วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตัวกินพระสมเด็จ

บทความจาก
http://www.9pha.com/?cid=154993
ต้วกินพระ หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายตัวปลวกอ่อน สีขาวแต่เล็กกว่ามาก ใหญ่กว่าตัวไรนิดหน่อย อาศัยและเดินอยู่บนพื้นผิว พระสมเด็จค่อยกัดกินมวลสารพระที่เป็นสารอินทรีย์ทำให้พระ เกิดเป็นรอย และเกิดรูเข็มที่ผิพระ ถ้าพระสมเด็จองค์ใดที่มีตัวกินพระเดินอยู่ ให้สัณนิฐานไว้ก่อนว่าพระสมเด็จองค์นั้นเป็น สมเด็จวัดระฆังแท้

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์เส้นด้าย



พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย

โดยปกติแล้วมีการแบ่ง พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย ออกเป็น ๒ ประเภท คือเส้นด้ายใหญ่และพิมพ์เส้นด้ายเล็ก ซึ่งอาศัยเค้าโครงโดยรวมของพิมพ์ว่ามีความล่ำใหญ่หรือผอมบางต่างกัน แต่หากจะศึกษากันอย่างลึกซึ้งจะพบว่า พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์เส้นด้าย สามารถแบ่งแยกออกได้เป็น ๔ พิมพ์ ตามลักษณะใบหน้าลำตัว และการวางแขน ดังนี้


๑ พิมพ์เส้นด้ายใหญ่ไหล่โค้ง ลักษณะของพระพิมพ์นี้ จะมีใบหน้าที่อูมใหญ่ การวางแขนโค้งมนข้างหนึ่งหักศอกเล็กน้อยอีกข้างหนึ่ง อกหนา ลำตัวค่อนข้างตรง
๒ พิมพ์เส้นด้ายใหญ่ไหล่ตรง ลักษณะของพระพิมพ์นี้ จะมีใบหน้าที่อูมเรียวใหญ่ คล้ายผลมะตูมใหญ่ บริเวณพระอุระและช่วงไหล่จะแผ่กว้าง แนวไหล่เป็นเส้นตรง การวางแขนโค้งมนข้างนึ่ง หักศอกเล็กน้อยอีกข้างหนึ่ง อกหนาลำตัวค่อนข้างตรง พิมพ์นี้จะมีส่วนเนื้อเชื่อมระหว่างแขนหักศอกกับตักด้านซ้ายมือขององค์พระ
๓ พิมพ์เส้นด้ายไหล่โค้งหน้าเล็ก ลักษณะของพระพิมพ์นี้ จะมีใบหน้าค่อนข้างกลมเล็ก ลำพระองค์ผอม ช่วงพระอุระกับแขนแคบ การวาดแขนโค้งมน
๔ พิมพ์เส้นด้ายไหล่ตรงหน้าเล็กเรียว ลักษณะของพระพิมพ์นี้ จะมีใบหน้าค่อนข้างเรียว ผอม ลำพระองค์ใหญ่หนา เป็นทรงกระบอก การวางแขนขวาขององค์พระโค้งมน ส่วนแขนซ้ายมีทั้งโค้งหักศอกเล็กน้อย และแขนที่ค่อนข้างหักศอก

Tle.0819339076

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่



สมเด็จองค์นี้ต้องมองให้ลึกๆแล้วจะเข้าใจ เข้าใจ!สวยธรรมชาติพระองค์นี้มีรอยระเบิด มองให้ลึกๆพระเนื้อเช่นนี้รับประกันไม่พลาดแน่นอน พระสมเด็จองค์นี้ต้องใส่ให้ได้ไอตัวแล้วรับรองได้เลยว่าเนื้อพระจะสวยจัด เรียกว่าใส่แล้วเนื้อจะจัดขึ้นจนผิดหูผิดตาทีเดียว ไม่ต้องห่วงเรื่องความอัศจรรย์ของเนื้อพระสมเด็จของหลวงปู่ นี่น่าทึ่งมากแปลกประหลาดมาก ขึ้นชื่อว่าเป็นพระที่หลวงปู่สร้างไม่ว่าจะด้วยองค์ท่านเองหรือบางขุนพรหมที่มีบรรดาศิษย์ช่วยกันทำแล้วเชิญหลวงปู่มาร่วมเป็นประธานในพิธี ผมก็เคารพนับถือเหมือนกันหมด คือเก็บหมด อย่าลืมนะครับว่าในตำนานนั้นว่ากันว่า หลวงปู่ท่านสร้างไปแจกไปก็มี ซึ่งผมก็พบหลักฐานจากพระที่ผมมีอยู่นี่แหละ คือเป็นพระพิมพ์บางขุนพรหมแต่ไม่ปรากฏรองรอยของคราบกรุอยู่เลย ท่านทั้งหลายลองพิจารณาไปเรื่อยๆจะทราบเอง 0819339076

พระสมเด็จ วัดระฆัง มีขอบเส้นวาสนา



พระสมเด็จ วัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ เนื้อละเอียด ยุคปลาย (หลวงวิจารย์เจียรนัยฯ (เฮง))มาให้ศึกษา และจะบอกจุดดูให้หนึ่งจุด เอาแค่เพียงจุดเดียวก่อน แล้วท่านลองดูพระของท่านดู ว่าจะเป็นอย่างที่ผมบอกหรือเปล่า ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ก็น่าจะ.. แต่ถ้ามีใกล้เคียงกัน ก็อาจจะเป็นพระแท้ก็ได้ อาจจะเท่านั้นนะครับ เพราะความจริงแล้วต้องมีหลายๆ ตำแหน่งครับ จึงจะเป็นพระแท้ แต่วันนี้เอาแค่ตำแหน่งเดียวก่อน และผมเชื่อว่า ท่านจะรู้ว่าพระของท่านนั้นไม่แท้เองได้ไม่มากก็น้อยครับ

พระสมเด็จ นั้นเขาสร้างขึ้นมาโดยไม่มีขอบแม่พิมพ์สำเร็จ หมายความว่าต้องนำพระหลังจากที่กดพิมพ์แล้วมาตัดขอบด้วยมืออีกทีหนึ่ง ดังนั้น พระสมเด็จ ถ้าวัดจากขอบพระจะมีขนาดไม่เท่ากันทุกองค์ ช่างที่เขาแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จนั้นเขาจะแกะเส้นกรอบแม่พิมพ์ไว้เพื่อให้เป็นที่หมายของการตัดขอบ พระบางองค์ถ้าตัดขอบพอดีกับเส้นก็จะไม่เห็นเส้นกรอบ พระที่ตัดเกินไปพอดีเส้นกรอบ ก็จะเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์ ตรงจุดนี้เองเราก็นำมาเป็นมาตรฐานในการดูเส้นกรอบได้

พระที่นำเสนอ เป็นพระที่ตัดพอดีกับเส้นกรอบแม่พิมพ์ ตัดนอกเส้นกรอบแม่พิมพ์ทำให้มีเนื้อเหลือนอกกรอบแม่พิมพ์ที่บางท่านเรียกว่า กรอบกระจกนั่นเองครับ ทีนี้เรามาดูกันที่พระที่ตัดกรอบพอดีตามเส้นกรอบแม่พิมพ์ ให้ท่านสังเกตดูขอบพระที่ขวามือเรา จะเห็นว่าขอบของพระจะมาชนกับเส้นซุ้ม ถ้าลากเส้นขนานกับพื้นตรงบริเวณนี้มาที่องค์พระ หรือนำไม้บรรทัดมาทาบดู จะเห็นว่าเส้นที่ลากมานี้จะชนกับแขนพระตรงบริเวณเหนือข้อศอกขององค์พระ ทีนี้มาดูองค์ที่ตัดเหลือเนื้อที่ขอบพระองค์นี้จะเห็นเส้นขอบแม่พิมพ์ที่ช่างแกะแม่พิมพ์แกะไว้ชัดเจน เส้นขอบแม่พิมพ์ที่ว่ามานี้ ท่านลองลากเส้นขนานกับพื้นมาที่องค์พระเช่นเดียวกับพระองค์แรก ก็จะเห็นว่า มาชนกับแขนที่บริเวณเหนือข้อศอกเช่นกัน ในตำแหน่งเดียวกันนี่แหละครับ คือตำหนิแม่พิมพ์ในพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯ ที่ต้องเป็นเช่นนี้ทุกองค์เพราะเป็นพระที่เกิดจากแม่พิมพ์อันเดียวกันครับ

จุดสังเกตข้อนี้เป็นเพียงข้อเดียวเท่านั้นที่ผมยกตัวอย่างมา ความจริงแล้ว จุดสังเกตแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่ วัดระฆังฯ ยังมีอีกมาก พูดความจริงก็คือมีให้ดูทั้งองค์เลยครับ รายละเอียดของแม่พิมพ์ของพระนั้น เมื่อพิมพ์ออกมาเป็นองค์พระแล้ว จะมีจุดให้เราศึกษาดูอยู่ทั้งองค์พระ หลายจุดหลายตำแหน่ง พระที่ออกมาจากแม่พิมพ์อันเดียวกัน แต่ละจุดแต่ละตำแหน่งมีรายละเอียดเหมือนกัน ตำแหน่งเดียวกันครับ ซึ่งข้อนี้เขาจึงนำมาใช้ในการพิจารณาพิมพ์ของพระว่าแท้หรือไม่แท้ได้ครับ

พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ขอบกระจก ด้านหลัง องค์ที่2


ด้านหลังองค์ที่ 2 มีรอยปาด ขั้นบันได รอยแยกเดิม

พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ขอบกระจก องค์ที่ 2


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เกศทะลุซุ้ม เนื้อโกเด(กรอบกระจก )สีน้ำตาล องค์ที่2

มองเห็นกรอบกระจกทั้งสี่ด้าน อกผาย ซอกแขนซ้ายเว้าลึกกว่าซอก
แขนขวามีเส้นสังฆาฎิ พระบาทซ้ายนูน พิมพ์ทรงสวยงาม ผิวด้านหน้า เปิดเล็กน้อยมอง

เห็นมวลสาร ด้านหลังเห็นรอยปาด รอยแยก
Tle.0819339076

พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ขอบกระจก (ด้านหลัง)


ด้านมีรอยแยก รอยขั้นบันได

พระสมเด็จ วัดระฆัง พิมพ์ขอบกระจก


พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ เกศทะลุซุ้ม (กรอบกระจก ) วรรณะสีน้ำตาล

มองเห็นกรอบกระจกทั้งสี่ด้าน อกผาย เห็นเส้นสังฆา ซอกแขนซ้ายเว้าลึกกว่าซอก
แขนขวา พระบาทซ้ายนูน พิมพ์สวยงาม ผิวด้านหน้า

เห็นมวลสาร ด้านหลังเห็นรอยปาด
Tle. 0819339076

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศึกษาประวัติการสร้างสมเด็จ วัดระฆัง วัดบางขุนพรหม วัดพระแก้ว







พระสมเด็จวัดระฆัง (รายละเอียด )
2009-11-20 01:36:08

โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน

พระสมเด็จวัดระฆัง คือหนึ่งในมงคลวัตถุที่ทรงพุทธคุณ และอิทธิคุณ เป็นวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่าอย่างอเนกอนันต์ ความเป็นมาของชีวประวัติ การสร้างพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ยังเป็นสิ่งที่เราท่านจะต้องสืบต่อและค้นหาต่อไป แต่น่าเสียดายที่ความรู้ทางด้านนี้นับวันจะสืบค้นได้ยากขึ้นคงเป็นเพราะด้วยเวลาที่ผ่านมานาน และขาดการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ข้าพเจ้าเองพยายามสืบค้นจากหนังสือต่างๆ หลายสิบเล่มแต่ถ้าจะนับจริง ๆ แล้วเกือบ ๆ ร้อยเล่มเห็นจะได้ ก็ถือเป็นความพยายามของมนุษย์ผู้หนึ่งเท่านั้นที่มีจิตอันมั่นคงเคารพกราบไหว้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี อยู่เป็นนิจ หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้พยายามสืบค้นกันต่อไปด้วยจิตใจอันมุ่งมั่น และเปี่ยมด้วยความเคารพบูชา และพิจารณาด้วยสติปัญญายึดมงคล ๓๘ ประการ ของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญ
จากการสืบค้นของข้าพเจ้า จากข้อเขียน และเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงของอาจารย์ และผู้รู้หลายท่านยืนยันตรงกันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ถึง ๒๔๑๕ อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ส่วนการสร้างพระเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรนั้นคงยังนับไม่ได้ถือว่าท่านได้สร้างให้กับพระอาจารย์ของท่าน การนับการสร้างเป็นพระสมเด็จควรเริ่มจากปีที่ท่านได้เป็นสมเด็จแล้ว (ปี พ.ศ. ๒๔๐๗) การสร้างพระของท่านมิได้ยึดถือกำหนดว่ากดพิมพ์เป็นองค์พระแต่เมื่อใดแต่ท่านยึดถือว่าพระเครื่องรุ่นนั้นๆ สำเร็จตั้งแต่เป็นผงวิเศษแล้ว ในเรื่องผงวิเศษของท่านนั้นจะทำอยู่ตลอดที่ท่านมีเวลาหรืออาจกล่าวได้ว่าตามอัธยาศัย การทำผงวิเศษแต่ละครั้งสามารถสร้างพระได้หลายพรรษา และพรรษาที่ท่านได้ทำผงวิเศษมากที่สุด ได้แก่ สาม ห้า เจ็ด เก้า สิบเอ็ด สิบหก และยี่สิบ กล่าวกันว่าการสร้างพระสมเด็จของท่านนั้นกระทำทุกพรรษา มากบ้างน้อยบ้างตามแต่เวลาที่ท่านพึงมี ผงวิเศษของท่านก็ยังมอบให้แก่วัดต่างๆ ที่มาขอเพื่อเป็นส่วนผสมในการสร้างพระก็มาก หลังจากที่ท่านสิ้นชีพิตักษัยแล้ว (ปีที่ท่านสิ้น พ.ศ. ๒๔๑๕) ผงวิเศษก็ยังเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง
จากการบันทึกของจดหมายเหตุว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้มีพระราชประสงค์แต่งตั้งให้ท่านมีฐานานุกรมศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ด้วยเห็นว่าท่านมีความรู้ทางด้านอักษรศาสตร์ และทางวิปัสสนาธุระเป็นอย่างยิ่งแต่ท่านได้ทูลขอตัวไม่รับสมณศักดิ์นั้น โดยได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และเมื่อไปพำนักยังท้องถิ่นที่จังหวัดใด ในแถบนั้นมีพระชนิดใดที่ผู้คนกราบไหว้ท่านก็จะสร้างล้อแบบพิมพ์ชนิดนั้นตามแบบของท่าน เช่น เนื้อกระเบื้อง เนื้อดินเผา เนื้อผง เนื้อตะกั่วห่อชา เป็นต้น แล้วแจกจ่ายให้กับผู้คนในถิ่นนั้นๆ ที่เหลือบรรจุกรุไว้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ด้วยประการนี้เราจึงพบว่าในหลายจังหวัดมีพระสมเด็จในแบบและพิมพ์ต่างๆบรรจุกรุไว้มากมาย เช่น ราชบุรี อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร เชียงราย เป็นต้น
ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมภาณีแห่งวัดระฆังได้เล่าให้ฟังว่า พระสมเด็จองค์แรกที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างคือ “พระสมเด็จหลังเบี้ย” หรือ “พระสมเด็จดินสอเหลือง ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือของคนโบราณ ด้านหน้าเป็นรูปพระสมเด็จทรงพิมพ์ใหญ่ ด้านหลังแต่งให้นูนเหมือนหลังเบี้ยจั่น สร้างด้วยดินสอเหลือง ผสมกล้วยน้ำไทย น้ำอ้อย น้ำตาลเคี่ยว น้ำมันทัง และมวลสาร ท่านชุบ วินทวามร อดีตผู้พิพากษา ซึ่งเป็นพีชาย (ลูกพี่ลูกน้อง)ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) นักนิยมพระสมเด็จในสมัยโบราณ ท่านได้ศึกษาและรับฟังจากผู้ใหญ่หลายๆ ท่านบอกต่อกันมาว่า เชื่อว่าสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แกะพิมพ์นี้เองเป็นพิมพ์แรก
ในปัจจุบันสมเด็จหลังเบี้ยหาดูไม่ได้แล้ว ได้ทราบว่า นายเปลื้อง แจ่มใส ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานหล่อพระที่บ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นผู้หนึ่งที่ครอบครอง ต่อมาได้มอบพระสมเด็จหลังเบี้ยนี้ให้แก่ นายวิจิตร แจ่มใส ซึ่งต่อมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์หลายสมัย ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว และไม่ทราบว่าพระสมเด็จหลังเบี้ยตกไปอยู่กับท่านผู้ใด
พระสมเด็จหลังเบี้ยนั้น พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) ได้ครอบครองไว้หนึ่งองค์ทราบว่าก่อนจะมรณภาพได้มอบให้แก่นายแพทย์สำเริง รัตนรพี อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพยาธิวิทยาของโรงพยาบาลศิริราช
พระสมเด็จที่ท่านสร้างส่วนใหญ่สร้างที่วัดระฆัง แต่ยังมีข้อถกเถียงกันไม่รู้จบว่าพระสมเด็จวัดระฆังไม่บรรจุกรุ และมีพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังเพียง ๕ พิมพ์ เท่านั้น ซึ่งวงการพระสมเด็จที่บูชาพระตามกระแสของสังคมเชื่อเช่นนั้น ส่วนกลุ่มที่บูชาพระสมเด็จจากการศึกษาค้นคว้าหาความจริงจากประวัติศาสตร์เชื่อว่าพระสมเด็จมีมากมายหลายร้อยพิมพ์มีทั้งบรรจุกรุและไม่บรรจุกรุ และอาจจะมีนักเล่นพระบางกลุ่มที่มิอาจหลีกเลี่ยงหลักแห่งความเป็นจริงไปได้ ยอมรับว่ามีพระสมเด็จวัดระฆังมีสภาพเหมือนพระในกรุจริง เป็นพระฝากกรุเรียกกันว่า “พระสองคลอง” แต่ในหลักแห่งความเป็นจริงแห่งการสืบค้น และข้อสันนิษฐาน เชื่อได้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างถาวรวัตถุอันเป็นมงคลวัตถุ หรือจะเรียกว่าปูชนียสถานในทางพุทธศาสนาที่ใด ท่านจะนำพระพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังบรรจุกรุ ณ ที่นั้น และในหลาย ๆ ที่จะพบพระสมเด็จที่บรรจุในกรุมากมาย เช่น พระสมเด็จวัดอินทรวิหาร พระสมเด็จวัดไชโยวรวิหาร พระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ พระสมเด็จวัดกลางคลองข่อย พระสมเด็จวัดกุฎีทอง พระสมเด็จวัดสะตือ พระสมเด็จบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) และอีกหลายวัดที่ได้ขอผงวิเศษของท่านไปสร้างพระเองก็มาก เช่น พระสมเด็จวัดพระแก้ว พระสมเด็จวัดพลับ พระสมเด็จปิลันท์ เป็นต้น ส่วนพิมพ์พระสมเด็จที่พบนั้นก็มีมากมายหลายร้อยพิมพ์ ที่นำมาอ้างถึงข้าพเจ้าเองอยากจะให้ท่านที่เคารพกราบไหว้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และอยากมีพระสมเด็จไว้บูชาจะได้ไม่เสียโอกาส และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งเป็นการสืบทอดทางพระพุทธศาสนาตามเจตนารมณ์อันบริสุทธิของท่านต่อไป พระสมเด็จไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใดสร้างเมื่อใด อยู่ที่ไหน ล้วนแล้วแต่ทรงพุทธคุณ และอิทธิคุณเป็นอเนกอนันต์ และที่สำคัญก็คือความยึดมั่นในคุณอันประเสริฐแห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ขอให้ท่านประพฤติดีมีศีลธรรม พุทธคุณ และอิทธิคุณแห่งพระสมเด็จจะอยู่ที่ใจท่านและคุ้มครองป้องกันภัย ให้ท่านมีความสุขทั้งกายและใจตลอดไป ขอให้ท่านผู้เลื่อมใสศรัทธาได้พิจารณาด้วยสติให้ถ่องแท้

ปูชนียสถานในทางพุทธศาสนา ที่ท่านได้สร้างไว้ และบรรจุพระสมเด็จ ดังนี้
๑. พระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย วัดกุฎีทอง (วัดพิดเพียน) ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอท่าพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒. พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) วัดสะตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๓. พระมหาพุทธพิมพ์ปางสมาธิ วัดไชโยวรวิหาร ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
๔. พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร วัดกลางคลองข่อย ตำบลคลองข่อย อำเภอพาราม จังหวัดราชบุรี
๕. พระเจดีย์นอน วัดละครทำ ตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (ธนบุรี)
๖. พระศรีอริยเมตไตรย (หลวงพ่อโต) วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม อำเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พุทธศิลป์ของพระสมเด็จวัดระฆัง ศิลปะโบราณในแต่ละยุคที่ช่างสิบหมู่ (ช่างแกะพิมพ์) นำมาเป็นต้นแบบในการแกะพิมพ์
๑. สมัยเชียงแสน
๒ สมัยสุโขทัย
๓. สมัยอู่ทอง
๔. อยุธยา
๕. รัตนโกสินทร์ตอนต้น

พุทธศิลป์ที่เป็นความหมายในองค์พระสมเด็จวัดระฆัง
๑. รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หมายถึงแผ่นดินที่ทรงพระอริยสัจจ์
๒. วงโค้งในรูปสี่เหลี่ยม หมายถึงอวิชาที่คลุมพิภพ
๓. รูปสามเหลี่ยมในวงโค้ง หมายถึงพระรัตนตรัย
๔. รูปพระนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ หมายถึงพระพุทธเจ้าปางตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์
๕. ฐานสามชั้น หมายถึงพระไตรปิฎก
๖. ฐานเจ็ดชั้น หมายถึงอปนิหานิยมธรรม
๗. ฐานเก้าชั้น หมายถึงมรรคแปด นิพพานหนึ่ง

จำนวนการสร้าง
ส่วนในเรื่องของจำนวนการสร้าง ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์
เป็นปฐม ต่อจากนั้นจะสร้างเพิ่มอีกเท่าใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด แม้ลูกศิษย์ใกล้ชิดที่มาช่วยท่านสร้างพระก็ยังไม่สามารถบอกได้ถึงจำนวนที่แน่นอน อาทิเช่น พระภิกษุภู คือหลวงปู่ภูพระเกจิอาจารย์ชั้นยอดของเมืองไทยแห่งวัดอินทรวิหาร พระภิกษุพ่วง พระภิกษุแดง พระภิกษุโพ สามเณรเล็ก ทุกรูปขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม และท่านสุดท้ายที่กล่าวอ้างถึงคือ หลวงบริรักษ์โรคาพาธ (ฉุย) มีอายุใกล้เคียงกับท่าน มีบ้านอยู่วังหลังใกล้กับวัดระฆัง และมีตำแหน่งเป็นแพทย์หลวงในรัชกาลที่ ๔ ถึงแก่มรณกรรมเมื่อต้นรัชกาลที่ ๕ และเชื่อได้ว่าคงไม่เฉพาะท่านที่เอ่ยนามมาเท่านั้นอาจจะมีอีกหลายสิบหรือหลายร้อยท่านที่เป็นสานุศิษย์ของท่าน ได้ช่วยกันสร้างพระสมเด็จก็เป็นไปได้

แบบพิมพ์ แบ่งเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
๑. พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างหลวง (ช่างสิบหมู่) จากการแกะแม่แบบโดยเจ้าฟ้าอิสราพงศ์ หลวงวิจิตรนฤมล (พึ่ง ปฏิมากร เป็นต้นสกุลปฏิมากร) และช่างหลวงจากสกุลช่างสิบหมู่ จัดเป็นพุทธศิลป์ที่มีความวิจิตรงดงาม และได้รับการยอมรับเป็นพิมพ์นิยม ๕ พิมพ์ ในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าพิมพ์เหล่านี้แกะถวายเมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว
๒. พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบตามความต้องการของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ส่วนใหญ่เป็นฝีมือของ นายเทศ ซึ่งเป็นหลานของท่าน เป็นช่างแกะพิมพ์พระ รวมทั้งสานุศิษย์และผู้ใกล้ชิด
๒.๑ แบบพิมพ์ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา เรื่องราวพุทธประวัติ และ เหตุการณ์ต่างๆ เช่น พิมพ์สมเด็จเกศไชโย ๖ ชั้น และ ๗ ชั้น พิมพ์ทรงฉัตร พิมพ์ทรงครุฑ พิมพ์ระฆังครอบ พิมพ์ทรงเจดีย์นอน พิมพ์แจวเรือจ้าง พิมพ์รูปเหมือน เป็นต้น
๒.๒ แบบพิมพ์ที่ล้อจากพิมพ์พระที่กำลังมีความนิยมในยุคนั้นๆ และจัดสร้างตามแบบของท่าน เช่น พิมพ์นางพญา พิมพ์ผงสุพรรณ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์พระรอด พิมพ์ทุ่งเศรษฐี พิมพ์ขุนแผน พิมพ์ขอบกระด้ง พิมพ์กลีบบัว พิมพ์สามเหลี่ยม พิมพ์เล็บมือ เป็นต้น
๓. พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างในสกุลช่างสิบหมู่แห่งตำบลบ้านช่างหล่อ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี แกะพิมพ์แม่แบบทำด้วยโลหะลักษณะกดปั๊มแล้วตัดขอบเป็นพิมพ์นิยมหลังแบบสร้างพระสมเด็จตะกั่วห่อชาวัดละครทำ บรรจุกรุเพดานพระอุโบสถ และพระวิหารวัดละครทำ
๔.พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยฝีมือช่างชาวบ้านมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีน เป็นต้น ส่วนใหญ่จะแกะตามจินตนาการ และฝีมือของแต่ละคน จึงเป็นพิมพ์มีความแตกต่าง ไม่ค่อยสวยงามนักมีลักษณะผิดไปจากพิมพ์นิยมมาก พิมพ์เหล่านี้มีมากมายสันนิษฐานว่ามีชาวบ้านแกะมาถวายว่าตั้งแต่ท่านเริ่มสร้างพระจนกระทั่งท่านถึงแก่ชีพิตักษัย

การสืบค้นในตำรา และข้อเขียนของผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้ว่า คุณหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการให้ความเห็นถึงกรรมวิธีในการสร้างพระสมเด็จให้มีความคงทน สวยงาม ด้วยการเพิ่มมวลสารที่ยึดเกาะ และเป็นผู้หนึ่งที่ได้แกะพิมพ์พระสมเด็จถวายซึ่งกล่าวกันว่ามีความสวยงามไม่น้อยเช่นกัน

