วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

top100tennis

TOP 100 TENNIS SITES

Top100tennis

http://www.top100tennis.com/www.tennisinformation.com.html

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พระใหม่ รวม




รวมทั้งหมด /
เพื่อศึกษาประวัติพระสมเด็จ ความเป็นมา ความเป็นไปได้จากการศึกษา และได้เห็นองค์ท่านจริง ๆ เปรียบเทียบกับพระสมเด็จพิมพ์นิยม มีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร เราจะสะสมแนวไหน รุ่นใด เหมือนอย่างเซียน หรือ สะสมพระแท้ราคาถูก มีมวลสาร ครบตามแนวการสร้างพระสมเด็จของสมเด็จโต เพราะพระสมเด็จโตมีให้ศึกษามากมายรุ่น หลายวัด จะศึกษาตามศัธทรา หรือ ศึกษาตามปฏิหารย์ที่ได้เกิดกับผู้ใช้เอง และการให้ความเคารพนับถือในพระสมเด็จของสมเด็จโต ฯ
ความเชื่อส่วนบุคคล แต่ถ้าใช้พระสมเด็จของสมเด็จโตแล้วดีก็บอกต่อ หลายคนอาจจะมองหาแต่รุ่นที่เซียนนิยม ถ้าแบบนั้นก็ขอให้รอไปก่อนเถอะ ส่วนผู้เผยแพร่นี้ขอศึกษาตามข้อความข้างบนนี้ เพราะที่นำพระสมเด็จยุคสุดท้ายมาเสนอนี้ เกิดจากแรงศัธทราและศึกษาเพิ่มเติม จากผู้รู้ จากเวบเกี่ยวกับพระสมเด็จและอื่นๆ

พระใหม่4



พระสมเด็จ
ยุคสุดท้าย เนื้อขาวแกร่ง มีมวลสาร หินอ่อน แร่ ทั้งองค์มีหลุม ผ่านการใช้มาแล้ว

พระใหม่ 3



พระสมเด็จ พระประธาน
พิมพ์บล็อค มีเม็ดมวลสาร แตกลาย หลังลายกระดาน

พระใหม่ 2



พระสมด็จ
ยุคสุดท้าย มีมวลสาร เม็ดข้าวเหนียว เส้นขอบ

พระใหม่





พระสมเด็จบางขุนพรหมองค์ครู

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มีดหมอ






มีดหมอ ได้มา 15/08/2010 ช่วยชี้แนะติชม ในลายละเอียดแสดงความคิดเห็นได้(เขาบอกมามีดหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว)

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พระสมเด็จวัดระฆัง.รุ่นสุดท้าย ปี พ.ศ.2415

สำหรับนักสะสมพระสมเด็จได้ทราบถึงที่มาของพระพิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัยกับการแกะพิมพ์พระสมเด็จ
หลวงวิจารณ์เจียรนัยได้เข้ามาช่วยสมเด็จท่านแกะพิมพ์พระตั้งแต่ปลายยุคกลาง สมัยรัชกาลที่ 4 และแกะแม่พิมพ์พระถวายต่อมาถึงยุคสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นเวลานานพอสมควร ในการแกะพิมพ์ในตอนแรกคือปลายสมัยยุคกลาง สมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยความใหม่ต่อการทำแม่พิมพ์งานที่ออกมาจึงดูไม่เรียบร้อย พิมพ์พระจะไม่มีรอยกรอบแม่พิมพ์ เวลาถอดพระออกจากแม่พิมพ์เอามาตัดแต่งจะใช้ตอกตัด(ตอกคือไม้รวก - ไม้ไผ่เหลาให้บางเป็นคมมีด) คนตัดแต่งที่เผลอไม่ระวังหรือตัดไม่ชำนาญจะตัดแฉลบเข้าหาซุ้มพระทำให้แหว่ง ดูไม่สวยและเสียหายมาก และพุทธศิลป์ขององค์พระยังไม่งามนัก บางพิมพ์เอวลอย เอวขาด เอวหนา ดูอ้วนไปบ้าง แขนหรือพระหัตถ์ไม่เท่ากันไม่สมดุลย์โย้เอียงไป ซอกรักแร้สองข้างไม่สมดุลย์ข้างซ้ายลึกกว่าข้างขวา หัวไหล่ไม่เสมอข้างขวามนข้างซ้ายตัดเอียงลงดูไม่สวย หูหรือพระกรรณ์ในแม่พิมพ์มี แต่พอพิมพ์ออกมาแค่ติดรางๆ ฐานสิงห์ชั้นกลาง ฐานไม่คมขาฐานจะติดชัดข้างติดไม่ชัดข้างดูไม่สวยงาม ซึ่งเป็นยุคกลางของคุณหลวงที่แกะพิมพ์พระ

