วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรียงให้เปรียบเทียบศึกษา


กรุ09 บางขุนพรหม

วัดเกศฯ หกชั้น อกตลอด



พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็น 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิฐฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก เกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศไชโยให้อยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม

วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกศไชโย ( ชื่อที่ปรากฏในพื้นที่คือ วัดเกศไชโย ) เป็นพระอารามหลวงชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เดิมทีเป็นวัดราษฏร์ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีประวัติแน่ชัดว่าใครสร้าง แต่มาปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตารามได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น เมื่อครั้งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณปี 2400-2405 ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์ที่ พระเทพกวี

การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) มาสร้าง พระหลวงพ่อโต หรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์สถานความผูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย

คามบันทึกของพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) เป็นผู้สร้างขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ทรงสร้างพระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แล้วนำมาแจกรวมทั้งบรรจุกรุไว้ใน กรุวัดไชโยวิหาร ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้ และประมาณการจากบันทึกต่างๆว่าน่าจะมีอายุการสร้างสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโยนั้นใกล้เคียงกับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม

พระสมเด็จวักเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นสมเด็จอีกตระกูลหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) ทั้งในด้านการปลุกเสก และบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) นำมาประสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม ประกอบด้วยมวลสารหลักได้แก่ ปูนเปลือกหอย ผงวิเศษ ( ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงตรีนิสิงเห ) ข้าวสุก กล้วยป่า ดอกไม้แห้ง และน้ำมันตั้วอิ้ว และมวลสารอื่นๆอีกมาก

เนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโย อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ เนื้อนุ่ม เนื้อนุ่มปานกลาง และเนื้อแกร่ง พระเนื้อนุ่มมีมวลสารและน้ำมันตั้งอิ้วผสมอยู่มาก เรียกว่า เนื้อจัด ส่วนใหญ่มีสีขาวขุ่นอมน้ำตาล ( ไม่ใช่คราบเปลื้อนที่ผิว ) ส่วนพระเนื้อนุ่มปานกลาง มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนลงตัว ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง และพระเนื้อแกร่ง เป็นพระเนื้อแก่ปูน ผิวแห้ง แกร่ง คล้ายเนื้อหินอ่อน มวลสารปรากฏให้เห็นในปริมาณน้อย

พระสมเด็จวัดเกศไชโยนี้ มีด้วยกันหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่วงการสากลนิยมมี 3 พิมพ์ด้วยกันคือ สมเด็จพิมพ์ 7 ชั้นนิยม สมเด็จพิมพ์ 6 ชั้น และสมเด็จพิมพ์ 3 ชั้น ส่วนในด้านพุทธคุณนั้นเด่นทางด้านโชคลาภ และเมตตามหานิยม
นำลิงค์ไปศึกษา
http://www.krusiam.com/blog/view.asp?Page=3&Blog_ID=B00436&Blog_GID=G00441&Blog_PID=P00821

ปรกโพธิ์



องค์...ปรกโพธิ์

2010-04-04-พระทำน้อย...หายาก..เซียนตู้ขี้เกียจหาเหมาบอกว่า..วัดระฆัง..ไม่ทำพิมพ์นี้เสียเลย..ตัดความยุ่งยาก

พิมพ์ปรกโพธิ์ มีความหมายถึงพระพุทธเเจ้าตรัสรู้ .

ประวัติการสร้าง

พิมพ์ปรกโพธิ์ ข้างละ 7ใบ 8 ใบ นี้ ถือว่ายังพอหาได้และจัดเป็นพิมพ์นิยม สร้างขึ้นเฉพาะตอนฉลองอายุของสมเด็จพุฒาจารย์(โต) สร้างเท่าอายุ คือ

อายุย่าง 60 (พ.ศ. 2390) สร้างฉลองแซยิด 60 องค์เท่านั้นเป็นพิมพ์ ปรกโพธิ์ข้างละ 6 ใบ

,อายุย่าง 70 (พ.ศ. 2400) สร้าง 70 องค์ เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ข้างละ 7 ใบ,

อายุย่าง 80 (พ.ศ.2410) สร้าง 80 องค์เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ข้างละ 8 ใบ