วัสดุที่ใช้ในการสร้างพิมพ์
ดินเผา ไม้จันทน์ หินอ่อน หินลับมีดโกน ปูนขาว โลหะ ฯลฯ ในปัจจุบันพิมพ์แม่แบบเหล่านี้หาดูไม่ได้แล้วทราบแต่คำบอกเล่าของ พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) ว่า “เมื่อท่านสิ้นพิมพ์พระสมเด็จส่วนหนึ่งจะอยู่ที่วัดระฆัง อีกส่วนก็กระจัดกระจายไปอยู่กับลูกศิษย์บ้าง ชาวบ้านในละแวกนั้นบ้าง ไม่ได้เก็บรักษาไว้ตามที่ควร ในตอนหลังทราบว่าวัดได้ทำลายพิมพ์เหล่านั้นจนสิ้นด้วยเหตุแห่งมีการปลอมแปลงกันมาก”

หลักฐานพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง
อีกหลักฐานหนึ่งที่สำคัญได้มีการจดบันทึกไว้เป็นประวัติพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังแต่ละพิมพ์ โดยหลวงปู่คำ (วัดอัมรินทร์) ซึ่งก็เป็นในช่วงเวลาสุดท้ายของการ สร้างพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ได้ถูกคัดลอกไว้ ซึ่งระบุเฉพาะแม่พิมพ์ที่ไม่ชำรุดแตกหัก อยู่ในสภาพดีในเวลานั้นเท่านั้น ซึ่งบันทึกไว้ว่า จำนวนแม่พิมพ์ที่มีเหลืออยู่ในสภาพดี ดังนี้
๑. พิมพ์ประธาน ๕๑
๒.พิมพ์ใหญ่(พิมพ์ชายจีวร บาง หนา เส้นลวด) ๑๕๒
๓. พิมพ์อกร่อง หูยาน ฐานแซม ๓๑
๔. พิมพ์เกศบัวตูม ๔๑
๕. พิมพ์ปรก ๕๑
๖. พิมพ์ฐานคู่ ๓๑
๗. พิมพ์เส้นด้าย ๑๕๒
๘. พิมพ์สังฆาฏิ ๗๑
๙. พิมพ์หน้าโหนกอกครุฑ ๑๖๑
๑๐.พิมพ์ทรงเจดีย์ ๒๑

นอกจากพิมพ์นิยมข้างบนนี้ ยังรวมพิมพ์คะเเนน และมีพิมพ์อื่น ๆ อีก ๘๓ พิมพ์

*** ที่สำคัญพบว่ายังมีอีกหลายร้อยพิมพ์ที่มิได้มีการจดบันทึกไว้เป็นรายลักษณ์อักษร

พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังที่เป็นพิมพ์นิยม
๑. พิมพ์ใหญ่
๒. พิมพ์ทรงเจดีย์
๓. พิมพ์เกศบัวตูม
๔. พิมพ์ปรกโพธิ์
๕. พิมพ์ฐานแซม

ประเภทของเนื้อพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. เนื้อผง
๑.๑ เนื้อน้ำมัน
๑.๒ เนื้อปูน
- เนื้อปูนเพชร
- เนื้อปูนขาวลงรักปิดทองล่องชาด
๑.๓ เนื้อสังคโลก
๑.๔ เนื้อหินลับมีดโกน
๑.๕ เนื้อชานหมาก
๑.๖ เนื้อมวลสาร (ข้าวสุก ก้านธูป เศษจีวร ทองคำเปลว)
๑.๗ เนื้อเกสรดอกไม้
๑.๘ เนื้อดินสอเหลือง
๑.๙ เนื้อผงใบลานเผา
๑.๑๐ เนื้อแป้งข้าวเหนียว
๒. เนื้อกระเบื้อง
๓. เนื้อดินเผา
๔. เนื้อโลหะ
๔.๑ เนื้อเงิน
๔.๒ เนื้อตะกั่วห่อใบชา

อานุภาพแห่งอภิญญา ๖ แห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. อิทธิวิธี วิชาที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้
๒. ทิพโสต วิชาหูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ วิชารู้จิตใจผู้อื่น
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ วิชาระลึกชาติได้
๕. ทิพจักษุ วิชาตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ วิชาการทำอาสวะให้สิ้น

พระสูตรคาถาที่ลงในดินสอมหาชัยสร้างเป็นผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี
๑. มูลกัจจายน์ พระสูตรคาถาใหญ่ก่อนที่จะเจริญพระสูตรคาถาอื่นๆ
๒. มหาราช ผงมหาราชมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม
๓. ตรีนิสิงเห ผงตรีนิสิงเห เชื่อว่ามีอานุภาพทั้งทางอยู่ยงคงกระพัน
เมตตามหานิยม ตลอดจนถอนคุณไสยสิ่งอวมงคลทั้งมวล
๔. อิทธะเจ ผงอิทธะเจมีอานุภาพทางเมตตามหานิยมโดยเฉพาะแก่สตรีเพศ
๕. ปถมัง ผงปถมัง เชื่อว่ามีอานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้
๖. พุทธคุณ ผงพุทธคุณเป็นพระคาถาย่อยในพระคาถาปถมัง ผงพุทธคุณ ป้องกันได้สารพัดทั่วทุกทิศ คุ้มกันได้สิ้น ศึกสงครามก็จะได้ชัยชนะ ค้าขายดีมีกำไร มีความเจริญรุ่งเรืองบังเกิดลาภผลพูนทวี จะลงเป็นผ้าประเจียดป้องกันศาสตราอาวุธก็ได้ ทั้งเป็นเสน่ห์แก่บุคคลโดยทั่วไป

การสร้างดินสอมหาชัย (ดินสอเหลือง)
ดินสอมหาชัยหรือดินสอเหลือง คือวัตถุมงคลที่นำมาเขียนอักขละเลขยันต์ในขณะเจริญพระสูตรคาถา ลบและได้ผงวิเศษนำมาเป็นส่วนผสมที่สำคัญยิ่งในการสร้างพระสมเด็จ มีส่วนผสมที่สำคัญ และการสร้างดังนี้
ใช้ดินสอพองบดละเอียด หรือนำดินสอพองแช่น้ำพอละลายผสมเข้ากับน้ำข้าวและน้ำอ้อยเพื่อให้เกิดการจับตัวสามารถปั้นเป็นแท่งขึ้นรูปได้ จากนั้นตากให้แห้ง และย้อมด้วยน้ำเถาตำลึงคั้นอย่างเข้มข้นเพื่อป้องกันดินสอและผงติดมือขณะเขียน นำมาเขียนลบขณะเจริญพระสูตรคาถา เมื่อเขียนลบจนได้ผงวิเศษแล้วจึงนำมาผสมกับมวลสารมงคลต่าง ๆ แล้วจัดสร้างเป็นพระสมเด็จต่อไป

มวลสารต่างๆที่เป็นส่วนผสมที่สำคัญของพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน หรือถ้วยชามเบญจ รงค์ของไทย ปูนขาว
๒. หินอ่อน หรือ ศิลาธิคุณ
๓. ดินหลักเมือง ๗ หลัก
๔. ดินสอพอง
๕. ดินโปร่งเหลือง
๘. ข้าวสุก และอาหารสำรวม
๙. แป้งข้าวเหนียว
๑๐. กล้วยน้ำไทย
๑๑. ยางมะตูม
๑๒. น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อยเคี่ยว
๑๓. น้ำมันทัง
๑๔. ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธาน
๑๕. ผงใบลานเผา
๑๖. ดอกบัวสัตตบุษย์
๑๗. ดอกมะลิ
๑๘. ดอกกาหลง
๑๙. ยอดสวาท
๒๐. ยอดรักซ้อน
๒๑. ราชพฤกษ์
๒๒. พลูร่วมใจ
๒๓. พลูสองหาง
๒๔. กระแจะหอม
๒๕. ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด
พุทธคุณ และอิทธิคุณ “อิทธิคุณ” คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ “พุทธคุณ” คือ คำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้าเพราะการเริ่มบทสวดที่จะเจริญพระคาถาใด ๆจะต้องเริ่มจากบทสวดในการคำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ แต่ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนจะนิยมเรียกว่า “พุทธคุณ” ซึ่งก็น่าจะมีส่วนถูกต้อง
ข้อสรุปในการศึกษาการสร้างพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ถึง ๒๔๑๕ อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ส่วนการสร้างพระเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรนั้นคงยังนับไม่ได้ว่าเป็นพระสมเด็จ
๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี การสร้างพระของท่านมิได้ยึดถือกำหนดว่า กดพิมพ์เป็นองค์พระแต่เมื่อใดแต่ท่านยึดถือว่าพระเครื่องรุ่นนั้น ๆ สำเร็จตั้งแต่เป็นผงวิเศษแล้ว
๓. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างพระสมเด็จจำนวน ๘๔’,๐๐๐ องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์ อันเปรียบได้ถึงการระลึกถึงพระคุณอันประเสริฐของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า และการสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างแบบพิมพ์มากกว่า ๒๐๐ พิมพ์ โดยแบ่งเป็น
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างหลวง (ช่างสิบหมู่)
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบตามความต้องการของท่าน
- พิมพ์ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา เรื่องราวพุทธประวัติ และ เหตุการณ์ต่าง ๆ
- พิมพ์ที่ล้อจากพิมพ์พระที่กำลังมีความนิยมในยุคนั้น ๆ
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยฝีมือช่างชาวบ้านมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
๕. พระสมเด็จวัดระฆังมีทั้งสร้างแล้วแจก กับสร้างแล้วนำบรรจุกรุ เชื่อได้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างถาวรวัตถุอันเป็นมงคลวัตถุ หรือจะเรียกว่าปูชนียสถานในทางพุทธศาสนาที่ใด ท่านจะนำพระพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังบรรจุกรุ ณ ที่นั้น
ข้อเขียนนี้ถือเป็นลิขสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมาย ของอาจารย์ไพรพนา ศรีเสน อนุญาตให้ใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ เพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่ต้องขออนุญาต

อ้างอิง

๑. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์)
๒. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากวิกิพีเดียร์ สารานุกรมเสรี
๓. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากหลวงพ่อเจริญ ฐิตธรรมโม วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
๔. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์)
๕. จากบทความเรื่อง ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จจากไป โดยนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ในหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
๖. สี่สมเด็จ โดยนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ พิมพ์ที่ แอลซีเพรสส์ ๒๕๒๗
๗. จากหนังสือภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต เขียนและจัดพิมพ์โดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะ นาวิน พิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ๑ มีนาคม ๒๕๒๗
๘. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง นายธงชัย พลอยช่าง (สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ช่างปั้นพระปฏิมากร บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
๙. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง พระภิกษุวงษ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย)
วัดดงมูลเหล็ก กรุงเทพฯ (อายุ ๘๕ ปี ๕๐ พรรษา)
๑๐. ประวัติช่างสิบหมู่ จากวิกิพีเดียร์ สารานุกรมเสรี
๑๑. พระคัมภีร์และพระสูตรคาถา จากวิกิพีเดียร์ สารานุกรมเสรี
๑๒. ภาพเขียนบนผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร


ป้าย : รายละเอียดพระสมเด็จวัดระฆัง
Dictionary : รายละเอียดพระสมเด็จวัดระฆัง
http://crazylove.212cafe.com/archive/2009-11-20/020118/
พระสมเด็จวัดพระแก้ว
2009-11-20 01:58:30
พระสมเด็จวัดพระแก้ว
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
ประวัติการสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้ว
พระสมเด็จวัดพระแก้ว บรรจุกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่เรียกกันทั่วไปว่า “พระสมเด็จกรมท่าและพระสมเด็จวังหน้า”
พระสมเด็จกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ผู้สร้างคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) (กรมท่าในรัชกาลที่ ๔) เจ้าพระยาภาณุวงษ์มหาโกษาธิบดี (กรมท่าในรัชกาลที่ ๕) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้าในรัชกาลที่ ๕) สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พระอุตรเถระ (หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร) หลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทราราม หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นหลายรูป
ในทางศิลป์ถือได้ว่าเป็นสุดยอดในทางฝีมือการช่างอันวิจิตร (ประณีตศิลป์) เป็นวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่า เป็นมงคลวัตถุ เป็นพุทธปฏิมา (องค์แทนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ให้มนุษย์ระลึกถึงและกระทำแต่ความดี และที่สำคัญเป็นที่รวมแห่งสุดยอดของพระสูตรคาถา ผู้ที่ครอบครองพระสมเด็จชุดนี้จะปราศจากอันตรายทั้งปวง แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นเมตตามหานิยมเป็นที่รักและนับถือแก่บุคคลโดยทั่วไป รักษาโรคภัยไข้เจ็บไม่เข้ามากล้ำกราย อาวุธเขี้ยวงาไม่สามารถทำอันตรายได้ ค้าขายประกอบธุรกิจดีมีกำไร และทรงคุณความดีอันประเสริฐอีกนานัปการ แก่ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่น และกระทำแต่ความดี

พระสมเด็จกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)และกรุวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) นั้นตามประวัติการสืบค้นนั้นแบ่งการสร้างออกเป็น ๓ ช่วง

๑. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เจ้าคุณกรมท่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ สร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่า) แม่พิมพ์แกะโดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งแม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และใช้ผงวิเศษของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในคราวนั้นได้มอบให้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และประชาชนโดยทั่วไป ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการบรรจุกรุที่ใด สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี พุทธาภิเษก พระเทพโลกอุดรเป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษกโดยอทิสสมานกาย (อทิสสมานกาย คือกายที่มองไม่เห็นถ้าไม่แสดงอภินิหาร) ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)

๒. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๒ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่าและพระสมเด็จวังหน้า) ใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังและแกะขึ้นใหม่บางส่วนให้เหมือนกับพิมพ์นิยมของวัดระฆัง และใช้ผงวิเศษของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เพื่อเป็นสิริมหามงคลเนื่องในการเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ในคราวนั้นได้ถวายแด่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นสำคัญ ที่เหลือบรรจุในสุวรรณเจดีย์ เจดีย์ย่อไม้สิบสอง ฐานชุกชีหลังครุฑวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บนเพดานพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษก คณะสงฆ์ประกอบด้วยหลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นอีกหลายรูปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)

๓. สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๒๕ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่า และพระสมเด็จวังหน้า) ใช้แม่พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆังและแกะขึ้นใหม่หลายสิบพิมพ์ ใช้ผงวิเศษของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีที่เก็บรักษาไว้รวมทั้งการย่อยสลายพระสมเด็จที่หักชำรุดจำนวนหนึ่ง และจากผงวิเศษของพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้น สร้างพระสมเด็จเพื่อเป็นมหามงคลการฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในคราวนั้นได้ถวายแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทุกลำดับชั้นและประชาชนโดยทั่วไปเป็นสำคัญ ที่เหลือบรรจุใต้หลังคาพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นประธานสงฆ์ คณะสงฆ์ประกอบด้วยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัต เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา) วัดพระเชตุพน พระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นร่วมพิธีพุทธาภิเษก จำนวน ๑๐๘ รูป ทำพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

การสร้างพระสมเด็จที่บรรจุกรุวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ที่จัดเป็นพิธีหลวงเริ่มในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) พระสมเด็จที่สร้างมีทั้งทัน และไม่ทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ แต่ถึงแม้ท่านมิได้พุทธาภิเษกแต่ก็ได้มอบมวลสารไว้ให้หลายส่วน เป็นมวลสารแห่งสุดยอดพระสูตรคาถามีพุทธคุณ และอิทธิคุณอย่างเป็นเลิศอเนกอนันต์) ส่วนพิธีพุทธาภิเษกในแต่ละครั้งก็จัดเป็นพิธีหลวงถูกต้องตามหลักพิธีการมีพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบชื่อดังหลายรูปในยุคนั้นมาร่วมพิธีนั่งปรกด้วย (ในเรื่องของพิธีหลวง หรือพิธีธรรมดาสามัญนั้นความสำคัญขึ้นอยู่กับพระภิกษุที่เข้าร่วมพุทธาภิเษกเป็นสำคัญ และจะขอกล่าวให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมว่าการพุทธาภิเษกพระพุทธรูป หรือพระเครื่องซึ่งเป็นวัตถุมงคลนั้น มงคลที่ถูกบรรจุในวัตถุมงคลเรียกว่า “อิทธิคุณ” อิทธิคุณ คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ พุทธคุณ คือ คำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า แต่ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนจะนิยมเรียกว่า “พุทธคุณ” ซึ่งก็น่าจะมีส่วนถูกต้องเพราะการเริ่มบทสวดที่จะเจริญพระคาถาใดๆจะต้องเริ่มจากบทสวดในการคำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ) ส่วนในเรื่องของแบบพิมพ์มีมากมายหลายพิมพ์ทั้งเป็นพิมพ์ดั้งเดิมหรือพิมพ์นิยมของพระสมเด็จวัดระฆัง และที่แกะแบบพิมพ์ขึ้นมาใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าอยู่หัว พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เจ้ากรมช่างสิบหมู่ และฝีมือช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีความวิจิตรบรรจง มีความลงตัวทั้งรูปแบบและรูปทรงสวยงามเป็นอย่างยิ่ง โดยแกะจากไม้มะเกลือ หินลับมีด หินอ่อน ปูน และโลหะ (สันนิษฐานว่ามีมากกว่าหนึ่งร้อยพิมพ์) ส่วนมวลสารก็คัดสรรจากหลายประเทศ เช่น จีน พม่า และประเทศในแถบยุโรป ถือเป็นสุดยอดแห่งมวลสาร ในด้านการย่อยสลายมวลสารต่างๆนั้นค่อนข้างที่จะมีความทันสมัยมากกว่ายุคแรกๆ ที่แต่เดิมจากการใส่ครกตำมาใช้เป็นเครื่องบด จึงได้มวลสารที่มีความละเอียดสม่ำเสมอ และได้จำนวนมากขึ้น ส่วนจำนวนการสร้างที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงอันเนื่องด้วยไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน คงเป็นการสันนิษฐานด้วยหลักเหตุผลมากกว่าซึ่งประมาณว่าจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เป็นประถม (เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ อันเป็นที่ยึดถือแห่งจำนวนการสร้างพระของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และเป็นที่นิยมเลื่อมใสศรัทธราแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน)
พุทธศิลป์ของพระสมเด็จวัดพระแก้ว คือศิลปะโบราณในแต่ละยุคที่ช่างสิบหมู่ (ช่างแกะพิมพ์) นำมาเป็นต้นแบบในการแกะพิมพ์
๑. สมัยเชียงแสน
๒. สมัยสุโขทัย
๓. สมัยอู่ทอง
๔. อยุธยา
๕. รัตนโกสินทร์ตอนต้น
พุทธศิลป์ที่เป็นความหมายในองค์พระสมเด็จวัดพระแก้ว
๑. รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หมายถึงแผ่นดินที่ทรงพระอริยสัจจ์
๒. วงโค้งในรูปสี่เหลี่ยม หมายถึง อวิชาที่คลุมพิภพ
๓. รูปสามเหลี่ยมในวงโค้ง หมายถึงพระรัตนตรัย
๔. รูปพระนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ หมายถึงพระพุทธเจ้าปางตรัสรู้ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์
๕. ฐานสามชั้น หมายถึงพระไตรปิฎก
๖. ฐานเจ็ดชั้น หมายถึงอปนิหานิยมธรรม
๗. ฐานเก้าชั้น หมายถึงมรรคแปด นิพพานหนึ่ง

อานุภาพแห่งอภิญญา ๖ แห่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. อิทธิวิธี คือวิชาที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้
๒. ทิพโสต คือวิชาหูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ วิชารู้จิตใจผู้อื่น
๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ วิชาระลึกชาติได้
๕. ทิพจักษุ วิชาตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ วิชาการทำอาสวะให้สิ้น

พระสูตรคาถาที่ลงในมวลสาร (ผงวิเศษของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี)
๑. มูลกัจจายน์ พระสูตรคาถาใหญ่ก่อนที่จะเจริญพระสูตรคาถาอื่น
๒. มหาราช ผงมหาราชมีอานุภาพทางเมตตามหานิยม
๓. ตรีนิสิงเห ผงตรีนิสิงเห เชื่อว่ามีอานุภาพทั้งทางอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม ตลอดจนถอนคุณไสยสิ่งอวมงคลทั้งมวล
๔. อิทธะเจ ผงอิทธะเจมีอานุภาพทางเมตตามหานิยมโดยเฉพาะแก่สตรีเพศ
๕. ปถมัง ผงปถมัง เชื่อว่ามีอานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันโดยมากมักนำมาผสมทำเป็นเครื่องราง ผู้ที่สำเร็จคัมภีร์ปถมังจะอยู่ยงคงกระพันรวมทั้งล่องหนหายตัวได้
๖. พุทธคุณ ผงพุทธคุณเป็นพระคาถาย่อยในพระคาถาปถมัง ผงพุทธคุณ ป้องกันได้สารพัดทั่วทุกทิศ คุ้มกันได้สิ้น ศึกสงครามก็จะได้ชัยชนะ ค้าขายดีมีกำไร มีความเจริญรุ่งเรืองบังเกิดลาภผลพูนทวี จะลงเป็นผ้าประเจียดป้องกันศาสตราอาวุธก็ได้ ทั้งเป็นเสน่ห์แก่บุคคลโดยทั่วไป

มวลสารต่างๆที่เป็นส่วนผสมหลักของพระสมเด็จวัดพระแก้ว
๑. ปูนที่เกิดจากการย่อยสลายหินด้วยวิธีการบดจากเขาในเมืองอันฮุย มณฑล
เสฉวน ประเทศจีน (ปูนเพชร ปูนที่ใช้ทำเครื่องถ้วยชามกังไสของจีน หรือถ้วยชามเบญจรงค์ของไทย)
๒. หินอ่อน (จากศิลาจารึกพระคาถาพญาธรรมิกราชอยู่ในสระน้ำวัดระฆังโฆสิตาราม วัดอินทรวิหาร และวัดหงส์รัตนาราม)
๓. ดินหลักเมือง
๔. รัตนชาติ (แร่สีต่างๆที่นำมาใช้ทำเครื่องประดับ นำมาย่อยละเอียด พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ ขาว)
๕. แร่เหล็กไหล (ขี้เหล็กไหลหรือผงเหล็กไหล)
๖. ผงทองนพคุณ (ผงทองเนื้อหก หรือทองดอกบวบที่นิยมทำทองรูปพรรณในสมัยก่อน
เป็นผงทองจากการตะไบทองที่ทำทองรูปพรรณ)
๗. ผงแก้วทรายสีต่างๆบดละเอียด
๘. ข้าวสุก
๙. ผงใบลานเผา
๑๐. กล้วยน้ำไทย
๑๑. ยางมะตูม
๑๑. น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อยเคี่ยว
๑๒. น้ำมันทัง
๑๓. ว่านและเกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด

สีมงคลที่ใช้ในองค์พระสมเด็จวัดพระแก้ว
รักชาด (รักสีแดง เกิดจากน้ำยางรักกับชาดจอแสนำมาเคี่ยวรวมกัน)
รักสมุก (รักสีดำ เกิดจากน้ำยางรักกับใบตองเผาไฟบดละเอียดนำมาเคี่ยวรวมกัน)
รักน้ำเงินจากพม่า (เกิดจากน้ำยางรักกับครามนำมาเคี่ยวรวมกัน)
สีประจำวัน (สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง)
สีสิริมงคลฉัพพรรณรังสี คือแสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลางพระสรีระกายของ พระพุทธเจ้าเป็นรัศมี ๖ ประการ คือ
๑. นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒. ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง
๓. โลหิตตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน
๕. มัญเชฏฐะ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
๖. ปภัสสระ เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก
สีที่ประกอบเป็นเครื่องห้าสีโดยเพิ่มสีดำเข้ามา (สีเญจรงค์) จีนเรียก อู๋ใช้ ได้แก่ ขาว เหลือง ดำ เขียว แดง ซึ่งแทนความหมายของธาตุทั้งห้า คือ ทอง ดิน น้ำ ลม และไฟ

หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดพระแก้ว
๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
๒. มวลสาร
๓. รัก ชาด ทอง
๔. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๕. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
๖. ฌานสมาบัตร