การแกะพิมพ์พระชุดใหม่ของท่าน จะเพิ่มการตัดขอบพระโดยเพิ่มเส้นกรอบให้รู้ตำแหน่งการตัด เพราะพระพิมพ์ใหญ่ของท่านซุ้มครอบแก้วด้านบนจะเล็กกว่าด้านล่างจึงต้องทำ เส้นกรอบด้านซ้ายให้ลงมาตรงขอบซุ้มตรงบริเวณแนวกลางแขนซ้ายพระ ส่วนขอบพระด้านขวาเส้นกรอบจะลงมาชนเส้นซุ้มแถวฐานชั้นล่าง กรอบบนจะทำเส้นกรอบให้ชัดขึ้นมองเห็นเป็นเส้นชัดเจนให้ตัดได้ พิมพ์ที่แก้ไขแล้ว มีเวลาช่างตัดขอบพระมักจะตัดออกมา เป็นแนวสี่เหลี่ยมผืนผ้า ข้างซ้ายพระจะตัดตรงลงมานอกกรอบ เลยกลายเป็นเส้นกรอบสองเส้นไป ด้านขวาพระก็เช่นกันจะมีเส้นกรอบสองเส้นในบางองค์ บางองค์ก็ตัดตามเส้นกรอบก็จะมีเส้นเดียว พระที่แก้แม่พิมพ์แล้วจึงมีเส้นกรอบทางด้านซ้ายติดอยู่ นักสะสมพระในปัจจุบันนับถือเป็นตำหนิพิมพ์ที่สำคัญ ถ้าพระองค์ไหนมีเส้นกรอบชัดเจนจะถือว่าถูกพิมพ์มีราคา เลยเรียกเส้นกรอบนี้ว่า เส้นวาสนาหรือเส้นเงินเส้นทอง พระองค์ไหนไม่มีหรือตัดไม่ชัดจะกลายเป็นพระผิดพิมพ์ไป ซื้อขายเป็นพุทธพานิชไม่ได้ ร้ายไปกว่านั้นเซียนบางคนตีเก๊ไปเลยก็มี เออ ! อนิจจา เซียนดูพระตาเปล่า
ในยุคท้ายๆของสมเด็จโตทางวัดจะทำบุญฉลองอายุท่านที่ย่างเข้าปีที่ 85 มีการสร้างพระขึ้นมาใหม่ โดยทางหลวงวิจารย์เจียรนัยอาสาเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย เป็นพระพิมพ์ใหญ่หลายแม่พิมพ์ ท่านได้แก้ไขข้อบกพร่องหลายๆอย่างทำเป็นแม่พิมพ์ที่สมบูรณ์แบบขึ้นมาโดย อาศัยพุทธศิลป์พระบูชา สมัยเชียงแสน,สุโขทัย เป็นแม่แบบ

จุดเด่นของแม่พิมพ์ชุดนี้มีดังนี้
1. ไม่มีเส้นตัดกรอบเหมือนแต่ก่อน แต่จะเป็นบล็อคแม่พิมพ์สำเร็จรูปถอดออกมาได้เลย ด้านซ้าย - และขวาขององค์พระจะสมดุลย์เท่ากัน
2. องค์พระจะสง่างามผึ่งผาย อกผายไหล่ผึ่ง แขนทั้งสองข้างทิ้งดิ่งตรงมาหักศอกตรงเข่าเหมือนกันสองข้าง บางพิมพ์จะเอวหนาผายหน่อย ตามศิลปะพระบูชาเชียงแสน,สุโขทัย ผสมผสานกันได้อย่างเหมาะเจาะทีเดียว
3. เส้นซุ้มครอบแก้วจะหนาใหญ่ ทรงระฆังคว่ำ ซ้ายขวาจะสมดุลย์กัน ไม่เหมือนพิมพ์ที่มีเส้นขอบ
4. ฐานสิงห์จะมีฐานคมชัดทั้งสองข้าง
5. เนื้อพระจะแข็งแกร่งหนึก มากกว่าพระรุ่นก่อน คือ พื้นผิวจะมีตังอิ๊วมากวรรณะจึงออกนำตาล
6. ด้านหลังพระจะเรียบหรือย่นๆเหมือนผิวที่ไม่ขัดมัน
พระในชุดนี้ทำจำนวนจำกัดแค่ 85 องค์ เพื่อฉลองอายุ 85 ปีของท่าน มีบางคนวิจารณ์การทำพระฉลองอายุที่นิยมทำให้เกินอายุเข้าไว้ แต่นี่ท่านอายุครบ 85 ปี ทำไว้ 85 องค์เหมือนทำให้ท่านมรรณภาพตอนอายุ 85 ปี มีเรื่องเล่ากันว่าท่านเองให้กรรมการทำเพียง 85 องค์เพราะท่านอายุแค่ 85 เท่านั้นเลยต้องทำตามท่านว่า..

.ผู้เขียนเห็นว่าต้องมีมากกว่า 85 องค์..เพราะเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พรหมรังษี


หลังจากท่านมรณธภาพแล้วเณรรูปหนึ่งไปเก็บทำความสะอาดสถานที่ที่ท่านนั่ง ประจำ เณรไปเปิดผ้าออกเห็นเป็นลายมือท่านเขียนวันเวลาที่จะมรณะภาพไว้ที่กระดาน หลังที่ท่านนั่ง เมื่อมาตรวจสอบวันเวลาดูจะตรงกับที่ท่านมรณะภาพจริงๆ นี่ก็เพราะท่านเป็นอริยะสงฆ์สำเร็จอภิญญา 6 ซึ่งมีอยู่ข้อหนึ่งสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้ ระลึกชาติได้...


ที่มา..เมื่อปี พ.ศ.2415 อายุสมเด็จโต 85 ปีหลวงวิจารย์เจียรนัย(เฮง)..ช่างหลวงฝีมือเป็นเอกรับอาสาแกะพิมพ์ฉลองครบ รอบ 85 ปี..จากบันทึกตอนหนึ่งของผู้ใกล้ชิด..ได้กล่าวไว้ว่า.."ตอนสมเด็จพุ ทธฒาจารย์โตอายุย่างเข้า 85 ปี คณะกรรมการศิษย์,ศานุศิษย์สมมติกันว่าจะสร้างทำพระสมเด็จออกมาให้มากที่สุด ..เพื่อเป็นมงคลให้ท่านอายุยืนนาน..แต่เมื่อกราบเรียนให้ท่านทราบ..ท่านกลับ บอกว่า..ฉันอายุ 85 ปีสร้างแค่พิมพ์ละ 85 องค์ก็พอ"..

..... มีคำพูดมากมายจากปากเซียนสอบตก..พระรุ่นนี้ไม่ทันสมเด็จโต..สมเด็จโตไม่ได้ ปลุกเสก...ท่านในฐานะศิษย์ 9 pha.com จะตอบว่าอย่างไร...

ตอบว่าแบบวิชาการว่า..