รวมพระพิมพ์ปรกโพธิ์มี 210 องค์ถือว่าน้อยมาก คนหวงแหนกันมากมีเก็บหมด แทบจะไม่ได้เห็นกันเลย

พิมพ์ปรกโพธิ์ที่ปรากฎนอกจากมีใบโพธิ์ข้างละ 7 ใบ 8 ใบ ยังพบมีข้างละ 5 ใบ,6 ใบ และพิมพ์ปรกโพธิ์ 8 ใบเลื้อย


สำหรับพิมพ์ปรกโพธิ์ข้างละ 5 ใบ 6 ใบ ดังกล่าวฉลองครบรอบตามอายุ สมเด็จ(โต ) ดังกล่าวต่อไปนี้ และสร้างเท่าอายุ เช่นกัน คือ

อายุ 39 ปี จัดสร้าง 39 องค์

อายุ 48 ปี จัดสร้าง 48 องค์

อายุ 56 ปี จัดสร้าง 56 องค์

อายุ 68 ปี จัดสร้าง 68 องค์

อายุ 77 ปี จัดสร้าง 77 องค์

ส่วน พิมพ์ปรกโพธิ์ 8 ใบเลื้อย (พ.ศ. 2412)สร้างตอนอายุครบ 82 ปี จำนวน 82 องค์

ปรกโพธิ์

พระสมเด็จวัดระฆัง..พิมพ์ปรกโพธิ์(ข้างละ..หกใบ)

(ลักษณะใบโพธิ์..สัญฐานค่อนข้างกลม)







พระสมเด็จวัดระฆัง..พิมพ์ปรกโพธิ์(ข้างละ..เจ็ดใบ.)

(ลักษณะใบรี..เล็ก..)

นำลิงค์ไปศึกษาเพิ่มเติม
http://www.9pha.com/?cid=677677

นาดูน


กรุพระนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม










ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้

ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้











ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้



ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้













ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้











ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้





















ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้
































































แบบพิมพ์ที่ ๑๒ พระแผงสี่เหลี่ยมขนาดฐานกว้าง ๑๐.๘ ซม. สูง ๑๖.๔ ซม. พระพุทธ

รูปปางสมาธิขนาดใหญ่ ประทับนั่งเรียงแถว ๑๑ แถว เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยม ๑๒๘

องค์






แบบพิมพ์ที่ ๑๓ พระแผงสี่เหลี่ยมขนาดฐานกว้าง ๙.๑ ซม. สูง ๑๔.๗ ซม. พระพุทธรูป
ปางสมาธิ ๘ แถว แต่ละแถวสลับด้วย พระพุทธรูปปางสมาธิ-เจดีย์ –พระพุทธรูป-ต้นไม้
พระพุทธรูป-เจดีย์ เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยม ๙๔ องค์





แบบพิมพ์ที่ ๑๔ พระแผงรูปสี่เหลี่ยมขนาดฐานกว้าง๙.๙ ซม. สูง ๑๕.๕ ซม. พระพุทธ
รูปประทับนั่งสมาธิ ๘ แถวสลับด้วยพระพุทธรูป-เจดีย์-พระพุทธรูป พุ่มดอกไม้-พระพุทธ
รูป-ต้นไม้ พระพุทธรูป-ต้นไม้ เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยม ๓๒ องค์






แบบพิมพ์ที่ ๑๕ พระแผงรูปสี่เหลี่ยมขอบหยักมีพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียงแถวไป

ตามรอยหยักโค้งเว้า แถวละ ๕ องค์ และ ๗ องค์ พระแผงขอบหยัก



แบบพิมพ์ที่ ๑๖ พระแผงรูปสี่เหลี่ยม ๖๗ องค์ ขนาดฐาน ๖.๕ ซม. สูง ๗.๙ ซม. พระ

พุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียง ๗ แถว ๆ ละ ๙ องค์ เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยมขอบหยัก ๖๗

องค์



แบบพิมพ์ที่ ๑๗ พระแผงสี่เหลี่ยม ๔๒ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๗.๕ ซม. สูง ๘.๔ ซม.

พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิแถว ๕ แถว ๆ ละ ๘ องค์ เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยม ๔๒

องค์









แบบพิมพ์ที่ ๑๘ พระแผงสี่เหลี่ยม ขนาดฐานกว้าง ๙ ซม. สูง ๑๑.๕ ซม. พระพุทธรูป

ปางสมาธิ ๖ แถว ๆ ละ ๗ องค์ แต่ละแถวโค้งไปมาไม่ขนานกัน เรียกว่า พระแผง
สี่เหลี่ยมรูปโค้ง









แบบพิมพ์ที่ ๑๙ พระแผงสี่เหลี่ยม ขนาดฐานกว้าง ๙.๑ ซม. สูง ๙.๙ ซม. พระพุทธ

รูปปางสมาธิมีรัศมีวงโค้ง เป็นเรือนแก้ว ๕ แถว แถวที่ ๑ เป็นต้นไม้ ส่วนอีก ๔ แถว มี

พระพุทธรูปรวมกัน ๔๑ องค์ เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยมซุ้มรัศมีเรื่อนแก้ว ๔๑ องค์



แบบพิมพ์ที่ ๒๐ พระแผงสี่เหลี่ยมขนาดฐานกว้าง ๑๐.๗ ซม. สูง ๑๔.๗ ซม. พระ

พุทธรูปประทับนั่งสมาธิในวงรีรูปไข่ จำนวน ๑๒ แถว ๆ ละ ๑๔ องค์ เรียกว่า พระแผงสี่

เหลี่ยมรูปไข่


--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะที่ ๒ แบบฐานเหลี่ยมยอดโค้ง

มี ๑๐ แบบพิมพ์



แบบพิมพ์ที่ ๑ พระพิมพ์ซุ้มโพธิ์บัลลังก์สูง ขนาดฐานกว้าง ๘.๗ ซม. สูง ๑๕ ซม.

พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิใต้ซุ้มโพธิ์ มีประภามลฑล เป็นเส้นโค้งรอบพระองค์เป็นวง

กว้าง เหนือพระอังสา(ไหล่) ด้านพระหัตถ์ซ้ายเป็นรูปสถูป มีบุรุษด้านพระหัตถ์ขวาเกล้าผม

มวยนุ่งผ้าสั้นแค่เข่าปล่อบชายด้านหน้า ยืนพนมมือบุคคลด้านพระหัตถ์ซ้ายเกล้าผมสูง นุ่งผ้า

ยาวคลุมขายืนพนมมือ







แบบพิมพ์ที่ ๒ พระพิมพ์ซุ้มโพธิ์บัลลังก์เตี้ยพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์ฐาน

ดอกบัวมีประภามลฑลเป็นเส้นโค้งรอบพระองค์แผ่รัศมีเป็นวงแคบ มีลวดลายรูปภาพคล้าย

คลึงกับพระพิมพ์ซุ้มโพธิ์บัลลังก์สูงแต่มีขนาดเล็กกว่า







แบบพิมพ์ที่ ๓ พระพิมพ์ซุ้มโพธิ์บัลลังก์สูงพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์ดอกบัว

ภายใต้ต้นโพธิ์แผ่กิ่งก้านที่สวยงาม ลวดลายรูปภาพ คล้ายคลึงกับพิมพ์ที่ ๑ และ ๒ แต่คม

ชัด ละเอียดสวยงามกว่า





แบบพิมพ์ที่ ๔ พระพิมพ์ซุ้มโพธิ์บัลลังก์ฐานดอกบัว ขนาดฐานกว้าง ๗ ซม. สูง ๑๐.๕

ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์ฐานดอกบัวภายใต้ซุ้มโพธิ์โปร่ง มีสถูปทรงสูง

ข้างละ ๑ องค์





แบบพิมพ์ที่ ๕ พระพิมพ์พระโพธิสัตว์สี่กร เป็นพิมพ์รูปยาวรี ขนาดฐานกว้าง ๒.๒ ซม.