๑. ทรงพิมพ์มีทั้งที่เป็นพิมพ์นิยม (พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหม) วัดไชโยวรวิหาร พิมพ์นางพญา พิมพ์ผงสุพรรณ พิมพ์ซุ้มกอ) และทรงพิมพ์อื่นๆ พิมพ์รูปเหมือนต่างๆ ล้วนมีความหมายสื่อให้ทราบถึงพุทธศิลป์ ความดี ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ศาสนา และความศักดิ์สิทธิ์ พิมพ์คมชัดสมส่วน สวยงาม (ส่วนใหญ่เป็นพิมพ์แบบถอดยกสองชิ้นประกบกัน)
๒. เนื้อขององค์พระทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง ละเอียด แห้งแต่หนึกนุ่ม มันวาว แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก ไม่ละลายในน้ำ และน้ำส้มสายชู วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม รวมถึงสีที่เป็นมงคลต่างๆ และที่เรียกกันว่าสีเบญจสิริ
๓. การพิจารณา รัก ชาด ผิวด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระจะมีทั้งลงชาดรักและไม่ลงชาดรัก การลงชาดรักสีแดงทาทับด้วยรักสมุกสีดำ หรือรักสีน้ำเงินจากประเทศพม่า ชาดรักพบว่ามีความเก่ามากให้สังเกตว่าสีของรักเหมือนสีของตากุ้ง น้ำเงินจางๆแต่คล้ำ ส่วนใหญ่จะร่อนและลอกออกไป การลอกจะเป็นหย่อมๆไม่ทั่วทั้งองค์พระ มากบ้างน้อยบ้างตามกาลเวลา และมีลักษณะเป็นไปโดยธรรมชาติ
๔. การพิจารณา “สีสิริมงคล” ที่นำมาผสมลงในเนื้อพระเป็นสีต่างๆ อันประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีเขียว สีส้ม สีฟ้า สีม่วง และพระเบญจสิริ อันประกอบด้วย สีขาว เหลือง ดำ เขียว แดง และใสดังแก้วผลึก สีแต่ละสีจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวเอง กล่าวคือมันเป็นเงางาม สีสดใส ไม่ละลายน้ำ น้ำมัน ทนต่อสภาวะธรรมชาติได้ดี ไม่หลุดลอกไม่ติดมือ และที่สำคัญสีต่างๆจะไม่สามารถนำมาผสมกันให้เป็นสีใหม่ได้ดังเช่นแม่สี (ให้พิจารณาจากพระสมเด็จเบญจสิริในองค์พระจะประกอบไปด้วยสีห้าสีเป็นอย่างน้อยและแต่ละสีถึงแม้จะปะปนกันแต่จะไม่ผสมกรมกลืนกัน มีลักษณะของการเรียงตัวตามธรรมชาติอย่างเป็นเอกเทศ)
๕. การแตกลายงาขององค์พระจะมีสองประเภท คือ หนึ่งแตกลายงาแบบหยาบ (แบบสังคโลก เหมือนชามสังคโลก) สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆคล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่าการแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่าเมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก
๖. ผงทองนพคุณ จะโรยไว้ทั้งด้านหน้า หลัง ไม่บ่งบอกถึงรูปแบบอาจมีมากบ้างน้อยบ้าง สันนิษฐานว่าเป็นไปโดยอัธยาศัยของผู้กดพิมพ์ และพบได้ในทุกพิมพ์
๗. ผงแร่รัตนชาติ (รัตนชาติ คือแร่ที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ) พบทั้งหมด ๑๒ สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน ฟ้า เขียว เหลือง น้ำตาล ส้ม แดง ชมพู ดำ และขาว ลักษณะจะเป็นมันวาวแลดูแกร่ง เก่า สัญฐานจะกลมหรือเหลี่ยม ให้สังเกตจะมนไม่มีคม ถูกนำมาย่อยเป็นเม็ดเล็กๆ ขนาดโดยประมาณ .๕ – ๓ มิลลิเมตร เป็นลักษณะของการผสมลงในเนื้อมวลสาร ถ้าหักองค์พระดูจะเห็นผงแร่รัตนชาติผสมอยู่เนื้อใน
๘. ด้านหลังขององค์พระมีทั้งเรียบ และไม่เรียบ พิจารณาให้ดีจะพบ เกาะแก่ง หลุมเล็กๆ รอยปูไต่ และรอยหนอนด้น เปรียบประดุจดั่งธรรมชาติปั้นแต่ง
๙. ลัญจกรและสัญลักษณ์ เช่น พญาครุฑ จักร ชฎา ช้าง เป็นต้น แต่จะมีเป็นส่วนน้อยเท่านั้น
๑๐. พิมพ์พระประธานมีลักษณะถูกต้องตามศิลปะโบราณ กล่าวคือ มีพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ปรากฏเด่นชัด พิมพ์ที่พบที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับพิมพ์พระประธานได้แก่ พิมพ์ทรงเกศบัวตูม ส่วนพระพิมพ์อื่นๆ เช่น พิมพ์ประธาน (พิมพ์ใหญ่) พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงปรกโพ พิมพ์ทรงเกศบัวตูม พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงฐานคู่ พิมพ์ทรงสังฆาฏิ พิมพ์ทรงอกครุฑเศียรบาตร (พระเจ้าไกเซอร์) พิมพ์ทรงฐานเส้นด้าย จะมีพุทธลักษณะ ขนาดเท่ากัน และใกล้เคียงกันกับพิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง บางขุนพรหม และวัดไชโย (พระพิมพ์นิยมในปัจจุบัน)
๑๑. การตัดขอบองค์พระ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยพบว่ามีการตัดขอบข้าง พบเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ลักษณะขอบด้านข้างจะเรียบ สวยงามตามแบบพิมพ์ (พิมพ์ต้นแบบเป็นลักษณะถอดยกเป็นบล็อกสองชิ้นประกบเข้าหากันเป็นส่วนใหญ่)
๑๒. คราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐานแต่พบว่าในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้)
๑๓. พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ที่เรียกกันว่า “พระสมเด็จเจ้ากรมท่า” พ.ศ.๒๔๐๘ วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม และเข้มคล้ายกับเนื้อของพระสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จบางขุนพรหมแต่จะมีความละเอียดกว่า
๑๔. พระสมเด็จกรุวัดพระแก้ว ที่เรียกกันว่า “พระสมเด็จกรมท่าและวังหน้า” พ.ศ. ๒๔๑๑ และ พ.ศ.๒๔๒๕ วรรณะองค์พระจะเป็นสีขาว ขาวอมเหลือง ขาวอมเทา สีน้ำตาลทั้งอ่อน และเข้ม รวมถึงสีที่เป็นสิริมงคลต่างๆ และที่เรียกกันว่าสีเบญจสิริ ดังที่กล่าวมาแล้ว
๑๕. ให้จดจำเอาไว้ว่าพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และสมเด็จวังหน้า จะไม่มีการฝังพลอยหลากหลายสี หรือการฝังมุกแกะลายแบบเครื่องโต๊ะรับรองของจีน ให้พิจารณาไว้ว่าไม่ใช่ของแท้ (การฝังพลอยหลากหลายสี หรือการฝังมุกแกะลายแบบเครื่องโต๊ะรับรองของจีน อาจมีการทำในยุคหลังๆ แต่ยังไม่เคยพบเห็นของจริงเพียงแต่พูดตามๆกันมาเท่านั้น)
๑๖. ให้จดจำเอาไว้ว่าพระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และสมเด็จวังหน้า ส่วนที่มีตราแผ่นดิน มีอักขระเลขยันต์ มีก้างปลา มีคำจารึก เช่น คำว่าสมเด็จโตถวายพระจอมเกล้า รศ.๒๔๑๑ ให้พิจารณาไว้ว่าไม่ใช่ของแท้
๑๗. หลักสำคัญประการสุดท้าย พระสมเด็จกรุวัดพระแก้วทั้งสองกรุ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อและวรรณะสีใดก็ตาม จะมีมวลสารที่เห็นภายนอก อาทิ ผงแร่รัตนชาติ ผงทองนพคุณ ผงหินอ่อน ผงแร่เหล็กไหล อยู่รวมกันภายในองค์เดียว หรือมีเฉพาะชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่เป็นหลักเกณฑ์ที่แน่นอนขอให้พิจารณาความเป็นพระแท้จากมวลสารต่างๆเป็นสำคัญ โดยพยายามศึกษาค้นคว้าจากหลักทางวิชาการทั้งทางวิทยาศาสตร์และพระภิกษุผู้ที่ทรงฌานสมาบัตรได้ ที่สำคัญที่สุดต้องหาพระแท้มาศึกษาเป็นแบบอย่างจนเกิดประสบการณ์และความชำนาญ
ข้อเขียนนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์อันชอบธรรมตามกฎหมายของอาจารย์ไพรพนา ศรีเสน อนุญาตให้ใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ เพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่ต้องขออนุญาต

อ้างอิง
๑ ประวัติเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) จากวิกิพีเดียรสารานุกรมเสรี
๒. ประวัติเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๓. ประวัติพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๔. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรีพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์)
๕. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๖. จากบทความเรื่อง ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จจากไป โดยนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ในหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕
๗. สี่สมเด็จ โดยนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ พิมพ์ที่ แอลซีเพรสส์ ๒๕๒๗
๘. ประวัติวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๙. ประวัติความเป็นมาของวังหน้าและวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)จากพระราชนิพนธ์เรื่อง "ตำนานวังหน้า" ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๑๐. ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๑๑. การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๖
๑๒. ฉัพพรรณรังสี จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๓. ประวัติช่างสิบหมู่ จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๔. พระราชลัญจกร จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๕. พระคัมภีร์และพระสูตรคาถา จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี
๑๖. จากหนังสือภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต เขียนและจัดพิมพ์โดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน พิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ๑ มีนาคม ๒๕๒๗
๑๗. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง นายธงชัย พลอยช่าง (สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ช่างปั้นพระปฏิมากร บางกอกน้อย กรุงเทพฯ
๑๘. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง พระภิกษุวงษ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย)
วัดดงมูลเหล็ก กรุงเทพฯ (อายุ ๘๕ ปี ๕๐ พรรษา)
การศึกษาค้นคว้า
- จากการศึกษาค้นคว้า การวัดอายุวัตถุโบราณตามหลักวิทยาศาสตร์ การตรวจด้วยวิธีทรงฌานสมาบัตร ศึกษาพิมพ์ทรง มวลสาร อย่างละเอียดจากองค์พระสมเด็จกรุวัดพระแก้วที่ครอบครอง


: พระสมเด็จวัดพระแก้ว
: พระสมเด็จวัดพระแก้ว





กวินทร์ ศรีเสน
พระสมเด็จบางขุนพรหม
2009-11-20 01:54:21
พระสมเด็จบางขุนพรหม
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
พระสมเด็จบางขุนพรหม (กรุพระเจดีย์ใหญ่)
พระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพระในสกุล “พระสมเด็จวัดระฆัง” ที่สร้างโดยสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นที่พึงปรารถนาแก่ประชาชนที่เคารพกราบไหว้พระคุณอันประเสริฐของท่าน นับวันมงคลวัตถุนี้กำลังจะหาได้ยากยิ่ง และราคาก็สูงยิ่งเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่เครารพบูชาท่านเป็นที่ยิ่ง และได้มีโอกาสครอบครองพระในสกุลพระสมเด็จวัดระฆังหลายรุ่น จึงได้พยายามศึกษาค้นคว้าประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และการสร้างพระสมเด็จ เทียบเคียงกันทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมากับหลักการทางวิทยาศาสตร์ และร่วมศึกษาหาความรู้ด้วยกันกับท่านทั้งหลาย เพื่อเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน
ปีพุทธศักราช ๒๔๑๐ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มทำการก่อสร้างพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปางโปรดสัตว์ (ยืนอุ้มบาตร) โดยใช้ซุงทั้งต้นเป็นฐานราก และควบคุมการก่อสร้างด้วยตัวท่านเองที่วัดอินทรวิหาร อันเป็นวัดที่ท่านได้จำพรรษาอยู่เมื่อครั้งยังเป็นสามเณร ในระหว่างการก่อสร้างเสมียนตราด้วง ต้นสกุล ธนโกเศรษฐ และเครือญาติได้ปวารณาตนเองเป็นโยมอุปัฏฐากของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
ครั้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ "เสมียนตราด้วง" ต้นสกุล "ธนโกเศศ" ได้ทำการบรูณะพระอารามวัดใหม่อมตรส และปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นมหากุศล และเป็นพระเจดีย์ประจำตระกูล ตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น โดยได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นสององค์ องค์ใหญ่เพื่อบรรจุพระพิมพ์ต่างๆ ตามโบราณคติในอันที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนา และสร้างเจดีย์องค์เล็กเพื่อบรรจุอัฐิธาตุบรรพบุรุษ โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๑๓ จึงแล้วเสร็จ จากนั้นจึงได้กราบนมัสการขอความเห็นจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในการสร้างพระสมเด็จเพื่อสืบทอดทางพระพุทธศาสนา และเป็นการสร้างมหาบุญแห่งวงศ์ตระกูล สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้ให้อนุญาต และมอบผงวิเศษที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังของท่านให้ส่วนหนึ่ง (จากข้อเขียนของนายกนก สัชฌุกร ที่ได้สัมภาษณ์ท่านเจ้าคุณธรรมถาวรซึ่งมีชีวิตทันสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ความว่า ได้ผงวิเศษประมาณครึ่งบาตรพระ และทุกครั้งที่ตำผงในครกท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะโรยผงวิเศษของท่านมากบ้างน้อยบ้างตามอัธยาศัยจนกระทั่งแล้วเสร็จ) เมื่อได้ผงวิเศษแล้วเสมียนตราเจิม และทีมงานก็ได้จัดหามวลสารต่างๆตรงตามตำราการสร้างพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ทุกประการ
ในเรื่องของการสร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่นั้นมีการจัดสร้างและแกะพิมพ์แม่แบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจำนวน ๙ พิมพ์ เป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและปาดหลัง โดยฝีมือของช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แต่น่าจะเป็นคนละทีมกับช่างที่แกะพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง แต่เนื่องด้วยเป็นฝีมือช่างในยุคเดียวกันมีศิลปะในสกุลช่างเดียวกัน และต้นแบบที่สำคัญคือพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังนั้นพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมจึงมีความสวยงามใกล้เคียงกันกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง
พิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหม ๙ พิมพ์
๑.พิมพ์ใหญ่
๒. พิมพ์ทรงเจดีย์
๓. พิมพ์เกศบัวตูม
๔. พิมพ์เส้นด้าย
๕. พิมพ์ฐานแซม
๖. พิมพ์สังฆาฏิไม่มีหู
๗. พิมพ์สังฆาฏิมีหู
๘. พิมพ์ฐานคู่
๙.พิมพ์อกครุฑ
จำนวนที่สร้างสันนิษฐานกันว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับพระธรรมขันธ์ พระสมเด็จที่สร้างเสร็จจะมีเนื้อขาวค่อนข้างแก่ปูน
การปลุกเสกโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้เจริญพระพุทธมนต์และปลุกเสกเดี่ยวจนกระทั่งบริบูรณ์ด้วยพระสูตรคาถา
เมื่อได้ปลุกเสกเป็นที่สุดแล้วได้มีการเรียกชื่อพระสมเด็จนี้ว่า “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ตามตำบลที่ตั้งของพระเจดีย์ และได้ถูกนำเข้าบรรจุกรุในพระเจดีย์ใหญ่ และพระเจดีย์เล็กทั้งสิ้นไม่มีการแจกจ่ายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด รวมทั้งมีข้อสันนิษฐานว่าได้นำพระสมเด็จวัดระฆังลงบรรจุกรุด้วยดังที่หลาย ๆ ท่านนิยมเรียกกันว่า “พระสองคลอง”
หลังจากที่ได้บรรจุกรุในพระเจดีย์ทั้งสองแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๓ จนกระทั่งเกิดวิกฤตกับประเทศในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศส ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และในกรณีพิพาทอินโดจีน ได้มีการลักลอบเปิดกรุถึงสามครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๒๕
ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๓๖
ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๕๙
ในการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนี้ ผู้ลักลอบได้ใช้วิธีต่าง ๆ เช่น การตกเบ็ด โดยใช้ดินเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ ติดกับปลายเชือกหย่อนเข้าไปทางรูระบายอากาศติดพระแล้วดึงขึ้นมา การใช้น้ำกรอกเข้าไปทางรูระบายอากาศเพื่อให้น้ำไปละลายการเกาะยึดขององค์พระเป็นต้น ซึ่งการลักลอบเปิดกรุทั้งสามครั้งนั้นพระสมเด็จที่ได้จะอยู่ในส่วนบนจึงสวย และมีความสมบูรณ์ นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “ พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า ” ซึ่งลักษณะของวรรณะจะปรากฏคราบกรุเพียงเล็กน้อย หรือบางๆเท่านั้น พิมพ์คมชัดสวยงามเนื้อหนึกนุ่ม เนื้อละเอียดมีน้ำหนักและแก่ปูน
ท้ายที่สุดคือการลักลอบขุดกรุที่ฐานในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ วิธีนี้ได้พระไปเป็นจำนวนมาก (เป็นที่มาของพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุธนา เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง ของพระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือพระอาจารย์จิ้ม กันภัย ความว่าในตอนกลางคืนฝนตกไม่หนักมากนัก นักเลงพระทางภาคเหนือได้ร่วมกันลักลอบเจาะที่บริเวณใกล้ฐานของพระเจดีย์พอตัวมุดเข้าไปได้ และนำพระออกมาได้เป็นจำนวนมากจนหิ้วไม่ไหวประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่จะพบเห็นจึงทิ้งไว้ข้างวัดก็หลายถุง มีบุคคลผู้หนึ่งชื่อธนาบ้านอยู่ในละแวกวัดได้เก็บพระชุดนี้ไว้เป็นจำนวนมากจะเก็บได้จากผู้ที่ลักลอบทิ้งไว้หรือซื้อมาก็มิอาจทราบได้แต่ภายหลังได้ขายให้กับ คุณเถกิงเดช คล่องบัญชี ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านเอง ซึ่งต่อมาได้เขียนหนังสือร่วมกับนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ เรื่อง “สี่สมเด็จ” ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ซื้อมามีทั้งที่สวยงามมีคราบกรุน้อย และคราบกรุหนาจับกันเป็นก้อนก็มี) จนกระทั่งทางวัดใหม่อมตรส ได้ติดต่อให้กรมศิลปากรเข้ามาดูแล และเปิดกรุอย่างเป็นทางการโดยเชิญ พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นประธานในพิธีเปิดกรุเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๐ พระที่นำออกมาครั้งนี้นักนิยมพระสมเด็จเรียกกันว่า “ พระสมเด็จบางขุนพรหม กรุใหม่ ” เมื่อนำมาคัดแยกคงเหลือพระที่มีสภาพดีและสวยงามเพียงสามพันองค์เศษเท่านั้น ที่เหลือจับกันเป็นก้อน หักชำรุดแทบทั้งสิ้น ลักษณะของวรรณะส่วนใหญ่จะมีคราบกรุค่อนข้างหนาและจับกันเป็นก้อน ที่สภาพดีจะพบว่าผิวของพระเป็นเกล็ดๆทั่วทั้งองค์ หรือที่เรียกว่าเหนอะ มีคราบไขขาว ฟองเต้าหู้ คราบขี้มอด จะตั้งชื่อหรือเรียกว่าอย่างไรก็สุดแล้วแต่ ล้วนเกิดขึ้นจากปฏิกริยาระหว่างน้ำกับปูนและมวลสารที่เป็นองค์ประกอบของพระสมเด็จทั้งสิ้น ทั้งสภาพเปียกชื้น ร้อน เย็น และถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานกับดินโคลน เป็นต้น แต่แปลกตรงที่ว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมเมื่อถูกใช้สักระยะเนื้อจะเริ่มหนึกนุ่มใกล้เคียงกับพระสมเด็จวัดระฆังเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนในเรื่องของทรงพิมพ์ที่เรียกกันว่าพิมพ์นิยม ๙ พิมพ์นั้น พิมพ์ที่พบน้อยที่สุดคือพิมพ์ปรกโพธิ์ กล่าวกันว่ามีไม่ถึง ๒๐ องค์ และที่สำคัญยังพบพิมพ์ไสยาสน์อีกหลายแบบมีประมาณไม่เกิน ๒๒ องค์ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยากมาก ในส่วนของกรุพระเจดีย์เล็กนักเลงพระในยุคนั้นไม่ค่อยให้ความสนใจแต่ปรากฏว่าหลังจากเปิดกรุก็ได้พบพระสมเด็จอยู่มากมายนับได้เป็นพันองค์ ทรงพิมพ์ที่พบได้แก่ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ฐานหมอน พิมพ์สามเหลี่ยม (หน้าหมอน) พิมพ์จันทร์ลอย ลักษณะของวรรณะคราบกรุจะไม่มาก จะมีความสวยงามกว่ากรุพระเจดีย์ใหญ่ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยากเช่นกัน
หลังจากเปิดกรุอย่างเป็นทางการทางวัดได้ประทับตราที่ด้านหลังขององพระ เรียกกันว่า “ตราน้ำหนัก” และจำหน่ายในราคาองค์ละห้าร้อยถึงสองพันบาท ในยุคนั้นนับว่ามีราคามากอยู่แต่ก็หมดลงในเวลาไม่นานนัก
พระสมเด็จบางขุนพรหม (กรุพระเจดีย์เล็ก)
ปี พ.ศ.๒๕๐๘ พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ได้นำรายได้ในการให้เช่าบูชาพระสมเด็จบางขุนพรหม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มาบูรณะวัดโดยได้ว่าจ้างให้ช่างรับเหมา มาปรับปรุงบริเวณรอบองค์เจดีย์ใหญ่ซึ่งมี เจดีย์เล็ก เรียงรายรอบทั้ง ๔ ทิศของเจดีย์องค์ใหญ่ ทิศละ ๒ องค์ ตั้งซ้อนกันอยู่อย่างเป็นระเบียบรวมทั้งหมด ๘ องค์ ซึ่งทางช่างได้รื้อ เจดีย์เล็ก ทั้งหมดออก ทำให้ช่างรับเหมาพบ กรุพระเครื่องจำนวนหนึ่งในเจดีย์เล็กรวมอยู่กับอัฐิ จึงได้เก็บพระเครื่องซ่อนไว้ไม่ให้ทางวัดทราบ คงมอบแต่อัฐิให้เท่านั้น ต่อมาช่างรับเหมาได้นำพระที่พบนี้ไปขายแก่เซียนพระคนหนึ่งในสนามพระ ทำให้ พระเครื่องกรุเจดีย์เล็ก เป็นที่รู้จักในวงการพระสมัยนั้น มีผู้นำพระเครื่องมาสอบถามกับเจ้าอาวาสวัดว่า มีพระเครื่องแตกกรุจากเจดีย์เล็กจริงหรือไม่? เจ้าอาวาสบอกว่า "ไม่มี" ทำให้เกิดความสับสนกันขึ้นในช่วงแรก แต่เมื่อได้มีการตรวจสอบพิจารณากันถึงเนื้อพระ และคราบกรุกับ พระสมเด็จบางขุนพรหม (กรุใหม่) แล้ว พบว่ามีความเก่าใกล้เคียงกันมาก ซึ่งคาดว่าคงสร้างขึ้นใน ปี พ.ศ.๒๔๑๓-๒๔๑๕
ในการตรวจสอบประวัติซึ่งเชื่อว่าผู้สร้าง พระกรุเจดีย์เล็ก ก็คือ "เสมียนตราด้วง" ต้นสกุล "ธนโกเศศ" ผู้สร้างพระเครื่องชุดนี้ไว้เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับพระกรุเจดีย์ใหญ่ ซึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มอบผงวิเศษห้าประการ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห ให้ผสมลงไปด้วยในตอนกดพิมพ์องค์พระทั้งหมด และได้เมตตาปลุกเสกให้ด้วย จากนั้น เสมียนตราด้วงจึงได้นำพระเครื่องในส่วนนี้ไปบรรจุไว้คู่กับอัฐิของบรรพชนในตระกูล และเมื่อช่างรื้อเจดีย์เล็กออกจึงพบอัฐิ และพระเครื่องดังกล่าว
พระเครื่องกรุเจดีย์องค์เล็กมีทั้งหมด ๖ พิมพ์ คือ
1. พิมพ์ฐานคู่ 2. พิมพ์ฐานหมอน 3. พิมพ์สามเหลี่ยม
4. พิมพ์ไสยาสน์ 5. พิมพ์ยืนประทานพร 6. พิมพ์จันทร์ลอย

พระทุกองค์มีคราบกรุเกาะอยู่ด้วย มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระกรุนี้ ในปัจจุบัน วงการพระเครื่องได้ให้ความสนใจในพระกรุเจดีย์เล็กนี้มาก
(คัดลอก และเรียบเรียงใหม่ โดยใช้ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก)
ทรงพุทธคุณ และอิทธิคุณ “อิทธิคุณ” คือ พระคาถาในทางไสยศาสตร์ หรือไสยเวททั้งสองด้านคือขาวและดำ “พุทธคุณ” คือ คำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้า หรือการกล่าวถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า เพราะการเริ่มบทสวดที่จะเจริญพระคาถาใดๆจะต้องเริ่มจากบทสวดในการคำกล่าวพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าก่อนเสมอ แต่ส่วนใหญ่พุทธศาสนิกชนจะนิยมเรียกว่า “พุทธคุณ” ซึ่งก็น่าจะมีส่วนถูกต้อง
หลักการพิจารณาพระสมเด็จบางขุนพรหม
๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
๒. มวลสาร
๓. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๔. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
๕. ฌานสมาบัตร
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธศิลปะอย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. พิมพ์ของพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง เล็ก และมีคม ดังนั้นจะเห็นรอยคล้ายลูกคลื่น รอยแล่ง รอยกาบหมาก ฯลฯ ซึ่งเกิดจากการปาดหลัง และการวางพระลงในภาชนะรองรับเพื่อผึ่งตากเป็นสำคัญ
๓. คราบฟองเต้าหู้ ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น แข็งฝังในเนื้อพระ (เกิดจากความชื้น แฉะ)
๔. คราบไข ลักษณะเป็นฝ้าบางๆเคลือบอยู่บนองค์พระ สีขาวนวล คราบนี้จะติดอยู่กับองค์พระและจะค่อยจางลงเมื่อพระถูกใช้ในระยะเวลาพอสมควร (เกิดจากความร้อน ชื้น)
๕. คราบน้ำปูน ลักษณะเป็นฝ้าขาวมีความหนาบางไม่เท่ากัน สีขาวอมน้ำตาลอ่อน เกาะติดกับองค์พระแน่น (เกิดจากน้ำท่วมองค์พระเป็นเวลานานเมื่อน้ำลดลงคราบปูนที่ลอยอยู่บนผิวจะแห้งติดองค์พระ)
๖. คราบกระเบน ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆคล้ายหนังกระเบน สีเทาแกมม่วงอ่อนๆ เกิดจากเม็ดทรายเกาะอยู่ทั่วองค์พระ แข็งมากไม่สามารถชำระล้างให้ออกได้ (เกิดจากพระที่ล่วงลงสู่พื้นปะปนกับดินและทรายเป็นเวลานาน)
๗. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสาระสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๘. รอยปูไต่ และหนอนด้น ลักษณะอันเกิดจากเกสรดอกไม้ และมวลสาร ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ

พระสมเด็จบางขุนพรหม
พระสมเด็จบางขุนพรหม
http://crazylove.212cafe.com/archive/2009-11-20/1-2-3-4-5-6/
พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ) กรุเพดานวิหารวัดระฆัง
2009-11-20 01:45:18

พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ) กรุเพดานวิหารวัดระฆัง
โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน

