วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการสร้างสมเด็จ วัดระฆัง ปี 36


พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่นเสาร์ห้า ปี 2536

นับแต่โบราณกาลมา วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ถือกันว่าเป็นวันที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพลังอำนาจโดยธรรมชาติ ซึ่งในรอบหลายๆปี จึงจะเวียนมาบรรจบสักครั้ง โบราณจารย์ จึงนิยมใช้เป็นวันมหามงคลฤกษ์ ทำการปลุกเษกวัตถุมงคลให้เข้มขลังด้วยพระพุทธคุณ ทางวัดระฆังโฆสิตาราม จึงได้สร้างสมเด็จเสาร์ห้าขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ตรงกับวันทางจันทรคติของไทยคือ วันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีระกา จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๕๔ คณาจารย์จากทั่วประเทศ นั่งปรกปลุกเศก ณ.พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม (จากข้อมูลในหนังสือ ของดีวัดระฆัง) หลังจากที่ทางวัด เปิดให้ประชาชนเช่าบูชา ได้หมดลงในเวลาอันรวดเร็ว และเป็นที่ต้องการของผู้เลื่อมใสศรัทธา เป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีผู้นำไปบูชามีประสบการณ์ดีครับ
http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0221

สมเด็จ วัดระฆัง ปี 23 33



ประวัติการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น 108 ปี แห่งการมรณภาพเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม ปี 2523

กำลังจัดทำ

เนื่องในโอกาสแห่งวันคล้ายวันมรณภาพของเจ้าประคุณ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํงสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร บรรจบครบ 108 ปี ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2523

ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ผู้มีความเคารพในเจ้าประคุณสมเด็จเห็นควรว่านอกจากการบำเพ็ญกุศลถวายตามประเพณีดังเช่นที่เคยกระทำกันมาทุกปีแล้ว ควรจัดสร้างถาวรวัตถุอันมีประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อเป็นอนุสรณ์ เป็นเครื่องรำลึกถึงเจ้าประคุณตลอดกาล

การจัดสร้างอนุสรณ์ถาวรวัตถุที่อำนวยประโยชน์ต่อส่วนรวมก็คือ ห้องสมุด อันจะเป็นวิทยาทานทั้งแต่บรรพชิตและประชาชน มีประโยชน์ทั้งในทางพระศาสนาและชาติบ้านเมือง

ประกอบกับขณะนั้นทางวัดเองก็กำลังทำการบูรณะพระอาราม และบูรณะหอพระไตรปิฎกอย่างวิจิตรบรรจง เป็นที่ทราบกันว่าหอพระไตรปิฎกของวัดระฆังนั้นมีความสำคัญทั้งทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมของชาติ ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมาก

การที่จะหาทุนทรัพย์เป็นจำนวนมาก ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาได้มีส่วนร่วมในการบูรณปฏิสังขรณ์ด้วย จึงจัดสร้างปูชนียวัตถุมงคลขึ้นเป็นอนุสรณ์ครบรอบ 108 ปี แห่งวันมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จ ให้ประชาชนทั่วไปได้บูชา และนำรายได้มาดำเนินการจนสำเร็จลุล่วงทุกประการ

การดำเนินการจัดสร้างปูชนียวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ 108 ปี กระทำเป็นพิธีมหาพุทธาภิเษก เป็นพิธีใหญ่โตเช่นเดียวกับเมื่อคราวครบรอบ 100 ปี

ปูชนียวัตถุมงคลทุกอย่างจัดสร้างเฉพาะเท่าที่มีผู้สั่งจองเท่านั้น จึงมีจำนวนไม่มากนัก

พิธีมหาพุทธาภิเษก กระทำในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม โดยนิมนต์พระคณาจารย์จากทั่วประเทศมานั่งปรกปลุกเสก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2523

ปูชนียวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ 108 ปี มีทั้งพระบูชาพระประธานจำลอง พระบูชารูปเหมือนสมเด็จ พระเครื่องพระประธานจำลอง พระเครื่องรูปเหมือนสมเด็จ พระเนื้อผง และเหรียญรูปเหมือนสมเด็จที่จัดสร้างโดยโรงกษาปณ์

http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0231
ประวัติการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ 118 ปี สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมํรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม พุทธาภิเษก 22 มิถุนายน 2533
เนื่องในวันที่ 22 มิถุนายน พุทธศักราช 2533 อันเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมํรังสี) ครบรอบ 118 ปี ซึ่งมาถึงอีกครั้งหนึ่ง คณะกรรมการวัดระฆังโฆสิตารามพร้อมด้วยบรรพชิตและฆราวาสมีความประสงค์พ้องต้องกันว่า จะจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นอนุสรณ์ครบรอบวันคล้ายวันมรณภาพของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมํรังสี) ซึ่งเวียนมาบรรจบครบ 118 ปีในครานี้

ทั้งนี้ปัจจัยที่ได้นำไปใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับกิจการงานต่าง ๆ ของมูลนิธิเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) บูรณะศาลาการเปรียญของวัดซึ่งเป็นโบราณสถานของชาติแห่งหนึ่งให้คงสภาพเดิม และจัดสร้างศาลาศาลาเอนกประสงค์เพื่อเป็นถาวรวัตถุรำลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)

วัตถุมงคลรุ่นอนุสรณ์ 118 ปี สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ซึ่งจัดสร้างขึ้นในครานี้มีด้วยกันหลายลักษณะดังเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งพระพุทธรูปบูชา พระรูปเหมือนขนาดบูชา พระรูปเหมือน รูปเหมือนหยดน้ำ พระผงลักษณะต่าง ๆ และเหรียญปั๊ม เป็นต้น

การจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นอนุสรณ์ 118 ปี กระทำเป็นพิธีใหญ่ดั่งเช่นทุกครั้งที่ผ่านมาทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย และประธานนั่งปรกเจริญภาวนาประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ร่วมกับคณาจารย์ทั่วประเทศกว่า 118 รูป ภายในอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2533

http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0221

สมเด็จ วัดระฆัง ปี 15


พระสมเด็จวัดระฆังฯ รุ่นอนุสรณ์ 100 ปี สมเด็จพุฒาจารย์โต

- สร้างโดย : วัดระฆังโฆษิตาราม

- อายุการสร้าง : วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515

- มวลสารสำคัญ : ผงเก่าสมเด็จวัดระฆังฯ. ผงเก่าสมเด็จวัดบางขุนพรหม, ผงเก่าสมเด็จวัดเกศไชโย, ผงสม

เด็จปิลันทร์ ฯลฯ พระสมเด็จรุ่นอนุสรณ์ 100 ปีนั้น ถือว่าเป็นพระสมเด็จยุคที่ 2 ของวัดระฆังฯ ได้เลยครับ ที่มี

อายุการสร้างเตรียมจัดเข้าทำเนียบพระเก่าได้เลย โดยมีพิธีการสร้างครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การ

สร้างพระของวัด ระฆังฯ ก็ว่าได้เพราะเป็นการจัดงานบำเพ็ญกุศลครบรอบ 100 ปี การมรณะภาพของสมเด็จ

พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อครั้งปี พ.ศ.2415 โดยมีในหลวงและพระราชินีเสด็จพระราชดำเนินมาทรง

เป็นองค์ประธานทั้งสองคราว

ครั้งที่1 เสด็จพระราชดำเนินมาเททองหล่อพระบูชาจำลององค์พระประธานและรูปหล่อรูปเหมือน เจ้าประคุณ

สมเด็จฯ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2514

ครั้งที่2 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกและวางศิลาฤกษ์อาคารโรงเรียน พระ

ปริยัติธรรมเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2515

มีพระคณาจารย์ชื่อดังในยุดนั้นทั่วฟ้าเมืองไทย อาทิเช่น หลวงพ่อเนื่อง หลวงพ่อเต๋ หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อแพ

