วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติพระสมเด็จ


พระสมเด็จ พิมพ์ขอบกระจก เอาไว้ศึกษาและความศรัทธาของเจ้าของ รูปไม่ค่อยชัด กำลังส่งไปถ่ายภาพใหม่อยู่
พระสมเด็จวัดระฆัง (รายละเอียด )
2009-11-20 01:36:08

โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน

พระสมเด็จวัดระฆัง คือหนึ่งในมงคลวัตถุที่ทรงพุทธคุณ และอิทธิคุณ เป็นวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่าอย่างอเนกอนันต์ ความเป็นมาของชีวประวัติ การสร้างพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ยังเป็นสิ่งที่เราท่านจะต้องสืบต่อและค้นหาต่อไป แต่น่าเสียดายที่ความรู้ทางด้านนี้นับวันจะสืบค้นได้ยากขึ้นคงเป็นเพราะด้วยเวลาที่ผ่านมานาน และขาดการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ข้าพเจ้าเองพยายามสืบค้นจากหนังสือต่างๆ หลายสิบเล่มแต่ถ้าจะนับจริง ๆ แล้วเกือบ ๆ ร้อยเล่มเห็นจะได้ ก็ถือเป็นความพยายามของมนุษย์ผู้หนึ่งเท่านั้นที่มีจิตอันมั่นคงเคารพกราบไหว้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี อยู่เป็นนิจ หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้พยายามสืบค้นกันต่อไปด้วยจิตใจอันมุ่งมั่น และเปี่ยมด้วยความเคารพบูชา และพิจารณาด้วยสติปัญญายึดมงคล ๓๘ ประการ ของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญ
จากการสืบค้นของข้าพเจ้า จากข้อเขียน และเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงของอาจารย์ และผู้รู้หลายท่านยืนยันตรงกันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ถึง ๒๔๑๕ อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ส่วนการสร้างพระเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรนั้นคงยังนับไม่ได้ถือว่าท่านได้สร้างให้กับพระอาจารย์ของท่าน การนับการสร้างเป็นพระสมเด็จควรเริ่มจากปีที่ท่านได้เป็นสมเด็จแล้ว (ปี พ.ศ. ๒๔๐๗) การสร้างพระของท่านมิได้ยึดถือกำหนดว่ากดพิมพ์เป็นองค์พระแต่เมื่อใดแต่ท่านยึดถือว่าพระเครื่องรุ่นนั้นๆ สำเร็จตั้งแต่เป็นผงวิเศษแล้ว ในเรื่องผงวิเศษของท่านนั้นจะทำอยู่ตลอดที่ท่านมีเวลาหรืออาจกล่าวได้ว่าตามอัธยาศัย การทำผงวิเศษแต่ละครั้งสามารถสร้างพระได้หลายพรรษา และพรรษาที่ท่านได้ทำผงวิเศษมากที่สุด ได้แก่ สาม ห้า เจ็ด เก้า สิบเอ็ด สิบหก และยี่สิบ กล่าวกันว่าการสร้างพระสมเด็จของท่านนั้นกระทำทุกพรรษา มากบ้างน้อยบ้างตามแต่เวลาที่ท่านพึงมี ผงวิเศษของท่านก็ยังมอบให้แก่วัดต่างๆ ที่มาขอเพื่อเป็นส่วนผสมในการสร้างพระก็มาก หลังจากที่ท่านสิ้นชีพิตักษัยแล้ว (ปีที่ท่านสิ้น พ.ศ. ๒๔๑๕) ผงวิเศษก็ยังเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง
จากการบันทึกของจดหมายเหตุว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้มีพระราชประสงค์แต่งตั้งให้ท่านมีฐานานุกรมศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ด้วยเห็นว่าท่านมีความรู้ทางด้านอักษรศาสตร์ และทางวิปัสสนาธุระเป็นอย่างยิ่งแต่ท่านได้ทูลขอตัวไม่รับสมณศักดิ์นั้น โดยได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และเมื่อไปพำนักยังท้องถิ่นที่จังหวัดใด ในแถบนั้นมีพระชนิดใดที่ผู้คนกราบไหว้ท่านก็จะสร้างล้อแบบพิมพ์ชนิดนั้นตามแบบของท่าน เช่น เนื้อกระเบื้อง เนื้อดินเผา เนื้อผง เนื้อตะกั่วห่อชา เป็นต้น แล้วแจกจ่ายให้กับผู้คนในถิ่นนั้นๆ ที่เหลือบรรจุกรุไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ด้วยประการนี้เราจึงพบว่าในหลายจังหวัดมีพระสมเด็จในแบบและพิมพ์ต่างๆบรรจุกรุไว้มากมาย เช่น ราชบุรี อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร เชียงราย เป็นต้น
ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมภาณีแห่งวัดระฆังได้เล่าให้ฟังว่า พระสมเด็จองค์แรกที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างคือ “พระสมเด็จหลังเบี้ย” หรือ “พระสมเด็จดินสอเหลือง ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือของคนโบราณ ด้านหน้าเป็นรูปพระสมเด็จทรงพิมพ์ใหญ่ ด้านหลังแต่งให้นูนเหมือนหลังเบี้ยจั่น สร้างด้วยดินสอเหลือง ผสมกล้วยน้ำไทย น้ำอ้อย น้ำตาลเคี่ยว น้ำมันทัง และมวลสาร ท่านชุบ วินทวามร อดีตผู้พิพากษา ซึ่งเป็นพีชาย (ลูกพี่ลูกน้อง)ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) นักนิยมพระสมเด็จในสมัยโบราณ ท่านได้ศึกษาและรับฟังจากผู้ใหญ่หลายๆ ท่านบอกต่อกันมาว่า เชื่อว่าสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แกะพิมพ์นี้เองเป็นพิมพ์แรก
ในปัจจุบันสมเด็จหลังเบี้ยหาดูไม่ได้แล้ว ได้ทราบว่า นายเปลื้อง แจ่มใส ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานหล่อพระที่บ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นผู้หนึ่งที่ครอบครอง ต่อมาได้มอบพระสมเด็จหลังเบี้ยนี้ให้แก่ นายวิจิตร แจ่มใส ซึ่งต่อมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์หลายสมัย ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว และไม่ทราบว่าพระสมเด็จหลังเบี้ยตกไปอยู่กับท่านผู้ใด
พระสมเด็จหลังเบี้ยนั้น พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) ได้ครอบครองไว้หนึ่งองค์ทราบว่าก่อนจะมรณภาพได้มอบให้แก่นายแพทย์สำเริง รัตนรพี อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพยาธิวิทยาของโรงพยาบาลศิริราช
พระสมเด็จที่ท่านสร้างส่วนใหญ่สร้างที่วัดระฆัง แต่ยังมีข้อถกเถียงกันไม่รู้จบว่าพระสมเด็จวัดระฆังไม่บรรจุกรุ และมีพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังเพียง ๕ พิมพ์ เท่านั้น ซึ่งวงการพระสมเด็จที่บูชาพระตามกระแสของสังคมเชื่อเช่นนั้น ส่วนกลุ่มที่บูชาพระสมเด็จจากการศึกษาค้นคว้าหาความจริงจากประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระสมเด็จมีมากมายหลายร้อยพิมพ์มีทั้งบรรจุกรุและไม่บรรจุกรุ และอาจจะมีนักเล่นพระบางกลุ่มที่มิอาจหลีกเลี่ยงหลักแห่งความเป็นจริงไปได้ ยอมรับว่ามีพระสมเด็จวัดระฆังมีสภาพเหมือนพระในกรุจริง เป็นพระฝากกรุเรียกกันว่า “พระสองคลอง” แต่ในหลักแห่งความเป็นจริงแห่งการสืบค้น และข้อสันนิษฐาน เชื่อได้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างถาวรวัตถุอันเป็นมงคลวัตถุ หรือจะเรียกว่าปูชนียสถานในทางพุทธศาสนาที่ใด ท่านจะนำพระพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังบรรจุกรุ ณ ที่นั้น และในหลาย ๆ ที่จะพบพระสมเด็จที่บรรจุในกรุมากมาย เช่น พระสมเด็จวัดอินทรวิหาร พระสมเด็จวัดไชโยวรวิหาร พระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ พระสมเด็จวัดกลางคลองข่อย พระสมเด็จวัดกุฎีทอง พระสมเด็จวัดสะตือ พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) และอีกหลายวัดที่ได้ขอผงวิเศษของท่านไปสร้างพระเองก็มาก เช่น พระสมเด็จวัดพระแก้ว พระสมเด็จวัดพลับ พระสมเด็จปิลันท์ เป็นต้น ส่วนพิมพ์พระสมเด็จที่พบนั้นก็มีมากมายหลายร้อยพิมพ์ ที่นำมาอ้างถึงข้าพเจ้าเองอยากจะให้ท่านที่เคารพกราบไหว้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และอยากมีพระสมเด็จไว้บูชาจะได้ไม่เสียโอกาส และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งเป็นการสืบทอดทางพระพุทธศาสนาตามเจตนารมณ์อันบริสุทธิของท่านต่อไป พระสมเด็จไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใดสร้างเมื่อใด อยู่ที่ไหน ล้วนแล้วแต่ทรงพุทธคุณ และอิทธิคุณเป็นอเนกอนันต์ และที่สำคัญก็คือความยึดมั่นในคุณอันประเสริฐแห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ขอให้ท่านประพฤติดีมีศีลธรรม พุทธคุณ และอิทธิคุณแห่งพระสมเด็จจะอยู่ที่ใจท่านและคุ้มครองป้องกันภัย ให้ท่านมีความสุขทั้งกายและใจตลอดไป ขอให้ท่านผู้เลื่อมใสศรัทธาได้พิจารณาด้วยสติให้ถ่องแท้

ปูชนียสถานในทางพุทธศาสนา ที่ท่านได้สร้างไว้ และบรรจุพระสมเด็จ ดังนี้
๑. พระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย วัดกุฎีทอง (วัดพิดเพียน) ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอท่าพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒. พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดสะตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๓. พระมหาพุทธพิมพ์ปางสมาธิ วัดไชโยวรวิหาร ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
๔. พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร วัดกลางคลองข่อย ตำบลคลองข่อย อำเภอพาราม จังหวัดราชบุรี
๕. พระเจดีย์นอน วัดละครทำ ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (ธนบุรี)
๖. พระศรีอริยเมตไตรย (หลวงพ่อโต) วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม อำเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พุทธศิลป์ของพระสมเด็จวัดระฆัง ศิลปะโบราณในแต่ละยุคที่ช่างสิบหมู่ (ช่างแกะพิมพ์) นำมาเป็นต้นแบบในการแกะพิมพ์
๑. สมัยเชียงแสน
๒ สมัยสุโขทัย
๓. สมัยอู่ทอง
๔. อยุธยา
๕. รัตนโกสินทร์ตอนต้น