การสร้างพระสมเด็จชุดลงรักปิดทองล่องชาดนี้ จากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์และจากประสบการณ์ตรงของครูอาจารย์และท่านผู้รู้อีกหลายท่าน มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกันว่าพระสมเด็จชุดนี้ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๘ พร้อมๆ กับการสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้ว (พระสมเด็จวัดพระแก้วเริ่มสร้างครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๐๘ – พ.ศ. ๒๔๒๕) มูลเหตุในการการสร้างพระสมเด็จชุดนี้เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา เพื่อมอบให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเบื้องต้น นอกจากนั้นก็มอบให้แก่คหบดี และประชาชนโดยทั่วไป การสร้างจึงจัดเป็นวิจิตรศิลป์ โดยใช้พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังซึ่งปัจจุบันเป็นพิมพ์นิยม และพิมพ์อื่นๆ ที่มีความหมายในทางพระพุทธศาสนาเป็นต้น มวลสารที่นำมาเป็นส่วนผสมในการสร้างนั้นจัดได้ว่าเป็นมงคลวัตถุยิ่ง กล่าวคือมีความเป็นมงคลในตัวเองส่วนหนึ่งและผสมกับผงวิเศษอันทรงไว้ด้วยพุทธคุณ และอิทธิคุณอย่างอเนกอนันต์ ส่วนการลงรักปิดทองล่องชาดนั้นถือได้ว่าเป็นประณีตศิลป์จากฝีมือช่างหลวง (ช่างสิบหมู่) ที่หาชมได้ยากมากในปัจจุบัน แต่น่าเสียดายมากที่พระสมเด็จวัดระฆังชุดนี้ไม่ถูกเปิดเผยออกมาสู่สาธารณชน ผู้เขียนได้พยายามศึกษาสืบค้นข้อมูลจากหลายแหล่งดังที่กล่าวมาแล้ว และได้เขียนเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ที่เคารพกราบไหว้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เพื่อเป็นแนวทางในการสืบค้นข้อมูลให้มากขึ้นต่อไป
จากข้อเขียนของ พ.ต.ต. จำลอง มัลลิกะนาวิน (ซึ่งตรงกับเรื่องเล่าของ พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือ พระอาจารย์จิ้ม กันภัย วัดดงมูลเหล็ก) เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า พระสมเด็จชุดนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ จำนวนหลายพันองค์ เป็นเนื้อผงลงรักปิดทองล่องชาดทั้งสิ้น และเมื่อท่านได้ถึงชีพิตักษัยพระชุดนี้ได้ถูกนำมาเก็บไว้บนเพดานวิหารวัดระฆัง และมิได้มีผู้ใดพบเห็นจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงมีผู้ค้นพบพระชุดนี้ และในปีนี้เองเป็นปีที่ครบ ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านสิ้นชีพิตักษัย ได้มีการค้นพบพระสมเด็จบนเพดานวิหารวัดระฆังเป็นจำนวนมาก มีหลายพิมพ์แต่จะด้วยเหตุใดไม่ปรากฏชัด ทราบแต่เพียงว่าทางวัดไม่ได้มีการบอกกล่าวให้ประชาชนได้ทราบเลย คงรู้กันเฉพาะในหมู่พระภิกษุไม่กี่รูป ช่างที่เข้าไปบูรณะ กรรมการวัดและบุคคลใกล้ชิดเท่านั้น ประจวบกับในขณะนั้นทางวัดได้จัดสร้างพระสมเด็จขึ้นมาใหม่มีพิธีและงานฉลองอย่างมโหฬาร เนื่องเป็นปีที่ครบรอบท่านสิ้นครบ ๑๐๐ ปี (อันจะด้วยเหตุผลนี้ก็เป็นได้)
พระสมเด็จที่พบนี้กล่าวกันว่าวางสุมกองไว้บนเพดานวิหารมิได้มีการใส่ภาชนะใดปกปิดไว้ จำนวนมากถึงหลายพันองค์ แต่ที่แปลกและสำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือพระสมเด็จที่พบนั้นปิดทองล่องชาดทั้งสิ้น ( พระสมเด็จที่ปิดทองล่องชาด จัดเป็นพระสมเด็จที่มีการจัดทำเป็นพิเศษเพื่อมอบให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ในสมัยนั้น) พิมพ์งดงามชัดเจนสมกับเป็นพระสมเด็จที่สร้างในยุคท้ายๆ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพิมพ์ที่ช่างหลวง ( ช่างสิบหมู่ )ได้แกะถวาย รักชาดทองยังไม่หลุดลอก พบเพียงความแห้ง แกร่ง มีฝุ่นเกาะอยู่ทั่วไป บางองค์พบรอยทางเดินปลวก ขี้มอด เกาะติดแต่มีจำนวนไม่มากนัก ส่วนแบบพิมพ์มีมากมายนับได้เป็นร้อยกว่าพิมพ์ และมีลักษณะเป็นพิมพ์แปลกๆที่มีความหมายทางพระพุทธศาสนาหลายอย่างหลายประการ ส่วนพิมพ์พระหลักที่มีความสำคัญคือพิมพ์วัดระฆัง พิมพ์วัดบางขุนพรหม ซึ่งส่วนมากเป็นพิมพ์ใหญ่มีเป็นจำนวนมากกว่าพิมพ์อื่นๆ (เป็นพิมพ์นิยมในปัจจุบัน)
พระสมเด็จเนื้อผงปิดทองล่องชาดเพดานวิหารวัดระฆังรุ่นนี้เมื่อได้นำมาลบทองและชาดออก ปรากฏว่าลบยากเพราะเป็นของโบราณทำด้วยความประณีตและฝีมืออย่างแท้จริง ทองคำเปลวที่นำมาติดนั้นจะสุกอร่ามไม่หมองค้ำเลย เมื่อลบออกแล้วเนื้อในขององค์พระจะงามมาก ขาวดังงาช้าง มีแตกลายงา แต่ละพิมพ์เนื้อจะคล้ายคลึงกันมาก
จากหนังสือประวัติวัดระฆังโฆสิตารามและประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ที่พบหลายสิบเล่มต่างมีข้อความคล้ายคลึงกันว่า
กล่าวกันว่า ภายหลังเจ้าคุณสมเด็จฯ ถึงมรณภาพ พระสมเด็จที่ใส่บาตร สัต และกระบุง ตั้งไว้ที่หอสวดมนต์นั้น ได้ขนย้ายเอาไปไว้ที่ในพระวิหารวัดระฆัง (ว่าเอาไว้ที่บนเพดานวิหารก็มี) โดยมิได้มีการพิทักษ์รักษากันอย่างไร เป็นต้นว่าประตูวิหารก็ไม่ได้ใส่กุญแจ ในปีหนึ่งเป็นเทศกาลตรุษสงกรานต์มีทหารเรือหลายคนมาเล่นการพนันที่หน้าวัด เช่น หยอดหลุม ทอยกอง เป็นต้น จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ทหารเรือเหล่านั้นได้วิวาทชกกัน ทหารเรือคนหนึ่งได้เข้าไปเอาพระสมเด็จในวิหารมาอมได้ ๑ องค์ แล้วกลับมาชกต่อยตีรันประหัตประหารกันต่อไป ที่สุดปรากฏว่าทหารเรือคนนั้นไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างไร แม้รอยฟกช้ำก็ไม่มี ส่วนทหารเรือคนอื่นๆ ต่างได้รับบาดเจ็บที่ร่างกาย มีบาดแผลมากบ้างน้อยบ้างทุกคน
อีกเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งมีชายคนหนึ่งอยู่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ป่วยเป็นโรคอหิวา คืนวันหนึ่งฝันว่า เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มาบอกว่า “ ยังไม่ตาย ให้ไปเอาพระสมเด็จที่บนเพดานวิหารวัดระฆังมาทำน้ำมนต์กินเถิดพวกญาติได้พยายามแจวเรือกันมาเอาพระสมเด็จไปอธิษฐานทำน้ำมนต์ให้กินก็หายจากโรคนั้น ทั้งสองเรื่องที่เล่ามานี้ ว่าเป็นมูลให้เกิดคำเล่าลือถึงอภินิหารพระสมเด็จเป็นประถม”
ข้อสรุปในการศึกษาการสร้างพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ถึง ๒๔๑๕ อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ส่วนการสร้างพระเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรนั้นคงยังนับไม่ได้ว่าเป็นพระสมเด็จ
๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี การสร้างพระของท่านมิได้ยึดถือกำหนดว่า กดพิมพ์เป็นองค์พระแต่เมื่อใดแต่ท่านยึดถือว่าพระเครื่องรุ่นนั้น ๆ สำเร็จตั้งแต่เป็นผงวิเศษแล้ว
๓. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างพระสมเด็จจำนวน ๘๔’,๐๐๐ องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์ อันเปรียบได้ถึงการระลึกถึงพระคุณอันประเสริฐของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า และการสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างแบบพิมพ์มากกว่า ๒๐๐ พิมพ์ โดยแบ่งเป็น
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างหลวง (ช่างสิบหมู่)
- พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบตามความต้องการของท่าน
- พิมพ์ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา เรื่องราวพุทธประวัติ และ เหตุการณ์ต่าง ๆ
- พิมพ์ที่ล้อจากพิมพ์พระที่กำลังมีความนิยมในยุคนั้น ๆ
-พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยฝีมือช่างชาวบ้านมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
๕. พระสมเด็จวัดระฆังมีทั้งสร้างแล้วแจก กับสร้างแล้วนำบรรจุกรุ เชื่อได้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างถาวรวัตถุอันเป็นมงคลวัตถุ หรือจะเรียกว่าปูชนียสถานในทางพุทธศาสนาที่ใด ท่านจะนำพระพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังบรรจุกรุ ณ ที่นั้น

หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ)
๑. พิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดระฆังปิดทองทึบ พิมพ์นิยมในปัจจุบัน พิมพ์คมชัดสมส่วนสวยงาม จัดเป็นประณีตศิลป์ มีทั้งตัดขอบ (พิมพ์แบบเดิมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบข้างและปาดหลัง) และไม่ตัดขอบ (พิมพ์สองชิ้นประกบกัน จัดเป็นพิมพ์แบบใหม่ เป็นฝีมือช่างในตระกูลช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ให้จดจำพิมพ์ทรงให้แม่นยำ
๒. พิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดระฆังปิดทองทึบพิมพ์พิเศษอื่นๆ มีจำนวนมากหลายสิบพิมพ์โดยมากจะเป็นพิมพ์รูปเหมือนหรือพิมพ์ที่มีความหมายถึงวัฎปฏิบัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นฝีมือการแกะพิมพ์ของช่างยุคเก่าที่มีลักษณะสวยงามตามแบบฉบับช่างในยุคนั้น (การพบพระชุดนี้ปะปนกับพระชุดปิดทองทึบ สันนิษฐานว่าเป็นการเจตนานำมาเก็บไว้ในกรุเดียวกัน แต่นำมาลง รัก ชาด ทอง ใหม่ ให้เหมือนกัน)
๓. พิจารณาจาก รัก ชาด ทอง (รักสมุกสีดำ ชาดจอแสสีแดงจัด ทองคำเปลวสีดอกบวบ)
- ลักษณะการปิดทองแบบปิดทองล่องชาดทึบทั้งด้านหน้า และด้านหลัง
- ลักษณะการปิดทองแบบปิดทองล่องชาดทึบทางด้านหน้า และด้านหลังลงชาด
- ลักษณะการปิดทองแบบปิดทองล่องชาดทึบทางด้านหน้า และด้านหลังลงรัก
ลักษณะของรัก ชาด ทอง จะติดกับองค์พระแน่นมากไม่หลุดลอกออกง่ายตามกาลเวลา (ประมาณ๑๔๔ปี) ให้สังเกตจากการที่เราได้ดูสิ่งก่อสร้างโบราณในพิพิธภัณฑสถานที่มีการลงรักปิดทองล่องชาด มีความงดงาม และมีความคงทนอย่างไร การลงรักปิดทองล่องชาดของพระสมเด็จชุดนี้จะเป็นอย่างนั้น
๔. พิจารณาจากเนื้อในขององค์พระ ถ้าลอก รัก ชาด ทองออกเนื้อในจะเป็นสีขาวเหมือนกับปูนขาว จึงมีน้ำหนักเบา และถ้าแช่ไว้ในน้ำนานเป็นสัปดาห์จะละลาย (พระชุดนี้ทำจากปูนขาว) พบทั้งมีการแตกลายงา และไม่แตกลายงา สิ่งที่แปลกและน่ามหัสจรรย์ยิ่งก็คือถ้านำพระชุดนี้มาขึ้นคอบูชายิ่งนานวันเนื้อขององค์พระจะขาวมันวาวมีน้ำหนัก แกร่งขึ้น และไม่ละลายน้ำ (จากการทดลองปฏิบัติ) นี่คือลักษณะแห่งอัจฉริยะภาพของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และวิธีการอันชาญฉลาดของทีมช่างสิบหมู่ที่สร้างพระสมเด็จชุดนี้
๕. คุณลักษณะด้านอื่น ๆ ให้ศึกษาได้จากหลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง


ป้าย : พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด(ปิดทองทึบ)กรุเพดา
Dictionary : พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด(ปิดทองทึบ)กรุเพดา
http://crazylove.212cafe.com/archive/2009-11-20/014630/
หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง
2009-11-20 01:39:49

หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง

โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
๒. มวลสาร
๓. รัก ชาด ทอง
๔. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๕. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
๖. ฌานสมาบัตร

หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่มิได้บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธศิลปะอย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๓. รอยปูไต่ และหนอนด้น “รอยปูไต่” ลักษณะเป็นรอยโค้งเล็ก ๆ หนักบ้างเบาบ้าง อาจเกิดเป็นคู่หรือเดี่ยว “รอยหนอนด้น” ลักษณะเป็นจุดบุ๋มเล็ก ๆ เป็นคู่ ๆเรียงกัน ทั้งสองชนิดเกิดบริเวณด้านหลังของพระสมเด็จ สมมุติฐานจากมวลสาร และเกสรดอกไม้ ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๔. ความแห้งมีลักษณะหลากหลายทั้งแห้งที่มีน้ำหนัก และไม่มีน้ำหนัก อันเนื่องมาจากความหลากหลายของมวลสาร และวัสดุที่ใช้ แต่ที่สำคัญให้พิจารณาจากความหนึกนุ่ม มีความเงางามตามธรรมชาติ และความเก่าขององค์พระเป็นสำคัญ
๕. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่งธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจน เกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
๖. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๗. ชั้นผิวของพระสมเด็จที่ยังไม่ใช้หรือผ่านการใช้มาน้อย จะปรากฏร่องรอยของผิวพระเป็นชั้น ๆ เป็นวงเล็กบ้าง ใหญ่บ้างซ้อนกัน ลักษณะบาง ๆ ชั้นบนสีจะเข้มชั้นล่าง ๆ สีจะอ่อนลงตามลำดับ แต่ถ้าผ่านการใช้มาแล้วระยะเวลาที่พอสมควรสีของพระจะเป็นสีเดียวกัน หนึกนุ่ม สวยงาม
๘. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๙. การแตกลายงา มีสองชนิด คือ หนึ่งแบบหยาบ (สังคโลก เหมือนชามสังคโลก) สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆคล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่าการแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่าเมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก
๙. รักชาดสีแดง ให้พิจารณาจากความเก่าของชาด สีของชาดไม่ว่าจะนาน เท่าใดสีจะยังคงแดง (แดงเลือดนก) ไม่ลอก ไม่หลุดล่วง ถ้าไม่ขูดหรือล้างออก
๑๐. รักสมุกสีดำ ให้พิจารณาจากความเก่าของรัก ความเก่าของรักสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มอมดำ (คล้ายสีตาของกุ้ง) จะหลุดลอกออกเป็นแผ่นมากบ้างน้อยบ้างตามจำนวนชั้นที่ลง และกาลเวลา เป็นสำคัญ
๑๑. ทอง ให้พิจารณาจากสีของทอง เป็นทองคำเปลวทองเนื้อหก หรือที่โบราณเรียกกันว่าทองสีดอกบวบ ลักษณะเงางาม พบการปิดทองพระสมเด็จทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และปิดทองทึบ (กรุเพดานวิหารวัดระฆัง) พระสมเด็จที่ลงรัก ชาด ทอง เรียกว่า “ลงรักปิดทองล่องชาด”
๑๒. คราบไขขาวที่พบบนองค์พระสมเด็จนั้น ที่หลาย ๆ ท่านคิดว่าเป็นคราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐานแต่พบว่าในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้)
หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธ ศิลปะ อย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๓. คราบฟองเต้าหู้ ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น แข็งฝังในเนื้อพระ (เกิดจากความชื้น แฉะ)
๔. คราบไข ลักษณะเป็นฝ้าบางๆเคลือบอยู่บนองค์พระ สีขาวนวล คราบนี้จะติดอยู่กับองค์พระและจะค่อยจางลงเมื่อพระถูกใช้ในระยะเวลาพอสมควร (เกิดจากความร้อน ชื้น)
๕. คราบน้ำปูน ลักษณะเป็นฝ้าขาวมีความหนาบางไม่เท่ากัน สีขาวอมน้ำตาลอ่อน เกาะติดกับองค์พระแน่น (เกิดจากน้ำท่วมองค์พระเป็นเวลานานเมื่อน้ำลดลงคราบปูนที่ลอยอยู่บนผิวจะแห้งติดองค์พระ)
๖. คราบกระเบน ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆคล้ายหนังกระเบน สีเทาแกมม่วงอ่อนๆ เกิดจากเม็ดทรายเกาะอยู่ทั่วองค์พระ แข็งมากไม่สามารถชำระล้างให้ออกได้ (เกิดจากพระที่ล่วงลงสู่พื้นปะปนกับดินและทรายเป็นเวลานาน)
๗. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๘. รอยปูไต่ และหนอนด้น ลักษณะอันเกิดจากเกสรดอกไม้ และมวลสาร ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๙. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๑๐. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่ง ธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจนเกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
ข้อเขียนนี้ถือเป็นลิขสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมาย ของอาจารย์ไพรพนา ศรีเสน อนุญาตให้ใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ เพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่ต้องขออนุญาต


http://crazylove.212cafe.com/archive/2009-11-20/014102/
หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง


หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง

โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
๒. มวลสาร
๓. รัก ชาด ทอง
๔. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
๕. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
๖. ฌานสมาบัตร

หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่มิได้บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธศิลปะอย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๓. รอยปูไต่ และหนอนด้น “รอยปูไต่” ลักษณะเป็นรอยโค้งเล็ก ๆ หนักบ้างเบาบ้าง อาจเกิดเป็นคู่หรือเดี่ยว “รอยหนอนด้น” ลักษณะเป็นจุดบุ๋มเล็ก ๆ เป็นคู่ ๆเรียงกัน ทั้งสองชนิดเกิดบริเวณด้านหลังของพระสมเด็จ สมมุติฐานจากมวลสาร และเกสรดอกไม้ ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๔. ความแห้งมีลักษณะหลากหลายทั้งแห้งที่มีน้ำหนัก และไม่มีน้ำหนัก อันเนื่องมาจากความหลากหลายของมวลสาร และวัสดุที่ใช้ แต่ที่สำคัญให้พิจารณาจากความหนึกนุ่ม มีความเงางามตามธรรมชาติ และความเก่าขององค์พระเป็นสำคัญ
๕. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่งธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจน เกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
๖. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๗. ชั้นผิวของพระสมเด็จที่ยังไม่ใช้หรือผ่านการใช้มาน้อย จะปรากฏร่องรอยของผิวพระเป็นชั้น ๆ เป็นวงเล็กบ้าง ใหญ่บ้างซ้อนกัน ลักษณะบาง ๆ ชั้นบนสีจะเข้มชั้นล่าง ๆ สีจะอ่อนลงตามลำดับ แต่ถ้าผ่านการใช้มาแล้วระยะเวลาที่พอสมควรสีของพระจะเป็นสีเดียวกัน หนึกนุ่ม สวยงาม
๘. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๙. การแตกลายงา มีสองชนิด คือ หนึ่งแบบหยาบ (สังคโลก เหมือนชามสังคโลก) สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆคล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่าการแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่าเมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก
๙. รักชาดสีแดง ให้พิจารณาจากความเก่าของชาด สีของชาดไม่ว่าจะนาน เท่าใดสีจะยังคงแดง (แดงเลือดนก) ไม่ลอก ไม่หลุดล่วง ถ้าไม่ขูดหรือล้างออก
๑๐. รักสมุกสีดำ ให้พิจารณาจากความเก่าของรัก ความเก่าของรักสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มอมดำ (คล้ายสีตาของกุ้ง) จะหลุดลอกออกเป็นแผ่นมากบ้างน้อยบ้างตามจำนวนชั้นที่ลง และกาลเวลา เป็นสำคัญ
๑๑. ทอง ให้พิจารณาจากสีของทอง เป็นทองคำเปลวทองเนื้อหก หรือที่โบราณเรียกกันว่าทองสีดอกบวบ ลักษณะเงางาม พบการปิดทองพระสมเด็จทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และปิดทองทึบ (กรุเพดานวิหารวัดระฆัง) พระสมเด็จที่ลงรัก ชาด ทอง เรียกว่า “ลงรักปิดทองล่องชาด”
๑๒. คราบไขขาวที่พบบนองค์พระสมเด็จนั้น ที่หลาย ๆ ท่านคิดว่าเป็นคราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐานแต่พบว่าในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้)
หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่บรรจุกรุ
๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธ ศิลปะ อย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
๒. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
๓. คราบฟองเต้าหู้ ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น แข็งฝังในเนื้อพระ (เกิดจากความชื้น แฉะ)
๔. คราบไข ลักษณะเป็นฝ้าบางๆเคลือบอยู่บนองค์พระ สีขาวนวล คราบนี้จะติดอยู่กับองค์พระและจะค่อยจางลงเมื่อพระถูกใช้ในระยะเวลาพอสมควร (เกิดจากความร้อน ชื้น)
๕. คราบน้ำปูน ลักษณะเป็นฝ้าขาวมีความหนาบางไม่เท่ากัน สีขาวอมน้ำตาลอ่อน เกาะติดกับองค์พระแน่น (เกิดจากน้ำท่วมองค์พระเป็นเวลานานเมื่อน้ำลดลงคราบปูนที่ลอยอยู่บนผิวจะแห้งติดองค์พระ)
๖. คราบกระเบน ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆคล้ายหนังกระเบน สีเทาแกมม่วงอ่อนๆ เกิดจากเม็ดทรายเกาะอยู่ทั่วองค์พระ แข็งมากไม่สามารถชำระล้างให้ออกได้ (เกิดจากพระที่ล่วงลงสู่พื้นปะปนกับดินและทรายเป็นเวลานาน)
๗. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
๘. รอยปูไต่ และหนอนด้น ลักษณะอันเกิดจากเกสรดอกไม้ และมวลสาร ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
๙. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
๑๐. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่ง ธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจนเกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
ข้อเขียนนี้ถือเป็นลิขสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมาย ของอาจารย์ไพรพนา ศรีเสน อนุญาตให้ใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ เพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่ต้องขออนุญาต


ป้าย : หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง
Dictionary : หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง
http://crazylove.212cafe.com/archive/2009-11-20/014102/
เทวดาประจำตัว
2009-11-17 21:09:55
เทวดาประจำตัว
ภพภูมิของเทพ-เทวดามีทั้งหมด ๖ ชั้นนับจากโลกมนุษย์ขึ้น
ไป จะอยู่ในสภาวะหรือมีสภาพร่างกายและทุกอย่างเป็นทิพย์ทั้ง
หมด(อากาศธาตุ) จะไม่มีรูปร่างที่จับต้องได้ด้วยกายหรือมอง
เห็นได้ด้วยตาเนื้อของมนุษย์ได้ เราจะรู้เห็นและสัมผัสได้โดย
ทางจิตเท่านั้นและจะต้องเป็นจิตที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้วเป็นอย่าง
ดีถึงขั้นที่เรียกว่าได้ " อภิญญาจิต " ภพภูมิของเทพเทวดานั้นมี
แต่เสวยและรับแต่ความสุข ความเกษมสำราญแต่เพียงอย่าง
เดียวไม่มีความทุกข์ยากลำบากอะไร เพราะอยากจะได้หรืออยาก
จะมีอะไรแค่ทำการนึกคิดเอาก็ได้สมประสงค์สมปรารถนา
ทุกอย่าง เทพเทวดาก็มีอารมณ์มีความรู้สึกรัก โลภ โกรธ
หลง มีครอบครัว มีพ่อแม่ มีลูกมีหลานเหมือนกับมนุษย์
ทุกอย่าง เทพเทวดาก็มีทุกข์เหมือนกัน มีตอนที่รู้ว่าบุญใกล้จะ
หมดแล้วจะต้องลงมาเกิดยังโลกมนุษย์และทุกข์มากๆ ถ้ามาเกิด
ยังโลกมนุษย์แล้วไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะการที่ได้มาเกิดเป็น
มนุษย์นั้นสมารถทำตัวเอง ศึกษาหลักธรรมแล้วปฏิบัติฝึกจิตของ
ตนเองให้หลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพานได้ เทพเทวดาเหล่านี้มาจาก
ไหน? ก็เป็นดวงจิตดวงวิญญาณที่มาจากมนุษย์ที่ตายแล้วและ
เป็นมนุษย์ที่มีทาน มีศีล มีภาวนา(ยังไม่สำเร็จฌาน)และมีธรรม
เพราะผลของบุญกุศลที่ได้ทำมานี้ จะส่งผลให้จิตของเขาไปเกิด
เป็นเทพเทวดา จะไปเกิดที่ชั้นไหนสูงหรือไม่ จะไปเกิดกับ
ครอบครัวกับพ่อแม่คู่ไหนบนสวรรค์นั้น ก็ขึ้นอยู่กับผลของบุญ
กุศลที่ได้กระทำไว้ตอนเป็นมนุษย์นั้นไปสมพงษ์หรือพอดีกับพ่อ
แม่ที่เป็นเทพเทวดาคู่ไหนและบนสวรรค์ชั้นไหนอีกที ......
การลงมาเกิดยังโลกมนุษย์ของเทวดานั้นมีด้วยกันหลาย
สาเหตุ เท่าที่รู้และจากประสบการณ์ที่ทำงานนี้มาก็มี ......
๑. หมดบุญหรือหมดอายุขัย
๒. ทำผิดกฎของสวรรค์
๓. ถูกส่งให้ลงมาทำหน้าที่ยังโลกมนุษย์
สวรรค์มีทั้งหมด ๖ ชั้น(ชั้นของเทพเทวดา)โดยมีดังนี้ ......
๑. ชั้นที่ ๑ เรียกชั้น จาตุมหาราชิกา
มีอายุ ๙ ล้านปีมนุษย์
๒. ชั้นที่ ๒ เรียกชั้น ตาวติงสา หรือ ดาวดึงส์
มีอายุ ๓๖ ล้านปีมนุษย์
๓. ชั้นที่ ๓ เรียกชั้น ยามา
มีอายุ ๑๔๔ ล้านปีมนุษย์
๔. ชั้นที่ ๔ เรียกชั้น ตุสิตา หรือ ดุสิต
มีอายุ ๕๗๖ ล้านปีมนุษย์
๕. ชั้นที่ ๕ เรียกชั้น นิมมานรตี
มีอายุ ๒,๓๐๔ ล้านปีมนุษย์
๖. ชั้นที่ ๖ เรียกชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี
มีอายุ ๙,๒๑๖ ล้านปีมนุษย์
เมื่อหญิงชาย(พ่อ-แม่)ยังโลกมนุษย์ได้ร่วมหลับนอนกัน
เชื้ออสุจิของชาย(พ่อ)เข้าผสมไข่ของหญิงแล้ว มีดวงจิตของ
เทพเทวดาองค์หนึ่งองค์ใดได้หมดบุญจากสวรรค์ลงมาผสม
(ปฏิสนธิวิญญาณ) มาร(เทพบุตรมาร)ก็ตามลงมาผสมด้วยอีก
เพื่อขัดขวางการสร้างบุญบารมีของเทพเทวดาตนนี้ พ่อแม่ พี่
น้องหรือเพื่อนๆที่อยู่บนสวรรค์ด้วยกันอย่างใดอย่างหนึ่งก็ลงตาม
มาผสมด้วยหนึ่งดวงจิต เพื่อดูแลให้ความช่วยเหลือปกป้องเรา
ทุกเรื่องจากการกลั่นแกล้งของพวกมาร ตามมาด้วยความรักและ
ความเป็นห่วงตลอดช่วงอายุของการเกิดมาเป็นมนุษย์ของเรา
เรียกเทพเทวดาเหล่านี้ว่า " เทวดาประจำตัว " แต่พอถึงเวลาเข้า
จริงๆแล้วเทพเทวดาเหล่านี้กลับช่วยเหลืออะไรเราไม่ได้ เพราะมี
พลังน้อยกว่าพวกมาร ก็ได้แต่ยืนดูเราห่างๆช่วยเหลืออะไรเราไม่
ได้เวลาเราตกทุกข์ได้ยากเกิดความลำบาก ถ้าหากเทพเทวดา
ประจำตัวของใครเป็นผู้หญิงจิตใจและลักษณะอาการของมนุษย์
คนๆนั้นก็จะออกไปลักษณะทางผู้หญิง ถ้าเป็นร่างของมนุษย์
ผู้ชายก็จะเป็น กะเทย และถ้าหากเทพเทวดาประจำตัวของใคร
เป็นผู้ชายจิตใจและลักษณะอาการของมนุษย์คนๆนั้นก็จะออกไป
ลักษณะทางผู้ชายเหมือนกัน ถ้าเป็นร่างของมนุษย์ผู้หญิงก็จะ
เป็น ทอม การที่มนุษย์คนไหนเป็นทอมหรือกระเทยนั้น ก็มี
สาเหตุมาจากผลของกรรมในอดีตชาติและมาจากเหล่าเทพเทวดา
ที่ทำผิดกฎสวรรค์ด้วยเช่นกัน ท่านทราบหรือไม่ว่าเทวดาประจำตัว
ของท่านเป็นใคร? ชื่ออะไร? มาจากชั้นไหน? เกี่ยวข้องกับ
ท่านอย่างไร? มีผลและมีอิทธิพลต่อตัวของท่านอย่างไร? ท่าน
ควรที่จะปฏิบัติตนและแก้ไขอย่างไรบ้าง? .........คัดลอกมา