สูง ๕.๓ ซม. เป็นรูปพระโพธิสัตว์สี่กร นุ่งผ้ายาวคลุมเท้า ห้อยชายด้านขวา ยืนตริภังค์

หรือพิจารณาตรึกตรอง พบเพียงชิ้นเดียว





แบบพิมพ์ที่ ๖ พระพิมพ์นาคปรกเรือนแกวใบไม้แท่นดอกไม้ มีพระปางนาคปรกขนาดใหญ่

อยู่กลางมีพระปางสมาธิข้างละ ๑ องค์ มีช่อดอกไม้เป็นแท่นรองรับ และมีสถูปใต้ช่อดอกไม้

ข้างละ ๑ องค์





แบบพิมพ์ที่ ๗ พระพิมพ์นาคปรกเรือนแก้วใบไม้แท่นแข้งขาสิงห์ มีพระปางนาคปรกขนาด

ใหญ่อยู่กลางแท่นแข้งสิงห์ มีพระปางสมาธิข้างละ ๑ องค์ มีช่อดอกไม้แท่นรองรับ และมี

สถูปใต้ช่อดอกไม้ ข้างละ ๑ องค์ เช่นเดียวกับแบบพิมพ์ที่ ๖ แต่มีขนาดเล็กกว่า









แบบพิมพ์ที่ ๘ พระพิมพ์นาคปรกซุ้มใบไม้ ปลายโค้งมีฐานตั้ง มีพระปางนครปรกอยู่ใต้

ใบไม้ ๑ แห่ง เรียกกว่า พระพิมพ์นาคปรก











แบบพิมพ์ที่ ๙ พระพิมพ์นาคปรกซุ้มใบไม้หยักสามเหลี่ยมมีฐานตั้ง มีพระนาคปรกองค์ ๑

อยู่ในซุ้มใบไม้ ไม้สามเหลี่ยมทำเป็นหยัก







แบบพิมพ์ที่ ๑๐ พระพิมพ์ปางประทานพรในใบไม้ ขาดฐานกว่าง ๔.๔ ซม. สู. ๘.๒

ซม พระพุธรูปค้างจีวรฉ๊ยงบ่าบนบัลลังก์ ภายในซุ้มไม้แท่นกลมตั้งได้ พระหัตถ์ขวายกขึ้นทำ

ท่าประทานพร


--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะที่๓ แบบหน้าจั่ว

มี ๗ แบบพิมพ์ ดังนี้



แบบพิมพ์ที่ ๑ พระแผงพิมพ์สามเหลี่ยม ๑๕ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๕.๖ ซม. สูง ๙ ซม.

พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียง ๕ แถว แถวบน ๑ องค์ แถวล่าง ๕ องค์ เรียกว่า

พระแผงสามเหลี่ยม ๑๕ องค์









แบบพิมพ์ที่ ๒ พระพิมพ์สามเหลี่ยม ๑๕ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๗ ซม. เช่นเดียวกับพิมพ์

ที่ ๑ แตกต่างที่ฐานกว้างกว่า และสั่นกว่า เรียกว่า พระแผงสามเหลี่ยม ๑๕ องค์









แบบพิมพ์ที่ ๓ พระแผงพิมพ์สามเหลี่ยม ๓๐ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๙.๕ ซม. สูง

๑๑.๕ ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียงแถว ๖ แถว เรียกว่า พระแผงสามเหลี่ยม

๓๐ องค์







แบบพิมพ์ที่ ๔ พระแผงพิมพ์สามเหลี่ยม ๓๙ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๘.๘ ซม. สูง ๑๐

ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสามธิขนาดเล็กเรียงแถว ๖ แถว เรียกว่า พระแผงสามเหลี่ยม









แบบพิมพ์ที่ ๕ พระพิมพ์สามเหลี่ยม ๔๒ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๑๐.๕ ซม. สูง ๑๒.๔

ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียงแถว ๙ แถว เรียกว่า พระแผงสามเหลี่ยม ๔๒ องค์









แบบพิมพ์ที่ ๖ พระแผงพิมพ์สามเหลี่ยม ๖๑ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๑๐.๒ ซม. สูง

๑๑.๒ ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียงกัน ๘ แถว แถวบนสุดมี ๑ องค์ แถวล่าง

สุดมี ๑๓ องค์ เรียกว่า พระแผงสามเหลี่ยม ๖๑ องค์







แบบพิมพ์ที่ ๗ พระแผงสามเหลี่ยมขอบหยัก ๓๗ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๑๐ ซม. พระ

พุทธรูปประทับนั่งสามธิเรียงแถว ๗ แถว เรียกว่า พระแผง ๓๗ องค์






--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะที่ ๔ สามเหลี่ยมรูปใบไม้หรือรูปหอย