พุทธศิลป์ที่เป็นความหมายในองค์พระสมเด็จวัดระฆัง
๑. รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หมายถึงแผ่นดินที่ทรงพระอริยสัจจ์
๒. วงโค้งในรูปสี่เหลี่ยม หมายถึงอวิชาที่คลุมพิภพ
๓. รูปสามเหลี่ยมในวงโค้ง หมายถึงพระรัตนตรัย
๔. รูปพระนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ หมายถึงพระพุทธเจ้าปางตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์
๕. ฐานสามชั้น หมายถึงพระไตรปิฎก
๖. ฐานเจ็ดชั้น หมายถึงอปนิหานิยมธรรม
๗. ฐานเก้าชั้น หมายถึงมรรคแปด นิพพานหนึ่ง

จำนวนการสร้าง
ส่วนในเรื่องของจำนวนการสร้าง ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์
เป็นปฐม ต่อจากนั้นจะสร้างเพิ่มอีกเท่าใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แม้ลูกศิษย์ใกล้ชิดที่มาช่วยท่านสร้างพระก็ยังไม่สามารถบอกได้ถึงจำนวนที่แน่นอน อาทิเช่น พระภิกษุภู คือหลวงปู่ภูพระเกจิอาจารย์ชั้นยอดของเมืองไทยแห่งวัดอินทรวิหาร พระภิกษุพ่วง พระภิกษุแดง พระภิกษุโพ สามเณรเล็ก ทุกรูปขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม และท่านสุดท้ายที่กล่าวอ้างถึงคือ หลวงบริรักษ์โรคาพาธ (ฉุย) มีอายุใกล้เคียงกับท่าน มีบ้านอยู่วังหลังใกล้กับวัดระฆัง และมีตำแหน่งเป็นแพทย์หลวงในรัชกาลที่ ๔ ถึงแก่มรณกรรมเมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ และเชื่อได้ว่าคงไม่เฉพาะท่านที่เอ่ยนามมาเท่านั้นอาจจะมีอีกหลายสิบหรือหลายร้อยท่านที่เป็นสานุศิษย์ของท่าน ได้ช่วยกันสร้างพระสมเด็จก็เป็นไปได้

แบบพิมพ์ แบ่งเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
๑. พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างหลวง (ช่างสิบหมู่) จากการแกะแม่แบบโดยเจ้าฟ้าอิสราพงศ์ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง ปฏิมากร เป็นต้นสกุลปฏิมากร) และช่างหลวงจากสกุลช่างสิบหมู่ จัดเป็นพุทธศิลป์ที่มีความวิจิตรงดงาม และได้รับการยอมรับเป็นพิมพ์นิยม ๕ พิมพ์ ในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าพิมพ์เหล่านี้แกะถวายเมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว
๒. พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบตามความต้องการของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ส่วนใหญ่เป็นฝีมือของ นายเทศ ซึ่งเป็นหลานของท่าน เป็นช่างแกะพิมพ์พระ รวมทั้งสานุศิษย์และผู้ใกล้ชิด
๒.๑ แบบพิมพ์ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา เรื่องราวพุทธประวัติ และ เหตุการณ์ต่างๆ เช่น พิมพ์สมเด็จเกศไชโย ๖ ชั้น และ ๗ ชั้น พิมพ์ทรงฉัตร พิมพ์ทรงครุฑ พิมพ์ระฆังครอบ พิมพ์ทรงเจดีย์นอน พิมพ์แจวเรือจ้าง พิมพ์รูปเหมือน เป็นต้น
๒.๒ แบบพิมพ์ที่ล้อจากพิมพ์พระที่กำลังมีความนิยมในยุคนั้นๆ และจัดสร้างตามแบบของท่าน เช่น พิมพ์นางพญา พิมพ์ผงสุพรรณ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์พระรอด พิมพ์ทุ่งเศรษฐี พิมพ์ขุนแผน พิมพ์ขอบกระด้ง พิมพ์กลีบบัว พิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์เล็บมือ เป็นต้น
๓. พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างในสกุลช่างสิบหมู่แห่งตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี แกะพิมพ์แม่แบบทำด้วยโลหะลักษณะกดปั๊มแล้วตัดขอบเป็นพิมพ์นิยมหลังแบบสร้างพระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ บรรจุกรุเพดานพระอุโบสถ และพระวิหารวัดละครทำ
๔.พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยฝีมือช่างชาวบ้านมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีน เป็นต้น ส่วนใหญ่จะแกะตามจินตนาการ และฝีมือของแต่ละคน จึงเป็นพิมพ์มีความแตกต่าง ไม่ค่อยสวยงามนักมีลักษณะผิดไปจากพิมพ์นิยมมาก พิมพ์เหล่านี้มีมากมายสันนิษฐานว่ามีชาวบ้านแกะมาถวายว่าตั้งแต่ท่านเริ่มสร้างพระจนกระทั่งท่านถึงแก่ชีพิตักษัย

การสืบค้นในตำรา และข้อเขียนของผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้ว่า คุณหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการให้ความเห็นถึงกรรมวิธีในการสร้างพระสมเด็จให้มีความคงทน สวยงาม ด้วยการเพิ่มมวลสารที่ยึดเกาะ และเป็นผู้หนึ่งที่ได้แกะพิมพ์พระสมเด็จถวายซึ่งกล่าวกันว่ามีความสวยงามไม่น้อยเช่นกัน

วัสดุที่ใช้ในการสร้างพิมพ์
ดินเผา ไม้จันทน์ หินอ่อน หินลับมีดโกน ปูนขาว โลหะ ฯลฯ ในปัจจุบันพิมพ์แม่แบบเหล่านี้หาดูไม่ได้แล้วทราบแต่คำบอกเล่าของ พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) ว่า “เมื่อท่านสิ้นพิมพ์พระสมเด็จส่วนหนึ่งจะอยู่ที่วัดระฆัง อีกส่วนก็กระจัดกระจายไปอยู่กับลูกศิษย์บ้าง ชาวบ้านในละแวกนั้นบ้าง ไม่ได้เก็บรักษาไว้ตามที่ควร ในตอนหลังทราบว่าวัดได้ทำลายพิมพ์เหล่านั้นจนสิ้นด้วยเหตุแห่งมีการปลอมแปลงกันมาก”

หลักฐานพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง
อีกหลักฐานหนึ่งที่สำคัญได้มีการจดบันทึกไว้เป็นประวัติพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังแต่ละพิมพ์ โดยหลวงปู่คำ (วัดอัมรินทร์) ซึ่งก็เป็นในช่วงเวลาสุดท้ายของการ สร้างพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ได้ถูกคัดลอกไว้ ซึ่งระบุเฉพาะแม่พิมพ์ที่ไม่ชำรุดแตกหัก อยู่ในสภาพดีในเวลานั้นเท่านั้น ซึ่งบันทึกไว้ว่า จำนวนแม่พิมพ์ที่มีเหลืออยู่ในสภาพดี ดังนี้
๑. พิมพ์ประธาน ๕๑
๒.พิมพ์ใหญ่(พิมพ์ชายจีวร บาง หนา เส้นลวด) ๑๕๒
๓. พิมพ์อกร่อง หูยาน ฐานแซม ๓๑
๔. พิมพ์เกศบัวตูม ๔๑
๕. พิมพ์ปรก ๕๑
๖. พิมพ์ฐานคู่ ๓๑
๗. พิมพ์เส้นด้าย ๑๕๒
๘. พิมพ์สังฆาฏิ ๗๑
๙. พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ ๑๖๑
๑๐.พิมพ์ทรงเจดีย์ ๒๑

นอกจากพิมพ์นิยมข้างบนนี้ ยังรวมพิมพ์คะเเนน และมีพิมพ์อื่น ๆ อีก ๘๓ พิมพ์

*** ที่สำคัญพบว่ายังมีอีกหลายร้อยพิมพ์ที่มิได้มีการจดบันทึกไว้เป็นรายลักษณ์อักษร

พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังที่เป็นพิมพ์นิยม
๑. พิมพ์ใหญ่
๒. พิมพ์ทรงเจดีย์
๓. พิมพ์เกศบัวตูม
๔. พิมพ์ปรกโพธิ์
๕. พิมพ์ฐานแซม

ประเภทของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. เนื้อผง
๑.๑ เนื้อน้ำมัน
๑.๒ เนื้อปูน
- เนื้อปูนเพชร
- เนื้อปูนขาวลงรักปิดทองล่องชาด
๑.๓ เนื้อสังคโลก
๑.๔ เนื้อหินลับมีดโกน
๑.๕ เนื้อชานหมาก
๑.๖ เนื้อมวลสาร (ข้าวสุก ก้านธูป เศษจีวร ทองคำเปลว)
๑.๗ เนื้อเกสรดอกไม้
๑.๘ เนื้อดินสอเหลือง
๑.๙ เนื้อผงใบลานเผา
๑.๑๐ เนื้อแป้งข้าวเหนียว
๒. เนื้อกระเบื้อง
๓. เนื้อดินเผา
๔. เนื้อโลหะ
๔.๑ เนื้อเงิน
๔.๒ เนื้อตะกั่วห่อใบชา

อานุภาพแห่งอภิญญา ๖ แห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. อิทธิวิธี วิชาที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้
๒. ทิพโสต วิชาหูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ วิชารู้จิตใจผู้อื่น
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ วิชาระลึกชาติได้
๕. ทิพจักษุ วิชาตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ วิชาการทำอาสวะให้สิ้น

พระสูตรคาถาที่ลงในดินสอมหาชัยสร้างเป็นผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี
๑. มูลกัจจายน์ พระสูตรคาถาใหญ่ก่อนที่จะเจริญพระสูตรคาถาอื่นๆ
๒. มหาราช ผงมหาราชมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม
๓. ตรีนิสิงเห ผงตรีนิสิงเห เชื่อว่ามีอานุภาพทั้งทางอยู่ยงคงกระพัน
เมตตามหานิยม ตลอดจนถอนคุณไสยสิ่งอวมงคลทั้งมวล
๔. อิทธะเจ ผงอิทธะเจมีอานุภาพทางเมตตามหานิยมโดยเฉพาะแก่สตรีเพศ
๕. ปถมัง ผงปถมัง เชื่อว่ามีอานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้
๖. พุทธคุณ ผงพุทธคุณเป็นพระคาถาย่อยในพระคาถาปถมัง ผงพุทธคุณ ป้องกันได้สารพัดทั่วทุกทิศ คุ้มกันได้สิ้น ศึกสงครามก็จะได้ชัยชนะ ค้าขายดีมีกำไร มีความเจริญรุ่งเรืองบังเกิดลาภผลพูนทวี จะลงเป็นผ้าประเจียดป้องกันศาสตราอาวุธก็ได้ ทั้งเป็นเสน่ห์แก่บุคคลโดยทั่วไป

การสร้างดินสอมหาชัย (ดินสอเหลือง)
ดินสอมหาชัยหรือดินสอเหลือง คือวัตถุมงคลที่นำมาเขียนอักขละเลขยันต์ในขณะเจริญพระสูตรคาถา ลบและได้ผงวิเศษนำมาเป็นส่วนผสมที่สำคัญยิ่งในการสร้างพระสมเด็จ มีส่วนผสมที่สำคัญ และการสร้างดังนี้
ใช้ดินสอพองบดละเอียด หรือนำดินสอพองแช่น้ำพอละลายผสมเข้ากับน้ำข้าวและน้ำอ้อยเพื่อให้เกิดการจับตัวสามารถปั้นเป็นแท่งขึ้นรูปได้ จากนั้นตากให้แห้ง และย้อมด้วยน้ำเถาตำลึงคั้นอย่างเข้มข้นเพื่อป้องกันดินสอและผงติดมือขณะเขียน นำมาเขียนลบขณะเจริญพระสูตรคาถา เมื่อเขียนลบจนได้ผงวิเศษแล้วจึงนำมาผสมกับมวลสารมงคลต่าง ๆ แล้วจัดสร้างเป็นพระสมเด็จต่อไป