ป้าย : เทวดาประจำตัว
Dictionary : เทวดาประจำตัว
ตำนานหลวงปู่เทพโลกอุดรและปู่โทน หลำแพร
2009-11-17 21:03:32
ตำนาน หลวงปู่เทพโลกอุดร ตอนที่ 1

• ทำไมต้องชื่อ " เทพโลกอุดร "
ก่อนจะได้เขียนถึงเรื่องนี้ ผู้เขียนขอออกตัวสักเล็กน้อยว่า เรื่องที่จะเล่าต่อไปยังเป็นอีกเรื่องหนึ่งหาข้อยุติกันไม่ได้ กล่าวคือยังมีการถกเถียงกันถึงตัวตนอันแท้จริงของศิษย์หลวงปู่ เทพโลกอุดรท่าน นี้ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่พอจะสรุปร่วมกันได้ก็คือ ทุกฝ่ายต่างลงความเห็นร่วมกันว่าเป็นศิษย์หลวงปู่เทพโลกอุดร ผู้มีเชื้อสายพระมหากษัตริย์พระองค์นี้มีพระศักดิ์เป็น "กรมพระราชวังบวร" ทรงดำรงตำแหน่ง วังหน้า ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่สำหรับตัวตนจริงของกรมวังหน้า พระองค์นี้ยังเป็นการถกเถียงกัน
ตามประวัติเล่าว่า สมเด็จวังหน้าองค์นี้ ทรงเป็นที่เกรงขามของบรรดาข้าราชบริพารยิ่งนึกและพระองค์มีลักษณะที่แตกต่างไปจากบุคคลทั่วไปอย่างหนึ่ง คือ พระองค์มีพระชิวหาดำ ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์โปรดการปลูกว่านสุมไพรต่างๆและทรงโปรดการชิมรสว่านต่าง ๆ ด้วยพระลักษณะเฉพาะตัวนั้น จึงได้มีการขนานพระนามพระองค์ว่า :องค์ลิ้นดำ:
สมเด็จวังหน้าพระองค์นี้ นอกจากจะสนใจในเรื่องการปลูกว่านสมุนไพรต่าง ๆ แล้วพระองค์ยังทรงสนพระทัยในเรื่องวิชา คาถา อาคม ไสยศาสตร์ ( สรุปเลยนะครับ พระองค์ท่านก็ได้เรียนกับ ครูต่าง ๆ ที่ว่าเก่งก็แล้ว เรียนไปหมด แต่ท่านก็ยังไม่พอใจ เพราะว่ามีแค่ เสกน้ำมนต์ แล้วก็ไล่ผี ท่านเลยได้ตั้งปณิธานว่า )
ครั้นตัดสินพระทัยได้เช่นนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงจุดธูป 9 ดอก แล้วทรงตั้งจิตอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ถ้าไม่เจออาจารย์ที่จะสอนวิชาที่พระองค์ท่านต้องการได้จะไม่กลับมาวัง ขอให้เทพยาดาฟ้าดินได้โปรดเห็นพระทัยในความตั้งใจจริง ชี้ทางให้ไปพบกับอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญได้
ครั้นทรงอธิษฐานเสร็จแล้ว สมเด็จวังหน้าพระองค์นี้ ก็ทรงแต่งกายอย่างสามัญชน และได้เสด็จหายไปจากพระราชวัง จนกระทั่งมาถึงหมู่บ้านหนึ่ง(ไม่ปรากฏชื่อและวันเดือนปี ) สมเด็จวังหน้าก็ได้เข้าไปขอน้ำจากชาวบ้านมาดื่มและล้างพระพักตร์ ครั้นพอรู้สึกชุ่มชื่นดีแล้ว ก็ได้ถอยออกมานั่งพักอยู่ใต้ร่มเงาไม้ไหญ่ แห่งหนึ่ง
ครานั้น ตะวันเริ่มรอนแล้วสมเด็จวังหน้าทอดพระเนตรไปข้างหน้าก็พลันเห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งปักกลดพักอยู่ที่ใต้ต้นไม้ใหญ่อีกต้นหนึ่ง ซึ่ง ห่างจากที่พระองค์นั่งพักอยู่ไม่เท่าไร
ครั้นเห็นเช่นนั้นสมเด็จวังหน้า ก็ทรงดำริว่า :ชะรอยเทวดาฟ้าดินคงจะเห็นใจเราแล้ว พระธุดงค์รูปนั้นอาจจะเป็นอาจารย์ที่เรากำลังตามหาอยู่ก็ได้:
ครั้นดำริเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงเสด็จเข้าไปใกล้ที่พระธุดงค์รูปนั้น นั่งทำสมาธิอยู่ ไปถึงใกล้ ๆ ก็สังเกตเห็นความแปลกประหลาดของพระธุดงค์รูปดังกล่าว คือ พระธุดงค์ที่ปรากฏกายอยู่เบื้องหน้าสมเด็จวังหน้าขณะนั้น ดูจากหน้าตาและรูปร่างเห็นว่าท่านยังเยาว์วัย ยังหนุ่มยังแน่นอยู่ ผิวพรรณผุดผ่องดี อย่างผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ แต่ว่าบนศีรษะกลับมีหงอกขาวโพลนเต็ม
สมเด็จวังหน้าทรงเห็นดังนั้น ก็ให้นึกแปลกพระทัยและก็เริ่มศรัทธา ในรูปลักษณ์ของพระธุดงค์รูปนั้น พระองค์จึงนั่งลงนมัสการ
ขณะนั้นพระธุดงค์ผุ้มีหน้าตาและร่างกายหนุ่ม แต่มีศีรษะขาวโพลนกำ ลังนั่งสมาธิ หลับตานิ่ง แต่ว่า ท่านรู้ว่ามีคนมาก้มอยู่เบื้องหน้าจึงได้ถามออกมาว่า " คุณโยมจะไปไหน"
บัดนั้นสมเด็จวังหน้าจึงได้เล่าความเป็นมาของพระองค์ให้พระธุดงค์รูปนั้นทราบอย่างละเอียด แล้วได้บอกถึงวัตถุประสงค์ในการเสด็จออกจากวังครั้งนี้ให้ท่านทราบด้วย
พระธุดงค์นั้นไม่กล่าวกระไร แต่เมื่อสมเด็จวังหน้าได้เรียนถามปัญหาต่าง ๆ ท่านก็ตอบได้ถูกต้องทุกคำถาม และตอบอย่างมีเหตุผล ชัดเจนอย่างผู้รู้จริง ซ้ำยังได้แสดงอิทธิฤทธิ์ให้สมเด็จวังหน้า ได้ประจักษ์เช่น ชี้กิ่งไม้กลายเป็นงูเป็นต้น
สมเด็จวังหน้าได้เห็นเช่นนั้น ก็ประจักษ์พระทัยทันทีว่า พระธุดงค์รูปนี้ไม่ใช่ธรรมดา ท่านทรงความรู้เหนือกว่าบรรดาครูต่าง ๆ ที่พระองค์เคยเรียนมาเป็นแน่ จึงก้มกราบแทบเท้าพระธุดงค์แล้วกล่าวขอฝากตัวเป็นศิษย์พระธุดงค์รูปนั้นก็ไม่ขัศรัทธา
สมเด็จวังหน้าจึงได้อยู่ศึกษาวิชาความรู้ตามที่พระองค์ต้องการกับพระธุดงค์ผู้มีความแปลกในตัวนั้นตั้งแต่บัดนั้น
เล่ากันว่าวิชาแรกที่อาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นสอนแก่สมเด็จวังหน้า ก็คือวิชานะหน้าทอง
วิชานะหน้าทองนี้ ก็คือการใช้แผ่นทองฝังลงในร่างกายของคน ส่วนใหญ่จะใช้บริเวณหน้าผาก การฝังนั้นก็จะฝั่งด้วยพลังจิต พระธุดงค์ผู้เป็นอาจารย์ก็ได้ถวายการสอนโดยการใช้ทองฝังเข้าไปในร่างกายโดยการใช้พลังจิตและพระอาจารย์รูปนี้ไม่ใช่เพียงแต่สอนให้ลงนะหน้าทองโดยการฝังทองเข้าไป ในหน้าผากเท่านั้น ท่านยังปฏิบัติให้เป็นประจักษ์ถึงความสามารถที่พิสดารออกไป เช่น ส่งทองให้หายไปในอากาศ แล้วไปติดอยู่ตามต้นไม้ หรือที่ต่าง ๆได้
สมเด็จวังหน้าทรงตั้งพระทัยศึกษาวิชานี้เป็นอย่างดี แต่วิชานี้ก็ไม่ใช่เรียนกันง่าย กว่าจะสำเร็จก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร อาจารย์พระธุดงค์สอนวิธีต่าง ๆ ให้แล้วก็สั่งสมเด็จวังหน้าตั้งใจฝึกฝน ส่วนตัวท่านถอดกลดท่องธุดงค์ต่อไป แต่ก่อนจากกัน ท่านได้นัดแนะสมเด็จวังหน้า ผู้เป็นศิษย์ไว้ว่าคราวต่อไปจะได้ไปพบกันที่ไหนอีก
ครั้นอาจารย์พระธุดงค์จากไปแล้ว สมเด็จวังหน้าก็ตั้งพระทัยฝึกวิชาลงนะหน้าทองนั้นต่อไป จนชำนาญดีแล้วครั้นเมื่อถึงหมายกำหนดที่อาจารย์ พระธุดงค์นัดให้ไปเจอ พระองค์ก็เดินทางไปตามที่นัดหมาย
เล่ากันว่าเรียนการสอนของศิษย์อาจารย์คู่นี้ ค่อนข้างจะแปลกพิสดา รไปจาการสอนของครูอาจารย์คนอื่น ๆ คือ จะสอนจะเรียนกันเป็นร ะยะ ๆ และต่างวิชาต่างสถานที่กันไป บางทีก็ต้องเดินทางไปสอน ไปเรียนกันไกล ๆ และส่วนใหญ่จะอยู่ตามป่าเขาลำเนาถ้ำ บางคราวถึงกับเดินทางไปสอนไปเรียนกันถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศลาว พม่า เป็นต้น แต่สมเด็จวังหน้าพระองค์นั้น ก็ทรงทรหด ดั้นด้นติดตามไปหาไปพบพระอาจารย์ตามที่นัดหมายได้ทุกครั้ง เสด็จวังหน้าพระองค์ทรงศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ จากอาจารย์พระธุดงค์รูปนี้อยู่นาน จนชำนาญในหลายแขนงวิชา เพราะว่าพระ อาจารย์ธุดงค์รูปนี้ ไม่ใช่เพียงสอนวิชาคาถาอาคมเท่านั้น ท่านยัง สอนวิชาอื่น ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะวิชาในพระพุทธศาสนา เช่นการนั่งสมาธิทำวิปัสสนากรรมฐาน เพราะท่านพูดกับศิษย์ว่า การนั่ง สมาธินั้นจะช่วยให้จำวิชาต่าง ๆได้ดีขึ้น และสามารถนำมาประกอบใช้ กับวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ได้ดี สมเด็จวังหน้าทรงปฏิบัติตามทุกอย่าง
ครั้นศึกษาวิชาคาถาอาคม และการทำสมาธิ ทำกรรมฐานเพียงพอแล้ว วันหนึ่งอาจารย์ธุดงค์ก็ได้บอกกับสมเด็จวังหน้าผู้เป็นศิษย์ว่า
" ถึงเวลาที่เราควรจากกันแล้ว ตอนนี้วังหน้าก็เรียนวิชาสำเร็จทุกอย่างแล้ว และอาตมาภาพขอยืนยันว่า บัดนี้ถือได้ว่าวังหน้าได้เป็นหนึ่งในแผ่นดินสมความปรารถนาแล้ว (ที่พิมพ์ย่อ ๆ มาไม่รู้ผมได้พิมพ์ไปเปล่า แต่ที่ท่านวังหน้าท่านออกมาหาอาจารย์ ที่จะสอนท่านให้เก่งเป็นหนึ่งในแผ่นดินได้นี้คือเป้าหมายของท่านครับ และได้เจอหลวงพ่อเทพโลกอุดรล่ะครับ )
ก่อนจากกันครั้งหนึ่งสมเด็จวังหน้าได้ถามอาจารย์พระธุดงค์ว่า " หลวงพ่อชื่ออะไร "
ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถึงแม้จะได้เป็นศิษย์อาจารย์กันมาหลายปีแล้ว สมเด็จวังหน้าไม่เคยได้ทราบชื่อของอาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นเลย พระองค์ได้แต่เรียกพระอาจารย์ว่า "หลวงพ่อ ๆ " ส่วนอาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นก็เรียกสมเด็จวังหน้าว่า " วังหน้าเฉย ๆ "
เมื่อสมเด็จวังหน้าได้ทรงถามเช่นนั้น อาจารย์พระธุดงค์รูปนั้น ก็ยังไม่ยอมบอกชื่อเสียงเรียงนาม ได้แต่อธิบายสมเด็จวังหน้า ให้เห็นถึงความไม่จำเป็นของชื่อเสียงเรียงนาม และยังได้บอกกับสมเด็จวังหน้าผู้เป็นศิษย์ว่า
" วังหน้าจะเรียกหลวงพ่อว่าอย่างไร หลวงพ่อก็ชื่ออย่างนั้นล่ะ "
เมื่อถามถึงอายุ อาจารย์พระธุดงค์ก็ตอบว่า " อายุเท่าไร จำไม่ได้แล้ว เพราะมันนานเหลือเกินแล้ว ปู่ของวังหน้า ถ้ายังมีชีวิตอยู่อายุสักประมาณเท่าไรได้แล้วล่ะ "
สมเด็จวังหน้าตอบว่า " ร้อยกว่าปีแล้ว "
อาจารย์พระธุดงค์ตอบว่า " ถ้าอย่างนั้น วังหน้าก็เอาอายุของปู่สักร้อยพระองค์มาบวกกันก็ยังไม่ได้เท่าอายุของหลวงพ่อ "
ด้วยเหตุนี้ สมเด็จวังหน้าจึงไม่สามารถจะทราบได้ว่าพระอาจารย์ของ พระองค์ชื่ออะไร พระองค์จึงทรงดำริจะตั้งชื่อพระอาจารย์ลึกลับมหัศจรรย์รูปนั้นขึ้นมาเอง
พระองค์ทรงใคร่ครวญหาชื่อ เพื่อจะตั้งให้เหมาะกับพฤติกรรมของพระอาจารย์รูปนี้
ในที่สุดก็ตัดสินพระทัยขออนุญาตเรียกชื่อ พระอาจารย์รูปนั้นว่า "เทพโลกอุดร " เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า พระองค์ไปไหนมา ไหนรวดเร็วดังปรารถนาเหมือนเทพเจ้า และทรงฤทธิอภิญญาเหนือโลก อาจารย์พระธุดงค์ก็ไม่ว่าอะไร ได้แต่ยิ้ม ๆ
ตั้งแต่บัดนั้นมา พระธุดงค์ผู้มีความพิสดารในรูปร่างลักษณะรูปนี้จึงได้ชื่อว่า "เทพโลกอุดร " แต่ในต่อมาไม่ทราบว่าใคร ได้ไปต่อนามให้ท่านว่า " พระครูโลกเทพอุดร " ตามประวัติที่พอสืบหาได้ก็เห็นว่า ท่านมีนามว่า " หลวงปู่โลกเทพอุดร " เท่านั้นไม่มีคำว่า " พระครู " นำหน้า

พระคาถาบางบท
เกี่ยวกับบรมครูพระเทพโลกอุดร

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพานัง สะระนัง คัจฉามิ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมนา สัมพุทธโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุขะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพานัง สะระนัง คัจฉามิ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพานัง สะระนัง คัจฉามิ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ
อัฏฐะ ปุริสะปุคคลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
ปรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
อุตตะรัสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฎโฐ ทักขิเถนะ วิรุพหะโก
ปัจฉิมเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโรเต มะหาราชา โถกะปาถา ยะสัสสิโน
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
อากาสัฎฐา จะ กุมมัฎฐา เทวา นาคา ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ตั้งจิตอธิษฐาน
ด้วยคุณธรรมอันสูงส่งประเสริฐสุดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เกล้ากระผม/ดิฉัน ได้กล่าวสรรเสริญสวดอิติปิโสธงชัย อิติปิโสเต็ม อัญเชิญท่านท้าวมหาพรหมทั้งสี่ทิศสี่พระองค์ดังที่กล่าวสรรเสริญด้วยจิตอันบริสุทธิ์หมดจดผ่องใสมานี้ เกล้ากระผม/ดิฉัน ขอนอบน้อมสักการะคารวะเทอดทูนไว้ด้วยเศียรเกล้าเหนือเกล้าทุกอิริยาบถด้วยเทอญ ดังกล่าวสรรเสริญมานี้ด้วยความนอบน้อมของเกล้ากระผม/ดิฉันในขณะนี้นั้น ขอจงโปรดประทานอำนวยพรให้เกล้ากระผม/ดิฉันให้ปราศจากอุปสรรค อันตราย ภัยพิบัติทั้งหลาย โรคาพยาธิทั้งหลาย ภัยจากเหล่าอมนุษย์ อลัชชี คุณไสย มนต์ดำ อาถรรพ์ทั้งหลายที่จะบังเกิดขึ้นมาทั้งในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าจงอันตรธานสุญหายไปโดยสิ้นเชิงด้วยพลังเดช อำนาจบารมีแห่งคุณธรรม เพื่อจะได้มีชีวิตดำรงคงอยู่เพื่อจะได้ประกอบภารกิจที่เป็นอยู่ให้เจริญก้าวหน้ายืนยาวนาน เพื่อจะได้บำเพ็ญบุญกุศลเป็นการสนองตอบแทนผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้วให้ได้รับส่วนบุญส่วนกุศล และเพื่อจะได้บำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามยืนยาวนาน ดังที่กล่าวสรรเสริญมานี้นั้น ขอจงโปรดประทานอำนวยพร พละกำลัง เดช อำนาจ บารมี แก่เกล้ากระผม/ดิฉันดังที่ตั้งปณิธานสัจจะอธิษฐานกล่าวสรรเสริญมา ณ บัดนี้ด้วยเทอญ และจะดำรินึกคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ขอให้ช่วยเกื้อกูลให้สำเร็จ อย่าได้มีขัดข้อง ขอจงมีแต่ความอุดมสมบูรณ์บริบูรณ์ ไม่รู้จักความทุกข์ยากขัดสนทุกภพทุกชาติ ขอให้มีสติปัญญาบทนี้เรียกว่า อิติปิโสเต็ม
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง
อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุขะโต
อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง
อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ ภะคะวาติ

บทนี้เรียกว่าท้าวมหาพรหมทั้งสี่พระองค์ชั้นจะตุม
เฉลียวฉลาด หลักแหลม ลึกซึ้ง คมคาย แก้ไขสถานการณ์ได้ทุกเมื่อ ดังที่ตั้งปณิธานกล่าวสรรเสริญมานี้ ขอเดชะอานุภาพอันสูงส่งประเสริฐสุด โปรดประทานอำนวยพรให้เป็นพละกำลัง เดช อำนาจ บารมี เป็นเกราะแก้วทั้งเก้าชั้นคุ้มภัยแก่เกล้ากระผม/ดิฉัน ณ บัดนี้เดี๋ยวนี้เป็นต้นไปด้วยเทอญ
และบุญกุศลอีกส่วนหนึ่ง เกล้ากระผม/ดิฉันขอน้อมอธิษฐานนำส่งให้แก่บรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย บิดา มารดา พี่ป้าน้าอา ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณทุกท่าน ทุกยุคทุกกาล และขออุทิศให้แก่บุรพกษัตราธิราชเจ้าทุกๆ พระองค์ ตั้งแต่สร้างชาติไทยเป็นต้นมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ตลอดถึงพระมเหสีและรัชทายาททุกๆ พระองค์ และอุทิศให้แก่ท่านแม่ทัพนายกองทุกหมู่เหล่า ตั้งแต่สูงสุดจนต่ำสุด ทุกท่าน ทุกชั้น ทุกระดับ ทุกยุคทุกกาล ขออุทิศให้แก่พระสยามเทวาธิราช ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ (พระจันทร์ พระยม พระวรุณ พระกุเวร หรือเวสสุวรรณ) พระชัยมงคล เจ้ากรุงพาลี พระภูมิเจ้าที่ เจ้าที่เจ้าทางของทุกแห่งในปัจจุบันสรรพสัตว์ทั้งหลายทุกดวงจิตวิญญาณ หากพระองค์ใดท่านใดจขาดตกบกพร่องสิ่งหนึ่งสิ่งใดปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ขอให้ผลของกุศลที่เกล้ากระผม/ดิฉันได้ตั้งจิตอธิษฐานอุทิศให้นี้ จงเป็นของทิพย์ให้แก่ทุกๆ พระองค์ ทุกๆ ท่านให้สมบูรณ์ตามที่จิตปรารถนา ตลอดทั้งเสื้อผ้าอาภรณ์อาหายจงครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์อยู่ทุกเมื่อ และขอได้โปรดประทานพรให้เกล้ากระผม/ดิฉันมีอายุยืนยาวนาน ไม่รู้จักความทุกข์ยากขัดสนเพื่อจะได้ดำรงคงอยู่ เพื่อจะได้ใช้เวลาสร้างบุญ สร้างกุศลมหากุศล และอุทิศถวายเป็นการสนองตอบแทนผู้มีพระคุณ และเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามยืนยาวนานสืบไป ไม่ว่าเกล้ากระผม/ดิฉันจะประกอบกิจการงานสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขอจงช่วยเกื้อหนุนอยู่ทุกเมื่อ อย่าให้เหล่าอมนุษย์ อลัชชี คุณไสย มนต์ดำ อาถรรพ์และภัยพิบัติต่างๆ มาแผ้วพานเกล้ากระผม/ดิฉันได้เลย และผลของกุศลมหากุศลอีกส่วนหนึ่งจงเป็นกองการกุศล เป็นพื้นฐานบารมีทั้งปัจจุบันและอนาคตให้แก่เกล้ากระผม/ดิฉัน จะเกิดภพใดชาติใด จงเป็นปัจจัยนำส่งให้พ้นทุกข์ไปทุกภพทุกชาติ จนถึงพระอนุตตะระสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยเทอญ
หมายเหตุ
อนึ่ง ท่านที่ปรารถนาสร้างบุญกุศลและยึดมั่นในอำนาจบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัย ขออย่าได้ดัดแปลงแก้ไขข้อความของพระคาถาและคำอธิษฐานต่างๆ จะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ด้อยลงไป และจะเกิดโทษได้ หากจะสร้างเสริมบารมีให้เพิ่มพูนก็จงถ่ายสำเนาแจกให้ผู้อื่นต่อๆ ไป ยิ่งมากยิ่งเป็นมหากุศล ทั้งจะส่งให้ผืนแผ่นดินไทยบังเกิดแต่ความสงบร่มเย็น ผ่านพ้นยุคเข็ญได้ จงอธิษฐานเอาเถิดประเสริฐนักแล

พระคาถาบูชาบรมครูพระเทพโลกอุดร
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อภิญญาธะโร
ปะฏิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก
พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรานุสาสะโก
อะมะตัญเญวะ สุชีวะติ อะภินันที คุหาวะนัง
โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต
อิธะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย
ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ
ปะระมะสารีริกะธาตุ วะชิรัญจาปิวานิตัง
โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร
อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ
สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง วะเรนะ สุภาสิตัง
โลกุตตะโร จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต
โลกุตตะรังคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม

ฉบับย่อ
นะโม ๓ จบ
โลกุตตะโร จะ มะหาเถโร
อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
เมตตาลาโภ นะโสมิยะ
อะหะพุทโธฯ
ภาวนา ๓ จบ ๗ จบ หรือ ๙ จบ เช้า-เย็น ตื่นนอน และก่อนนอน
ธรรมะบางข้อของบรมครูพระเทพโลกอุดร

1. ธรรมะของท่านต้องเกิดจากการปฏิบัติเท่านั้น
2. ต้องมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
3. อยากรู้ธรรมะ หรือคำสอนของท่านให้ดูจิตตนเอง
4. ให้รักผู้อื่นเหมือนที่รักตนเอง
5. ให้ทำตัวเหมือนน้ำ
- น้ำไปได้ทุกสถานที่ อยู่ในน้ำ ในอากาศ ในดิน
- น้ำอยู่ใต้ทุกสภาวะ เป็นไอน้ำ เป็นน้ำ เป็นน้ำแข็ง
- น้ำให้ความชุ่มชื้น สดชื่น แก้กระหาย น้ำให้ชีวิต และทำลายชีวิต
- น้ำให้ความเย็น ให้ความร้อน
- น้ำมีรูปร่างต่างๆ กันตามรูปร่างของภาชนะ
- น้ำใช้ล้างความสกปรกให้สะอาด
ฯลฯ

ปรารถนาดีจาก แผนกประชาสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
ตอน ๒ ปู่โทน หลำแพร ผู้สื่อสานตำนาน พระครูเทพโลกอุดร