ข้อ 1 จากประโยคที่ว่า "....ครั้นถึง ณ วันเดือน 5 ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1234 (ตรงปีพ.ศ.2415) เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลที่ 5 กรุงเทพมหานคร สมเด็จพุฒาจารย์(โต )ได้ไปดูการก่อสร้างพระโต..ที่วัดบางขุนพรหมใน ก็ไปอาพาธด้วยโรคชราภาพ 15 วันก็ถึงมรณะภาพบนศาลาใหญ่วัดบางขุนพรหมใน..รับตำแหน่งพุฒาจารย์ได้ 7 ปี นับอายุทางจันทรคติได้ 85 ปี .."

ข้อ 2...จากประโยคที่ว่า" ตอนสมเด็จพุทธฒาจารย์โตอายุย่างเข้า 85 ปี คณะกรรมการศิษย์,ศานุศิษย์สมมติกันว่าจะสร้างทำพระสมเด็จออกมาให้มากที่สุด..เพื่อเป็นมงคลให้ท่านอายุยืนนาน."

พระสมเด็จรุ่นนี้สร้างเพื่อฉลองครบรอบ 85 ปี (สร้างก่อน...เพื่อฉลองอายุ) ..สมเด็จโตมรณะภาพ เดือน 5 เดือนไทย (สิงหาคม พ.ศ.2415)...สมาชิกว่าสร้าง และปลุกเสกทันไหมครับ....พวกเซียนสอบตกนี่..ลอกแต่ข้อสอบไม่เคยอ่านหนังสือ เลย.....

ลักษณะพุทธศิลป์

องค์พระ.. สวยสง่างดงาม..พุทธศิลป์เชียงแสน-สุโขทัย-อู่ทอง-ลังกา..ผสมผสานได้อย่างลง ตัว..องค์พระนั่งขัดสมาธิตั้งตรง..ไหล่ซ้ายขวา..การวางแขนทั้งสองข้างทิ้ง ดิ่งสมดุลกัน..เกศตั้งตรงดูสง่างามยิ่งนัก

เส้นซุ้ม..เรียบนูนมีขนาดเหมาะสม..ไม่เล็ก..ไม่ใหญ่..ไม่โย้..ไม่เอียง..ไม่เว้า..ไม่แหว่ง..ลักษณะหวายผ่าซีก

เส้นฐาน..จะโค้งรับองค์พระ..มีเหลี่ยม..มีคม..พอเหมาะ..คมขวานฐานสิงห์จะคมชัด..ฐานล่างจะเป็นแท่งเหลี่ยมชัดเจน..

กรอบพระ.. จะเป็นกรอบสำเร็จรูป..จะเป็นแม่พิมพ์พิเศษ 3 ชิ้น..ชิ้นหน้า..ชิ้นหลัง..และชิ้นกรอบข้าง..อัดพิมพ์พระสำเร็จรูปออกมาเลย ..ไม่มีการตัดแต่งขอบ..จะไม่ปรากฎรอยตัดตอกไม้..แบบเก่า..ให้เห็นอีกเลย..จะ ปรากฎเห็นเส้นวาสนา หรือกรอบกระจกบ้างแต่เป็นแบบสำเร็จรูป..โดยตั้งใจให้ปรากฎ

หลังพระ.. จะเรียบ..หรือ..รอยอื่น ๆ ที่ตั้งใจทำให้ปรากฎขึ้นจากแบบพิมพ์กรอบสำเร็จรูป 3 ชิ้น..เช่นรอยใบโพธิ์..หัวใจ..หรือรอยขั้นบันได..เป็นต้น..ไม่ใช่ปรากฎโดย ธรรมชาติความเก่า

พระชุดนี้เป็นพระที่แปลก และสวยงามอย่างที่เห็นกัน..นักเลงพระเครื่องจึงตีเก๊ผิดพิมพ์..และมองข้าม พระพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง.
ขอบคุณ และศึกษาเพิ่มไดที่ http://www.9pha.com/?cid=703761



ห้องมวลสารหลัก..สมเด็จวัดระฆัง

..มวลสารหลักในการจัดสร้าง ..สมเด็จวัดระฆังทั้งหมดรวมเซียนพระ.เรียก..อิฐแดง,กากดำ,กรวดเทา,ก้อนขาว,ทรายแก้ว....



1..อิฐแดง. หรือเม็ดแดง .หมายถึง..ชิ้นส่วนแตกหัก..ของพระเนื้อดินกรุทุ่งเศรษฐี..จังหวัดกำแพงเพชร คือพระซุ้มกอ หรือพระกำแพงเขย่งโบราณที่ชอบเรียกกันนั้นเอง..เจ้าประคุณสมเด็จได้เดินทางไปเปิดกรุเมื่อ ปีพ.ศ.2392 และท่านคงได้พระแตกหักจำนวนมาก.. ขนาด หรือสัณฐานที่ปรากฎ..เป็นชินเล็ก ๆ สีแดงคล้ายอิฐมอญก้อนเล็ก ๆ แตกกระจายออกเหมือนเศษอิฐ

2..กากดำ หมายถึง..ชื้น หรือก้อนถ่านของก้านธูป หรือแผ่นใบลานจารอักขะ และสูตรทางพุทธมนต์เผา..ลักษณะคล้าย ๆ เสี้ยนถ่านในแนวนอน กากดำนี้จะปรากฎให้เห็นมากกว่า อิฐแดง หรือเม็ดแดง

3..กรวดเทา หมายถึง ลักษณะของมวลสารคล้าย..เม็ดกรวด หรือเม็ดทรายเล็ก ๆ มักจะมีวรรณะเป็นสีเทาส่วนใหญ่..สัณนิฐานเป็นชิ้นส่วนของเปลือกหอยที่ไม่ย่อยสลายจากการเผา