มี ๓ พิมพ์ ดังนี้



แบบพิมพ์ที่ ๑ พระแผงรูปใบไม้ หรือรูปหอยมีหยักข้างละ ๑ แห่ง ตัดลงเป็นสามเหลี่ยม

ที่ ฐาน ด้านบนสันงอนขึ้นเป็นก้นหอยมีพระพุทธรูปปางสมาธิ ๗ แถว เรียกว่า พระแผงรูป

ใบ ไม้หรือก้นหอย









แบบพิมพ์ที่ ๒ พระแผงรูปเปลวเพลิง ๔๗ องค์ รูปลักษณะเปลวเพลิงทำเป็นหยักข้างซ้าย

มือ ๓ แห่ง ข้างขวามือ ๑ แห่ง มีพระปางสมาธิรวม ๔๗ องค์









แบบพิมพ์ที่ ๓ พระแผงรูปว่าวจุฬา ๖๖ องค์ รูปลักษณะคล้ายว่าวจุฬา ทำเป็นหยักข้างละ

๒ แห่ง ปลายแหลมฐานกว้าง มีพระปางสมาธิรวม ๖๖ องค์






--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะที่ ๕ แบบสี่เหลี่ยมจตุรัส

มี ๑ แบบพิมพ์ คือ

แบบพิมพ์ที่ ๑ พระแผงสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดฐานกว้าง ๑๐๓ ซม สูง ๑๑๔ ซม มีทั้ง

หมด ๘ แถว ประกอบด้วย พระพุทธรูป-เจดีย์-พระพุทธรูป-พุ่มดอกไม้-พระพุทธรูป-ต้นไม้ พระพุทธรูป-ต้นไม้ แถวล่างสุดมีแจกันปักดอกไม้ทรงหม้อน้ำ ข้างละ ๓ อัน และตรงกลาง

เป็นแท่นมีพุ่มดอกไม้เรียงกัน ๓ พุ่ม เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยม ๓๒ องค์ มีแจกัน


--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะที่ ๖ แบบลอยตัว

มี ๑๑ แบบพิมพ์ คือ



แบบพิมพ์ที่ ๑ พระพิมพ์ปางนาคปรกเดี่ยวพิมพ์ใหญ่ หรือพิมพ์อกนูน ขนาดฐานกว้าง

๓ ซม. สูง ๗ ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์ทรงสูง มีรัศมีพวยพุ้งขึ้นจาก

เศียรหรือมีประภามลฑลเป็นเส้นโค้ง มีเศียรนาคอยู่เหนือประภามลฑลพระชงฆ์ (แข้ง) ด้าน

พระหัตถ์ขวายาวเรียวลงมาจดอาสน์ พระชงฆ์ ด้านพระหัตถ์ซ้ายซ่อนเข้าไปไว้ด้านใน





แบบพิมพ์ที่ ๒ พระพิมพ์ปางนาคปรกเดี่ยวพิมพ์ใหญ่ ขนาดฐานกว้าง ๓ ซม. สูง ๖

ซม. พระพุทธรูป ประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์สูงมีเส้นประภามลฑลเป็นเส้นวงกลมจดพระ

อังสา (ไหล่) มีเศียรนาคอยู่าประภามลฑล พระพาหา (แขน) ทั้งสอง ทั้งสองข้างวาดโค้ง

เล็กน้อย และหักศอกเข้าตองพระชานุ (เข่า)





แบบพิมพ์ที่ ๓ พระพิมพ์ปางนาคปรกเดี่ยวพิมพ์กลางหรือพิมพ์บาง ขนาดฐานกว้าง ๓

ซม. สูง ๗ ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์ฐานเตี้ย ไม่มีประภามลฑล เศียร