หลวงปู่เทียม หลวงพ่อเส่ง หลวงพ่อมุม และพระคณาจารย์ชื่อดังอีกกว่าร้อยรูป ร่วมพิธีปลุกเสก การกดพิมพ์

พระนั้นทางวัดกำชับให้จัดทำขึ้นภายในวัดทุกขั้นตอน และเข้าพิธีในคราวเดียวกันทั้งหมด จึงไม่มีพระเสริมที่

ไม่ได้ผ่านพิธี พิมพ์พระเนื้อผงจัดทำขึ้นทั้งหมด 4 พิมพ์ ได้แก่

- พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (พิมพ์ใหญ่)

- พิมพ์รูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

- พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น

- พิมพ์รูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งพบเห็นได้น้อยมาก

สมเด็จบางขุนพรหม ปี 15 17 และ 31



โดยส่วนตัวผมชอบพระสมเด็จฯ (ไม่ระบุวัด) เนื่องจาก หากพิจารณาถึงลายเส้นขององค์พระแล้ว ผมจัดให้อยู่ในการออกแบบในรูปแบบ Minimalism (ออกแบบโดยมีรายละเอียดน้อย ไม่มีเส้นที่วุ่นวาย เนี้ยบ กริบ) โดยองค์พระเองใช้เส้นเพียง 7 เส้นเท่านั้น (ฐาน 3, ขา 1, ตัว 1, แขน 1, เศียร 1) รายละเอียดน้อยแต่ใช้จินตนาการเยอะ ดูสวยและสมดุล หนักแน่นแต่อ่อนโยน ดูแล้วประทับใจ เป็นหนึ่งในพระที่มีองค์ประกอบสวยที่สุดสำหรับผมครับ

พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 2517 จัดสร้างเนื่องในโอกาสครบ 101 ปี แห่งการมรณภาพของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อนนำเงินรายได้สร้างโรงเรียนเทศบาลวัดใหม่อมตรส ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2517 โดยมีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกหลายรูปด้วยกัน อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ และอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นต้น ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ คือ ช่างเกษม มงคลเจริญ พระทุกพิมพ์จะมีฝากรอบเป็นแผ่นทองเหลือง และมีขาหยั่งเป็นตัวกำหนดความหนาขององค์พระ ดังนั้นจึงทำให้ความหนาขององค์พระค่อนข้างเป็นมาตรฐาน ด้านข้างมีทั้งที่แบบที่ปรากฏรอยตัด และเรียบไม่ปรากฏรอยดังกล่าว ส่วนด้านหลังมีทั้งลักษณะเรียบและหลังลายผ้า สำหรับเนื้อหาขององค์พระนั้น ส่วนใหญ่แล้วมีเนื้อละเอียดเป็นมาตรฐานเดียวกัน จะมีแตกต่างกันก็ตรงที่บางองค์มีลักษณะแก่ผง หรือแก่น้ำมันแตกต่างกันไป