4..ก้อนขาว หมายถึง หมายถึงผงพระสมเด็จ หรือผงกฤติยาคมนั้นเอง จะมีสีขาวขุ่น หรือสีน้ำตาลอ่อน..หากพระสมเด็จวัดระฆังองค์ใดมีผงพุทธคุณมาก..จะเป็นพระที่ดูง่าย และมีเสน่ห์ชวนส่องกล้องมาก ๆ

5..ทรายแก้ว หมายถึง..มวลสารหลักพระธาตุหยดน้ำค้าง..มีสีใสเหมือนแก้ว หรือสีชมพูอ่อน ๆ ทรายแก้วนี้หากพบเห็นในเนื้อพระสมเด็จจะเห็นเป็นแสงส่องประกายแวววาวเป็นพิเศษ..หากเห็นพระองค์ใดมีทรายแก้วอยู่ในเนื้อพระ..พระองค์นั้นก็จะปรากฎมีทรายแก้ว.เป็นจำนวนมาก..

เพิ่มเติม..พระสมเด็จวัดระฆัง..นอกจากมวลสารหลััก...5 ประการแล้ว..อาจปรากฎมวลสารต่าง ๆ ที่เกิดจากการสร้าง..เช่น

1. จุดสีขาวขุ่น มี ทั้งขนาดใหม่และเล็ก ขนาดเล็กตั้งแต่ปลายเข็มหมุดขนานใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเขียวก็เคยพบ มีปรากฏอยู่ทั่วไปในเนื้อพระละเอียดแน่นนอน และ เนื้อพระชนิดหยาบเนื้อไม่แน่นนอน สันนิษฐานว่าคือ เม็ดพระธาตุ และเปลือกหอย
2. จุดสีแดงหรือสีแดงอิฐ ตั้งแต่ ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นเศษพระเครื่องหักของ กำแพงเมืองเพรช สมัยที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ได้ไปเดินธุดงค์พบพระเนื้อดินหัก แต่ยังเต็มเปี่ยมไป ด้วยพระพุทธคุณ จึงนำมาสร้างพระเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และความขลังแก่พระสมเด็จ
3. จุดสีดำ มีขนาดเล็กก็คือ เกสรดอกไม้ เม็ดกล้วย ถ้าเป็นขนาดกลาง สันนิษฐานว่าเป็นผงถ่านใบลาน และถ้าเป็นลักษณะยาว สันนิษฐานว่าเป็นกานธูป
4. จุดสีเขียวคล้ายสีคราม มีลักษณะใหญ่เล็กแล้วแต่จะพบในองค์พระ สันนิษฐานว่าเป็นหินเขียวหรือ ตะไคร่ ใบเสมา
5. จุดสีน้ำตาลอ่อน และ น้ำตาลแก่ สันนิษฐานว่า คือเกสรดอกไม้แห้งนานาชนิด อาจเป็นดอกไม้108 (ดอกไม้ที่ใช้บูชาพระ)
6. เม็ดทรายเสกขนาดกลาง และขนาดเล็ก พบในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
7. เม็ดขาวขุ่นหรือพระธาตุ ส่วนมากจะพบกระจายอยู่ทั่วไปในองค์พระบางองค์ พบอยู่ด้านหลัง บางองค์ไม่พบ
8. ทองคำเปลว ที่ติดพระประธานในโบสถ์วัดระฆัง ใช้บดละเอียดผสมในเนื้อพระ
9. ผงวิเศษที่พบเป็นก้อน คล้ายกับก้อนดินสอพองก็คือ ผงวิเศษที่ได้จากผงอิทธิเจ ผงปัตถะมัง ผงตรีนิสิงเห ผงพุทธคุณ ผงมหาราช
10. การยุบตัวของ เนื้อพระสมเด็จ เกิดจากปฎิกริยาการหดตัว แห้งตัว ยุบตัวของเศษอาหาร จึงทำให้ เนื้อพระยุบตัวลง ระยะเวลาและความร้อนของอากาศหลายๆปี ฤดูกาลธรรมชาติ
11. ที่แลเห็นพระบางองค์มีความมันบนองค์พระมาก เพราะว่าในเนื้อพระผสมนำมันตั้งอิ้วมากกว่าปกติ เนื้อพระชนิดนี้จึงหนึกนุ่มอยู่เสมอ ทำให้เนื้อพระเก่าได้ยาก
12. พระสมเด็จกับการลงรักปิดทอง พระสมเด็จวัดระฆังบางองค์มีการลงรักปิดทองไว้ แล้วในภายหลัง ได้ถูกล้างออก ซึ่งก็ทำให้สามารถดูเนื้อพระได้ง่ายขึ้น
13. คราบสีขาวบน องค์พระมักจะพบในพระสมเด็จวัดระฆังนั้นมี 2 นัย นัยแรกเกิดจากแป้งโรยพิมพ์พระ ในตอนสร้าง (สันนิษฐานว่าใช้แป้งขาวเจ้าผสมปูนขาว) นัยที่สองเกิดจากเชื้อราบางชนิดซึ่งเกิดขึ้นเนื่อง มาจากการเก่าเก็บไว้เป็นเวลานานซึ่งไม่มีผลทำให้ผิวพระเสียแต่อย่างใด ซี่งถ้าใช้นิ้วถูออกคราบสีขาว ก็จะหายไปและจะไม่มีผงฝุ่นสีขาวติดนิ้วเลย แต่ไม่ควรถูออกเพราะคราบสีขาวเป็นการแสดงความเก่า ความมีอายุอันยาวนานขององค์พระ
14. รอยปริแยกแตกบน ผิวพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัว หดตัวของเนื้อพระเนื่องจาก ความชื้นและอุณหภูมิในอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเนื้อพระมีส่วนผสมน้ำมันตังอิ้วที่เหมาะสมเป็นตัว ประสานเนื้อพระก็จะไม่พบลอยปริแตกบนผิว
15. กลิ่นหอมใน เนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ส่วนผสมมวลสารในเนื้อพระมีดอกไม้และ เกสรหลายชนิดรวมกัน รวมทั้งน้ำมันจันทน์ด้วย จึงทำให้พระสมเด็จมีกลิ่นหอม
16. รอยแตกลายงาบนผิวพระสมเด็จวัดระฆังเกิดจากการแห้งและหดตัวของผิวเนื้อพระ ชั้นนอกเร็วกว่า เนื้อพระชั้นใน พบได้ในองค์พระที่มีผิวระเอียดหนึกนุ่ม