ปู่โทน หลำแพร เป็นชาวบ้านโพธิไทร อำเภออินทร์บุรี จังหวัด สิงห์บุรี เมื่อสมัยยังเป็นหนุ่มน้อยได้บวชเป็นสามเณรอยู่ 3 พรรษา และอุปสมบทเป็นพระภิกษุต่ออีก 2 พรรษา ขณะที่บวชเรียนอยู่นั้น ปู่โทนก็สนใจในวิชาวิปัสสนากรรมฐาน ได้เคยศึกษาและปฏิบัติ จากพระอาจารย์ผู้มีความรู้ทางด้านนี้หลายรูป
ต่อมาแม้เมื่อได้ลาสิกขาออกมาครองเพศฆราวาสแล้ว ปู่โทนผู้นี้ก็ยังสนใจในวิชาวิปัสสนากรรมฐานอยู่ พยายามหาโอกาสออกแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อบำเพ็ญธรรม อยู่เสมอ
ขณะที่ท่านมีอายุได้ประมาณ 30 ปี ครั้งหนึ่งก็ได้ออกไปแสวงหาสถานที่วิเวกเพื่อบำเพ็ญ และในที่สุดก็ได้พบกับสถานที่ที่ต้องการแห่งหนึ่ง คือ ในถ้ำพระ ซึ่งอยู่หลังเขาช่องแค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
คืนหนึ่งขณะที่ท่านนั่งสมาธิอยู่ พอจิตได้อารมณ์เป็นสมาธิแน่วนิ่งแล้วก็บังเกิดความประหลาดขึ้น โดยมีพระภิกษุรูปหนึ่งได้ปรากฏให้เห็นในนิมิต ตามคำบอกเล่าของปู่โทนบอกว่า พระภิกษุรูปนั้น มีลักษณะเหมือนคนโบราณ แต่ผิวพรรณผ่องใส มีสง่าราศีน่าเคารพนับถือ ดูจากรูปร่างภายนอกแล้วเห็นว่ายังหนุ่มแน่นแต่ศีรษะมีหงอกขาวโพลน
ครั้นได้เห็นพระภิกษุรูปนั้น ปู่โทนก็เข้าใจว่าคงจะเป็นพระอาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐานผู้มีญาณวิเศษ สามารถถอดจิตมาสนทนากันได้ในนิมิต และการมาของท่านก็คงจะมาเพื่อสนทนาธรรมหรือช่วยชี้แนะข้อธรรมกรรมฐานที่ท่านติดขัดอยู่
ปู่โทนจึงได้เรียกถามท่านไป(ในนิมิต)ว่า
“ พระคุณเจ้าเป็นใคร ”
พระภิกษุหนุ่มผู้มีสง่าราศีน่าศรัทธายิ่งรูปนั้น ก็ตอบให้ทราบว่า ท่านคือหลวงปู่เทพโลกอุดร เป็นพระธุดงค์อาศัยอยู่ตามป่าเขาลำเนาถ้ำเป็นวัตร ที่มานี่ก็เพื่อต้องการจะมาชี้แนะธรรมปฏิบัติบางอย่าง เพราะเห็นว่าอุบาสกโทนยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ปู่โทนได้ทราบอย่างนั้นก็ปลื้มปิติยิ่งนัก ที่จะได้มีพระอาจารย์ผู้มีความรอบรู้มีคุณวิเศษเลิศล้ำ มาเมตตาชี้แนะข้อธรรมให้ ซึ่งบัดนั้นปู่โทนไม่ได้ทราบว่า หลวงปู่เทพโลกอุดร ที่ว่านั้นเป็นใครมาจากไหน เพราะว่า ท่านไม่เคยได้พบเจอ หรือได้ยินได้ทราบกิตติศัพท์มาก่อนว่า ท่านผู้นี้อยู่ที่ไหนแต่ปู่โทนก็ยินดีที่จะน้อมรับคำแนะนำเรื่องการวิปัสสนาจากพระภิกษุผู้มาอย่างแปลกประหลาดรูปนี้
หลังจากนั้นหลวงปู่เทพโลกอุดรก็เมตตาชี้แนะวิธีทำกรรมฐานให้กับปู่โทนอธิบายจนปู่โทนเข้าใจดีแล้ว ก็หายวับไป
ปู่โทนกลับคืนอารมณ์ปกติ แต่ก็ยังจำเหตุการณ์นั้นได้ติดตา และยังปลื้มปิติไม่หาย ปู่โทนได้คำแนะนำนั้นมาปฏิบัติจนเห็นผลในเวลาไม่นาน
ครั้นบำเพ็ญธรรมกรรมฐานอยู่ที่นั่นพอสมควรแล้วปู่โทนก็กลับมายังบ้าน เพื่อประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงครอบครัวต่อไป แต่แม้ว่าปู่จะกลับมาอยู่บ้าน แต่ก็ไม่เลิกทำกรรมฐานเสียเลย ยังคงบำเพ็ญอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่ก็น้อยกว่าเวลาไปบำเพ็ญในที่วิเวกตามป่าเขาลำเนาถ้ำเท่านั้นเอง
และหลังจากนั้นปู่โทนก็ได้หาโอกาสไปบำเพ็ญธรรมที่ถ้ำพระนั้นอีก และก็ได้พบพระอาจารย์ในนิมิต ที่ท่านรู้จักในนาม หลวงปู่เทพโลกอุดรมาคอยชี้แนะข้อธรรมะให้อีก และสอนในระดับสูงขึ้น ๆ
ปู่โทนไปอยู่ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์ในนิมิคที่นั่นอยู่เป็นนานพอสมควร จนกระทั่งวันหนึ่ง พระอาจารย์หลวงปู่เทพโลกอุดรก็ได้บอกให้กับศิษย์คือ ปู่โทนถอดจิตออกจากสมาธิแล้วลืมตาขึ้น
บัดนั้นเอง ปู่โทน ศิษย์ผู้ที่เคยแต่ได้เห็นอาจารย์แต่เพียงในนิมิต ก็ได้เห็นพระอาจารย์หลวงปู่เทพโลกอุดรด้วยตาเนื้อจริง ๆ
เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักเพราะว่ารูปร่างลักษณะของพระอาจารย์หลวงปู่เทพโลกอุดร ที่ศิษย์ปู่โทนได้เห็นด้วยตาเปล่าในขณะนั้นเหมือนกับที่ได้เห็นในนิมิตอย่างไม่ผิดเพี้ยนเลย เพราะเหตุนี้เอง ในเวลาต่อมาปู่โทนจึงเชื่อว่า หลวงปู่เทพโลกอุดรนั้นท่านยังไม่ได้มรณภาพ ท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่ท่านอยู่ในที่ของท่านและท่านไม่ค่อยจะปรากฏให้ใครได้เห็นง่าย ๆ คนที่จะได้เห็นท่านนั้น จะต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนา หรือเคยบุญเกี่ยวข้องกันมาแต่ชาติปางก่อน
ตั้งแต่มานั้นการเรียนการสอนจึงได้ดำเนินมาทั้งในนิมิต และภาพจริง ๆ วิชาความรู้ที่หลวงปู่เทพโลกอุดรได้ถ่ายทอดให้กับศิษย์ ปู่โทน หลำแพร ในตอนนั้น นอกจากจะเป็นวิชาเกี่ยวกับการนั่งวิปัสสนากรรมฐานแล้ว ท่านยังได้สอนในเรื่องเวทมนตร์คาถา เพราะท่านสามารถกำหนดจิตทราบได้ว่า ปู่โทนต้องการจะเด่นในทางทรงฤทธิ์เดชและนอกจากนั้นแล้วท่านยังได้สอนวิชาแพทย์แผนโบราณ การใช้ยาสมุนไพรต่าง ๆ ประกอบยาให้ด้วย
ซึ่งในเวลาต่อมาปู่โทนก็ได้ใช้วิชาความรู้เหล่านี้มาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้รอดพ้นจากการถูกทรมานด้วยโรคร้าย และนอกจากนั้นแล้ว ท่านยังได้เป็ผู้เชี่ยวชาญและแนะนำการวิปัสสนากรรมฐานให้แก่บุคคลทั่วไป ถือได้ว่า ท่านเป็นวิปัสสนาจารย์ที่เป็นฆราวาสผู้มีความรอบรู้คนหนึ่ง
เมื่อครั้งที่อยู่ศึกษาวิชาต่าง ๆ กับหลวงปู่เทพโลกอุดรนั่น ปู่โทนได้เปิดเผยถึงประสบการณ์ ที่ท่านประทับใจมากอย่างหนึ่ง และผู้เขียนเห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่แปลกประหลาดเป็นยิ่งนัก แต่เมื่อนำมาเล่าแล้วท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่ ก็สุดแต่ท่าน ขอให้ใช้วิจารณญาณพิจารณาเอาเอง
เรื่องที่ว่านี้ ก็คือ เรื่องที่หลวงปู่เทพโลกอุดร ได้พาศิษย์ คือ ปู่โทนไปท่องป่าหิมพานต์
หลังจากที่ปู่โทน ได้ศึกษาธรรมปฏิบัติกับอาจารย์หลวงปู่เทพโลกอุดรจนมีความสามารถพอสมควรแล้ว วันหนึ่ง หลวงปู่เทพโลกอุดร ได้บอกกับปู่โทน หลำแพร ผู้เป็นศิษย์ว่า
“ อยากจะไปเที่ยวป่าหิมพานต์ไหม ”
ปู่โทนได้ยินดังนั้นก็ให้ตกใจเล็กน้อย เพราะคิดว่าป่าหิมพานต์มีอยู่จริงหรือ เพราะเท่าที่ท่านทราบจากการศึกษาพระพุทธศาสนาก็พอจะทราบป่าหิมพานต์ที่ว่านี้ ก็คือป่าในเขตหนาว ซึ่งก็อยู่ในแถวเทือกเขาหิมาลัยโน่น แต่อย่างไรก็ตามท่านยังไม่เคยได้ยินได้ทราบว่ามีใครได้เคยไปเที่ยวป่าหิมพานต์นั้นมาก่อน จึงพากันคิดว่าป่าหิมพานต์เป็นเพียงแต่ฉลากสถานที่แห่งหนึ่งที่กล่าวถึงในพระเวสสันดรชาดก ซึ่งถือเป็นนิยายปรัมปรา หรือ เทพนิยายทางตะวันออกก็ว่าได้ คิดไม่ถึงว่าจะมีอยู่จริง และสามารถที่จะไปเที่ยวได้
แต่อย่างไรปู่โทน ก็ศรัทธาและเชื่อมั่นในความเหนือธรรมดาของพระอาจารย์รูปนี้ ปู่จึงคิดว่าอาจารย์ไม่ได้พูดเล่นเป็นแน่ จึงตอบไปว่า
“ อยากไปขอรับ ”
ถึงแม้ว่าจะตอบรับไปแล้วแต่ปู่โทนก็ยังไม่วายสงสัยว่า อาจารย์จะพาตนไปที่นั่นได้อย่างไร ทั้งนี้ก็เพราะว่าตนยังคิดไม่ออกว่า เจ้าป่าหิมพานต์ที่ว่านั้นเป็นอย่างไรกันแน่ ต้องไม่ใช่อยู่ใกล้ ๆแน่ และที่สำคัญการเดินทางไปที่นั่น ต้องไม่มีการคมนาคมสะดวกสบายเหมือนกับเดินทางไปสู่ถิ่นเจริญอื่น ๆ เป็นแน่แท้ เพราะว่าถ้าเป็นเช่นนั้นก็คงจะมีใครต่อใครดั้นด้นเดินทางไปถึงมาแล้ว แล้วคงจะมีคนกลับมาเล่าให้ฟังกันบ้างแล้ว
ปู่โทนจึงได้ถามหลวงปู่เทพโลกอุดรว่า
“ จะไปที่นั่นกันอย่างไรหรือขอรับ “
หลวงปู่ตอบว่า
“ จะให้ปู่โทนขี่หลังท่านไป ”
ปู่โทน ก็ยังสงสัยอยู่ว่าจะเป็นไปได้อย่างไร จะให้ศิษย์ขี่หลังเหาะไปอย่างนั้นหรือ แต่ท่านเชื่อว่า อาจารย์ผู้เลิศด้วยฤทธิ์อภิญญา เหนือโลกท่านนี้จะต้องพาตนไปยังที่ป่าหิมพานต์นั้นได้อย่างแน่นอน จึงไม่ได้ซักไซร้ให้มากความ
เมื่อตกลงกันเช่นนั้นแล้วหลวงปู่เทพโลกอุดร ก็ได้นัดแนะวันที่จะนำศิษย์เอกเดินทางไปชมป่าหิมพานต์ว่า จะไปกันในอีก 7 วันข้างหน้า พร้อมกันนั้นท่านก็ได้กำชับศิษย์เอกว่า
“ ในวันนั้น ให้แต่งกาย นุ่งขาว ห่มขาว และเมื่อเดินทางไปถึงป่าหิมพานต์แล้วก็ให้สำรวมกาย วาจา ใจ อย่างเคร่งครัด อย่าตื่นกลัวและห้ามซักถามใด ๆ ”
ในที่สุดกำหนดการเดินทางไปท่องดินแดนมหัศจรรย์ก็มาถึง วันนั้นปู่โทนแต่งกายด้วยชุดขาว ตามที่หลวงปู่เทพโลกอุดรสั่ง หลังจากนั้นก็นั่งสมาธิแผ่เมตตาไปทั่วสากลโลก
ออกจากสมาธิแล้ว ก็ได้นั่งรอการมาของหลวงปู่เทพโลกอุดร แต่เพียงนึกถึงเท่านั้น หลวงปู่เทพโลกอุดรก็มาปรากฏกายอยู่ตรงหน้า มาถึงแล้วหลวงปู่เทพโลกอุดรก็ได้ซักซ้อมความเข้าใจกับศิษย์อีกครั้ง โดยถึงการปฏิบัติเมื่อเดินทางไปถึงป่าหิมพานต์
ครั้นซักซ้อมกันเข้าใจดี หลวงปู่ก็เอาผ้าสีดำผืนหนึ่งมาปิดตาลูกศิษย์เอกจากนั้นก็ให้เกาะหลังท่าน พาหายไปจากที่นั่นในขณะเดินทางอยู่นั้นปู่โทนจึงไม่ได้เห็นอะไรเลย เพราะมีผ้าปิดตาอยู่
แต่เมื่อพาไปถึงที่หมาย หลวงปู่ก็แก้ผ้าดำที่ปิดตาศิษย์อยู่ออก จากนั้นปู่โทนจึงได้เห็นอะไรต่อมิอะไรในดินแดนมหัศจรรย์แห่งหนึ่ง ต่อมาปู่ท่านได้นำมาเปิดเผยว่า
“ เห็นต้นไม้ใหญ่ สูงมาก แผ่กิ่งก้านสาขาทึบร่มครึ้มคล้ายต้นมะม่วง ใบยาวคล้าย ๆ ใบกล้วย ออกดอกออกช่อ ห้อยโตงเตงเป็นร่างผู้หญิงสาวสวยมาก สวยคล้ายนางฟ้า
ดอกหนึ่งมีผู้หญิงสาวสองคนห้อยโตงเตงอยู่ด้วยกัน บางดอกก็เพิ่งเป็นตัวตน งอตัวคล้ายทารกงอตัวอยู่ในท้องแม่อย่างนั้นแหละ
ท่านพระครู (หลวงปู่เทพโลกอุดร ) ไม่ได้บอกว่าเป็นต้นอะไร แต่ฉันก็รู้ได้ทันทีว่า นี้คือต้นดอกนารีผลในป่าหิมพานต์ เวลานี้ได้มาถึงป่าหิมพานต์แล้วเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก ฉัน (ปู่โทน ) ตะลึงลานไปหมด เอามือขยี้ตาตัวเองว่าฝาดไปหรือเปล่า ก็ไม่ได้ตาฝาด หยิกเนื้อหยิกตัวเองดูก็เจ็บ ไม่ได้ฝันไปเลย นารีผลแขวนโตงเตงดารดาษเต็มไปหมดทั้งต้น ส่งกลิ่นหอมตลบไปหมด หอมเหลือเกิน หอมอย่างเครื่องหอมที่ไม่มีในโลก ฉันเคลิบเคลิ้มงงงวย หัวใจยังงี้รู้สึกเหมือนจะลอยจากร่าง ใต้ต้น (นารีผล ) โล่งเตียนสะอาดสะอ้าน คล้ายมีคนมากวาดไว้เรียบร้อย อากาศหนาวเย็นมาก รู้สึกว่าเป็นเขากว้างมาก มีภูเขาสูง ๆ ล้อมรอบ ยอดเขามีหิมะปกคลุม
นารีผลนั้นไม่เห็นพูดแต่รู้สึกว่ามีชีวิตจิตใจ สวยจริง ๆ เคลิบเคลิ้มเกิดอารมณ์เสน่หารัญจวนใจจนรู้สึกใจหวิว ๆ จะขาดรอนเสียให้ได้ตรงนั้น เลยต้องกลับ ”
เรื่องเล่าในตอนนี้ของปู่โทน ได้กล่าวสัมภาษณ์นักเขียนท่านหนึ่ง คือ คุณ สิทธา เชตวัน

ป้าย : ตำนานหลวงปู่เทพโลกอุดรและปู่โทนหลำแพร
Dictionary : ตำนานหลวงปู่เทพโลกอุดรและปู่โทนหลำแพร
ชุมนุมสุดยอดพระคาถา วิธีแก้กรรม (สามารถทำเองได้ด้วยตัวเอง)
2009-11-10 12:17:08



วิธีแก้กรรม (สามารถทำเองได้ด้วยตัวเอง)
1.ผู้ฆ่าสัตว์ใหญ่หรือฆ่าคน โดยเฉพาะการทำแท้ง
ให้ทำบุญโดยการถวายพระพุทธรูปหน้าตัก 5 นิ้วขึ้นไป ผ้าขาวหรือผ้าไตรจีวรพร้อมอาหารถวายเป็นสังฆทาน อธิฐานขอบุญจากพระเจ้าบุญศักดิ์สิทธิ์จะนำพาดวงจิตรไปสู่วิมารบุญหรือเราอาจสร้างพระพุทธรูปหน้าตักตั้งแต่ 5 นิ้วขึ้นไปอธิฐานไว้เป็นพระพุทธรูปบูชาอโหสิกรรมพิเศษของเราโดยอัญเชิญดวงจิตรมาเป็นเทพารักษ์ประจำองค์พระ
2.ผู้เบียดเยียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต มีผลทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ
ควรทำบุญช่วยชีวิตสัตว์ ทำบุญด้วยยารักษาโรค ทำบุญกับโรคพยาบาลหรือด้ายการแพทย์บำรุงพระเถระที่อาพาธ
3.ผู้มีสมบัติพินาศฉิบหายด้วยเหตุต่างๆ
เป็นเพราะเคยทำกรรมชั่วไว้เมื่อชาติบางก่อนให้ทำใจแล้วให้บุญมาแทนที่โดยอธิฐานว่า สมบัติทั้งหลายที่สูญหายไปทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคตขอบูชาแต่พระไตรลักษณ์ พระอนิจจัง พระทุกขังพระอนัตตาขอสมบัติทั้งหลายทั้งทางโลกและทางธรรมหลั่งไหลมาเป็นหมื่นเท่าทวีคูณและควรบริจาคทานตามโอกาส
4.บางคนเคยเป็นหนี้สงฆ์ หนี้สินทรัพย์หนี้เวรหนี้กรรมกับผู้หนึ่งผู้ใด
ให้อธิฐานสร้างพระชำระหนี้ให้พระศาสดาอธิฐานถวายชำระหนี้โดยการปิดทองคำแท้ที่องค์พระด้วยตั้งแต่3แผ่นขึ้นไปหรือทั้งองค์ยิ่งดีพร้อมเงินปัจจัยตามศรัทธาเขียนหน้าซองถวายหนี้สงฆ์ หนี้เวรหนี้กรรมขอให้หมดหนี้กันไป
5.ผู้ประสบทุกข์เพราะความรัก
ให้ตั้งใจรักษาศีล ถือบวชตามที่ทำได้ แล้วเจริญปัญญามากๆความรักไม่เคยทำให้ผู้ใดทุกข์ เพียงที่ทุกข์เพราะควารักแบบยึดติดไม่รู้จักปล่อยวางมากกว่า
6.ผู้ประสบทุกข์เรื่องคู่ครอง
ให้จุดเทียน1คู่ อธิฐานจุดธูป5ดอก ถวายดอกกุหลาบสีขาว แดง เหลือง ส้มชมพู(หรือรวมให้ได้5สี)อษิฐานว่าหากมานแม้นมีหนี้เวรหนี้กรรมต่อกันขอให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกันและให้น้อมจิตระลึกถึงบุญกุศลที่เคยทำร่วมกันเป็นพลังซักนำดวงจิตให้คิดดีต่อกันแล้วอษิฐานแผ่เมตราให้มากๆ
7.ผู้ถูกหลอกลวงเพราะเคยผิดสัจจะวาจา
ให้ตั้งใจรักษาสัจจะในสิ่งที่ดีงามเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นตั้งใจว่าจะสวดมนต์ทุกวันก็ต้องทำให้ได้
8.ผู้มีสติไม่ดีหรือสติบกพร่อง
อาจเพราะชาติก่อนทำกรรมชั่วในเรื่องการเสพของมึนเมาให้งดแล้วเจริญภาวนาเพื่อสร้างพลังสติ

9.ผู้ที่เลี้ยงบุตรหลาน แต่บุตรหลานไม่ได้ดี
ควรแจกหนังสือธรรมะพิมพิ์เผยแพร่ พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ไม่ควรแช่งด่าบุตรหลานให้กล่าวแนะนำสิ่งที่ดีหรือให้ศีลให้พรแทนหากแช่งด่าไว้มากควรไหว้พระสวดมนต์ขอถวนคำแช่งด่าแล้วอษิฐานขอพรในสิ่งที่ดีงามแทน
10.เป็นทุกข์เรื่องบ้านที่อยู่อาศัย
ให้ตั้งขันน้ำที่หน้าองค์พระ เจริญพระคาถาและจุดเทียนทำน้ำพุทธมนต์เวลาดับเทียนให้ตั้งใจดับทุกข์ แล้วต่อด้วยเจริญเมตาพระวิหารอุทิศบุญกุศลให้กับพระภูมิเจ้าที่ เทาดา สรรพสัตว์ทั้งหลายอษิฐานน้ำพระพุทธมนต์ด้วยคาถาอิติปิโสนพเคราะห์หรือคาถาอื่นๆนำไปประพรมให้ทั่วบริเวรบ้านขอให้สิ่งร้ายกับเป็นดี สิ่งดีๆก็ขอให้ดียิ่งขึ้น
11.บางท่านเมื่อถึงวัยเบญจเพศแล้ว โบราณว่าดวงจะไม่ดีต่างๆ
เหตุเพราะดาวโทษทุกข์เสวยอายุเทาวดานพเคราะห์บ้างให้คุณบ้างให้โทษจึงควรบูชาสะเดาะเคราะห์โดยจัดหาเทียนขนาดพอเหมาะแล้วปิดทองคำ อธิฐานเป็นเทียนเสริมสิริมงคลเสริมดวงชะตาชีวิต แล้วแต่งดอกไม้ธูปเทียนจุดภาวนาสวดอิติปิโสนพเคราะห์เต็มสูตรอธิฐานบูชาเทาดาเสวยอายุ เทพนพเคราะหืทุกพระองค์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาดวงชะตา จิตวิญญาณเคหะสถานบ้านเรือนขอให้สิ่งร้ายกับเป็นดี สิ่งดีๆก็ขอให้ดียิ่งขึ้นทำด้วยความตั้งใจย่อมเกิดผลศักดิ์สิทธิ์ ภาวนาไปจนหมดเล่มเทียนก็ยิ่งเกิดผลดี