มวลสารต่างๆที่เป็นส่วนผสมที่สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน หรือถ้วยชามเบญจ รงค์ของไทย ปูนขาว
๒. หินอ่อน หรือ ศิลาธิคุณ
๓. ดินหลักเมือง ๗ หลัก
๔. ดินสอพอง
๕. ดินโปร่งเหลือง
๘. ข้าวสุก และอาหารสำรวม
๙. แป้งข้าวเหนียว
๑๐. กล้วยน้ำไทย
๑๑. ยางมะตูม
๑๒. น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อยเคี่ยว
๑๓. น้ำมันทัง
๑๔. ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธาน
๑๕. ผงใบลานเผา
๑๖. ดอกบัวสัตตบุษย์
๑๗. ดอกมะลิ
๑๘. ดอกกาหลง
๑๙. ยอดสวาท
๒๐. ยอดรักซ้อน
๒๑. ราชพฤกษ์
๒๒. พลูร่วมใจ
๒๓. พลูสองหาง
๒๔. กระแจะหอม
๒๕. ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด
พุทธคุณ และอิทธิคุณ “อิทธิคุณ” คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ “พุทธคุณ” คือ คำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้าเพราะการเริ่มบทสวดที่จะเจริญพระคาถาใด ๆจะต้องเริ่มจากบทสวดในการคำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ แต่ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนจะนิยมเรียกว่า “พุทธคุณ” ซึ่งก็น่าจะมีส่วนถูกต้อง
ข้อสรุปในการศึกษาการสร้างพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ถึง ๒๔๑๕ อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ส่วนการสร้างพระเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรนั้นคงยังนับไม่ได้ว่าเป็นพระสมเด็จ
๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี การสร้างพระของท่านมิได้ยึดถือกำหนดว่า กดพิมพ์เป็นองค์พระแต่เมื่อใดแต่ท่านยึดถือว่าพระเครื่องรุ่นนั้น ๆ สำเร็จตั้งแต่เป็นผงวิเศษแล้ว
๓. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างพระสมเด็จจำนวน ๘๔’,๐๐๐ องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์ อันเปรียบได้ถึงการระลึกถึงพระคุณอันประเสริฐของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า และการสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างแบบพิมพ์มากกว่า ๒๐๐ พิมพ์ โดยแบ่งเป็น
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างหลวง (ช่างสิบหมู่)
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบตามความต้องการของท่าน
- พิมพ์ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา เรื่องราวพุทธประวัติ และ เหตุการณ์ต่าง ๆ
- พิมพ์ที่ล้อจากพิมพ์พระที่กำลังมีความนิยมในยุคนั้น ๆ
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยฝีมือช่างชาวบ้านมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
๕. พระสมเด็จวัดระฆังมีทั้งสร้างแล้วแจก กับสร้างแล้วนำบรรจุกรุ เชื่อได้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างถาวรวัตถุอันเป็นมงคลวัตถุ หรือจะเรียกว่าปูชนียสถานในทางพุทธศาสนาที่ใด ท่านจะนำพระพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังบรรจุกรุ ณ ที่นั้น
ข้อเขียนนี้ถือเป็นลิขสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมาย ของอาจารย์ไพรพนา ศรีเสน อนุญาตให้ใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ เพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่ต้องขออนุญาต

อ้างอิง

๑. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์)
๒. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากวิกิพีเดียร์ สารานุกรมเสรี
๓. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากหลวงพ่อเจริญ ฐิตธรรมโม วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
๔. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์)
๕. จากบทความเรื่อง ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จจากไป โดยนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ในหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
๖. สี่สมเด็จ โดยนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ พิมพ์ที่ แอลซีเพรสส์ ๒๕๒๗
๗. จากหนังสือภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต เขียนและจัดพิมพ์โดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะ นาวิน พิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ๑ มีนาคม ๒๕๒๗
๘. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง นายธงชัย พลอยช่าง (สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ช่างปั้นพระปฏิมากร บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
๙. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง พระภิกษุวงษ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย)
วัดดงมูลเหล็ก กรุงเทพฯ (อายุ ๘๕ ปี ๕๐ พรรษา)
๑๐. ประวัติช่างสิบหมู่ จากวิกิพีเดียร์ สารานุกรมเสรี
๑๑. พระคัมภีร์และพระสูตรคาถา จากวิกิพีเดียร์ สารานุกรมเสรี
๑๒. ภาพเขียนบนผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร


ป้าย : รายละเอียดพระสมเด็จวัดระฆัง
Dictionary : รายละเอียดพระสมเด็จวัดระฆัง
http://crazylove.212cafe.com/archive/2009-11-20/020118/
พระสมเด็จวัดพระแก้ว
2009-11-20 01:58:30
พระสมเด็จวัดพระแก้ว
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้ว
พระสมเด็จวัดพระแก้ว บรรจุกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่เรียกกันทั่วไปว่า “พระสมเด็จกรมท่าและพระสมเด็จวังหน้า”
พระสมเด็จกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ผู้สร้างคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) (กรมท่าในรัชกาลที่ ๔) เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี (กรมท่าในรัชกาลที่ ๕) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้าในรัชกาลที่ ๕) สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พระอุตรเถระ (หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร) หลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทราราม หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นหลายรูป
ในทางศิลป์ถือได้ว่าเป็นสุดยอดในทางฝีมือการช่างอันวิจิตร (ประณีตศิลป์) เป็นวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่า เป็นมงคลวัตถุ เป็นพุทธปฏิมา (องค์แทนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ให้มนุษย์ระลึกถึงและกระทำแต่ความดี และที่สำคัญเป็นที่รวมแห่งสุดยอดของพระสูตรคาถา ผู้ที่ครอบครองพระสมเด็จชุดนี้จะปราศจากอันตรายทั้งปวง แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นเมตตามหานิยมเป็นที่รักและนับถือแก่บุคคลโดยทั่วไป รักษาโรคภัยไข้เจ็บไม่เข้ามากล้ำกราย อาวุธเขี้ยวงาไม่สามารถทำอันตรายได้ ค้าขายประกอบธุรกิจดีมีกำไร และทรงคุณความดีอันประเสริฐอีกนานัปการ แก่ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่น และกระทำแต่ความดี

พระสมเด็จกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)และกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) นั้นตามประวัติการสืบค้นนั้นแบ่งการสร้างออกเป็น ๓ ช่วง

๑. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เจ้าคุณกรมท่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ สร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่า) แม่พิมพ์แกะโดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และใช้ผงวิเศษของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในคราวนั้นได้มอบให้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และประชาชนโดยทั่วไป ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการบรรจุกรุที่ใด สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พุทธาภิเษก พระเทพโลกอุดรเป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษกโดยอทิสสมานกาย (อทิสสมานกาย คือกายที่มองไม่เห็นถ้าไม่แสดงอภินิหาร) ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)

๒. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๒ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่าและพระสมเด็จวังหน้า) ใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังและแกะขึ้นใหม่บางส่วนให้เหมือนกับพิมพ์นิยมของวัดระฆัง และใช้ผงวิเศษของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เพื่อเป็นสิริมหามงคลเนื่องในการเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ในคราวนั้นได้ถวายแด่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นสำคัญ ที่เหลือบรรจุในสุวรรณเจดีย์ เจดีย์ย่อไม้สิบสอง ฐานชุกชีหลังครุฑวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บนเพดานพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษก คณะสงฆ์ประกอบด้วยหลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นอีกหลายรูปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)

๓. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่า และพระสมเด็จวังหน้า) ใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังและแกะขึ้นใหม่หลายสิบพิมพ์ ใช้ผงวิเศษของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีที่เก็บรักษาไว้รวมทั้งการย่อยสลายพระสมเด็จที่หักชำรุดจำนวนหนึ่ง และจากผงวิเศษของพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้น สร้างพระสมเด็จเพื่อเป็นมหามงคลการฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในคราวนั้นได้ถวายแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทุกลำดับชั้นและประชาชนโดยทั่วไปเป็นสำคัญ ที่เหลือบรรจุใต้หลังคาพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นประธานสงฆ์ คณะสงฆ์ประกอบด้วยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัต เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา) วัดพระเชตุพน พระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวน ๑๐๘ รูป ทำพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

การสร้างพระสมเด็จที่บรรจุกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่จัดเป็นพิธีหลวงเริ่มในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) พระสมเด็จที่สร้างมีทั้งทัน และไม่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ แต่ถึงแม้ท่านมิได้พุทธาภิเษกแต่ก็ได้มอบมวลสารไว้ให้หลายส่วน เป็นมวลสารแห่งสุดยอดพระสูตรคาถามีพุทธคุณ และอิทธิคุณอย่างเป็นเลิศอเนกอนันต์) ส่วนพิธีพุทธาภิเษกในแต่ละครั้งก็จัดเป็นพิธีหลวงถูกต้องตามหลักพิธีการมีพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบชื่อดังหลายรูปในยุคนั้นมาร่วมพิธีนั่งปรกด้วย (ในเรื่องของพิธีหลวง หรือพิธีธรรมดาสามัญนั้นความสำคัญขึ้นอยู่กับพระภิกษุที่เข้าร่วมพุทธาภิเษกเป็นสำคัญ และจะขอกล่าวให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมว่าการพุทธาภิเษกพระพุทธรูป หรือพระเครื่องซึ่งเป็นวัตถุมงคลนั้น มงคลที่ถูกบรรจุในวัตถุมงคลเรียกว่า “อิทธิคุณ” อิทธิคุณ คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ พุทธคุณ คือ คำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า แต่ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนจะนิยมเรียกว่า “พุทธคุณ” ซึ่งก็น่าจะมีส่วนถูกต้องเพราะการเริ่มบทสวดที่จะเจริญพระคาถาใดๆจะต้องเริ่มจากบทสวดในการคำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ) ส่วนในเรื่องของแบบพิมพ์มีมากมายหลายพิมพ์ทั้งเป็นพิมพ์ดั้งเดิมหรือพิมพ์นิยมของพระสมเด็จวัดระฆัง และที่แกะแบบพิมพ์ขึ้นมาใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอยู่หัว พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เจ้ากรมช่างสิบหมู่ และฝีมือช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีความวิจิตรบรรจง มีความลงตัวทั้งรูปแบบและรูปทรงสวยงามเป็นอย่างยิ่ง โดยแกะจากไม้มะเกลือ หินลับมีด หินอ่อน ปูน และโลหะ (สันนิษฐานว่ามีมากกว่าหนึ่งร้อยพิมพ์) ส่วนมวลสารก็คัดสรรจากหลายประเทศ เช่น จีน พม่า และประเทศในแถบยุโรป ถือเป็นสุดยอดแห่งมวลสาร ในด้านการย่อยสลายมวลสารต่างๆนั้นค่อนข้างที่จะมีความทันสมัยมากกว่ายุคแรกๆ ที่แต่เดิมจากการใส่ครกตำมาใช้เป็นเครื่องบด จึงได้มวลสารที่มีความละเอียดสม่ำเสมอ และได้จำนวนมากขึ้น ส่วนจำนวนการสร้างที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงอันเนื่องด้วยไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน คงเป็นการสันนิษฐานด้วยหลักเหตุผลมากกว่าซึ่งประมาณว่าจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เป็นประถม (เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ อันเป็นที่ยึดถือแห่งจำนวนการสร้างพระของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และเป็นที่นิยมเลื่อมใสศรัทธราแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน)
พุทธศิลป์ของพระสมเด็จวัดพระแก้ว คือศิลปะโบราณในแต่ละยุคที่ช่างสิบหมู่ (ช่างแกะพิมพ์) นำมาเป็นต้นแบบในการแกะพิมพ์
๑. สมัยเชียงแสน
๒. สมัยสุโขทัย
๓. สมัยอู่ทอง
๔. อยุธยา
๕. รัตนโกสินทร์ตอนต้น
พุทธศิลป์ที่เป็นความหมายในองค์พระสมเด็จวัดพระแก้ว
๑. รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หมายถึงแผ่นดินที่ทรงพระอริยสัจจ์
๒. วงโค้งในรูปสี่เหลี่ยม หมายถึง อวิชาที่คลุมพิภพ
๓. รูปสามเหลี่ยมในวงโค้ง หมายถึงพระรัตนตรัย
๔. รูปพระนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ หมายถึงพระพุทธเจ้าปางตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์
๕. ฐานสามชั้น หมายถึงพระไตรปิฎก
๖. ฐานเจ็ดชั้น หมายถึงอปนิหานิยมธรรม
๗. ฐานเก้าชั้น หมายถึงมรรคแปด นิพพานหนึ่ง