หรือที่เคยพบเจอ...อีกเช่น


...ผ้าแพรสีเหลืองเข้าใจว่าเป็นผ้าแพรที่ถวายพระพุทธรูปแล้วเวลา เก่าหรือชำรุดแทนที่จะนำผ้าแพรที่ห่มพระพุทธรูปมีผู้คนกราบไหว้มากมายไปทิ้ง
...ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต ได้นำผ้าแพรตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เอาดินสอลงอักขระเป็นอักษรไว้ แล้วผสมในมวลสารที่สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
...ชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ก้านธูปบูชาพระ สันนิษฐานว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ คงนำเอาสิ่งของที่บูชาพระทั้งหมดเมื่อกราบไหว้บูชาพระ แล้วก็ไม่ทิ้ง
...นำมาตัดหรือป่นกับเนื้อที่จะสร้างสมเด็จวัดระฆัง จะเห็นเป็นเศษไม้ลักษณะก้านธูปผสมอยู่ในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง กลายเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญยิ่งถ้ามีเศษธูปแล้วต้องเป็นสมเด็จวัดระฆัง
....เอกลักษณ์อันสำคัญที่สุดคือเม็ดเล็กๆมีผสมค่อนข้างมาก สีขาวออกเหลือง ซึ่งคนส่วนใหญ่เรียกว่า เม็ดพระธาตุ แต่คงไม่ใช่เม็ดพระธาตุเพราะถ้าเป็นเม็ดพระธาตุคงต้องใช้จำนวนมหาศาล เพราะพระสมเด็จวัดระฆังทุกองค์จะมีเม็ดพระธาตุมาก จะไปเอาพระธาตุมาจากไหนมากมายมหาศาล
...จุดเม็ดพระธาตุนี้กลายเป็นจุดสำคัญของตำนานการดูพระสมเด็จวัดระฆัง ที่สำคัญที่สุด สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นปูนหินสีขาวๆเมื่อผสมกับน้ำมันตังอิ๊วจับตัวเป็นก้อน เมื่อตำผสมกับปูนขาวเปลือกหอยแล้ว ไม่กลืนกันภายหลังแยกกันเป็นเม็ดๆในเนื้อของสมเด็จวัดระฆัง
...แต่บางคนก็สันนิษฐานไปว่าอาจจะเป็นปูนขาวที่ปั้นพระบูชาตามโบสถ์ เสร็จแล้วทารักปิดทองให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชาเป็นร้อยเป็นพันปี
...บางครั้งปูนขาวพองขึ้นชำรุดเสียหาย จึงต้องลอกเอาปูนขาวออกปั้นด้วยปูนขาวใหม่ให้พระสมบูรณ์ เพื่อยืดอายุพระพุทธรูปบูชาในโบสถ์ให้มีอายุนับพันปี
...ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต เห็นเป็นวัสดุบูชาที่ไม่ควรจะทิ้ง จึงนำมาตำผสมไว้ในมวลสารของพระสมเด็จวัดระฆัง มาจนถึงปัจจุบันอายุของพระสมเด็จวัดระฆังร้อยกว่าปี การหดตัวของมวลสารเกิดขึ้น
...วัสดุที่ต่างกัน อายุต่างกัน จึงหดตัวไม่เท่ากัน จึงเกิดรอยแยกตัวของรอบๆเม็ดพระธาตุอย่างสม่ำเสมอ เป็นตำนานอันสำคัญที่สุดในการดูพระสมเด็จวัดระฆัง แท้
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะนำดินสอพองมาเขียนเป็นตัวอักขระบนกระดานชนวน เสร็จแล้วก็ลบออก และเขียนอักขระใหม่แล้วก็ลบออกอีก นำเอาผงที่ลบออกมาเก็บเอาไว้ คนรุ่นเก่ารุ่นแก่เรียกว่า ผงอิทธิเจ นำมาผสมในพระสมเด็จวัดระฆัง

มวลสารต่างๆที่เป็นส่วนผสมที่สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน หรือถ้วยชามเบญจ รงค์ของไทย ปูนขาว
๒. หินอ่อน หรือ ศิลาธิคุณ
๓. ดินหลักเมือง ๗ หลัก
๔. ดินสอพอง
๕. ดินโปร่งเหลือง
๘. ข้าวสุก และอาหารสำรวม
๙. แป้งข้าวเหนียว
๑๐. กล้วยน้ำไทย
๑๑. ยางมะตูม
๑๒. น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อยเคี่ยว
๑๓. น้ำมันทัง
๑๔. ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธาน
๑๕. ผงใบลานเผา
๑๖. ดอกบัวสัตตบุษย์
๑๗. ดอกมะลิ
๑๘. ดอกกาหลง
๑๙. ยอดสวาท
๒๐. ยอดรักซ้อน
๒๑. ราชพฤกษ์
๒๒. พลูร่วมใจ
๒๓. พลูสองหาง
๒๔. กระแจะหอม
๒๕. ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด

บทความจากและ ศึกษาเพิ่มที่..
http://www.9pha.com/?cid=154716

พระแท้พิมพ์แปลกตา

ห้องพระแท้..พิมพ์แปลกตา

พิมพ์ที่ 1


2009-06-06- "พิมพ์อกแบนแขนบ่วง ,อกแบนแขนหักศอก,,พิมพ์ต้อ,พิมพ์โย้เกศเอียง,พิมพ์ชลูดเกศเรียว