คำขอขมาใหญ่ในชีวิต เพื่อพิชิตดวงธรรม
ท่านแม่บงกช สิทธิพล แดนมหามงคล
ที่พักบำเพ็ญเพื่อสะสมอารมณ์พระนิพพาน
บ้านช่องแคบ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๕๐
ลูกน้อมเปิดใจไขกรรมออก ลูกขอนอบน้อมพร้อมเทียนเหนือเศียรเกล้า
เพื่อก้มกราบขมา กราบลาโทษ กราบบูชาสักการะ กราบอนุโมทนา กราบสาธุการ แด่
คุณพระพุทธเจ้า ทุก ๆ พระองค์
คุณพระธรรมเจ้า ทุก ๆ พระองค์
คุณพระอริยสงฆเจ้า ทุก ๆ พระองค์
คุณพระบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์
และผู้มีพระคุณทุก ๆ ท่าน
ลูกทั้งหลายขอน้อมเปิดใจไขกรรมที่ทำมา เพื่อขอขมาใหญ่ในชีวิต
๑. ลูกเคยล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ ต่อคุณพระพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ ต่อคุณพระธรรมเจ้า ทุก ๆ พระองค์ ต่อคุณพระอริยสงฆเจ้า ทุก ๆพระองค์ ทั้งเคยล่วงเกินต่อพระภิกษุสงฆ์ พระสมมติสงฆ์ ท่านสามเณร ทั้งแม่ชี แม่พราหมณ์ พ่อพราหมณ์ และนักบวชทั่วโลก ทั้งเจตนาและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่กาลก่อนจนถึงวันนี้
๒. ลูกเคยละเมิดคำสอนโอวาทของบิดามารดาผู้ให้เลือดเนื้อและชีวิต เคยถกเถียงต่อปากต่อคำ อันทำให้พ่อแม่เสียใจ เสียขวัญ เสียน้ำตา เสียกำลังใจ เพราะการกระทำอันผิดแนวของการเป็นลูกที่ดีของท่าน แต่กาลก่อนจนถึงวันนี้ ซึ่งการทำให้ท่านผิดหวังในตัวลูก เท่ากับเป็นการฆ่าบั่นทอนชีวิตพ่อแม่ทีละน้อย ๆ ซึ่งเป็นบาปมหันต์แท้ อาจเป็นผลให้ผลักต้านกั้นทางพระนิพพาน
๓. ลูกเคยล่วงเกินคุณครูบาอาจารย์ ทั้งผู้เคยมีพระคุณและมีอุปการะคุณ โดยการกระทำตัวผิดทาง ไม่เอาคำสอนโอวาทท่านมาปฏิบัติเสียแรงที่ท่านพร่ำสอนด้วยใจห่วงใย ด้วยใจรักเมตตา ลูกเคยทำลายล้างคำสอนท่านที่หวังดี แต่กาลก่อนจนถึงวันนี้
๔. ลูกเคยล่วงเกินทุก ๆ ท่านในภูมิจิตแห่งพระนิพพาน ภูมิจิตแห่งพรหมโลก ภูมิจิตแห่งเทวโลกแห่งมนุษย์โลก ภูมิจิตแห่งเดรัจฉานโลก ภูมิจิตแห่งวิญญาณโลก ล่วงเกินต่อปูชนียสถานแดนธรรมในโลก ทั้งเจตนาและมิได้เจตนา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่กาลก่อนจนถึงวันนี้
๕. ลูกเคยแสดงความหยาบกระด้าง หรือใช้กำลังด้วยโทสะรุนแรงตบตีต่อยชกลูกหลาน หรือสามีภรรยาอย่างขาดสติ ขาดจากคุณค่าของมนุษย์ทำตนดุจเดรัจฉาน ลูกเป็นผู้โง่เขลาเมาหลงในอารมณ์ของตนเอง แต่กาลก่อนถึงวันนี้
๖. ลูกเคยผิดพลาดมัวหมองด่างพร้อยรอยมลทินในศีลกาย ศีลวาจา ศีลใจ ทั้งผิดสัจจะที่ตั้งใจ บางข้อบางประการ บางโอกาส แต่กาลก่อนถึงวันนี้
๗. ลูกเคยแสดงออกทางสายตาใบหน้าว่าโกรธเคืองอาฆาตพยาบาท ทั้งเคยสาปแช่งจองเวร ทั้งอิจฉาริษยา ทั้งนินทาใส่ร้ายผู้อื่น และเคยปั้นโยนความผิดให้ผู้อื่นโดยไม่เป็นความจริงเลยแต่กาลก่อนถึงวันนี้
๘. ลูกเคยแสดงความไม่บริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ ต่อผู้อื่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แต่กาลก่อนถึงวันนี้
๙. ลูกเคยแสดงอาการกระทบกระแทกใส่หมู่คณะ หรือผู้อยู่ในครัวเรือนโดยเจตนาจากโทสะ โมหะ อันผิดทาง แต่กาลก่อนจนถึงวันนี้
ลูกนอบน้อมขอขมาใหญ่ในชีวิต
วันนี้ลูกทั้งหลายขอนอบน้อมโอบอุ้มเทียนทิพย์ เทียนมหามงคล เทียนทอง เทียนมหากุศล เทียนธรรม ดับทุกข์ทั้งสิ้น เพื่อกราบขอขมา กราบลาโทษทั้งปวง
ลูกทั้งหลายขอนอบน้อมก้มกราบฝ่าพระบาทพระศาสดาทุก ๆ พระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดรับรู้เป็นสักขีพยาน เป็นพระประธานในการน้อมใจขอขมาใหญ่ในชีวิตลูกเถิด
ขอเดชแห่งคุณพระ พร้อมทั้งพลังมหาบารมีของโลก พร้อมทั้งพลังบารมีของลูก ๆ ที่ร่วมใจบำเพ็ญบารมีวันนี้ จงเกิดอานุภาพ ให้กายลูกเกิดใหม่ ได้มีกายเป็นธรรมมหากุศล วาจาลูกเกิดใหม่ ได้มีวาจาเป็นธรรมมหามงคลแด่ตนและผู้อื่น ได้ดวงจิตที่เกิดใหม่ได้ดวงใจที่เป็นทิพย์ในธรรมตลอดกาล
พระพุทธบิดาเจ้าขา ลูก ๆ ทั้งหลายได้สำนึกตรึกเห็นชัด ในความผิดพลาดบกพร่องมัวหมองของตนเอง พร้อมทั้งเริ่มเข้าใจในพุทธโอวาทของพระพุทธบิดาว่า 'การกระทำแสดงออกทางกาย วาจา ใจ ๓ ประการ ของตน ไม่ว่าจะแสดงออกทางชั่วหรือดี มีคุณหรือให้โทษมากน้อยสักปานใด เจตนาอกุศลหรือมหากุศล นั่นคือผลตนเองจะได้รับเสวยเองทุกประการ ไม่ใช่ผู้อื่นเป็นผู้รับผลตนเอง จะได้รับเต็มบริบูรณ์ทุกประการ รับเสวยเองตลอดกัป ตลอดกาล'
เมื่อลูก ๆ ทั้งหลายเริ่มเกิดแสงสว่างแห่งธรรมอันดุจดวงประทีปแก้วมณีโชติ ได้รุ่งโรจน์ในกายวาจาใจลูกพอควร ลูกได้พิจารณาถึงตนเอง เด่นชัดในความมั่วคิดชั่วร้าย เห็นแจ้งชัดในความผิดพลาดบกพร่องมัวหมองทั้งปวง
ลูกได้กล่าวระบายความในใจไขกรรมออก บอกมหาชนคนทั้งหลายทั่วฟ้าดิน ลูกทั้งหลายเกรงกลัวต่อบาปกรรมอันนำตนสู่ทะเลเพลิงที่ทุกข์ทรมานแสนนานเป็นล้านกัป จะหาสุขสมหวังไม่ได้เลย เพราะได้เคยสร้างอกุศลมลทินโทษดังกล่าวแล้ว โดยหลงผิดคิดว่าตนเป็นคนเก่ง คนดีมีอำนาจ การแสดงออกดังกล่าวเป็นการแสดงออกถึงความมืดบอดโง่เขลาเบาปัญญาอย่างน่าสลดแท้ เป็นการลดค่า ไร้ค่าของการเป็นมนุษย์อย่างยิ่ง ข้อสำคัญเป็นการล่วงเกินอย่างรุนแรงมหันต์ต่อพระพุทธองค์เพราะไม่เคารพเชื่อฟังในพุทธโอวาท คำสอนอันเปี่ยมล้นด้วยพระมหาเมตตาอันบริสุทธิ์ที่ทรงมีอานุภาพกว้างใหญ่มหาศาลอย่างไม่มีประมาณ มิได้เอาแต่สุขส่วนพระองค์เอง เสียสละพลีชีพเพื่อโปรดเวไนยสัตว์ทั้งโลกด้วยชีวิตของพระองค์เองโดยแท้ปานนั้น ลูก ๆ ทั้งหลายยังมองไม่ค่อยเห็น ถึงคุณค่าอันมหาศาลของพระองค์ที่ทรงพระเมตตาวางแนวธรรมให้พ้นทุกข์หนีภัยทั้งปวงไว้ให้ลูก ๆ ด้วยน้ำพระทัยใสบริสุทธิ์ พระองค์ให้ด้วยชีวิตให้ด้วยจิตใจ โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนจากลูก ๆ เลย เมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ แม้พระองค์จะมีวัยชราภาพถึง ๘๐ พระชันษา พระองค์ยังทรงเสด็จพระราชดำเนินโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายด้วยเท้าเปล่าตลอดสาย และยังทรงอุทิศชีวิตโปรดสาวกจนลมปราณสุดท้าย พระองค์ทรงให้ความสงบ สะอาด สว่าง แด่โลกและมหาชนทั่วโลก น้ำพระทัยของพระองค์ดุจห้วงมหรรณพโดยแท้ ลูก ๆ ทั้งหลายขอถึงฝ่าพระบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้าตลอดกาลเทอญ
คำถอนอธิษฐานที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ
อิมัง มิจฉา อะธิษฐานัง ปัจจุทธะรามิ
ทุติยัมปิ อิมัง มิจฉา อะธิษฐานัง ปัจจุทธะรามิ
ตะติยัมปิ อิมัง มิจฉา อะธิษฐานัง ปัจจุทธะรามิ
ข้าพเจ้าขอถอนคำอธิษฐาน ถอนคำสาป ถอนคำแช่ง ที่ข้าพเจ้าได้ตั้งขึ้น ถึงพร้อมแล้ว ด้วยกิเลส ด้วยตัณหา ด้วยอุปาทาน ด้วยราคะ ด้วยโทสะ ด้วยโมหะ ด้วยมานะ ด้วยมิจฉาทิฏฐิ เป็นไปเพื่อความพยาบาทเบียดเบียน สร้างเวรสร้างกรรม ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่ประกอบด้วยวินัย ไม่ประกอบด้วยกุศล ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ประกอบด้วยบารมี ที่ข้าพเจ้าได้อธิษฐานไว้ สาปไว้ แช่งไว้ ในอดีตชาติก็ดี ปัจจุบันชาติก็ดี ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ทั้งหมดทั้งสิ้น
ข้าพเจ้าขออ้างเอาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระเพลิง แม่พระพาย และเทวดาทั้งหลายทั้งปวง มาเป็นพยาน ว่าข้าพเจ้าขอถอนคำอธิษฐานเหล่านั้น ถอนคำสาปเหล่านั้น ถอนคำแช่งเหล่านั้น ร้อยหน พันหน หมื่นหน แสนหน ล้านหน โกฏิหน ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ด้วยเทอญ
นะถอน โมถอน พุทถอน ธาถอน ยะถอน
นะคลอน โมคลอน พุทคลอน ธาคลอน ยะคลอน
ถอนด้วย นะ โม พุท ธา ยะ
ข้าพเจ้าขอยกโทษ อโหสิกรรม และให้อภัย ในความบกพร่อง ผิดพลาด ของสรรพสัตว์ ทั้งหลายทั้งปวง ทุกชีวิต ทุกจิตวิญญาณ ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อเทอญ


ป้าย : ชุมนุมสุดยอดพระคาถาวิธีแก้กรรม(สามารถทำเองได้ด
Dictionary : ชุมนุมสุดยอดพระคาถาวิธีแก้กรรม(สามารถทำเองได้ด
คำอธิษฐานจิตก่อนสวดมนต์

ด้วยเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ...... ( ชื่อและนามสกุล ) ......
ขอบูชาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสงฆ์เจ้า คุณพระ
อรหันต์เจ้า คุณพระอริยะเจ้าทั้งหลาย ที่สำเร็จไปแล้ว มากกว่าเมล็ด
ทรายในท้องมหาสมุทรทั้งสี่ ตลอดจนเบื้องสูงทั้ง ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดิน
คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณทุกท่าน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ง
หลาย เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้าบ้านเจ้าเรือน ตลอดจนทุกท่าน
ที่ไม่ได้กล่าวนามมาก็ดี ข้าพระพุทธเจ้าขอเอาธาตุทั้ง ๔ ขันธ์ทั้ง ๕ ที่
บิดาและมารดาได้ปรุงแต่งให้ข้าพเจ้า เบื้องสูงสุดปลายเส้นผม ลงมาเบื้อง
ต่ำถึงกลางฝ่าเท้า เบื้องต่ำจากกลางฝ่าเท้าขึ้นไปจนถึงปลายเส้นผม
เนื้อ หนัง เส้นเอ็น กระดูก ตลอดจนหนังกำพร้า ขออธิษฐานเป็น
กำแพงแก้ว ๗ ชั้น ป้องกันมาร ในระหว่างที่ข้าพระพุทธเจ้าสร้างบารมี
เพื่อความรู้แจ้งแทงตลอด ในอรรถ ในธรรมของพระพุทธองค์ ท่านทั้ง
หลายที่เป็นมาร ข้าพระพุทธเจ้าขอให้ถอยออกไปร้อยโยชน์แสนโยชน์
อย่ามาเป็นมารแก่ข้าพระพุทธเจ้าเลย ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายสังขารนี้
เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ข้าพระพุทธเจ้าจะสร้างบารมี ตาม
รอยพระบาทของพระพุทธองค์ ตั้งแต่ปัจจุบันนี้จนถึงพระนิพพานข้างหน้า
แม้นสังขารของข้าพระพุทธเจ้าจะแตกดับไป ด้วยอำนาจของอิทธิฤทธิ์
ขอให้ดวงจิตและดวงวิญญาณของข้าพระพุทธเจ้า เข้าสู่พระนิพพานทันที
ขออำนาจของบุญฤทธิ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงปกป้องคุ้มครองรักษา ให้ข้า
พระพุทธเจ้าจงพ้นและชนะมาร ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าทำกิจได้สำเร็จทุก
ประการ สมดังคำอธิษฐาน ให้บรรลุถึงพระนิพพานในกาลปัจจุบัน ใน
อนาคตกาลเบื้องหน้า และเบื้องโน้นด้วยเทอญฯ .......
สาธุ ...... สาธุ ...... สาธุ ......
คำอธิษฐานจิต
คำอธิษฐานจิตผูกติดกับพระพุทธศาสนาแน่นหนาไม่มีประมาณ
อิริยาบททั้งสี่สำหรับวันหนึ่งคืนหนึ่งต้องแบ่งเวลาออกใช้เป็นข้อวัตรส่วนตัว อธิษฐานจิตในใจให้ดี ออกปากเสียงเบาๆ ก็ดี ก่อนนอนตอนสี่ทุ่มก็ดี ตื่นนอนตอนตีสามก็ดี หรือเดินจงกรมตอนแรกก็ดี หรือก่อนภาวนานั่งตอนแรกก็ดี แล้วแต่เห็นว่าเหมาะสมโอกาสเวลาของตนที่จะแบ่งไว้ใช้ให้นึกและว่าดังนี้
ระลึกได้ไม่ระลึกได้ก็ดี ขอผูกขาดจองขาดกราบเท้าทูลถวาย ขอขมาโทษต่อพุทธัมสงฆ์ด้วยกาย วาจา ใจ อยู่ทุกเมื่อ ไม่มีประมาณเพื่อพ้นทุกข์ในสงสารโดยด่วนสิ้นเชิงในชาตินี้เทอญ
ระลึกได้ไม่ระลึกได้ก็ดี ขอผูกขาดกราบเท้าทูลถวายชีวิตจิตใจวาจา ปฏิบัติบูชาต่อพุทธัมสงฆ์อยู่ทุกเมื่อ ไม่มีประมาณ เพื่อพ้นทุกข์ในสงสารโดยด่วนสิ้นเชิงในชาตินี้เทอญ
ระลึกได้ไม่ระลึกได้ก็ดี ขอผูกขาดจองขาดกราบเท้าทูลถวาย สกลกาย สกลวาจา สกลใจ เป็นสรรพมนุษย์สมบัติ เป็นสรรพสวรรค์สมบัติ เป็นสรรพพรหมสมบัติ เป็นสรรพนิพพานสมบัติ กราบเท้าทูลถวายพุทธัมสงฆ์อยู่ทุกเมื่อ ไม่มีประมาณ เพื่อพ้นทุกข์ในสงสารโดยด่วนในชาตินี้เทอญ
ระลึกได้ไม่ระลึกได้ก็ดี ขอผูกขาดจองขาดกราบเท้าทูลถวาย สกลกาย สกลวาจา สกลใจ เป็นสรรพข้า เป็นสรรพทาสพุทธัมสงฆ์อยู่ทุกเมื่อ ไม่มีประมาณ เพื่อพ้นทุกข์ในสงสารโดยด่วนในชาตินี้เทอญ
ระลึกได้ไม่ระลึกได้ก็ดี ขอผูกขาดจองขาดกับสิ่งที่มีวิญญาณครองสิงอยู่ในสรรพไตรโลกธาตุทุกถ้วนหน้า ขอปราศจากสรรพเวรสรรพภัยแก่กันและกันเสมอภาคเหมือนหน้ากลองโดยมิได้ลำเอียงเลย และจงได้รับส่วนกุศลของข้าพเจ้าผูกขาดจองขาดอยู่ทุกเมื่อไม่มีประมาณจะพ้นจากกองทุกข์ในสงสารโดยด่วนสิ้นเชิงทุกถ้วนหน้า เทอญ ฯ
ระลึกได้ไม่ระลึกได้ก็ดี ปัจจุบันจิต ปัจจุบันธรรมอันใดที่เป็นธรรมอันหลุดพ้น ไม่กลับกลอกไม่เหลือเศษ ข้าพเจ้าก็ดี บรรดาท่านผู้เคารพรักปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อหลุดเพื่อพ้นโดยด่วนในปัจจุบันชาติก็ดี จงหลุดพ้นจากอาสวะโดยเด็ดขาด ไม่มีเชื้อเหลืออยู่ทุกเมื่อเทอญ
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต
คำอธิษฐานเมื่อออกรถและเดินทางไกล โดย พระชุมพล พลปญฺโ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔๙

สาธุ พุทธัง อาราธนานัง ธัมมัง อาราธนานัง สังฆัง อาราธนานัง
ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอให้คำอธิษฐานของข้าพเจ้าศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์จงทุกประการเทอญ
ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระสาวกทุกองค์ พระโพธิสัตว์ทุกองค์ พรหมทุกองค์ เทวดาทุกองค์ พ่อแม่ครูบาอาจารย์และผู้มีพระคุณทุกท่าน จงโปรดเมตตามาคุ้มครองรักษารถคันนี้ ให้สะดวกปลอดภัยปราศจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวงด้วยเทอญ
ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอให้บุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาทุกภพทุกชาติจงรวมตัว ขออุทิศให้แก่พระศรีอาริย์ เจ้าแม่กวนอิม ท้าวสักกะเทวราช ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ และเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้ท่านจงอนุโมทนาและจงโปรดเมตตาส่งเทวดาที่เป็นสัมมาทิฏฐิมาคุ้มครองรักษารถคันนี้ด้วยเทอญ
เทวดาองค์ใดที่โปรดเมตตามาคุ้มครองรักษารถคันนี้ ในตอนนี้ก็ดี หรือที่จะมีเมตตามาคุ้มครองรักษารถคันนี้ในโอกาสกาลต่อไปข้างหน้าก็ดี ข้าพเจ้าขอตั้งคำอธิษฐานจิตไว้ว่าขอให้ท่านได้มีส่วนในบุญกุศลทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้เคยบำเพ็ญมา ทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติจงทุกประการด้วยเทอญ และขอให้ท่านจงโปรดเมตตาคุ้มครองรักษารถคันนี้และผู้โดยสารให้ปราศจากอันตรายทั้งหลายทั้งปวง คิดประกอบกิจการอันใด ขอให้สำเร็จเป็นอัศจรรย์ด้วยเหตุแห่งบุญบารมีของท่านทั้งหลายได้โปรดเมตตาบันดาลให้เป็นไปในกาลทุกเมื่อด้วยเทอญ
ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอให้บุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาทุกภพทุกชาติจงรวมตัว ขออุทิศให้แก่จิตวิญญาณตลอดรายทางที่ข้าพเจ้าขับรถคันนี้ผ่านไป ขอให้ท่านจงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้วจงทุกประการ และขอให้ท่านจงคุ้มครองรักษาปกป้องคุ้มกันภัยให้แก่รถคันนี้ให้ปราศจากอุปสรรคเภทภัยที่จะมาเบียดเบียนบีทาในตลอดทุกเส้นทางที่ขับผ่านไปในกาลทุกเมื่อด้วยเทอญ
พุทธัง ปสิทธิ ธัมมัง ปสิทธิ สังฆัง ปสิทธิ
ขอบารมี พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า ประสิทธิให้คำอธิษฐานของข้าพเจ้านี้สำเร็จสมความมุ่งมาดปรารถนาจงทุกประการเทอญ สาธุ
คำอธิษฐานเวลาทำบุญ
ขอบุญจาก............ธรรมทาน, สังฆทาน, วิหารทาน ...นี้ จงถึงแก่
เจ้ากรรมนายเวร และผู้ปกปักรักษาดูแลช่วยเหลือข้าพเจ้าและครอบครัวที่มีมาถึงตัวทุกภพทุกภูมิ
ขอบุญนี้...จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบัน
หากไม่ถึงเพียงใด ขอให้คำว่าไม่มีไม่รู้ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้ปรากฎแก่ข้าพเจ้า
ขอให้เกิดในภพภูมิเขตประเทศที่มีพระพุทธศาสนาประดิษฐานอย่างมั่นคง
และได้ศึกษาพระธรรมได้อย่างเข้าใจถ่องแท้ลึกซึ้ง ตลอดจนกว่าจะเข้าพระนิพพานด้วยเทอญ
ขอท่านพระยมราชจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญบุญของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเทอญ
คำขอขมาและอธิฐานจิต
อธิษฐานหน้าพระพุทธรูปหรือสวดก่อนนอน
ตั้งนะโม 3 จบ
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเมทันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
หากข้าพเจ้าจงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินบิดา มารดา
ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ทุกพระองค์
พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ
และท่านเจ้ากรรมนายเวรจะด้วย กาย วาจา ใจก็ดี ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย
หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตนมา ขออนุญาต มีคู่มีครอบครัวเหมือนคนปกติทั่วไป
ขอถอนคำอธิฐาน คำสาบานที่จะติดตามคู๋ในอดีต ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน
ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร
ขอบุญบารมีในอดีตกาล ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้า
และครอบครัวตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วย อายุ วรรณะ
สุขะ พละ ลาภยศ สรรเสริญ สติ ปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ
อุปสรรคใดๆ โรคภัยใดๆ ขอให้มลายสิ้นไป
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลก และ ทางธรรม
ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเข้าสู่พระนิพพานเทอญ
หากมีผู้ใดเคนสร้างเวรกรรมกับข้าพเจ้า
ไม่ว่าชาติภพใดก็ตาม ข้าพเจ้า ยินดี อโหสิกรรมให้
ขอถอนความพยาบาท ความอาฆาตและคำสาปแช่งในทุกชาตทุกภพ
ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปคำแช่ง ของปวงชนของเจ้ากรรมนายเวร
ขอให้พ้นนรกภูมิ พบแสงสว่างทางโลก และทางธรรมเทอญ
คำอธิษฐานเสริมดวง
คำอธิษฐานในการปล่อยปลา ปล่อยเต่า หรือสัตว์น้ำควรจะซื้อสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่า จะดีที่สุดก่อนที่จะปล่อยให้เอาน้ำมา 1ถ้วยเทลงไปในถังที่ใส่สัตว์ที่จะปล่อย แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า
ข้าพเจ้าชื่อ...........นามสกุล..........เกิดวันที่......เดือน......พ.ศ......อายุ ....ปี ได้ปล่อยสัตว์......จำนวน....ตัว ขอปล่อยท่านทั้งหลายให้เป็นอิสระ ข้าพเจ้าให้ชีวิตแก่ท่าน
ข้าพเจ้าได้ให้ความเป็นอิสระแก่ท่าน ข้าพเจ้าช่วยท่านให้พ้นจากความทุกข์เดือดร้อน พ้นจาการถูกเขาประหาร ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทำให้แก่ท่านในครั้งนี้ จงเป็นเครื่องอโหสิแก่กัน อย่าได้ถือโทษโกรธเคืองต่อไป ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านี้เมื่อข้าพเจ้าปล่อยท่านเป็นอิสระแล้ว
จงไปบอกพวกของท่านที่ทนทุกข์ทรมานอยู่ ถึงส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้ แล้วขออุทิศกุศลทั้งหมดที่ทำไปแล้วให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้พ้นทุกข์จากความเดือดร้อนทั้งปวง และจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด...
ผู้ที่ต้องการกุศลปล่อยสัตว์นั้น ควรพิจารณาด้วยว่าสัตว์นั้นๆ จะมีชีวิตอยู่รอดได้หรือไม่ในสถานที่ที่ท่านตั้งใจนำสัตว์เหล่านั้นมาปล่อย.......................
คำอธิษฐานปล่อยสัตว์
ข้าพเจ้าชื่อ...........นามสกุล..........เกิดวันที่......เดือน......พ.ศ......อายุ ....ปี ได้ปล่อยสัตว์......จำนวน....ตัว ปล่อยเพื่อเป็นที่พึ่งแก่ตัวเอง เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ศัตรู และเจ้ากรรมนายเวร ตัวที่เป็นที่พึ่งขอให้นำความสุขและโชคลาภมาให้ข้าพเจ้า ตัวที่ให้กับศัตรูและเจ้ากรรมนายเวร
จงนำเอาสัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจัญไร ออกไปจากตัวข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
ขอให้แม่พระธรณี พระแม่คงคา เทพเทวา เจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลาย
จงเป็นสักขีพยานรับทราบกุศลเจตนาของข้าพเจ้า และคุ้มครองชีวิตสัตว์ให้ปลอดภัยจนสิ้นอายุขัย ด้วยอำนาจขอกุศลผลบุญครั้งนี้
จงสะเดาะเคราะห์ร้าย ของข้าพเจ้าให้กลับกลายเป็นดี มีความร่มเย็นเป็นสุข ประสบความสำเร็จสมหวังในสิ่งที่พึงปรารถนา มีความเจริญก้าวหน้า มีชีวิตสดชื่น สุขสดใส ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปด้วยเทอญ..
ผู้ที่ต้องการกุศลปล่อยสัตว์นั้น ควรพิจารณาด้วยว่าสัตว์นั้นๆ จะมีชีวิตอยู่รอดได้หรือไม่ในสถานที่ที่ท่านตั้งใจนำสัตว์เหล่านั้นมาปล่อย...
คำอธิษฐานจบทานเวลาทำบุญ
อิมัง เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ
ขอทานนี้จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้สิ้นอาสวะกิเลส
อิมัง เม ทานัง นิพพานัสสะ ปัจจะโย โหตุ
ขอทานนี้จงป็นปัจจัย ให้แก่ข้าพเจ้าได้ถึงพระนิพพานในปัจจุบันชาตินี้
ขอให้ได้มนุษย์สมบัติ ขอให้ได้สรรคสมบัติ
ขอให้ได้นิพพานสมบัติ จะนึกประสงค็สิ่งใด
ขอจงสมความปรารถนาทุกประการ
อันว่าโรคภัยไข้เจ็บความยากจนค่นแค้น และคำ ไม่มี ขออย่าให้ข้าพเจ้าได้ประสบเลย..
คำอธิษฐานอโหสิกรรม
ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม กรรมใดที่ทำให้แก่ผู้ใดในชาติใดๆก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมและนายเวร จงอโหสิกรรรมให้ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย
แม้แต่กรรมใดที่ใครๆ ทำข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานครั้งนี้
ขอให้ข้าพเจ้า ครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงษาคณาญาติและผู้อุปการะคุณของข้าพเจ้ามีความสุขความเจริญ ปฏิบัติ แต่สิ่งดี และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญ..
คำอธิษฐานขอพร
ข้าแต่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอน้อมอัญเชิญเทพยดาเจ้าทั้งหลาย
โปรดเสด็จมาฟังการสวดมนต์ของข้าพเจ้า ขออนุโมทนา และประสิทธิ์ประสาทพรให้ข้าพเจ้า...ด้วยเทอญ
ให้ตั้งนะโม 3 จบ และมนัสการพระรัตนตรัย พร้อมกับตั้งจิตอธิษฐาน..
ขอพระองค์ทั้งหลาย จงประทานพรให้ข้าพเจ้า..พ้นจากสัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย สัพพะเคราะห์เสนียดจัญไร
จงพ้นจากตัวข้าพเจ้า..ด้วยเทอญ ...สาธุ
คาถาบูชาพญานาค
นะโมฯ 3 จบ
นะติตัง พญามะ นาคายะ อภินัง นาคา สาธุโนภันเต ยะมะ ยะมะ
บทระลึกถึงคุณสมเด็จพระพุทธองค์ศรีอริยเมตไตรย์
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทะทะทะ โรโรโร อะอะอะ สะสะสะ โสโสโส โนโนโน นะโมพุทธายะ
อิกะวิติ พุทธะสังมิ อะระหังพุทโธ อะระหังธัมโม อะระหังสังโฆ
พุทโธอะระหัง ธัมโมอะระหัง สังโฆอะระหัง อะทิกะอะ ทะอะกะอิ ติฆะอะฆะ วันทามิ อาจาริโย จะมะหาเถโร เทวะปูชิโต โอมมะณีมาณี
ปัตเตฮุงหิริ โอมวัชระศัตระโฮม ( ๙ จบ )

(กราบแบบ นิ้วโป้งข้างซ้าย แตะ นิ้วนางข้างขวา แล้วกราบแบบคนจีน คำนับลงกับพื้น ๑๐๙ ครั้ง )