จำแนกพิมพ์
ประกอบด้วยพระพิมพ์ต่างๆ รวม 13 พิมพ์คือ
1. พิมพ์ใหญ่
2. พิมพ์เส้นด้าย
3. พิมพ์ทรงเจดีย์
4. พิมพ์เกศบัวตูม
5. พิมพ์สังฆาฏิ
6. พิมพ์ปรกโพธิ์
7. พิมพ์ฐานคู่
8. พิมพ์ฐานแซม
9. พิมพ์อกครุฑ
10. พิมพ์ไสยาสน์
11. พิมพ์คะแนน
12. พิมพ์จันทร์ลอย
13. พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต
14. พระบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ ( พิเศษ )
มีด้วยกันหลายแม่พิมพ์ลักษณะพิเศษก็คือ พิมพ์ทรงจะมีความคมชัดมากเป็นพิเศษ ด้านหลังจะประทับตราเจดีย์ใหญ่ (บรรจุกล่องเดียว - นอกกล่องชุดที่บรรจุ 12 องค์ ) แบ่งออกได้
- พิมพ์หนึ่งจุด สังเกตบริเวณใต้ฐานหมอนชั้นล่างสุด ฝั่งซ้ายมือเราจะปรากฏเม็ดไข่ปลาอยู่หนึ่งจุด
- พิมพ์สามจุด สังเกตข้างซุ้มด้านนอกซ้ายมือเรามีเม็ดไข่ปลาสองจุดอีกจุดปรากฏบริเวณเดียวกันกับที่ปรากฏบริเวณเดียวกันกับที่ปรากฏในพิมพ์ หนึ่งจุด
- พิมพ์ห้าจุด สังเกตจากข้างแขนด้านในบริเวณหักศอกด้านละหนึ่งจุดข้างแขนด้านนอกบริเวณ ศอกขวาองค์พระหนึ่งจุดและบริเวณใต้ฐานหมอนชั้นล่างสุด ซ้ายมือเรามีเม็ดไข่ปลาสองจุดรวมทั้งหมดห้าจุดพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด

ประวัติการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 17
ผู้สร้าง
ประกอบ พิธีพุทธาภิเษก เมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม พ . ศ . 2517 มีพระคณาจารย์ร่วมปลูกเสกจำนวนหลายองค์ เช่น
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ,
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี ,
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ,
หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา ,
หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
และอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของการสร้าง
เพื่อนำเงินรายได้สร้างโรงเรียน เทศบาล วัดใหม่อมตรส

ศิลปสกุลช่าง
ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ก็คือช่างเกษม มงคลเจริญ พระทุกพิมพ์จะมีฝากรอบเป็นแผ่นทองเหลือง มีขาหยั่งเป็นตัวกำหนดความหนาขององค์พระฉะนั้นเรื่องของความหนาบางจึงค่อนข้างเป็นเรื่องที่มีมาตรฐาน ด้านข้างมีทั้งปรากฏรอยตัดและเรียบด้านหลังปรากฎสองลักษณะคือหลังเรียบและหลังลายผ้า

อายุการสร้าง
พระบางขุนพรหมปี พ .ศ.2517 ซึ่งมักนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่าพระบางขุนพรหมปี 17 หรือหากจะเรียกอย่างเป็นทางการก็คือ รุ่นอนุสรณ์ในปีที่ 101 แห่งการมรณภาพสมเด็จพระพุฒจารย์ ( โตพรหมรังสี ) ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อ วันที่26ตุลาคมพ.ศ. 2517

http://www.web-pra.com/Shop/camel/Show/156839

วัดระฆัง เสาร์ห้า ปี36



พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่นเสาร์ห้า ปี36 เนื้อผง กล่องเดิม()

บางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑกลาง



พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑ ยุคก่อนเคยถูกจัดอันดับพิมพ์ท้าย ๆ คู่กับพิมพ์ฐานคู่ แต่ในปัจจุบันไม่เป็นอย่างนั้นแล้วครับ พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑ จัดเป็นพิมพ์เฉพาะกลุ่มของบางขุนพรหม ซึ่งไม่มีในสมเด็จวัดระฆังฯ สมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑ จะมีเอกลักษณ์พิเศษแตกต่างจากพิมพ์อื่น ๆ หลายประการ แม่พิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑ พิมพ์หลัก ๆ ที่พบเห็นทั่วไปมี 2 แม่พิมพ์ คือ 1. พิมพ์อกครุฑใหญ่ 2. พิมพ์อกครุฑกลาง (แท้ที่จริงแล้วพิมพ์อกครุฑยังมีอีก 2 แม่พิมพ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่พบน้อยมาก คือ พิมพ์อกครุฑเล็ก และพิมพ์อกครุฑว่าวจุฬา) สำหรับพระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑองค์นี้ เนื้อจัดและแกร่ง สภาพสวยสมบูรณ์มากครับ....
http://www.krusiam.com/shop/phromporn/product/detail.asp?ProductID=P0012252
http://pakawadee.igetweb.com/index.php?mo=28&id=88417
http://www.siam-shop.com/screen_tmp.php?mode=product_more_detail&product_id=12521&score=-1&shop_id=1875&mode2=vote
http://market.yellowpages.co.th/photo/0000/0115/115262/1152623.jpg
copy link ศึกษาเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระใช้ ชุดที่ 2 ในการเดินทาง และเหน็บสมเด็จทุกครั้ง