สมเด็จพระจอมไตรองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า....
ถ้าเราต้องการหมดความทุกข์ต้องการมีความสุข
ก็จงอย่า คิดว่า.....
โลกนี้เป็นของเรา
ร่างกายนี้เป็นของเรา
ร่างกายของบุคคลอื่น เป็นเราของเรา
จงคิดว่า ร่างกายมันเป็นพียงธาตุ 4(ดิน น้ำ ลม ไฟ) มันเข้ามาประชุมกัน
เห็นร่างกายภายใน คือ ร่างกายของเรา ก็ทำความรู้สึกเพียงสักแต่ว่าเห็น คือ
ไม่สนใจ ไม่ยึดถือว่า...มันกับเรา...จะอยู่ด้วยกันตลอดกาลตลอดสมัย
ตัดความโลภเสีย...ด้วยการให้ทาน
ตัดความโกรธเสีย...ด้วยการเห็นใจซึ่งกันและกัน
ตัดความหลง.....คือยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง.
พิมพ์ที่ 1

พิมพ์อกแบนแขนบ่วง

พิมพ์อกแบนแขนบ่วงหมาย ถึง สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ที่มีลักษณะพิมพ์ทรงไหล่จะกว้าง วางแขนเกลือบเป็นวงกลมมีหักศอกเล็กน้อย..นักนิยิมพระเครื่องบางท่านเรียกว่า พิมพ์อกแบนแขนบ่วงมีเส้นชายจีวรเหมือนพิมพ์ใหญ่ทรงอื่น ๆ.


ข้อสังเกตุ..

1.. พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์นี้ความพิเศษ.ลักษณะพิมพ์ทรงไหล่จะกว้าง วางแขนเกือบเป็นวงกลม

2. ลักษณะสัดส่วนขององค์พระจะขยายออกแนวกว้างมากกว่าแนวยาว...แต่ยังคงได้สัด ส่วนสวยงาม..


ลักษณะพระสมเด็จวัดระฆัง.พิมพ์อกแบนแขนบ่วงที่ปรากฎ


ลักษณะที่ 1

พิมพ์อกแบนแขนบ่วงแบบ..พระสมเด็จวัดระฆัง.เนื้อโกเด

พระพักตร์ทรงกลมเล็ก หรือเมล็ดพริกไทย




ลักษณะที่ 2

พิมพ์พิมพ์อกแบนแขนบ่วงแบบ.พระสมเด็จวัดระฆัง..เนื้อนิยม..

พระพักตร์ทรงกลมเล็ก หรือเมล็ดพริกไทย






พิมพ์ที่ 2

2010-04-30 "พิมพ์อกแบนแขนหักศอก"




พิมพ์ อกแบนแขนหักศอก หมายถึง สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่..ลักษณะลำตัวใหญ่,ไหล่ตรงแคบ,ลำแขนสองข้างทิ้งดิ่ง ลงมาแล้วหักศอกมือประสาน,ดูวงแขนเป็นรูปสี่เหลี่ยม



พิมพ์ที่ 3


2009-06-06- พิมพ์ต้อ"




พิมพ์ต้อ หมาย ถึง สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ที่มีลักษณะพิมพ์ทรงไหล่จะกว้าง ลำตัวสั้นต้อนักนิยมพระเครื่องเรียกว่าพิมพ์ต้อมีเส้นชายจีวรเหมือนพิมพ์ใหญ่ทรงอื่น ๆ.


ข้อสังเกตุ..

1.. พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์นี้ความพิเศษ..ส่วนของฐานชุกชีชั้นที่ 1 จะเป็นแท่งเล็ก..และยาว..กว่าพระสมเด็จวัดระฆัง..ทุกพิมพ์...จึงทำให้หลัก การยุบตัวเล็กน้อยของฐานชุกชีชั้นที่ 1 บางองค์อาจไม่ปรากฎให้เห็นได้

2. ลักษณะสัดส่วนขององค์พระจะขยายออกแนวกว้างมากกว่าแนวยาว...แต่ยังคงได้สัด ส่วนสวยงาม..สมเป็นแบบพิมพ์ของช่างหลวงนาม..หลวงวิจารย์เจียรนัย(เฮง).พิมพ์ ดังกล่าวจะไปปรากฎในการพิมพ์ และสร้างพระสมเด็จวัดเกศไชยโยด้วย.....


พิมพ์ต้อแบบ...พระสมเด็จวัดเกศไชยโย ..พิมพ์ทรงวัดระฆัง

พระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด

โอ๊ย...ปวดหัว..ความรู้เยอะจัง




2010-04-05- พิมพ์ชลูด..เกศเรียว..เป็นพิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดระฆัง..อีกพิมพ์ทรงหนึ่ง..ซึ่งเซียนพระมองข้ามไป เซียนพระบางท่านตีเก๊เสียเลย..

"พิมพ์ชลูดเกศเรียว"

พิมพ์ชลูดเกศเรียว หมายถึง สมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ลักษณะพิมพ์ทรงชลูด ,ลำตัวผอม, เอวคอด, คอยาว,พิมพ์นี้เกศจะยาวไปจรดแค่ซุ้มด้านใน ไม่ทะลุซุ้มครับ. ...