อานุภาพแห่งอภิญญา ๖ แห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. อิทธิวิธี คือวิชาที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้
๒. ทิพโสต คือวิชาหูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ วิชารู้จิตใจผู้อื่น
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ วิชาระลึกชาติได้
๕. ทิพจักษุ วิชาตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ วิชาการทำอาสวะให้สิ้น

พระสูตรคาถาที่ลงในมวลสาร (ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี)
๑. มูลกัจจายน์ พระสูตรคาถาใหญ่ก่อนที่จะเจริญพระสูตรคาถาอื่น
๒. มหาราช ผงมหาราชมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม
๓. ตรีนิสิงเห ผงตรีนิสิงเห เชื่อว่ามีอานุภาพทั้งทางอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม ตลอดจนถอนคุณไสยสิ่งอวมงคลทั้งมวล
๔. อิทธะเจ ผงอิทธะเจมีอานุภาพทางเมตตามหานิยมโดยเฉพาะแก่สตรีเพศ
๕. ปถมัง ผงปถมัง เชื่อว่ามีอานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้
๖. พุทธคุณ ผงพุทธคุณเป็นพระคาถาย่อยในพระคาถาปถมัง ผงพุทธคุณ ป้องกันได้สารพัดทั่วทุกทิศ คุ้มกันได้สิ้น ศึกสงครามก็จะได้ชัยชนะ ค้าขายดีมีกำไร มีความเจริญรุ่งเรืองบังเกิดลาภผลพูนทวี จะลงเป็นผ้าประเจียดป้องกันศาสตราอาวุธก็ได้ ทั้งเป็นเสน่ห์แก่บุคคลโดยทั่วไป

มวลสารต่างๆที่เป็นส่วนผสมหลักของพระสมเด็จวัดพระแก้ว
๑. ปูนที่เกิดจากการย่อยสลายหินด้วยวิธีการบดจากเขาในเมืองอันฮุย มณฑล
เสฉวน ประเทศจีน (ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน หรือถ้วยชามเบญจรงค์ของไทย)
๒. หินอ่อน (จากศิลาจารึกพระคาถาพญาธรรมิกราชอยู่ในสระน้ำวัดระฆังโฆสิตาราม วัดอินทรวิหาร และวัดหงส์รัตนาราม)
๓. ดินหลักเมือง
๔. รัตนชาติ (แร่สีต่างๆที่นำมาใช้ทำเครื่องประดับ นำมาย่อยละเอียด พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ ขาว)
๕. แร่เหล็กไหล (ขี้เหล็กไหลหรือผงเหล็กไหล)
๖. ผงทองนพคุณ (ผงทองเนื้อหก หรือทองดอกบวบที่นิยมทำทองรูปพรรณในสมัยก่อน
เป็นผงทองจากการตะไบทองที่ทำทองรูปพรรณ)
๗. ผงแก้วทรายสีต่างๆบดละเอียด
๘. ข้าวสุก
๙. ผงใบลานเผา
๑๐. กล้วยน้ำไทย
๑๑. ยางมะตูม
๑๑. น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อยเคี่ยว
๑๒. น้ำมันทัง
๑๓. ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด

สีมงคลที่ใช้ในองค์พระสมเด็จวัดพระแก้ว
รักชาด (รักสีแดง เกิดจากน้ำยางรักกับชาดจอแสนำมาเคี่ยวรวมกัน)
รักสมุก (รักสีดำ เกิดจากน้ำยางรักกับใบตองเผาไฟบดละเอียดนำมาเคี่ยวรวมกัน)
รักน้ำเงินจากพม่า (เกิดจากน้ำยางรักกับครามนำมาเคี่ยวรวมกัน)
สีประจำวัน (สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง)
สีสิริมงคลฉัพพรรณรังสี คือแสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลางพระสรีระกายของ พระพุทธเจ้าเป็นรัศมี ๖ ประการ คือ
๑. นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒. ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง
๓. โลหิตตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน
๕. มัญเชฏฐะ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
๖. ปภัสสระ เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก
สีที่ประกอบเป็นเครื่องห้าสีโดยเพิ่มสีดำเข้ามา (สีเญจรงค์) จีนเรียก อู๋ใช้ ได้แก่ ขาว เหลือง ดำ เขียว แดง ซึ่งแทนความหมายของธาตุทั้งห้า คือ ทอง ดิน น้ำ ลม และไฟ

หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดพระแก้ว
๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
๒. มวลสาร
๓. รัก ชาด ทอง
๔. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๕. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
๖. ฌานสมาบัตร

๑. ทรงพิมพ์มีทั้งที่เป็นพิมพ์นิยม (พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหม) วัดไชโยวรวิหาร พิมพ์นางพญา พิมพ์ผงสุพรรณ พิมพ์ซุ้มกอ) และทรงพิมพ์อื่นๆ พิมพ์รูปเหมือนต่างๆ ล้วนมีความหมายสื่อให้ทราบถึงพุทธศิลป์ ความดี ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ศาสนา และความศักดิ์สิทธิ์ พิมพ์คมชัดสมส่วน สวยงาม (ส่วนใหญ่เป็นพิมพ์แบบถอดยกสองชิ้นประกบกัน)
๒. เนื้อขององค์พระทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ละเอียด แห้งแต่หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ไม่ละลายในน้ำ และน้ำส้มสายชู วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม รวมถึงสีที่เป็นมงคลต่างๆ และที่เรียกกันว่าสีเบญจสิริ
๓. การพิจารณา รัก ชาด ผิวด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระจะมีทั้งลงชาดรักและไม่ลงชาดรัก การลงชาดรักสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ หรือรักสีน้ำเงินจากประเทศพม่า ชาดรักพบว่ามีความเก่ามากให้สังเกตว่าสีของรักเหมือนสีของตากุ้ง น้ำเงินจางๆแต่คล้ำ ส่วนใหญ่จะร่อนและลอกออกไป การลอกจะเป็นหย่อมๆไม่ทั่วทั้งองค์พระ มากบ้างน้อยบ้างตามกาลเวลา และมีลักษณะเป็นไปโดยธรรมชาติ
๔. การพิจารณา “สีสิริมงคล” ที่นำมาผสมลงในเนื้อพระเป็นสีต่างๆ อันประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง และพระเบญจสิริ อันประกอบด้วย สีขาว เหลือง ดำ เขียว แดง และใสดังแก้วผลึก สีแต่ละสีจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวเอง กล่าวคือมันเป็นเงางาม สีสดใส ไม่ละลายน้ำ น้ำมัน ทนต่อสภาวะธรรมชาติได้ดี ไม่หลุดลอกไม่ติดมือ และที่สำคัญสีต่างๆจะไม่สามารถนำมาผสมกันให้เป็นสีใหม่ได้ดังเช่นแม่สี (ให้พิจารณาจากพระสมเด็จเบญจสิริในองค์พระจะประกอบไปด้วยสีห้าสีเป็นอย่างน้อยและแต่ละสีถึงแม้จะปะปนกันแต่จะไม่ผสมกรมกลืนกัน มีลักษณะของการเรียงตัวตามธรรมชาติอย่างเป็นเอกเทศ)
๕. การแตกลายงาขององค์พระจะมีสองประเภท คือ หนึ่งแตกลายงาแบบหยาบ (แบบสังคโลก เหมือนชามสังคโลก) สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆคล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่าการแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่าเมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก
๖. ผงทองนพคุณ จะโรยไว้ทั้งด้านหน้า หลัง ไม่บ่งบอกถึงรูปแบบอาจมีมากบ้างน้อยบ้าง สันนิษฐานว่าเป็นไปโดยอัธยาศัยของผู้กดพิมพ์ และพบได้ในทุกพิมพ์
๗. ผงแร่รัตนชาติ (รัตนชาติ คือแร่ที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ) พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ และขาว ลักษณะจะเป็นมันวาวแลดูแกร่ง เก่า สัญฐานจะกลมหรือเหลี่ยม ให้สังเกตจะมนไม่มีคม ถูกนำมาย่อยเป็นเม็ดเล็กๆ ขนาดโดยประมาณ .๕ – ๓ มิลลิเมตร เป็นลักษณะของการผสมลงในเนื้อมวลสาร ถ้าหักองค์พระดูจะเห็นผงแร่รัตนชาติผสมอยู่เนื้อใน
๘. ด้านหลังขององค์พระมีทั้งเรียบ และไม่เรียบ พิจารณาให้ดีจะพบ เกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ และรอยหนอนด้น เปรียบประดุจดั่งธรรมชาติปั้นแต่ง
๙. ลัญจกรและสัญลักษณ์ เช่น พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น
๑๐. พิมพ์พระประธานมีลักษณะถูกต้องตามศิลปะโบราณ กล่าวคือ มีพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ปรากฏเด่นชัด พิมพ์ที่พบที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับพิมพ์พระประธานได้แก่ พิมพ์ทรงเกศบัวตูม ส่วนพระพิมพ์อื่นๆ เช่น พิมพ์ประธาน (พิมพ์ใหญ่) พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงปรกโพ พิมพ์ทรงเกศบัวตูม พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงฐานคู่ พิมพ์ทรงสังฆาฏิ พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร (พระเจ้าไกเซอร์) พิมพ์ทรงฐานเส้นด้าย จะมีพุทธลักษณะ ขนาดเท่ากัน และใกล้เคียงกันกับพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง บางขุนพรหม และวัดไชโย (พระพิมพ์นิยมในปัจจุบัน)
๑๑. การตัดขอบองค์พระ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยพบว่ามีการตัดขอบข้าง พบเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ลักษณะขอบด้านข้างจะเรียบ สวยงามตามแบบพิมพ์ (พิมพ์ต้นแบบเป็นลักษณะถอดยกเป็นบล็อกสองชิ้นประกบเข้าหากันเป็นส่วนใหญ่)
๑๒. คราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐานแต่พบว่าในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้)
๑๓. พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ที่เรียกกันว่า “พระสมเด็จเจ้ากรมท่า” พ.ศ.๒๔๐๘ วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม และเข้มคล้ายกับเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จบางขุนพรหมแต่จะมีความละเอียดกว่า
๑๔. พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ที่เรียกกันว่า “พระสมเด็จกรมท่าและวังหน้า” พ.ศ. ๒๔๑๑ และ พ.ศ.๒๔๒๕ วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม รวมถึงสีที่เป็นสิริมงคลต่างๆ และที่เรียกกันว่าสีเบญจสิริ ดังที่กล่าวมาแล้ว
๑๕. ให้จดจำเอาไว้ว่าพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และสมเด็จวังหน้า จะไม่มีการฝังพลอยหลากหลายสี หรือการฝังมุกแกะลายแบบเครื่องโต๊ะรับรองของจีน ให้พิจารณาไว้ว่าไม่ใช่ของแท้ (การฝังพลอยหลากหลายสี หรือการฝังมุกแกะลายแบบเครื่องโต๊ะรับรองของจีน อาจมีการทำในยุคหลังๆ แต่ยังไม่เคยพบเห็นของจริงเพียงแต่พูดตามๆกันมาเท่านั้น)
๑๖. ให้จดจำเอาไว้ว่าพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และสมเด็จวังหน้า ส่วนที่มีตราแผ่นดิน มีอักขระเลขยันต์ มีก้างปลา มีคำจารึก เช่น คำว่าสมเด็จโตถวายพระจอมเกล้า รศ.๒๔๑๑ ให้พิจารณาไว้ว่าไม่ใช่ของแท้
๑๗. หลักสำคัญประการสุดท้าย พระสมเด็จกรุวัดพระแก้วทั้งสองกรุ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อและวรรณะสีใดก็ตาม จะมีมวลสารที่เห็นภายนอก อาทิ ผงแร่รัตนชาติ ผงทองนพคุณ ผงหินอ่อน ผงแร่เหล็กไหล อยู่รวมกันภายในองค์เดียว หรือมีเฉพาะชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่เป็นหลักเกณฑ์ที่แน่นอนขอให้พิจารณาความเป็นพระแท้จากมวลสารต่างๆเป็นสำคัญ โดยพยายามศึกษาค้นคว้าจากหลักทางวิชาการทั้งทางวิทยาศาสตร์และพระภิกษุผู้ที่ทรงฌานสมาบัตรได้ ที่สำคัญที่สุดต้องหาพระแท้มาศึกษาเป็นแบบอย่างจนเกิดประสบการณ์และความชำนาญ
ข้อเขียนนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์อันชอบธรรมตามกฎหมายของอาจารย์ไพรพนา ศรีเสน อนุญาตให้ใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ เพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่ต้องขออนุญาต