หลวงพ่อเงิน หล่อโบราณ หลวงพ่อเดิม ไม่ทราบที่มา หลวงปู่ทวด ไหล่จุด 97cและ งากำจัด

พระใช้ ชุดที่ 1 ในเมือง



พระชุดนี้ ใช้เป็นประจำสำหรับในเมือง บางขุนพรหม เส้นด้าย กรุเก่า กรุใหม่ วัดระฆังพิมพ์หลวงวิจารย์ ขอบกระจก

บางขุนพรหม เนื้อแห้งเก่า เบา ทาแลคฯใหม่



พิมพ์เส้นด้าย เหมือนลงหนังสือพิมพ์ มีลอยตอกตัดสี่มุมไม่ค่อยชัด ขอบเกิน หลังลายกาบหมาก มีเส้นขอบบังคับพิมพ์ เกศทะลุ สภาพสมบูรณ์ เดิมๆ

บางขุนพรหม พิมพฺพิเศษ หลังตราวัด ลึก



ลงรัก ปิดทอง เนื้อชาด

09 ลงกรุ มาใหม่ กรุเดียวกัน ที่จะนำส่ง



มาใหม่ 23 ตุลาคม 53 ที่จนำส่งอาจารย์ ทังหมด สิบองค์

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระเก็บ





เก็บสะสม

พล.เงิน



ชุดเดียวกันกับที่ส่งให้ใช้

09 ลงกรุ



พระสมเด็จ วัดบางขุนพรม พิมพ์ใหญ่ ปี 09 ลงกรุ

รายนามพระเถรานเถนะ คณาจารย์ ที่ร่วมนั่งปรกบริกรรมปลุกเสก ประกอบด้วย
1. ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) วัดระฆัง กรุงเทพฯ
2. ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
3. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
4. ท่านพระครูประสาทวิทยา (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
5. ท่านเจ้าคุณวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
6. ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี
7. ท่านอาจารย์อำพล วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
8. ท่านอาจารย์สาธิต วัดวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพฯ
9. ท่านอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี

เนื้อหามวลสาร
1. มวลสารหลัก คือ ชิ้นส่วนพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ชำรุดแตกหัก
2. ดินกรุที่ได้จากการเปิดกรุของทางวัดเมื่อปี พ.ศ.2500
3. ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ต่างๆ ปูนขาว ปูนเปลือกหอย
4. เกสรดอกไม้อันมีนามที่เป็นมงคล ได้แก่ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกมะลิ และเกสรดอกบัวหลวง
5. มีน้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อยและน้ำผึ้ง เป็นตัวประสาน