สมเด็จวัดระฆัง...พิมพ์ชลูดเกศเรียว


ตาสมาชิกมองเห็นชลูด..เกศเรียว..เหมือนตาเซียนไหม

ขอบคุณ และศึกษารูปภาพเพิ่ได้ที่....
http://www.9pha.com/?cid=756234

ห้องรวมรัก กรมเจ้าท่า

ห้องรวมรัก

อริยสัจ ...ที่ว่า
การเกิดมันเป็นทุกข์
ความแก่ก็เป็นทุกข์
ความป่วยไข้ไม่สบายก็เป็นทุกข์
ความ พลัดพรากจากของรัก ของชอบใจก็เป็นทุกข์
ความตายก็เป็นทุกข์....
" ถ้าเราจะเกิดอย่างนี้ อีกกี่ชาติ ก็จะมีทุกข์อย่างนี้ เมื่อเวลาใกล้จะตาย จิตอย่าลืมนิพพาน ต้องยึดไว้ทุกวัน นิพพานนี้ นึกให้เป็นอารมณ์ไปจนชินตัว นึกว่าถ้าตายจาก โลกนี้เมื่อไหร่ขอไปนิพพานเมื่อนั้นให้จิตเป็นฌานที่ เรียกว่า อุปสมานุสสติกรรมฐาน อย่างนี้ทุกคนจะไม่พลาดนิพพาน "

2010-02-27- ตั้งชื่อห้อง..เหมือน..เข้าเรด R หรือ X อย่างไรก็ไม่รู้.....อย่าเข้าใจผิดครับ..สารเคลือบผิวพระสมเด็จวัดระฆังนะ

รัก หรือยางรัก มีคุณลักษณะเป็นยางเหนียว สามารถเกาะจับพื้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ประสงค์จะทาหรือถมทับ หรือเคลือบผิวได้ดี มีคุณสมบัติที่ทำให้ผิวพื้นซึ่งทาหรือเคลือบรักเป็นผิวมันภายหลังรักแห้ง สนิท มีคุณภาพคงทนต่อ ความร้อน ความชื้น กรดหรือด่างอ่อนๆ และยังเป็นวัสดุที่ใช้เชื่อมสมก หรือสีเข้าด้วยกัน เชื่อมระหว่างผิวพื้นกับวัสดุ สำหรับตกแต่ง เช่น กระจกสี เปลือกหอย และยังใช้ผสมสีเข้าด้วยกันมาแต่โบราณกาล งานศิลปกรรมที่ประกอบด้วย รักลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามที่กล่าวมานี้ เรียกว่า "เครื่องรัก" หรือ "งานเครื่องรัก"
"รัก" เป็นชื่อยางไม้ชนิดหนึ่งเป็นวัสดุที่ได้จาก "ต้นรัก" [lac tree (ภาษาพฤกษศาสตร์ ; melanorrhoea usitata)] คือต้นไม้ยืนต้นขนาดย่อม การนำยางรักจากต้นรักมาใช้ ทำด้วยการกรีดหรือสับด้วยมีดที่ลำต้นรักให้เป็น รอยยาวๆ ยางรักจะไหลออกมาตามรอยที่กรีดหรือสับนั้น นำภาชนะเข้ารองรับน้ำยางรักเป็นคราวๆ เก็บรวบรวมไว้ ใช้งานตามขนาดที่ต้องการ ยางรักนี้บางแห่งเรียกว่า "น้ำเกลี้ยง" หรือ "รักน้ำเกลี้ยง" ก็มี "รักหรือยางรัก" แต่ละชนิดที่ช่างรักใช้ประกอบงานเครื่องรัก มีคุณลักษณะดังนี้
รักดิบ คือยางรักสดที่ได้จากการกรีดหรือสับจากต้นรัก ลักษณะเป็นของเหลวสีขาว เมื่อทิ้งไว้สักระยะหนึ่งจะ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะกลายเป็นสีน้ำตาลไหม้ รักดิบนี้จะต้องผ่านการกรองให้ปราศจากสิ่งสกปรกปะปน และจะต้องได้รับการขับน้ำที่เจืออยู่ตามธรรมชาติใยยางให้ระเหยออกตามสมควร ก่อน จึงนำไปใช้ประกอบงาน เครื่องรัก
รักน้ำเกลี้ยง คือรักดิบที่ผ่านการกรองและได้รับการขับน้ำเรียบร้อยแล้ว เป็นน้ำยางรักบริสุทธิ์จึงเรียกว่า "รักน้ำเกลี้ยง" เป็นวัสดุพื้นฐานในการประกอบงานเครื่องรักชนิดต่างๆ เช่น ผสมสมุก ถมพื้นทาผิว
รักสมุก คือรักน้ำเกลี้ยงผสมกับ "สมุก" มีลักษณะเป็นของเหลวค่อนข้างข้น ใช้สำหรับอุดแนวทางลงพื้นและ ถมพื้น
รักเกลี่ย คือรักน้ำเกลี้ยงผสมกับสมุกถ่านใบตองแห้งป่น บางทีเรียกว่า "สมุกดิบ" ใช้เฉพาะงาน อุดรูยาร่อง ยาแนวบนพื้นก่อนทารักสำหรับปิดทองคำเปลว
รักเช็ด คือรักน้ำเกลี้ยง นำมาเคี่ยวบนไฟอ่อนๆ เพื่อไล่น้ำให้ระเหยออกมากที่สุด จนได้เนื้อรักข้นและเหนียว จัด สำหรับใช้แตะ ทา หรือเช็ดลงบนพื้นแต่บางๆ เพื่อปิดทองคำเปลว หรือทำชักเงาผิวหน้างานเครื่องรัก
รักใส คือรักน้ำเกลี้ยงที่ผ่านกรรมวิธีสกัดให้สีอ่อนจากและเนื้อโปร่งใสกว่ารักน้ำเกลี้ยง สำหรับใช้ผสม สีต่างๆ ให้เป็นรักสี
รักแต่ละชนิดดังที่ได้แนะทำให้ทราบนี้ล้วนมีที่มาจาก "รักดิบ" อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น รักแต่ละชนิดจะมีคุณภาพ มากหรือน้อยก็ดี นำมาประกอบงานเครื่องรักแล้วจะได้งานที่ดี มีความคงทนถาวรเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ พื้นฐานของรักดิบ ที่ช่างรักรู้จักเลือกรักดิบที่มีคุณภาพดีมาใช้
ในงานช่างรัก ยังมีวัสดุบางชนิดที่ควรอธิบายควบคู่กัน เนื่องด้วยเป็นวัสดุที่มีบทบาทสำคัญยิ่งสิ่งหนึ่งสำหรับ ประกอบงานเครื่องรัก คือ "สมุก"
"สมุก" เป็นวัสดุที่ลักษณะเป็นผง หรือป่นเป็นฝุ่น สมุกที่ใช้ในงานเครื่องรักแบบไทยประเพณีอย่างโบราณวิธี มีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิด ดังนี้
สมุกอ่อน สมุกชนิดนี้ ได้แก่ ผงดินสอพอง ผงดินเหนียว เลือดหมูก้อน อย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมกับรักน้ำเกลี้ยงตีให้เป็นเนื้อเดียวกันให้ทารองพื้นที่ต้องการรองพื้น บางๆ และเรียบ
สมุกแข็ง ได้แก่ ผงถ่านใบตองแห้ง ผงถ่านหญ้าคา ผงปูนขาวอย่างใดอย่างหนึ่ง ผสมกับรักน้ำเกลี้ยงตีให้ เป็นเนื้อเดียวกัน ใช้ทารองพื้นที่ต้องการรองพื้นหนาและแข็งมาก
งานของช่างรักที่เกี่ยวข้องกับงานประเภทประณีตศิลป ประเภทมัณฑนศิลป และประเภทวิจิตรศิลปที่ได้รับ การสร้างสรรค์ด้วยระเบียบวิธีของช่างรักอย่างโบราณวิธีมีอยู่มากหลายลักษณะ ด้วยกัน ได้เลือกเอางานช่างรักที่มี ลักษณะสำคัญในด้านรูปแบบที่แสดงออกลักษณะการตกแต่งแบบไทยประเพณีโดยแท้มา แสดงให้ทราบต่อไปนี้
งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว
งานช่างประดับกระจก
งานช่างประดับมุก

งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว

งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว หรืออย่างที่คนส่วนมากเรียกสั้นๆ ว่า "ลงรักปิดทอง" คือกระบวนการตกแต่ง ผิวภายนอกของศิลปวัตถุหรือองค์ประกอบสำหรับงานสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณีด้วย การลงรักหรือทายางรัก แล้วปิดด้วยทองคำเปลวทับทำให้ผิวของศิลปวัตถุหรือองค์ประกอบสำหรับงาน สถาปัตยกรรมบางสิ่ง เป็นสีทองดำ เหลืองอร่ามและเป็นมันวาวเหมือนหนึ่งว่าทำด้วยทองคำอันเป็นความเชื่อโดยขนบ นิยมในสังคมไทยมาแต่โบราณกาล
งานช่างลงรักปิดทองคำเปลวได้ทำการที่เป็นงานปิดทองเป็น ๔ ลักษณะงานด้วยกัน คือ
งานลงรักปิดทองทึบ
งานลงรักปิดทองร่องชาด
งานลงรักปิดทองร่องกระจก
งานลงรักปิดทองลายฉลุ

การ ลงรักในพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า จะไม่มีการปิดทองเลย ถ้าพบพิมพ์ที่มีการปิดทองมาแต่เดิมส่วนมากมักจะเป็นพระสมเด็จชนิดพิเศษ นอกจากนั้นยังมีการลงรักพม่าหรือเมียนมาร์ซึ่งจะเป็นสีน้ำเงิน

พระพิมพ์ที่สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า...ส่วนใหญ่จะมีการลงรักสองชั้นคือ ลงรักชาดสีแดง ทับด้วยรักสมุกสีดำโดยจะลงทั้งด้านหน้าและด้านหลังเนื้อรักเท่ากันและที่ขอบทั้งสี่ด้าน การลงรักไม่สวยลงเพียงหยาบๆ และรักมักลบเลือนบางไปตามเวลา ไม่ร่อนกะเทาะ เพราะความหนาของรักไม่มาก ส่วนที่ลงรักหนาก็มีอยู่บ้าง ส่วนมากจะเป็นรักสมุกชั้นเดียวลงโดยฝีมือช่างรัก ซึ่งพบน้อยมาก
รักจีน...รักจุ่ม
2010-03-28 -รักจีน...รักจุ่ม...รู้ไหมว่า..พระสมเด็จวัดระฆัง..ช่างทารัก...หรือจุ่มรักเอ่ย...

...... ห้องนี้เปิดให้ชมรักจีนล้วน ๆ ..การลงรักเพื่อรักษาเนื้อผิวขององค์พระสมเด็จวัดระฆัง.เพื่อให้อายุการเก็บ รักษาพระไว้คงทน และยืนยาว การลงรักพระสมเด็จวัดระฆัง..เป็นการจุ่มรัก..มิใช่การทารัก..หลักฐานที่ปราก ฎนั้น...จะเกิดรักหนา บริเวณด้านหน้าองค์พระ..เท่านั้น..ส่วนด้านหลังจะปรากฎเนื้อรักบาง ๆ หรือเป็นเพียงการปาดเนื้อรักออก..อาจทำให้เกิดการเลอะเทอะบ้าง..แต่ไม่ได้ เป็นการตั้งใจในการลงรักด้านหลังแต่ประัการใด.ซึ่งต่างกับการลงรักของพระ สมเด็จวังหน้า...วังหลัง...กรมท่า...

(อ่านห้องรวมรัก..นะครับ..)
ดูการลงรักจีน..เต็ม ๆ

มีความสุขแล้ว.....เดี๋ยวเงินทองมาเอง....อย่าเครียดนะครับ...

บทความจาก และศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ .....
http://www.9pha.com//?cid=663741