อ้างอิง
๑ ประวัติเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) จากวิกิพีเดียรสารานุกรมเสรี
๒. ประวัติเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๓. ประวัติพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๔. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์)
๕. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๖. จากบทความเรื่อง ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จจากไป โดยนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ในหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
๗. สี่สมเด็จ โดยนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ พิมพ์ที่ แอลซีเพรสส์ ๒๕๒๗
๘. ประวัติวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๙. ประวัติความเป็นมาของวังหน้าและวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)จากพระราชนิพนธ์เรื่อง "ตำนานวังหน้า" ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๑๐. ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๑๑. การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๖
๑๒. ฉัพพรรณรังสี จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๓. ประวัติช่างสิบหมู่ จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๔. พระราชลัญจกร จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๕. พระคัมภีร์และพระสูตรคาถา จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๖. จากหนังสือภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต เขียนและจัดพิมพ์โดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน พิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ๑ มีนาคม ๒๕๒๗
๑๗. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง นายธงชัย พลอยช่าง (สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ช่างปั้นพระปฏิมากร บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
๑๘. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง พระภิกษุวงษ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย)
วัดดงมูลเหล็ก กรุงเทพฯ (อายุ ๘๕ ปี ๕๐ พรรษา)
การศึกษาค้นคว้า
- จากการศึกษาค้นคว้า การวัดอายุวัตถุโบราณตามหลักวิทยาศาสตร์ การตรวจด้วยวิธีทรงฌานสมาบัตร ศึกษาพิมพ์ทรง มวลสาร อย่างละเอียดจากองค์พระสมเด็จกรุวัดพระแก้วที่ครอบครอง


