่อยางไม้ชนิดหนึ่งเป็นวัสดุที่ได้จาก "ต้นรัก" [lac tree (ภาษาพฤกษศาสตร์ ; melanorrhoea usitata)] คือต้นไม้ยืนต้นขนาดย่อม การนำยางรักจากต้นรักมาใช้ ทำด้วยการกรีดหรือสับด้วยมีดที่ลำต้นรักให้เป็น รอยยาวๆ ยางรักจะไหลออกมาตามรอยที่กรีดหรือสับนั้น นำภาชนะเข้ารองรับน้ำยางรักเป็นคราวๆ เก็บรวบรวมไว้ ใช้งานตามขนาดที่ต้องการ ยางรักนี้บางแห่งเรียกว่า "น้ำเกลี้ยง" หรือ "รักน้ำเกลี้ยง" ก็มี "รักหรือยางรัก" แต่ละชนิดที่ช่างรักใช้ประกอบงานเครื่องรัก มีคุณลักษณะดังนี้
รักดิบ คือยางรักสดที่ได้จากการกรีดหรือสับจากต้นรัก ลักษณะเป็นของเหลวสีขาว เมื่อทิ้งไว้สักระยะหนึ่งจะ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ รักดิบนี้จะต้องผ่านการกรองให้ปราศจากสิ่งสกปรกปะปน และจะต้องได้รับการขับน้ำที่เจืออยู่ตามธรรมชาติใยยางให้ระเหยออกตามสมควร ก่อน จึงนำไปใช้ประกอบงาน เครื่องรัก
รักน้ำเกลี้ยง คือรักดิบที่ผ่านการกรองและได้รับการขับน้ำเรียบร้อยแล้ว เป็นน้ำยางรักบริสุทธิ์จึงเรียกว่า "รักน้ำเกลี้ยง" เป็นวัสดุพื้นฐานในการประกอบงานเครื่องรักชนิดต่างๆ เช่น ผสมสมุก ถมพื้นทาผิว
รักสมุก คือรักน้ำเกลี้ยงผสมกับ "สมุก" มีลักษณะเป็นของเหลวค่อนข้างข้น ใช้สำหรับอุดแนวทางลงพื้นและ ถมพื้น
รักเกลี่ย คือรักน้ำเกลี้ยงผสมกับสมุกถ่านใบตองแห้งป่น บางทีเรียกว่า "สมุกดิบ" ใช้เฉพาะงาน อุดรูยาร่อง ยาแนวบนพื้นก่อนทารักสำหรับปิดทองคำเปลว
รักเช็ด คือรักน้ำเกลี้ยง นำมาเคี่ยวบนไฟอ่อนๆ เพื่อไล่น้ำให้ระเหยออกมากที่สุด จนได้เนื้อรักข้นและเหนียว จัด สำหรับใช้แตะ ทา หรือเช็ดลงบนพื้นแต่บางๆ เพื่อปิดทองคำเปลว หรือทำชักเงาผิวหน้างานเครื่องรัก
รักใส คือรักน้ำเกลี้ยงที่ผ่านกรรมวิธีสกัดให้สีอ่อนจากและเนื้อโปร่งใสกว่ารักน้ำเกลี้ยง สำหรับใช้ผสม สีต่างๆ ให้เป็นรักสี
รักแต่ละชนิดดังที่ได้แนะทำให้ทราบนี้ล้วนมีที่มาจาก "รักดิบ" อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น รักแต่ละชนิดจะมีคุณภาพ มากหรือน้อยก็ดี นำมาประกอบงานเครื่องรักแล้วจะได้งานที่ดี มีความคงทนถาวรเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ พื้นฐานของรักดิบ ที่ช่างรักรู้จักเลือกรักดิบที่มีคุณภาพดีมาใช้
ในงานช่างรัก ยังมีวัสดุบางชนิดที่ควรอธิบายควบคู่กัน เนื่องด้วยเป็นวัสดุที่มีบทบาทสำคัญยิ่งสิ่งหนึ่งสำหรับ ประกอบงานเครื่องรัก คือ "สมุก"
"สมุก" เป็นวัสดุที่ลักษณะเป็นผง หรือป่นเป็นฝุ่น สมุกที่ใช้ในงานเครื่องรักแบบไทยประเพณีอย่างโบราณวิธี มีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิด ดังนี้
สมุกอ่อน สมุกชนิดนี้ ได้แก่ ผงดินสอพอง ผงดินเหนียว เลือดหมูก้อน อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมกับรักน้ำเกลี้ยงตีให้เป็นเนื้อเดียวกันให้ทารองพื้นที่ต้องการรองพื้น บางๆ และเรียบ
สมุกแข็ง ได้แก่ ผงถ่านใบตองแห้ง ผงถ่านหญ้าคา ผงปูนขาวอย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมกับรักน้ำเกลี้ยงตีให้ เป็นเนื้อเดียวกัน ใช้ทารองพื้นที่ต้องการรองพื้นหนาและแข็งมาก
งานของช่างรักที่เกี่ยวข้องกับงานประเภทประณีตศิลป ประเภทมัณฑนศิลป และประเภทวิจิตรศิลปที่ได้รับ การสร้างสรรค์ด้วยระเบียบวิธีของช่างรักอย่างโบราณวิธีมีอยู่มากหลายลักษณะ ด้วยกัน ได้เลือกเอางานช่างรักที่มี ลักษณะสำคัญในด้านรูปแบบที่แสดงออกลักษณะการตกแต่งแบบไทยประเพณีโดยแท้มา แสดงให้ทราบต่อไปนี้
งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว
งานช่างประดับกระจก
งานช่างประดับมุก

งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว

งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว หรืออย่างที่คนส่วนมากเรียกสั้นๆ ว่า "ลงรักปิดทอง" คือกระบวนการตกแต่ง ผิวภายนอกของศิลปวัตถุหรือองค์ประกอบสำหรับงานสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณีด้วย การลงรักหรือทายางรัก แล้วปิดด้วยทองคำเปลวทับทำให้ผิวของศิลปวัตถุหรือองค์ประกอบสำหรับงาน สถาปัตยกรรมบางสิ่ง เป็นสีทองดำ เหลืองอร่ามและเป็นมันวาวเหมือนหนึ่งว่าทำด้วยทองคำอันเป็นความเชื่อโดยขนบ นิยมในสังคมไทยมาแต่โบราณกาล
งานช่างลงรักปิดทองคำเปลวได้ทำการที่เป็นงานปิดทองเป็น ๔ ลักษณะงานด้วยกัน คือ
งานลงรักปิดทองทึบ
งานลงรักปิดทองร่องชาด
งานลงรักปิดทองร่องกระจก
งานลงรักปิดทองลายฉลุ

การ ลงรักในพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า จะไม่มีการปิดทองเลย ถ้าพบพิมพ์ที่มีการปิดทองมาแต่เดิมส่วนมากมักจะเป็นพระสมเด็จชนิดพิเศษ นอกจากนั้นยังมีการลงรักพม่าหรือเมียนมาร์ซึ่งจะเป็นสีน้ำเงิน

พระพิมพ์ที่สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า...ส่วนใหญ่จะมีการลงรักสองชั้นคือ ลงรักชาดสีแดง ทับด้วยรักสมุกสีดำโดยจะลงทั้งด้านหน้าและด้านหลังเนื้อรักเท่ากันและที่ขอบทั้งสี่ด้าน การลงรักไม่สวยลงเพียงหยาบๆ และรักมักลบเลือนบางไปตามเวลา ไม่ร่อนกะเทาะ เพราะความหนาของรักไม่มาก ส่วนที่ลงรักหนาก็มีอยู่บ้าง ส่วนมากจะเป็นรักสมุกชั้นเดียวลงโดยฝีมือช่างรัก ซึ่งพบน้อยมาก
รักจีน...รักจุ่ม
2010-03-28 -รักจีน...รักจุ่ม...รู้ไหมว่า..พระสมเด็จวัดระฆัง..ช่างทารัก...หรือจุ่มรักเอ่ย...

...... ห้องนี้เปิดให้ชมรักจีนล้วน ๆ ..การลงรักเพื่อรักษาเนื้อผิวขององค์พระสมเด็จวัดระฆัง.เพื่อให้อายุการเก็บ รักษาพระไว้คงทน และยืนยาว การลงรักพระสมเด็จวัดระฆัง..เป็นการจุ่มรัก..มิใช่การทารัก..หลักฐานที่ปราก ฎนั้น...จะเกิดรักหนา บริเวณด้านหน้าองค์พระ..เท่านั้น..ส่วนด้านหลังจะปรากฎเนื้อรักบาง ๆ หรือเป็นเพียงการปาดเนื้อรักออก..อาจทำให้เกิดการเลอะเทอะบ้าง..แต่ไม่ได้ เป็นการตั้งใจในการลงรักด้านหลังแต่ประัการใด.ซึ่งต่างกับการลงรักของพระ สมเด็จวังหน้า...วังหลัง...กรมท่า...

(อ่านห้องรวมรัก..นะครับ..)
ดูการลงรักจีน..เต็ม ๆ

มีความสุขแล้ว.....เดี๋ยวเงินทองมาเอง....อย่าเครียดนะครับ...

บทความจาก และศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ .....
http://www.9pha.com//?cid=663741

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น