ศิลปสกุลช่าง

ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ พอแบ่งได้ 4 ผีมือช่างคือ
1. ลุงแฉล้ม บัวเปลี่ยนสี มีด้วยกันหลายพิมพ์ ลักษณะจะคลายพิมพ์มาตรฐานของวัดแต่จะแตกต่างออกไปบ้างเป็นเอกลักษณ์ เช่น องค์ค่อนข้างผอม รวมไปถึงพิมพ์พิเศษบางพิมพ์
2. มานิตย์ ปฐพี (สมัยนั้นมียศเป็นจ่าทหารเรือ )รับผิดชอบแกะแม่พิมพ์บล็อกวัดตามพิมพ์มาตรฐานที่พบในการเปิดกรุ รวมไปถึงพิมพ์พิเศษอีกจำนวนหนึ่ง
3. ช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งได้เข้ามาช่วยเหลือในช่วงระยะสุดท้ายแล้ว แม่พิมพ์ที่แกะจะมีความสวยงามคมชัดลึกมากเป็นพิเศษ
4. บล็อกกรรมการ หมายถึงผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้ามาช่วยในการสร้างพระบางขุนพรหมปี 09 และมีพระกรุบางขุนพรหมอยู่ในครอบครองจึงนำมาถอดแม่พิมพ์ ทำเป็นบล็อกแม่พิมพ์ในการกดพิมพ์พระ ซึ่งพระบล็อกนี้โครงสร้างของพิมพ์ทรงจะคล้ายและใกล้เคียงกับพระกรุบางขุนพรหม มากเพียงแต่ขนาดเล็กกว่า พร้อมทั้งตื้นกว่า ด้วยสาเหตุการถอดพิมพ์มานั้นเอง

องค์ประกอบพระ

การสร้างพระบางขุนพรหม ปี พ.ศ 2509 พระพิมพ์เนื้อผงต่างๆ เหล่านี้มีการจัดสร้างและเตรียมการมาก่อน คือเริ่มสร้างมาตั้งแต่เดือนตุลาคม มาแล้วเสร็จเอาเมื่อประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน พ .ศ. 2508 ทำพิธีการสร้างตำผง กดพิมพ์พระกันภายในพระอุโบสถ โดยหลวงพ่อชม เป็นผู้กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นคณะกรรมการต่างๆ ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ต่างร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำจนสำเร็จในที่สุด

ลักษณะวรรณะพระ

ลักษณะการสร้าง แบ่งเป็น 2 ชนิดประเภทคือ
1. ประเภทให้บูชาเพื่อนำไปบรรจุกรุในพระเจดีย์ ให้ทำบุญองค์ละ 1 บาทด้านหลังจะปั๊มคำว่า บรรจุ จำนวนรวมกันทั้งหมดทุกพิมพ์ 84,000 องค์
2. ประเภทให้บูชาทำบุญและนำติดตัวกลับบ้าน ให้ทำบุญองค์ละ 10 องค์ ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ทำบุญองค์ละ 25 บาท รวมไปถึงทำบุญเป็นกล่องชุด 11 พิมพ์ (ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ) ทำบุญุชุดละ 100 บาท ด้านหลังจะประทับตราเจดีย์ ซึ่งจำนวนการสร้างพระในประเภทนี้มีทั้งหมด 84,000 บาท องค์เช่นกัน เพียงแต่ภายหลังคัดพระที่ชำรุดแตกหักไม่สมบูรณ์ออกจึงเหลือเพียงประมาณ 72,518 องค์ เนื้อหามวลสาร มวลสารหลักของพระขุนพรหม ปี 09 คือ ชิ้นส่วนพระชำรุดแตกหักดินกรุที่ได้จากการเปิดกรุของทางวัดเมื่อปี พ . ศ . 2500 ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ต่างๆรวมไปถึง ปูนขาว ปูนเปลือกหอย นำมันตัวอิ๊วน้ำผึง เกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล และ ฯลฯ

พุทธลักษณะ

บล็อกแม่พิมพ์ พระขุนพรหม ปี 09 มีบล็อกแม่พิมพ์หลายตัว เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ครั้งนั้นชำรุดแตกหักได้ง่าย เช่น ปูนพาสเตอร์ ซีเมนต์ขาว ยางทำฟัน เป็นต้น เมื่อกดพิมพ์พระไปสักระยะแม่พิมพ์จะเริ่มชำรุดเสียหาย ต้องถอดพิมพ์ทำบล็อกใหม่ เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้จำนวนพระตามต้องการในพระทุกพิมพ์ กล่าวกันว่า เฉพาะพระพิมพ์ใหญ่เพียงพิมพ์เดียว มีแม่พิมพ์ถึง 27 แม่พิมพ์ สำหรับพิมพ์เกศทะลุซุ้มนั้น ครั้งแรกๆ ก็เป็นพิมพ์ใหญ่ธรรมดา ต่อมาบังเอิญตรงซุ้มเกิดกะเทาะ จึงแต่งเพิ่มกลายเป็นพิมพ์เกศทะลุซุ้ม เป็นต้น