: พระสมเด็จวัดพระแก้ว
: พระสมเด็จวัดพระแก้ว





กวินทร์ ศรีเสน
พระสมเด็จบางขุนพรหม
2009-11-20 01:54:21
พระสมเด็จบางขุนพรหม
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
พระสมเด็จบางขุนพรหม (กรุพระเจดีย์ใหญ่)
พระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพระในสกุล “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดยสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นที่พึงปรารถนาแก่ประชาชนที่เคารพกราบไหว้พระคุณอันประเสริฐของท่าน นับวันมงคลวัตถุนี้กำลังจะหาได้ยากยิ่ง และราคาก็สูงยิ่งเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่เครารพบูชาท่านเป็นที่ยิ่ง และได้มีโอกาสครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จวัดระฆังหลายรุ่น จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และการสร้างพระสมเด็จ เทียบเคียงกันทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมากับหลักการทางวิทยาศาสตร์ และร่วมศึกษาหาความรู้ด้วยกันกับท่านทั้งหลาย เพื่อเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน
ปีพุทธศักราช ๒๔๑๐ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มทำการก่อสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางโปรดสัตว์ (ยืนอุ้มบาตร) โดยใช้ซุงทั้งต้นเป็นฐานราก และควบคุมการก่อสร้างด้วยตัวท่านเองที่วัดอินทรวิหาร อันเป็นวัดที่ท่านได้จำพรรษาอยู่เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร ในระหว่างการก่อสร้างเสมียนตราด้วง ต้นสกุล ธนโกเศรษฐ และเครือญาติได้ปวารณาตนเองเป็นโยมอุปัฏฐากของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ "เสมียนตราด้วง" ต้นสกุล "ธนโกเศศ" ได้ทำการบรูณะพระอารามวัดใหม่อมตรส และปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นมหากุศล และเป็นพระเจดีย์ประจำตระกูล ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น โดยได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นสององค์ องค์ใหญ่เพื่อบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ ตามโบราณคติในอันที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิธาตุบรรพบุรุษ โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๑๓ จึงแล้วเสร็จ จากนั้นจึงได้กราบนมัสการขอความเห็นจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในการสร้างพระสมเด็จเพื่อสืบทอดทางพระพุทธศาสนา และเป็นการสร้างมหาบุญแห่งวงศ์ตระกูล สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้ให้อนุญาต และมอบผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านให้ส่วนหนึ่ง (จากข้อเขียนของนายกนก สัชฌุกร ที่ได้สัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรซึ่งมีชีวิตทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ความว่า ได้ผงวิเศษประมาณครึ่งบาตรพระ และทุกครั้งที่ตำผงในครกท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะโรยผงวิเศษของท่านมากบ้างน้อยบ้างตามอัธยาศัยจนกระทั่งแล้วเสร็จ) เมื่อได้ผงวิเศษแล้วเสมียนตราเจิม และทีมงานก็ได้จัดหามวลสารต่างๆตรงตามตำราการสร้างพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ทุกประการ
ในเรื่องของการสร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่นั้นมีการจัดสร้างและแกะพิมพ์แม่แบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจำนวน ๙ พิมพ์ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและปาดหลัง โดยฝีมือของช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แต่น่าจะเป็นคนละทีมกับช่างที่แกะพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง แต่เนื่องด้วยเป็นฝีมือช่างในยุคเดียวกันมีศิลปะในสกุลช่างเดียวกัน และต้นแบบที่สำคัญคือพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมจึงมีความสวยงามใกล้เคียงกันกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง
พิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหม ๙ พิมพ์
๑.พิมพ์ใหญ่
๒. พิมพ์ทรงเจดีย์
๓. พิมพ์เกศบัวตูม
๔. พิมพ์เส้นด้าย
๕. พิมพ์ฐานแซม
๖. พิมพ์สังฆาฏิไม่มีหู
๗. พิมพ์สังฆาฏิมีหู
๘. พิมพ์ฐานคู่
๙.พิมพ์อกครุฑ
จำนวนที่สร้างสันนิษฐานกันว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับพระธรรมขันธ์ พระสมเด็จที่สร้างเสร็จจะมีเนื้อขาวค่อนข้างแก่ปูน
การปลุกเสกโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้เจริญพระพุทธมนต์และปลุกเสกเดี่ยวจนกระทั่งบริบูรณ์ด้วยพระสูตรคาถา
เมื่อได้ปลุกเสกเป็นที่สุดแล้วได้มีการเรียกชื่อพระสมเด็จนี้ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ตามตำบลที่ตั้งของพระเจดีย์ และได้ถูกนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์ใหญ่ และพระเจดีย์เล็กทั้งสิ้นไม่มีการแจกจ่ายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด รวมทั้งมีข้อสันนิษฐานว่าได้นำพระสมเด็จวัดระฆังลงบรรจุกรุด้วยดังที่หลาย ๆ ท่านนิยมเรียกกันว่า “พระสองคลอง”
หลังจากที่ได้บรรจุกรุในพระเจดีย์ทั้งสองแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๓ จนกระทั่งเกิดวิกฤตกับประเทศในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศส ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และในกรณีพิพาทอินโดจีน ได้มีการลักลอบเปิดกรุถึงสามครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๒๕
ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๓๖
ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๕๙
ในการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนี้ ผู้ลักลอบได้ใช้วิธีต่าง ๆ เช่น การตกเบ็ด โดยใช้ดินเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ ติดกับปลายเชือกหย่อนเข้าไปทางรูระบายอากาศติดพระแล้วดึงขึ้นมา การใช้น้ำกรอกเข้าไปทางรูระบายอากาศเพื่อให้น้ำไปละลายการเกาะยึดขององค์พระเป็นต้น ซึ่งการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้นพระสมเด็จที่ได้จะอยู่ในส่วนบนจึงสวย และมีความสมบูรณ์ นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “ พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า ” ซึ่งลักษณะของวรรณะจะปรากฏคราบกรุเพียงเล็กน้อย หรือบางๆเท่านั้น พิมพ์คมชัดสวยงามเนื้อหนึกนุ่ม เนื้อละเอียดมีน้ำหนักและแก่ปูน
ท้ายที่สุดคือการลักลอบขุดกรุที่ฐานในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ วิธีนี้ได้พระไปเป็นจำนวนมาก (เป็นที่มาของพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุธนา เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือพระอาจารย์จิ้ม กันภัย ความว่าในตอนกลางคืนฝนตกไม่หนักมากนัก นักเลงพระทางภาคเหนือได้ร่วมกันลักลอบเจาะที่บริเวณใกล้ฐานของพระเจดีย์พอตัวมุดเข้าไปได้ และนำพระออกมาได้เป็นจำนวนมากจนหิ้วไม่ไหวประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่จะพบเห็นจึงทิ้งไว้ข้างวัดก็หลายถุง มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อธนาบ้านอยู่ในละแวกวัดได้เก็บพระชุดนี้ไว้เป็นจำนวนมากจะเก็บได้จากผู้ที่ลักลอบทิ้งไว้หรือซื้อมาก็มิอาจทราบได้แต่ภายหลังได้ขายให้กับ คุณเถกิงเดช คล่องบัญชี ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง ซึ่งต่อมาได้เขียนหนังสือร่วมกับนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ เรื่อง “สี่สมเด็จ” ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ซื้อมามีทั้งที่สวยงามมีคราบกรุน้อย และคราบกรุหนาจับกันเป็นก้อนก็มี) จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรส ได้ติดต่อให้กรมศิลปากรเข้ามาดูแล และเปิดกรุอย่างเป็นทางการโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๐ พระที่นำออกมาครั้งนี้นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “ พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่ ” เมื่อนำมาคัดแยกคงเหลือพระที่มีสภาพดีและสวยงามเพียงสามพันองค์เศษเท่านั้น ที่เหลือจับกันเป็นก้อน หักชำรุดแทบทั้งสิ้น ลักษณะของวรรณะส่วนใหญ่จะมีคราบกรุค่อนข้างหนาและจับกันเป็นก้อน ที่สภาพดีจะพบว่าผิวของพระเป็นเกล็ดๆทั่วทั้งองค์ หรือที่เรียกว่าเหนอะ มีคราบไขขาว ฟองเต้าหู้ คราบขี้มอด จะตั้งชื่อหรือเรียกว่าอย่างไรก็สุดแล้วแต่ ล้วนเกิดขึ้นจากปฏิกริยาระหว่างน้ำกับปูนและมวลสารที่เป็นองค์ประกอบของพระสมเด็จทั้งสิ้น ทั้งสภาพเปียกชื้น ร้อน เย็น และถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานกับดินโคลน เป็นต้น แต่แปลกตรงที่ว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมเมื่อถูกใช้สักระยะเนื้อจะเริ่มหนึกนุ่มใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนในเรื่องของทรงพิมพ์ที่เรียกกันว่าพิมพ์นิยม ๙ พิมพ์นั้น พิมพ์ที่พบน้อยที่สุดคือพิมพ์ปรกโพธิ์ กล่าวกันว่ามีไม่ถึง ๒๐ องค์ และที่สำคัญยังพบพิมพ์ไสยาสน์อีกหลายแบบมีประมาณไม่เกิน ๒๒ องค์ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยากมาก ในส่วนของกรุพระเจดีย์เล็กนักเลงพระในยุคนั้นไม่ค่อยให้ความสนใจแต่ปรากฏว่าหลังจากเปิดกรุก็ได้พบพระสมเด็จอยู่มากมายนับได้เป็นพันองค์ ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานหมอน พิมพ์สามเหลี่ยม (หน้าหมอน) พิมพ์จันทร์ลอย ลักษณะของวรรณะคราบกรุจะไม่มาก จะมีความสวยงามกว่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยากเช่นกัน
หลังจากเปิดกรุอย่างเป็นทางการทางวัดได้ประทับตราที่ด้านหลังขององพระ เรียกกันว่า “ตราน้ำหนัก” และจำหน่ายในราคาองค์ละห้าร้อยถึงสองพันบาท ในยุคนั้นนับว่ามีราคามากอยู่แต่ก็หมดลงในเวลาไม่นานนัก
พระสมเด็จบางขุนพรหม (กรุพระเจดีย์เล็ก)
ปี พ.ศ.๒๕๐๘ พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ได้นำรายได้ในการให้เช่าบูชาพระสมเด็จบางขุนพรหม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มาบูรณะวัดโดยได้ว่าจ้างให้ช่างรับเหมา มาปรับปรุงบริเวณรอบองค์เจดีย์ใหญ่ซึ่งมี เจดีย์เล็ก เรียงรายรอบทั้ง ๔ ทิศของเจดีย์องค์ใหญ่ ทิศละ ๒ องค์ ตั้งซ้อนกันอยู่อย่างเป็นระเบียบรวมทั้งหมด ๘ องค์ ซึ่งทางช่างได้รื้อ เจดีย์เล็ก ทั้งหมดออก ทำให้ช่างรับเหมาพบ กรุพระเครื่องจำนวนหนึ่งในเจดีย์เล็กรวมอยู่กับอัฐิ จึงได้เก็บพระเครื่องซ่อนไว้ไม่ให้ทางวัดทราบ คงมอบแต่อัฐิให้เท่านั้น ต่อมาช่างรับเหมาได้นำพระที่พบนี้ไปขายแก่เซียนพระคนหนึ่งในสนามพระ ทำให้ พระเครื่องกรุเจดีย์เล็ก เป็นที่รู้จักในวงการพระสมัยนั้น มีผู้นำพระเครื่องมาสอบถามกับเจ้าอาวาสวัดว่า มีพระเครื่องแตกกรุจากเจดีย์เล็กจริงหรือไม่? เจ้าอาวาสบอกว่า "ไม่มี" ทำให้เกิดความสับสนกันขึ้นในช่วงแรก แต่เมื่อได้มีการตรวจสอบพิจารณากันถึงเนื้อพระ และคราบกรุกับ พระสมเด็จบางขุนพรหม (กรุใหม่) แล้ว พบว่ามีความเก่าใกล้เคียงกันมาก ซึ่งคาดว่าคงสร้างขึ้นใน ปี พ.ศ.๒๔๑๓-๒๔๑๕
ในการตรวจสอบประวัติซึ่งเชื่อว่าผู้สร้าง พระกรุเจดีย์เล็ก ก็คือ "เสมียนตราด้วง" ต้นสกุล "ธนโกเศศ" ผู้สร้างพระเครื่องชุดนี้ไว้เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับพระกรุเจดีย์ใหญ่ ซึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มอบผงวิเศษห้าประการ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห ให้ผสมลงไปด้วยในตอนกดพิมพ์องค์พระทั้งหมด และได้เมตตาปลุกเสกให้ด้วย จากนั้น เสมียนตราด้วงจึงได้นำพระเครื่องในส่วนนี้ไปบรรจุไว้คู่กับอัฐิของบรรพชนในตระกูล และเมื่อช่างรื้อเจดีย์เล็กออกจึงพบอัฐิ และพระเครื่องดังกล่าว
พระเครื่องกรุเจดีย์องค์เล็กมีทั้งหมด ๖ พิมพ์ คือ
1. พิมพ์ฐานคู่ 2. พิมพ์ฐานหมอน 3. พิมพ์สามเหลี่ยม
4. พิมพ์ไสยาสน์ 5. พิมพ์ยืนประทานพร 6. พิมพ์จันทร์ลอย

พระทุกองค์มีคราบกรุเกาะอยู่ด้วย มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระกรุนี้ ในปัจจุบัน วงการพระเครื่องได้ให้ความสนใจในพระกรุเจดีย์เล็กนี้มาก
(คัดลอก และเรียบเรียงใหม่ โดยใช้ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก)
ทรงพุทธคุณ และอิทธิคุณ “อิทธิคุณ” คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ “พุทธคุณ” คือ คำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า เพราะการเริ่มบทสวดที่จะเจริญพระคาถาใดๆจะต้องเริ่มจากบทสวดในการคำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ แต่ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนจะนิยมเรียกว่า “พุทธคุณ” ซึ่งก็น่าจะมีส่วนถูกต้อง
หลักการพิจารณาพระสมเด็จบางขุนพรหม
๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
๒. มวลสาร
๓. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๔. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
๕. ฌานสมาบัตร
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธศิลปะอย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. พิมพ์ของพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง เล็ก และมีคม ดังนั้นจะเห็นรอยคล้ายลูกคลื่น รอยแล่ง รอยกาบหมาก ฯลฯ ซึ่งเกิดจากการปาดหลัง และการวางพระลงในภาชนะรองรับเพื่อผึ่งตากเป็นสำคัญ
๓. คราบฟองเต้าหู้ ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น แข็งฝังในเนื้อพระ (เกิดจากความชื้น แฉะ)
๔. คราบไข ลักษณะเป็นฝ้าบางๆเคลือบอยู่บนองค์พระ สีขาวนวล คราบนี้จะติดอยู่กับองค์พระและจะค่อยจางลงเมื่อพระถูกใช้ในระยะเวลาพอสมควร (เกิดจากความร้อน ชื้น)
๕. คราบน้ำปูน ลักษณะเป็นฝ้าขาวมีความหนาบางไม่เท่ากัน สีขาวอมน้ำตาลอ่อน เกาะติดกับองค์พระแน่น (เกิดจากน้ำท่วมองค์พระเป็นเวลานานเมื่อน้ำลดลงคราบปูนที่ลอยอยู่บนผิวจะแห้งติดองค์พระ)
๖. คราบกระเบน ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆคล้ายหนังกระเบน สีเทาแกมม่วงอ่อนๆ เกิดจากเม็ดทรายเกาะอยู่ทั่วองค์พระ แข็งมากไม่สามารถชำระล้างให้ออกได้ (เกิดจากพระที่ล่วงลงสู่พื้นปะปนกับดินและทรายเป็นเวลานาน)
๗. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสาระสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๘. รอยปูไต่ และหนอนด้น ลักษณะอันเกิดจากเกสรดอกไม้ และมวลสาร ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ

พระสมเด็จบางขุนพรหม
พระสมเด็จบางขุนพรหม
http://crazylove.212cafe.com/archive/2009-11-20/1-2-3-4-5-6/
พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ) กรุเพดานวิหารวัดระฆัง
2009-11-20 01:45:18

พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ) กรุเพดานวิหารวัดระฆัง
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน

การสร้างพระสมเด็จชุดลงรักปิดทองล่องชาดนี้ จากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์และจากประสบการณ์ตรงของครูอาจารย์และท่านผู้รู้อีกหลายท่าน มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกันว่าพระสมเด็จชุดนี้ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๘ พร้อมๆ กับการสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้ว (พระสมเด็จวัดพระแก้วเริ่มสร้างครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๐๘ – พ.ศ. ๒๔๒๕) มูลเหตุในการการสร้างพระสมเด็จชุดนี้เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา เพื่อมอบให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเบื้องต้น นอกจากนั้นก็มอบให้แก่คหบดี และประชาชนโดยทั่วไป การสร้างจึงจัดเป็นวิจิตรศิลป์ โดยใช้พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังซึ่งปัจจุบันเป็นพิมพ์นิยม และพิมพ์อื่นๆ ที่มีความหมายในทางพระพุทธศาสนาเป็นต้น มวลสารที่นำมาเป็นส่วนผสมในการสร้างนั้นจัดได้ว่าเป็นมงคลวัตถุยิ่ง กล่าวคือมีความเป็นมงคลในตัวเองส่วนหนึ่งและผสมกับผงวิเศษอันทรงไว้ด้วยพุทธคุณ และอิทธิคุณอย่างอเนกอนันต์ ส่วนการลงรักปิดทองล่องชาดนั้นถือได้ว่าเป็นประณีตศิลป์จากฝีมือช่างหลวง (ช่างสิบหมู่) ที่หาชมได้ยากมากในปัจจุบัน แต่น่าเสียดายมากที่พระสมเด็จวัดระฆังชุดนี้ไม่ถูกเปิดเผยออกมาสู่สาธารณชน ผู้เขียนได้พยายามศึกษาสืบค้นข้อมูลจากหลายแหล่งดังที่กล่าวมาแล้ว และได้เขียนเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ที่เคารพกราบไหว้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เพื่อเป็นแนวทางในการสืบค้นข้อมูลให้มากขึ้นต่อไป
จากข้อเขียนของ พ.ต.ต. จำลอง มัลลิกะนาวิน (ซึ่งตรงกับเรื่องเล่าของ พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือ พระอาจารย์จิ้ม กันภัย วัดดงมูลเหล็ก) เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า พระสมเด็จชุดนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ จำนวนหลายพันองค์ เป็นเนื้อผงลงรักปิดทองล่องชาดทั้งสิ้น และเมื่อท่านได้ถึงชีพิตักษัยพระชุดนี้ได้ถูกนำมาเก็บไว้บนเพดานวิหารวัดระฆัง และมิได้มีผู้ใดพบเห็นจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงมีผู้ค้นพบพระชุดนี้ และในปีนี้เองเป็นปีที่ครบ ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านสิ้นชีพิตักษัย ได้มีการค้นพบพระสมเด็จบนเพดานวิหารวัดระฆังเป็นจำนวนมาก มีหลายพิมพ์แต่จะด้วยเหตุใดไม่ปรากฏชัด ทราบแต่เพียงว่าทางวัดไม่ได้มีการบอกกล่าวให้ประชาชนได้ทราบเลย คงรู้กันเฉพาะในหมู่พระภิกษุไม่กี่รูป ช่างที่เข้าไปบูรณะ กรรมการวัดและบุคคลใกล้ชิดเท่านั้น ประจวบกับในขณะนั้นทางวัดได้จัดสร้างพระสมเด็จขึ้นมาใหม่มีพิธีและงานฉลองอย่างมโหฬาร เนื่องเป็นปีที่ครบรอบท่านสิ้นครบ ๑๐๐ ปี (อันจะด้วยเหตุผลนี้ก็เป็นได้)
พระสมเด็จที่พบนี้กล่าวกันว่าวางสุมกองไว้บนเพดานวิหารมิได้มีการใส่ภาชนะใดปกปิดไว้ จำนวนมากถึงหลายพันองค์ แต่ที่แปลกและสำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือพระสมเด็จที่พบนั้นปิดทองล่องชาดทั้งสิ้น ( พระสมเด็จที่ปิดทองล่องชาด จัดเป็นพระสมเด็จที่มีการจัดทำเป็นพิเศษเพื่อมอบให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ในสมัยนั้น) พิมพ์งดงามชัดเจนสมกับเป็นพระสมเด็จที่สร้างในยุคท้ายๆ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพิมพ์ที่ช่างหลวง ( ช่างสิบหมู่ )ได้แกะถวาย รักชาดทองยังไม่หลุดลอก พบเพียงความแห้ง แกร่ง มีฝุ่นเกาะอยู่ทั่วไป บางองค์พบรอยทางเดินปลวก ขี้มอด เกาะติดแต่มีจำนวนไม่มากนัก ส่วนแบบพิมพ์มีมากมายนับได้เป็นร้อยกว่าพิมพ์ และมีลักษณะเป็นพิมพ์แปลกๆที่มีความหมายทางพระพุทธศาสนาหลายอย่างหลายประการ ส่วนพิมพ์พระหลักที่มีความสำคัญคือพิมพ์วัดระฆัง พิมพ์วัดบางขุนพรหม ซึ่งส่วนมากเป็นพิมพ์ใหญ่มีเป็นจำนวนมากกว่าพิมพ์อื่นๆ (เป็นพิมพ์นิยมในปัจจุบัน)
พระสมเด็จเนื้อผงปิดทองล่องชาดเพดานวิหารวัดระฆังรุ่นนี้เมื่อได้นำมาลบทองและชาดออก ปรากฏว่าลบยากเพราะเป็นของโบราณทำด้วยความประณีตและฝีมืออย่างแท้จริง ทองคำเปลวที่นำมาติดนั้นจะสุกอร่ามไม่หมองค้ำเลย เมื่อลบออกแล้วเนื้อในขององค์พระจะงามมาก ขาวดังงาช้าง มีแตกลายงา แต่ละพิมพ์เนื้อจะคล้ายคลึงกันมาก
จากหนังสือประวัติวัดระฆังโฆสิตารามและประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ที่พบหลายสิบเล่มต่างมีข้อความคล้ายคลึงกันว่า
กล่าวกันว่า ภายหลังเจ้าคุณสมเด็จฯ ถึงมรณภาพ พระสมเด็จที่ใส่บาตร สัต และกระบุง ตั้งไว้ที่หอสวดมนต์นั้น ได้ขนย้ายเอาไปไว้ที่ในพระวิหารวัดระฆัง (ว่าเอาไว้ที่บนเพดานวิหารก็มี) โดยมิได้มีการพิทักษ์รักษากันอย่างไร เป็นต้นว่าประตูวิหารก็ไม่ได้ใส่กุญแจ ในปีหนึ่งเป็นเทศกาลตรุษสงกรานต์มีทหารเรือหลายคนมาเล่นการพนันที่หน้าวัด เช่น หยอดหลุม ทอยกอง เป็นต้น จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ทหารเรือเหล่านั้นได้วิวาทชกกัน ทหารเรือคนหนึ่งได้เข้าไปเอาพระสมเด็จในวิหารมาอมได้ ๑ องค์ แล้วกลับมาชกต่อยตีรันประหัตประหารกันต่อไป ที่สุดปรากฏว่าทหารเรือคนนั้นไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างไร แม้รอยฟกช้ำก็ไม่มี ส่วนทหารเรือคนอื่นๆ ต่างได้รับบาดเจ็บที่ร่างกาย มีบาดแผลมากบ้างน้อยบ้างทุกคน
อีกเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งมีชายคนหนึ่งอยู่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ป่วยเป็นโรคอหิวา คืนวันหนึ่งฝันว่า เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มาบอกว่า “ ยังไม่ตาย ให้ไปเอาพระสมเด็จที่บนเพดานวิหารวัดระฆังมาทำน้ำมนต์กินเถิดพวกญาติได้พยายามแจวเรือกันมาเอาพระสมเด็จไปอธิษฐานทำน้ำมนต์ให้กินก็หายจากโรคนั้น ทั้งสองเรื่องที่เล่ามานี้ ว่าเป็นมูลให้เกิดคำเล่าลือถึงอภินิหารพระสมเด็จเป็นประถม”
ข้อสรุปในการศึกษาการสร้างพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ถึง ๒๔๑๕ อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ส่วนการสร้างพระเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรนั้นคงยังนับไม่ได้ว่าเป็นพระสมเด็จ
๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี การสร้างพระของท่านมิได้ยึดถือกำหนดว่า กดพิมพ์เป็นองค์พระแต่เมื่อใดแต่ท่านยึดถือว่าพระเครื่องรุ่นนั้น ๆ สำเร็จตั้งแต่เป็นผงวิเศษแล้ว
๓. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างพระสมเด็จจำนวน ๘๔’,๐๐๐ องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์ อันเปรียบได้ถึงการระลึกถึงพระคุณอันประเสริฐของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า และการสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างแบบพิมพ์มากกว่า ๒๐๐ พิมพ์ โดยแบ่งเป็น
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างหลวง (ช่างสิบหมู่)
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบตามความต้องการของท่าน
- พิมพ์ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา เรื่องราวพุทธประวัติ และ เหตุการณ์ต่าง ๆ
- พิมพ์ที่ล้อจากพิมพ์พระที่กำลังมีความนิยมในยุคนั้น ๆ
-พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยฝีมือช่างชาวบ้านมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
๕. พระสมเด็จวัดระฆังมีทั้งสร้างแล้วแจก กับสร้างแล้วนำบรรจุกรุ เชื่อได้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างถาวรวัตถุอันเป็นมงคลวัตถุ หรือจะเรียกว่าปูชนียสถานในทางพุทธศาสนาที่ใด ท่านจะนำพระพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังบรรจุกรุ ณ ที่นั้น

หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ)
๑. พิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดระฆังปิดทองทึบ พิมพ์นิยมในปัจจุบัน พิมพ์คมชัดสมส่วนสวยงาม จัดเป็นประณีตศิลป์ มีทั้งตัดขอบ (พิมพ์แบบเดิมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบข้างและปาดหลัง) และไม่ตัดขอบ (พิมพ์สองชิ้นประกบกัน จัดเป็นพิมพ์แบบใหม่ เป็นฝีมือช่างในตระกูลช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ให้จดจำพิมพ์ทรงให้แม่นยำ
๒. พิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดระฆังปิดทองทึบพิมพ์พิเศษอื่นๆ มีจำนวนมากหลายสิบพิมพ์โดยมากจะเป็นพิมพ์รูปเหมือนหรือพิมพ์ที่มีความหมายถึงวัฎปฏิบัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นฝีมือการแกะพิมพ์ของช่างยุคเก่าที่มีลักษณะสวยงามตามแบบฉบับช่างในยุคนั้น (การพบพระชุดนี้ปะปนกับพระชุดปิดทองทึบ สันนิษฐานว่าเป็นการเจตนานำมาเก็บไว้ในกรุเดียวกัน แต่นำมาลง รัก ชาด ทอง ใหม่ ให้เหมือนกัน)
๓. พิจารณาจาก รัก ชาด ทอง (รักสมุกสีดำ ชาดจอแสสีแดงจัด ทองคำเปลวสีดอกบวบ)
- ลักษณะการปิดทองแบบปิดทองล่องชาดทึบทั้งด้านหน้า และด้านหลัง
- ลักษณะการปิดทองแบบปิดทองล่องชาดทึบทางด้านหน้า และด้านหลังลงชาด
- ลักษณะการปิดทองแบบปิดทองล่องชาดทึบทางด้านหน้า และด้านหลังลงรัก
ลักษณะของรัก ชาด ทอง จะติดกับองค์พระแน่นมากไม่หลุดลอกออกง่ายตามกาลเวลา (ประมาณ๑๔๔ปี) ให้สังเกตจากการที่เราได้ดูสิ่งก่อสร้างโบราณในพิพิธภัณฑสถานที่มีการลงรักปิดทองล่องชาด มีความงดงาม และมีความคงทนอย่างไร การลงรักปิดทองล่องชาดของพระสมเด็จชุดนี้จะเป็นอย่างนั้น
๔. พิจารณาจากเนื้อในขององค์พระ ถ้าลอก รัก ชาด ทองออกเนื้อในจะเป็นสีขาวเหมือนกับปูนขาว จึงมีน้ำหนักเบา และถ้าแช่ไว้ในน้ำนานเป็นสัปดาห์จะละลาย (พระชุดนี้ทำจากปูนขาว) พบทั้งมีการแตกลายงา และไม่แตกลายงา สิ่งที่แปลกและน่ามหัสจรรย์ยิ่งก็คือถ้านำพระชุดนี้มาขึ้นคอบูชายิ่งนานวันเนื้อขององค์พระจะขาวมันวาวมีน้ำหนัก แกร่งขึ้น และไม่ละลายน้ำ (จากการทดลองปฏิบัติ) นี่คือลักษณะแห่งอัจฉริยะภาพของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และวิธีการอันชาญฉลาดของทีมช่างสิบหมู่ที่สร้างพระสมเด็จชุดนี้
๕. คุณลักษณะด้านอื่น ๆ ให้ศึกษาได้จากหลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง


ป้าย : พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด(ปิดทองทึบ)กรุเพดา
Dictionary : พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด(ปิดทองทึบ)กรุเพดา
http://crazylove.212cafe.com/archive/2009-11-20/014630/
หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง
2009-11-20 01:39:49

หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง

โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
๒. มวลสาร
๓. รัก ชาด ทอง
๔. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๕. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
๖. ฌานสมาบัตร

หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่มิได้บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธศิลปะอย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๓. รอยปูไต่ และหนอนด้น “รอยปูไต่” ลักษณะเป็นรอยโค้งเล็ก ๆ หนักบ้างเบาบ้าง อาจเกิดเป็นคู่หรือเดี่ยว “รอยหนอนด้น” ลักษณะเป็นจุดบุ๋มเล็ก ๆ เป็นคู่ ๆเรียงกัน ทั้งสองชนิดเกิดบริเวณด้านหลังของพระสมเด็จ สมมุติฐานจากมวลสาร และเกสรดอกไม้ ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๔. ความแห้งมีลักษณะหลากหลายทั้งแห้งที่มีน้ำหนัก และไม่มีน้ำหนัก อันเนื่องมาจากความหลากหลายของมวลสาร และวัสดุที่ใช้ แต่ที่สำคัญให้พิจารณาจากความหนึกนุ่ม มีความเงางามตามธรรมชาติ และความเก่าขององค์พระเป็นสำคัญ
๕. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่งธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจน เกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
๖. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๗. ชั้นผิวของพระสมเด็จที่ยังไม่ใช้หรือผ่านการใช้มาน้อย จะปรากฏร่องรอยของผิวพระเป็นชั้น ๆ เป็นวงเล็กบ้าง ใหญ่บ้างซ้อนกัน ลักษณะบาง ๆ ชั้นบนสีจะเข้มชั้นล่าง ๆ สีจะอ่อนลงตามลำดับ แต่ถ้าผ่านการใช้มาแล้วระยะเวลาที่พอสมควรสีของพระจะเป็นสีเดียวกัน หนึกนุ่ม สวยงาม
๘. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๙. การแตกลายงา มีสองชนิด คือ หนึ่งแบบหยาบ (สังคโลก เหมือนชามสังคโลก) สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆคล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่าการแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่าเมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก
๙. รักชาดสีแดง ให้พิจารณาจากความเก่าของชาด สีของชาดไม่ว่าจะนาน เท่าใดสีจะยังคงแดง (แดงเลือดนก) ไม่ลอก ไม่หลุดล่วง ถ้าไม่ขูดหรือล้างออก
๑๐. รักสมุกสีดำ ให้พิจารณาจากความเก่าของรัก ความเก่าของรักสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มอมดำ (คล้ายสีตาของกุ้ง) จะหลุดลอกออกเป็นแผ่นมากบ้างน้อยบ้างตามจำนวนชั้นที่ลง และกาลเวลา เป็นสำคัญ
๑๑. ทอง ให้พิจารณาจากสีของทอง เป็นทองคำเปลวทองเนื้อหก หรือที่โบราณเรียกกันว่าทองสีดอกบวบ ลักษณะเงางาม พบการปิดทองพระสมเด็จทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และปิดทองทึบ (กรุเพดานวิหารวัดระฆัง) พระสมเด็จที่ลงรัก ชาด ทอง เรียกว่า “ลงรักปิดทองล่องชาด”
๑๒. คราบไขขาวที่พบบนองค์พระสมเด็จนั้น ที่หลาย ๆ ท่านคิดว่าเป็นคราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐานแต่พบว่าในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้)
หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธ ศิลปะ อย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๓. คราบฟองเต้าหู้ ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น แข็งฝังในเนื้อพระ (เกิดจากความชื้น แฉะ)
๔. คราบไข ลักษณะเป็นฝ้าบางๆเคลือบอยู่บนองค์พระ สีขาวนวล คราบนี้จะติดอยู่กับองค์พระและจะค่อยจางลงเมื่อพระถูกใช้ในระยะเวลาพอสมควร (เกิดจากความร้อน ชื้น)
๕. คราบน้ำปูน ลักษณะเป็นฝ้าขาวมีความหนาบางไม่เท่ากัน สีขาวอมน้ำตาลอ่อน เกาะติดกับองค์พระแน่น (เกิดจากน้ำท่วมองค์พระเป็นเวลานานเมื่อน้ำลดลงคราบปูนที่ลอยอยู่บนผิวจะแห้งติดองค์พระ)
๖. คราบกระเบน ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆคล้ายหนังกระเบน สีเทาแกมม่วงอ่อนๆ เกิดจากเม็ดทรายเกาะอยู่ทั่วองค์พระ แข็งมากไม่สามารถชำระล้างให้ออกได้ (เกิดจากพระที่ล่วงลงสู่พื้นปะปนกับดินและทรายเป็นเวลานาน)
๗. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๘. รอยปูไต่ และหนอนด้น ลักษณะอันเกิดจากเกสรดอกไม้ และมวลสาร ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๙. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๑๐. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่ง ธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจนเกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
ข้อเขียนนี้ถือเป็นลิขสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมาย ของอาจารย์ไพรพนา ศรีเสน อนุญาตให้ใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ เพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่ต้องขออนุญาต


http://crazylove.212cafe.com/archive/2009-11-20/014102/
หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง


หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง

โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
๒. มวลสาร
๓. รัก ชาด ทอง
๔. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๕. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
๖. ฌานสมาบัตร

หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่มิได้บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธศิลปะอย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๓. รอยปูไต่ และหนอนด้น “รอยปูไต่” ลักษณะเป็นรอยโค้งเล็ก ๆ หนักบ้างเบาบ้าง อาจเกิดเป็นคู่หรือเดี่ยว “รอยหนอนด้น” ลักษณะเป็นจุดบุ๋มเล็ก ๆ เป็นคู่ ๆเรียงกัน ทั้งสองชนิดเกิดบริเวณด้านหลังของพระสมเด็จ สมมุติฐานจากมวลสาร และเกสรดอกไม้ ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๔. ความแห้งมีลักษณะหลากหลายทั้งแห้งที่มีน้ำหนัก และไม่มีน้ำหนัก อันเนื่องมาจากความหลากหลายของมวลสาร และวัสดุที่ใช้ แต่ที่สำคัญให้พิจารณาจากความหนึกนุ่ม มีความเงางามตามธรรมชาติ และความเก่าขององค์พระเป็นสำคัญ
๕. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่งธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจน เกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
๖. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๗. ชั้นผิวของพระสมเด็จที่ยังไม่ใช้หรือผ่านการใช้มาน้อย จะปรากฏร่องรอยของผิวพระเป็นชั้น ๆ เป็นวงเล็กบ้าง ใหญ่บ้างซ้อนกัน ลักษณะบาง ๆ ชั้นบนสีจะเข้มชั้นล่าง ๆ สีจะอ่อนลงตามลำดับ แต่ถ้าผ่านการใช้มาแล้วระยะเวลาที่พอสมควรสีของพระจะเป็นสีเดียวกัน หนึกนุ่ม สวยงาม
๘. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๙. การแตกลายงา มีสองชนิด คือ หนึ่งแบบหยาบ (สังคโลก เหมือนชามสังคโลก) สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆคล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่าการแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่าเมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก
๙. รักชาดสีแดง ให้พิจารณาจากความเก่าของชาด สีของชาดไม่ว่าจะนาน เท่าใดสีจะยังคงแดง (แดงเลือดนก) ไม่ลอก ไม่หลุดล่วง ถ้าไม่ขูดหรือล้างออก
๑๐. รักสมุกสีดำ ให้พิจารณาจากความเก่าของรัก ความเก่าของรักสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มอมดำ (คล้ายสีตาของกุ้ง) จะหลุดลอกออกเป็นแผ่นมากบ้างน้อยบ้างตามจำนวนชั้นที่ลง และกาลเวลา เป็นสำคัญ
๑๑. ทอง ให้พิจารณาจากสีของทอง เป็นทองคำเปลวทองเนื้อหก หรือที่โบราณเรียกกันว่าทองสีดอกบวบ ลักษณะเงางาม พบการปิดทองพระสมเด็จทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และปิดทองทึบ (กรุเพดานวิหารวัดระฆัง) พระสมเด็จที่ลงรัก ชาด ทอง เรียกว่า “ลงรักปิดทองล่องชาด”
๑๒. คราบไขขาวที่พบบนองค์พระสมเด็จนั้น ที่หลาย ๆ ท่านคิดว่าเป็นคราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐานแต่พบว่าในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้)
หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธ ศิลปะ อย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๓. คราบฟองเต้าหู้ ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น แข็งฝังในเนื้อพระ (เกิดจากความชื้น แฉะ)
๔. คราบไข ลักษณะเป็นฝ้าบางๆเคลือบอยู่บนองค์พระ สีขาวนวล คราบนี้จะติดอยู่กับองค์พระและจะค่อยจางลงเมื่อพระถูกใช้ในระยะเวลาพอสมควร (เกิดจากความร้อน ชื้น)
๕. คราบน้ำปูน ลักษณะเป็นฝ้าขาวมีความหนาบางไม่เท่ากัน สีขาวอมน้ำตาลอ่อน เกาะติดกับองค์พระแน่น (เกิดจากน้ำท่วมองค์พระเป็นเวลานานเมื่อน้ำลดลงคราบปูนที่ลอยอยู่บนผิวจะแห้งติดองค์พระ)
๖. คราบกระเบน ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆคล้ายหนังกระเบน สีเทาแกมม่วงอ่อนๆ เกิดจากเม็ดทรายเกาะอยู่ทั่วองค์พระ แข็งมากไม่สามารถชำระล้างให้ออกได้ (เกิดจากพระที่ล่วงลงสู่พื้นปะปนกับดินและทรายเป็นเวลานาน)
๗. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๘. รอยปูไต่ และหนอนด้น ลักษณะอันเกิดจากเกสรดอกไม้ และมวลสาร ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๙. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๑๐. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่ง ธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจนเกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
ข้อเขียนนี้ถือเป็นลิขสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมาย ของอาจารย์ไพรพนา ศรีเสน อนุญาตให้ใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ เพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่ต้องขออนุญาต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น