นาค ๗ เศียร แผ่ออกจากพระเศียร พระชงฆ์ (แข้ง) และพระบาทขวาซ่อนอยู่ใต้พระชงฆ์

(แข้ง) และพระบาทขวาซ่อนอยู่ใต้พระชงฆ์ และพระชานุ (เข่า) เบื้องซ้าย







แบบพิมพ์ที่ ๔ พระพิมพ์ปางนาคปรกเดี่ยวพิมพ์เล็ก รูปลักษณะพระปางนาคปรกประทับ

นั่งบนบัลลังก์ พระหัตถ์ทั้งสองวางไว้พระชานุ (เข่า) ทั้งสองข้าง









แบบพิมพ์ที่ ๕ พระพิมพ์ปางนาคปรกคู่พิมพ์ใหญ่ขนาดฐานกว้าง ๗.๑ ซม. สูง ๕.๒ ซม

.ประกอบด้วยพระนาคปรก ๒ องค์ มีสถูปคั่นกลาง ข้างบนสุดมีพระพุทธรูปขนาดเล็กประ

ทับนั่งยกพระหัตถ์ขึ้นระดับพระอุระ (อก) ทำปางประทานพร มีสถูปข้างละ ๑ องค์







แบบพิมพ์ที่ ๖ พระพิมพ์ปางนาคปรกคู่พิมพ์กลางมีรูปภาพประกอบเช่นเดียวกับพิมพ์ใหญ่













แบบพิมพ์ที่ ๗ พระพิมพ์ปางนาคปรกคู่พิมพ์เล็กมีรูปภาพประกอบเช่นเดียวกับพิมพ์ใหญ่









แบบพิมพ์ที่ ๘ สถูปจำลองดินเผา ขนาดสูง ๑๔.๔ ซม. จำลองสถูปสำริดที่บรรจุพระบรม

สารีริกธาตุ











แบบพิมพ์ที่ ๙ พระพิมพ์ปางสมาธิองค์เดี่ยว รูปลักษณะพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนบัลลังก์

ทรงสูงพระเกศสูงจดขอบซุ้ม







แบบพิมพ์ที่ ๑๐ พระพิมพ์ปางลีลา (นางรำ บั๊มพ์หรือดิสโก้) มีอยู่หลายพิมพ์ เช่นปางประ

ทานพรพิมพ์พระโพธิสัตว์อวกิเตศวร บางองค์เอี้ยวพระวรกายไปทางซ้ายก็มี และเอี้ยวไป

ทางขวาก็มี







แบบพิมพ์ที่ ๑๑ พระพิมพ์ปางลีลา หรือพิมพ์นางรำ หรือบั๊มพ์ดิสโก้ หรือพิมพ์บั๊มพ์เป็น

พระปางประทับยืนลักษณะเอี้ยวพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกระดับพระกรรณ (หู) พระหัตถ์

ซ้ายยกขึ้นระดับ พระอุระ (อก) ทำปางประทานพร พระพิมพ์นี้มีหลายแบบ เป็นเอก

ลักษณะปางประทานพรก็มี แบบเอี้ยวพระวรกายไปทางซ้ายก็มี และแบบเอี้ยวพระวรกายไป

ทางขวาก็มี




--------------------------------------------------------------------------------

สรุป

พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนมีแบบพิมพ์ในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า

๕๒ แบบพิมพ์ และความสำคัญของพระพิมพ์แต่ละชิ้น ความแตกต่างดังกล่าวย่อมมีความ

อยู่ในตัวเอง อีกทั้งยังบอกถึงคติความเชื่อลัทธิศาสนาที่แฝงอยู่ด้วย ศาสตราจารย์ยอร์ซ เซเด

ส์ (G.COEDES) ได้กล่าวไว้ว่า “พระพิมพ์ในสมัยโบราณไม่ได้แสดงแต่เพียงรูปพระพุทธ

องค์แต่อย่างเดียว แต่ได้แสดงถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งหรือสถานที่แห่งใดแห่งหนี่

งเป็นการเฉพาะ” ซึ่งข้อความดังกล่าวปรากฎให้เห็นในพระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน
อย่างเด่นชัดอยู่แล้ว