จำแนกพิมพ์

ประกอบด้วยพระพิมพ์ต่างๆ รวม 12 พิมพ์คือ
1. พิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์พระประธาน
2. พิมพ์เส้นด้าย
3. พิมพ์ทรงเจดีย์
4. พิมพ์เกศบัวตูม
5. พิมพ์สังฆาฏิ
6. พิมพ์ปรกโพธิ์
7. พิมพ์ฐานคู่
8. พิมพ์ฐานแซม
9. พิมพ์อกครุฑ
10. พิมพ์ไสยาสน์
11. พิมพ์คะแนน
12. พิมพ์จันทร์ลอย

ข้อมูลพิเศษ

กรุพระบางขุนพรหม ปี พ .ศ. 2509 พระทั้งหมดจะบรรจุภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดใหม่อมตรส โดยภายในกรุก่อเป็นแบบแท๊งค์น้ำ มีช่องระบายอากาศจำนวน 10 ช่อง เอาทรายเทปูพื้น แล้วจึงนำพระมาบรรจุ เสร็จแล้วก็กลบเป็นชั้นๆ มาถึงด้านบน ใช้แผ่นเงินจำนวน 6 แผ่น จารึกข้อความว่า บรรจุปี 09 จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่า พระกรุนี้จะมีสภาพพระที่สวยและสมบูรณ์ กว่ากรุแรกแน่นอน
http://www.sameamulet.com/product.php?catid=2&catsubid=18&id=2180

พระสมเด็จบางขุนพรหม 09 พิมพฺใหญ่ ลงกรุ


บางขุนพรหม 09 ลงกรุ





พิมพ์เส้นด้าย 09 ลงกรุ

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระสมเด็จวัดระฆัง เกศทะลุ พิมพ์พระพักต์ข้าวหลามตัด





พระสมเด็จวัดระฆังพิมพใหญ่ พิมพ์แบบของช่างหลวงวิจารณ์เป็นสามมิติ กรอบกระจกชัด พระพักตร์ข้าวหลามตัดเห็นพระกรรณข้างซ้ายองค์พระลางๆ พระกัจฉะข้างซ้ายสูงกว่าข้างขวา แขนซ้ายทิ้งดิ่งลงมาที่พระเพลาหักข้อแขนตำแหน่งปรากฎจีวรเป็นเนื้อเกิน แขนขวาโค้งสวยงาม ฐานชุกชีด้านล่างยุบตัวเล็กน้อยด้านขวาทำองศาเข้ามุม ด้านซ้ายตั้งตรง ด้านหน้า-หลังแตกลายสังคโลกเห็นน้ำมันตังอิ๊วซึมจากด้านในออกมา ด้านหลังเรีบย มวลสารละเอียด และมีใหญ่อยู่บ้าง ด้านข้างมีปริแตกบ้างตามธรรมชาติความเก่า พระสมบูรณ์

บางขุนพรหม เส้นด้าย ออกหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 10 ตค 53




พระในกรอบ และ ในหนังสือพิมพ์

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ลิงค์ ฟันหนู

http://www.collectionshoponline.com/item/show196322/
http://www.collectionshoponline.com/item/show196322/


http://nongmai.plazathai.com/
ลิงค์ลุงพุฒ

บางขุนพรหม 09





พระสมเด็จบางขุนพรหม09 พิมพ์A เกศทะลุซุ้ม 5 จุด

พระสมเด็จบางขุนพรหม 09



พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์ปรกโพธิ์ 09

บางขุนพรหม ปรกโพธิ์ เส้นด้าย 09



สมเด็จบางขุนพรหม 09 พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์เส้นด้าย

บางขุนพรหม 09



สมเด็จบางขุนพรหม 09