http://203.172.204.162/intranet/1023_mc41/news/nadun02.htm
ขอบตุณ ที่ให้ความรู้

เกศไชโย ลงรัก ปิดทอง



พระสมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยม
ตำหนิเอกลักษณ์
1.ทีเด็ด-พระเกศปลายแหลม ตรงกลางจะโปนออกแผ่วๆ
2.พระกรรณเป็นหูบายศรี พระกรรณซ้ายจะเชิดสูงกว่า
3.พระพักตร์และพระศอ ดูรวมๆคล้ายหัวไม้ขีด
4.ทีเด็ด-พระสภาพเดิมๆติดคมชัด จะเห็นโคนแขน แทงเข้าไปที่หัวไหล่
5.อกพระจะนูน ส่วนล่างถัดลงมาจะเป็นเส้นคู่พลิ้ว
6.ตรงกลางกรอบกระจก ด้านซ้ายมือเราส่วนใหญ่ มักเป็นแอ่งท้องช่างเบาๆ
7.ขอบกระจกด้านล่างขวามือของเราส่วนใหญ่ มักจะเป็นแอ่งท้องช่าง
8.ปลายฐานชั้นล่างสุดทั้งสองข้าง จะเป็นเดือยวิ่งชนเส้นครอบแก้ว
9.เนื้อหาพระละเอียด บางองค์เป็นมันลื่นคล้ายหินสบู่ ถ้าพลิกด้านหลังจะเห็นชัด

อกครุฑ 09



พระพิมพ์สมเด็จบางขุนพรหม09 พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร องค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่ของอกครุฑ เสียดายกดพิมพ์ไม่ลึกเท่าไหร่ แต่พระเนื้อจัดมาก เห็นเม็ดผงเก่าบางขุนพรหมจำนวนมาก มีคราบแป้งโรยพิมพ์ พระเนื้อแห้งสนิทและ มีรอยราน รอยอ้า รอยปูไต่ รอยเหนอะ รอยหนอนด้น ชัดเจนครับ องค์นี้นำไปศึกษาได้เลย เพราะเนื้อเก่าผ่านมากว่า 40 ปีแล้ว ด้านหลังดูง่ายชัดเจน มีตราเจดีย์สีเขียวอมน้ำเงิน พระสมบูรณ์มากครับ

ใหม่ หลังล่องลึก



ศึกษาเปรียบเทียบ

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บางขุนพรหม 09 ใหม่



สมเด็จบางขุนพรหม 09 ที่ได้มาใหม่

หลวงตาพัน



นำลิงค์ไปศึกษาเพิ่มเติม
http://www.anymass.com/shop/product.php?i=kom1977&c=1&p=5
http://www.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=536637&storeNameEng=LorSamrit&storeNo=5576
พระสมเด็จหลวงตาพัน บางขุนพรหมปี 02
หลวงตาท่านเป็นพระอยู่ในวัดบางขุนพรหม ท่านได้รวบรวมพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักมาป่นเป็นผงแล้วนำมากดพิมพ์ใหม่ ตั้งแต่สมัยที่มีการ"ตกเบ็ด"จากคอพระเจดีย์ ก่อนเปิดกรุอย่างเป็นทางการในปี 2500 และท่านนำพระออกแจกในปี 2502 แล้วก็สร้างอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปี 2507 ซึ่งเป็นปีที่ท่านมรณภาพ นอกจากนี้ท่านยังเป็นคนชลบุรี และศิษย์ของ หลวงพ่ออี๋ อีกด้วย
ท่านทำพระไว้หลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์สมเด็จพิมพ์ใหญ่ปกติ พิมพ์กลาง พิมพ์คะแนน และพิมพ์นางกวัก นางพญา พระศีวลี พระครูมูล กระทั่งพิมพ์หลวงปู่ทวดหรือสมเด็จโตก็มี ส่วนมากถ้าไม่แกะพิมพ์เองก็กดพิมพ์มาอีกที พระของท่านหลายๆพิมพ์จึงตื้น ไม่สวยงาม เนื้อขาวอมเหลืองจะเป็นเนื้อที่รู้จักกันทั่วไป แต่เพราะเป็นเนื้อเก่าด้วย จะมีการหดตัวมาก ผิวพระ มีช่องว่างเพราะผงเก่าดูดน้ำ ทำให้เกิดมีร่องรูมาก ผิวพระด้านในซุ้มจะเป็นคราบผิวสีอ่อน เงามุก และไม่เรียบตึง บางองค์ก็ขาวเหลืองสะอาดๆ ถ้าองค์ไหนมีคราบฝ้าน้ำมันสีน้ำตาล เหลืองใส ดูผ่านๆคล้ายสนิม บางทีอมชมพู คลุมทั้งองค์ก็มี อย่างที่เรารู้ๆกันว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ได้สร้างไว้ การที่นำผงแตกหักมาสร้างใหม่เป็นพระของหลวงตาพัน ก็เหมือนกับว่าเรามีพระสมเด็จไว้ใช้บูชาดีๆนี่เองครับ