วิธีการเห็นผี
จากส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ คือ การภาวนาคาถา 4 คำ ซึ่ง 4 คำนั้น คือคำว่าอะไรบ้าง ไม่รู้สิ อิอิ...
แต่จากประสปการณ์ช่วงที่ผมบวช ผมเคยทำดังนี้ คือ
ภาวนา นะ มะ พะ ธะ มันทั้งวัน พยายามจับภาพพระให้ได้ทั้งวัน และเมื่อมีกิจนิมนต์หรือเวลาอยากจะเห็นอะไรบางอย่างเพื่อพิสูจน์ความสงสัยส่วนตัว จะอธิษฐานว่า "ขอบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ช่วยขัดเกลาจิตลูกให้สะอาดแจ่มใส่ที่สุด ให้ปราศจากกิเลศเครื่องเศร้าหมองจิต ให้ลูกมีทิพย์จักขุญาณที่สว่างชัดเจนแจ่มใส เห็นทุกอย่างได้ตามความเป้นจริงด้วยเถิด สาธุ"
ผลที่ได้จากการทำแบบนี้คือ หลังจากทำวัตรเช้าเสร็จ จะเห็นผีตายโหงตัวหนึ่งซึ่งก่อนตายเคยเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกัน แกมาดักรอไหว้ผมทุกเช้าเลย ก่อนฉันมื้อเช้า เห็นเทพเทวดากับวิญญานจำนวนหนึ่ง มาคอยโมทนาบุญ เต็มศาลาไปหมด บางทีตอนฉันเพลก็เห็น เวลามีกิจนิมนต์ ฃ่วงชุมนุมเทวดา เห็นพรหมณ์ เทวดา ทยอยมากันเรื่อยๆ ที่มากกว่านั้น มีครั้งหนึ่ง พอขึ้นพาหุง เห็นชัดเจนมาก คือ บันไดแก้วพาดลงมาสว่างวาบตอนทำน้ำพระพุทธมนต์ เห็นจะๆเลย ลอยอยู่เหนือขันน้ำมันต์ ใส่ชะฎาซะด้วย และอื่นๆอีกมากมาย
คำอธิษฐาน
คำตั้งจิต อธิษฐาน ในวันนี้
ขอมุ่งมั่น ทำความดี สร้างกุศล
สร้างเป็นทุน หนุนนำไว้ ไม่อับจน
เพื่อหลุดพ้น เกิดแก่ และเจ็บตาย
ขออย่าให้ ข้าพเจ้า ใจเศร้าหมอง
อย่ามุ่งปอง เอาความ ตามให้ร้าย
อย่าทำตัว คิดเพียงแค่ เห็นแก่ได้
จงเข้าใจ พร้อมอภัย ให้เกียรติกัน
ขอให้มี ความรัก ความเมตตา
ปรารถนา ให้ผู้อื่น มีสุขสันต์
ช่วยผ่อนคลาย ทุกข์โศก วิโยคพลัน
ให้คิดแต่ ทางสร้างสรรค์ เท่านั้นพอ
ให้เป็นผู้ มีน้ำใจ และเข้มแข็ง
พร้อมเรี่ยวแรง ทำงาน ไม่ทดท้อ
ใช้ปัญญา แก้ปัญหา ใช่เฝ้ารอ
ไม่นั่งขอ พรสิ่งใด เพื่อได้มา
ขอให้เกิด ความคิด อันซื่อตรง
ไม่พะวง ในกิเลส และตัณหา
ระลึกถึง คุณธรรม ทุกเวลา
พร้อมบูชา รัตนตรัย ด้วยใจเทอญ





ป้าย : ชุมนุมสุดยอดพระคาถา9(คำอธิษฐานจิตก่อนสวดมนต์)
Dictionary : ชุมนุมสุดยอดพระคาถา9(คำอธิษฐานจิตก่อนสวดมนต์)
________________________________________
พระคาถานั่งเทียนทำหวย

เรื่องที่ผมกำลังจะเล่าต่อไปนี้ผมไม่มีเจตนาสอนให้ใครไปนั่งทำหวย
ผมเพียงแต่เล่าเรื่องราวของประสบการณ์ที่ผมเคยพบเห็น
และเคยทดลองทำมาด้วยตนเองให้ทราบเท่านั้น
ส่วนใครจะคิดอุตริทดลองเลียนแบบทำตามดูนั้น
เป็นสิทธิเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน
คืนนั้นผมยังจำได้ดี
หลวงปู่พระสงฆ์ชาวเขมรอายุ ๙๕ ปีเศษ
ท่านบอกให้ผมทำขันห้าขันแปด
ผมตัดใบตอง(ใบกล้วย)ทำเป็นกรวยห้ากรวยและแปดกรวยตามที่ท่านสั่ง
วางแยกกันไว้เป็นสองกองในถาดเดียวกัน
แต่ละกรวยมีดอกไม้ขนาดเล็กหนึ่งดอก เทียนเหลืองขนาดเล็กหนึ่งแท่ง ธูปสั้นหนึ่งอัน
ท่านสั่งให้ผมตักน้ำสะอาดชนิดดื่มกินได้ให้ใส่น้ำจนเกือบเต็มถึงขอบขัน
หลวงปู่ล้างย่ามควานหาก้อนขี้ผึ้งแท้สีน้ำตาลที่ค่อนข้างนุ่มเหนียวคล้ายดินน้ำมัน
มาปั้นห่อหุ้มเส้นด้ายสายสิญจน์ขนาดใหญ่จนกลายเป็นแท่งเทียน
ปากท่านก็สอนผมว่าต้องใช้ขี้ผึ้งแท้สีน้ำตาลเพราะน้ำตาเทียนมันจะเหนียว
เกาะตัวกันแน่นดี
ท่านเอาลวดเส้นใหญ่ยาวประมาณหนึ่งฟุตพาดบนขอบขัน
จุดธูปเทียนบอกกล่าวครูบาอาจารย์แล้วเริ่มสวดมนต์เป็นคาถาเขมร
ท่านมาบอกภายหลังว่าภาษาเขมรนั้นเป็นพระคาถาชุมนุมเทวดาธรรมดา
แต่เป็นภาษาเขมรเท่านั้นใช้ของไทยก็ได้เหมือนกัน
สวดเสร็จท่านก็วางเทียนขี้ผึ้งแท้ที่ท่านปั้นมากับมือวางพาดกับลวด
ที่พาดไว้บนขอบปากขัน
ปลายเทียนอยู่ห่างจากผิวน้ำเพียงนิดเดียวเท่านั้น
ท่านเริ่มหยิบเทียนขี้ผึ้งมาเสกด้วยพระคาถานี้

,“ ฉิมพะลี จะมะหาเถโร เทวะตา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะยาทิมหิ
มะหาลาภัง กะโรตุเม ลาเภนะ อุตตะโม โหติ สัพพะลาภะ
ภะวันตุ สัพพะทา
ฉิมพะลี จะมะหานามัง อินทาพรหมมา จะปูชิตัง
สัพพะลาภัง ประสิทธิเม เถรัสสานุภาเวนะ
สะทาสุขี ปิยังมามะ
สะหัสสะเนโต เทวินโท ทิพย์จักขุง วิโสทายิ
สะหัสสะเนโต เทวินโท ทิพย์จักขุง วิโสทายิ
โลกะวิฑู โลกะวิฑู โลกะวิฑู ”
เสกเทียนจุดวางพาดเสร็จท่านหยิบลูกประคำมาหลับตาเสก
ชักลูกประคำร้อยแปดจบด้วยพระคาถาทำหวย
“ มะอะอุสีวัง อะจุตตัง พะอะระหัง จุตติ
โลกะอิทัง ยะธิระสังฆัง
จุตติ จุตติ ”
เคล็ดลับ ถ้าดูตัวเลขไม่ออกหรือดูไม่ชัด ท่านให้พลิกตัวเลขกลับ
จะมองเห็นได้อย่างชัดเจนมาก
ถ้าจะทำเป็นพิธีใหญ่(อวดชาวบ้าน)
ท่านกำหนดให้ใช้เครื่องพิธีเครื่องเซ่นสังเวยชุดใหญ่
บายสีปากชามไข่ลูกยอดหนึ่งคู่
เทียนขี้ผึ้งแท้สีน้ำตาลหนักสองบาทมาปั้นหุ้มไส้เทียนด้วยมือตนเอง
จุดธูปเทียนและสวดตามกำลังวันหวยออก
จัดเครื่องเซ่นสรวง กล้วยหวี บุหรี่ซอง เหล้าขวด หมากพลู บุหรี่ ยาเส้น
ผลไม้ ๓-๕-๗ -๙ อย่าง(ตามฐานะ)
แต่ถ้าทำเองตามลำพังจัดพอเป็นพิธีก็ได้
หลวงปู่ท่านว่าท่านเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเลขที่ได้มานั้นมันเป็นเลขบนหรือเลขล่าง
ผมไม่ใช่คนชอบเล่นหวยจึงไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร
แต่ผมกลับสนใจและแปลกใจว่าเพราะเหตุใดเลขที่ได้แต่ละชุดจึงเป็นพวกเดียวกัน
เลขไทยทั้งชุดหรือเลขสากลทั้งชุด
ท่านสอนผมว่า
การวางเทียนพาดลงบนเส้นลวดที่วางพาดบนปากขัน
ต้องวางให้ใกล้ชิดกับผิวน้ำให้มากที่สุด
เพื่อให้ดอกเทียนสามารถเกาะตัวกันได้ง่าย
ดอกเทียนจะได้ไม่ลอยหนีกัน
ทำให้ดอกเทียนไม่สามารถเกาะตัวติดกันได้เหมือนวางห่างผิวน้ำ
ผมนั่งมองดูดอกเทียนสักพัก
น้ำตาเทียนหรือดอกเทียนเริ่มเกาะตัวเชื่อมต่อกันเป็นตัวเลขทีละตัวจนครบสามหลัก
ที่น่าแปลกมากก็คือ
เมื่อดอกเทียนหยดเชื่อมตัวกันเป็นตัวเลขสมบูรณ์แล้วจะขาดลอยหลบไป
เปิดที่ว่างให้ดอกเทียนชุดต่อไปหยดเชื่อมตัวต่อกันเป็นตัวเลขตัวใหม่
ถ้าเลขตัวแรกเป็นเลขไทยตัวต่อไปก็เป็นเลขไทยทั้งสามตัว
แต่ถ้าตัวเลขตัวแรกเป็นเลขสากลตัวต่อไปก็จะเป็นตัวเลขสากลหมดทั้งชุด
เมื่อได้เลขครบสามตัวแล้วหลวงปู่ท่านก็หยุดสวด
หยิบเทียนขี้ผึ้งเล่นนั้นจุ่มลงดับในขันน้ำนั้น
ท่านเล่าว่าเคยมีคนมากราบเท้าวิงวอนขอให้ท่านช่วยทำพิธีให้
แต่ไม่ว่าท่านจะทำกี่ครั้งดอกเทียนก็ไม่ยอมเกาะตัวเชื่อมกันเป็นตัวเลข
ดอกเทียนจะต้องเชื่อมต่อกันแน่นจนสามารถหยิบยกขึ้นมาดูได้เป็นตัวๆ
มิใช่ดอกเทียนเล็กๆลอยมาต่อตัวกันหรือลอยมาเรียงตัวกัน
บางครั้งสวดจนเทียนขี้ผึ้งหมดได้เลขเพียงตัวเดียว
ท่านก็จะหยุดไม่ยอมใช้เทียนอันอื่นทำต่อให้ครบสามตัว
ท่านว่าเจ้าของวิชาท่านให้แค่นี้แหละ
ผลการออกรางวัล
เลขที่ท่านได้ตรงกับเลขท้ายสามตัวล่าง
แต่ผมไม่ได้ซื้อเพราะไม่ชอบเล่นหวยหรือล็อตเตอรี่
ท่านว่าคนทำจะซื้อเองหรือให้คนอื่นซื้อหรือแทงให้ไม่ได้โดยเด็ดขาด
สูตรสีผึ้งแสนเสน่หา
ขี้ผึ้งแท้บริสุทธิ์สีขาวหนึ่งกล่อง
น้ำมันจันทน์(สำหรับผสม)หนึ่งขวดกลม
หัวเชื้อน้ำมันจันทน์หนึ่งขวด
ยอดรัก(ยอดกิ่งต้นรัก)
ยอดหลง(ยอดกิ่งต้นกาหลง)
ยอดนิยม(ยอดกิ่งมะยม)
(สาวอมตะ/สาวสองพันปี)ดอกบานมิรู้โรย
(เจ็ดวัน)กลีบยอดดอกทานตะวันเจ็ดกลีบ
ผงดินสอพองลบจากยันต์แสนเสน่หา
มนต์บ่วงนาคราชมัดใจ
มนต์รักพระพาย
ปลุกเสกวันพระจันทร์เต็มดวงข้างขึ้นสิบห้าค่ำ
ด้วยพระคาถากฤษณะมนต์
“ กฤษณะราคะ ชนะจิตตัง มนุษะยานัง เสพะสุขัง ”
๑๐๘ จบ

อาถรรพณ์รักสลาย
ใบระกำ
ใบจางจืด(จืดจาง)
ใบตองแตก
ใบจาก
ใบเต่าร้าง
ใบเต่าเกลียด
กระทืบยอด
ใบลั่นทม
รากกระจัดกระจาย(กำจัดกำจาย)
บดหรือตำผสมดินเหนียวหรือขี้ผึ้งแท้ปั้นหุ่นชายหญิงหันหลังชนกัน
ใช้หนามระกำแทงอกหุ่นชายทะลุหลังหุ่นหญิง แทงอกหุ่นหญิงทะลุหลังหุ่นชาย
คนชอบกันรักกันหลงกันจะเกลียดชังกันไม่มองหน้ากัน
แต่ถ้านำไปใช้ในทางที่ผิดของจะเข้าตัวใครเห็นใครเกลียดใครเห็นใครชัง
พิธีกันและแก้สารพัดอุบาทอัปมงคลทั้งปวง
(เสนียด/จัญไรอัปมงคล-อุบาทว์/อัปรีย์ จัญไร- อัปมงคล/ไม่เป็นมงคล)
อุบาทว์เกิดทางทิศบูรพา(ทิศตะวันออก)เกิดจากอุบาทว์พระอินทร์
อุบาทว์เกิดทางทิศอาคเนย์(ทิศตะวันออกเฉียงใต้)เกิดจากอุบาทว์พระพระเพลิง
อุบาทว์เกิดทางทิศทักษิณ(ทิศใต้)เกิดจากอุบาทว์พระพญายม
อุบาทว์เกิดทางทิศหรดี(ทิศตะวันตกเฉียงใต้)เกิดจากอุบาทว์พระนารายณ์
อุบาทว์เกิดทางทิศประจิม(ทิศตะวันตก)เกิดจากอุบาทว์พระวรุณ
อุบาทว์เกิดทางทิศพายัพ(ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)เกิดจากอุบาทว์พระพาย
อุบาทว์เกิดทางทิศอุดร(ทิศเหนือ)เกิดจากอุบาทว์พระจันทร์
อุบาทว์เกิดทางทิศอิสาณ(ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)เกิดจากอุบาทว์พระโพสพ
เทพทั้งหลายแสดงปรากฏการณ์ผิดปกติวิสัยของธรรมชาติเพื่อเตือนภัยล่วงหน้า
ให้มนุษย์กันและแก้เสนียดจัญไรและอุบาทว์ทั้งหลายไว้แต่เนิ่นๆ
ปรากฏการณ์ของอุบาทว์พระอินทร์
ฟ้าผ่าลงบนแผ่นดินในพื้นที่ของตน
ผ่า บ้านเรือน สถานที่พักอาศัยหรือสถานที่ทำงาน
ประสาทราชวัง สถานที่ราชการ สถานศักดิ์สิทธิ์
ผ่าศาลพระภูมิ/เจ้าที่ ศาลเทพ ศาลผี ศาลพระพรหม องค์พระ องค์เทวรูป ฯลฯ
ผ่าต้นไม้ใหญ่ คอกสัตว์ ผ่าบานประตูหรือบานหน้าต่าง
ตกช้าง ตกม้า ตกจากแท่นที่ประทับ
ข้าราชการเกิดการทะเลาะวิวาทกัน ขุนนางผู้ใหญ่ร้อนอกร้อนใจหลบเข้าป่าเข้าดง
นักปราชญ์กัดกันเพราะความเห็นไม่ตรงกัน
สัตว์ป่าพลัดเข้าเมือง สัตว์ตัวเมียขึ้นขี่ตัวผู้
วิธีแก้อาถรรพณ์กันอุบาทว์ปัดเสนียดพระอินทร์
ท่านให้รีบนำกาบกล้วยมาทำบัตรพลีกว้างยาวด้านละคืบ
เอาใบ(ตอง)กล้วยมาเย็บทำเป็นกระทง ๗ ใบ
ใส่ข้าวสุกกุ้งพร่าปลายำ น้ำดื่ม ข้าวตอก ขนมนมเนย
ดอกไม้ธูปเทียน ทำธงกระดาษสีเขียว ๗ ธง
เครื่องหอมแป้งร่ำกระแจะจันทน์น้ำอบไทยดอกไม้พวงมาลัยสด
แผ่นทองเปลวหนึ่งแผ่น
ปั้นช้างพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณด้วยดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึ้ง(อย่างใดอย่างหนึ่ง)
นำสิ่งของทั้งหมดไปตั้งวางหน้าหิ้งบูชา
พระคาถาสวดภาวนากันและแก้เสนียดจัญไรและอุบาทว์พระอินทร์
กล่าวมนต์ชุมนุมเทวดาทั้งบทย่อและบทเต็มพระสูตร
โอม...พระอินทราชาธิราชะ อุปาทะวะตายะเอยยะรา พาหานายะ
ปุระพะทิสะ ฐิตายะ อาคัจฉันตุ ภุญชะติ ขิปปายะ
วิปปะยันตุ สะวาหะ สะวาหายะ สัพพะอุปา ทะวะ
วินาสายะ สัพพะ อันตะรายะ วินาสายะ สุขขะวัทฒะโก โหตุ
อายุวัฒนะ สุขะพลัง อัมมะหากัง รักขันตุ
โอม ปุระวะทิศ อินทะเทวะตา สะหายะ คะณะปะ
ริวารายะ อาคัจฉันตุ ปะริภุญชะตุ สะวาหายะ
โอม สัพพะ อุปาทะวะ วัพพะทุกขา
สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย
สรรพเสนียด สรรพอุบาทว์จัญไร สรรพศัตรู ขอให้วินาสสันติ
อินทะเทวะตา สะทา รักขะตุ สะวาหะ สะวาหายะ
สะวาหะ สะวาหะ สะวาหะ
สวดจบเป่ากระทงเครื่องบัดพลีสามครั้ง
ให้เจ้าภาพนำไปตั้งวางไว้ที่ทางสามแพร่ง
(ถ้าไม่มีทางสามแพร่งให้ใช้เขียนหรือขีดเส้นสามเส้นลงบนพื้นถนนนอกเขตบ้าน
ปลายเส้นทางหนึ่งชี้ไปทางทิศเหนือ
ปลายเส้นทางหนึ่งชี้ไปทางทิศใต้หรือตก
ปลายทางหนึ่งชี้ไปทางทิศตะวันออก
ให้ตั้งวางเครื่องพิธีตรงจุดที่เส้นทั้งสามมาพบกัน)
ถือเป็นอันเสร็จพิธีกันและแก้เสนียดจัญไร
กันและแก้อุบาทว์พระอินทร์แต่เพียงเท่านี้
คาถาบูชาขอพรเทพเจ้าแห่งโชคลาภ
เคล็ดคาถานี้บูชาสำหรับท่านที่เกิดปีต่าง ๆ ทั้ง 12 นักษัตร อันเป็นหัวใจคาถาของทิเบตจารึก เป็นภาษาสันสกฤตมาแต่ครั้งโบราณ โดยให้ตั้งจิตให้สงบระลึกถึงความดี และบุญกุศลที่ได้ประกอบมา แล้วท่องคาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล อธิษฐานขอพรจากท่าน
ท่านที่เกิดในปี ฉลู - มะโรง - มะแม - จอ
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ "โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สวาหะ"
ท่านที่เกิดในปี ขาล - เถาะ
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ "โอม อา ฮูโฮฮัม กษะสะ โอม ชัมภาลา ลาจาเลน ไนเยน สวาหะ"
ท่านที่เกิดในปี มะเส็ง - มะเมีย
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ "โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน ธะนัม เมธิ หะรี ทากินี ชัมภาลา สะมะภารา สวาหะ"
ท่านที่เกิดในปี วอก - ระกา
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ "โอม ปัทมะ โกรธะ อรยะ ชัมภาลา หฤทัย หู ผะฏะ"
ท่านที่เกิดในปี กุน - ชวด
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ "โอม ชัมภะละ ชะเลนทะรา เย สะวาหา โอม อินทะระ ฌิมขัม ภะมะริ สวาหา"
คาถาพระสีวลีเรียกลาภ หรือคาถาพระฉิมพลีเรียกลาภ
ฉิมพลี จะ มะหาเถโร ฉิมพลี จะ มหาเถรัง ลาภลาภัง นิรันตโร ลาภสุโข นะ ชา ลี ติ
ภาวนากี่จบก็ได้ตามใจชอบ
คาถาเสี่ยงเลข
อิติ อรหัง พุทธนิมิตตัง อุปปันนัง โหติ
ใช้เสี่ยงหาเลข ให้ตั้งจิตอธิษฐานดีๆ การภาวนากี่จบก็ได้ก่อนนอน
ภาณเลข
เลขะยันตัง สันตัง อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ
มนต์ภาณเลขนี้ เมื่อต้องการจะดูเลข ท่านให้บริกรรม กี่จบก็ได้ แล้วเลขเบอร์จะมาปรากฏที่จักขุทวาร หรือโสตทวารเราบ้าง ทำจิตให้ว่างเป็นสมาธิ
นิมิตหวย ล๊อตเตอรี่
โอกาสะ โอกาสะ ข้าพเจ้าขออาราธนาพระเลขตัวสำคัญ พระยันต์ตัวสำคัญตั้งแต่สูญ เถิง 99 จงมาเข้าในจักขุทวาร โสตทวาร
ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร แห่งข้าพเจ้าเทอญ เอ้หิ เอ้หิ เลขขะยันตัง นิมิตตัง อรหัง อรหัง
ให้ภาวนา 3 หรือ 7 จบ หรือตามสบายๆ
ก่อนภาวนาให้ชำระร่างกายให้สะอาดแต่งกายให้เหมาะสม ทำพิธีก่อนเข้านอน จัดเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูป เทียน แล้วชุมนุมเทวดา กล่าวบูชาพระรัตนตรัย สมาทานศีล สวดมนต์บทอื่นๆ ตามเราชอบ แล้วจึงภาวนาพระคาถาบทนี้
สำหรับคาถาบูชาพระรอดนั้นที่วัดมหาวันไม่มีตัวพระคาถาแต่ท่านครูบาคำหล้า วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ท่านบอกว่าให้ใช้คาถาพระเจ้าโปรดสัตว์ ท่านว่านำได้บอกให้ญาติโยมนำไปใช้กับพระรอด(วัดพระสิงห์สร้างปี2496)ก็ได้ผลดีคาถามีดังนี้ครับ
นโม3จบ
อิติปิโส ภควา มหากรุณาจิตตัง มหาเตชะวันโต โสลิติ พุทโธ ธัมโม สังโฆ โตโต ปะ กะ ตัง มา นะเมอิ อิทธิจิตตัง หิริพุทโธ นโมพุทธายะ
น้อมระลึกถึงครูบาอาจารย์มีหลวงพ่อปาน หลวงพ่อพระราชพรหมญาณเป็นที่สุด
ว่านะโม 3 จบ
อิทธิ ฤทธิ พุทธนิมิตตัง
ขอเดชะเดชัง ขอเดชเดชะ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ มะอะอุด้วยเทอญ
คาถาบูชาหลวงปู่ใหญ่พระครูธรรมเทพโลกอุดร
โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร
ปะฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก
พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรานุสาสะโก
อะมะตัญเญวะ สุชีวะติ อะภินันที คุหาวะนัง
โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต
อิธะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย
ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสี มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ
ปะระมะสารีริกะธาตุ วะชิรัญจาปิวานิตัง
โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโล
อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ
สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง วะเรนะ สุภาสิตัง
โลกุตตะโร จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโน
โลกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
มะหาเถรานุภาเวนะ สุขัง โสตถีภะวันตุเม
คาถาบูชาพระพรหม(ของหลวงปู่สี วัดสะแกและหลวงพ่อติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์)
ตั้งนะโม 3 จบ
ขอเดชะพระพุทธะคุณนัง พระธรรมะคุณนัง พระสังฆะคุณนัง มาตาปิตาคุณนัง คุรุอาจาริยาคุณนัง จัตุระพักตร์
พรหมาวิหารัง เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ มะอะอุ
จัตุระพักตรา จะมหาพรหมา มหิทธิเดชา สัพพะสิเน่หา ประสิทธิเม สัพพะลาภาภะวันตุเม สัพพะอันตรายาวินาสสะ
เมนตุ สัพพะศัตรูวินาศสันติ ปิโยเทวะมนุษานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม ปิโยนาคุสุปัณณานัง ปิณิณทริยังนะมามิหัง นะมัต
โตเทวะพรหมเมหิ นะละเทเวหิสัพพะทา นะทันโตสีหะนาทังโย นันทะวันตัง นะมามิหัง
คาถาบูชาสิงห์ ตะมะทัง ปะกาเสนโต ราชะสีโห ราชะราชา ตะถาอาหะ นะมะพะทะ นะโมพุธายะ
คาถาบูชาปู่ฤาษีสิงห์สมิงพราย(หลวงปู่กาหลง)
นะโม 3จบ ก่อนคับ
ยะมะหัง ครูอาจาริยัง สะระณัง คะโต อิมินา สักกาเรนะ ตัง ครูอาจาริยัง อภิปูชะยามิ
ทุติยัมปิ ยะมะหัง ครูอาจาริยัง สะระณัง คะโต อิมินา สักกาเรนะ ตัง ครูอาจาริยัง อภิปูชะยามิ
ตะติยัมปิ ยะมะหัง ครูอาจาริยัง สะระณัง คะโต อิมินา สักกาเรนะ ตัง ครูอาจาริยัง อภิปูชะยามิ
โอม***จะครอบแผ่นฟ้าแลแผ่นดิน ***จะครอบพระสมุทรแลสายสินธุ์ ***จะครอบพระอินทร์แลพระพรหม
***จะครอบพระยมแลพระกาฬ ***จะครอบท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ***จะครอบทั้งตัว*** ***เป็นลูกปู่สิงห์สมิงพราย
ครูจึงจะใช้ให้ เรียกคุณมนต์ ดลแลจ่ามนต์ แลพญามนต์ อย่าได้ไปไกลจากตัว*** โอมประสิทธิแก่*** สวาหะ
ท่อง 3 จบ
ผ้ายันต์ หลวงพ่อครูบาวัง อาจารย์เพชร ออกปี2511 คำแปลตัวยันต์บนผ้ายันต์มีดังนี้ครับ
อม (โอม) นางกวักนางแกว่งแคว้ง (สำนวนนี้พบในผ้ายันต์เสน่ห์ทั่วไป) แกว่งเอาสาวมาเนิอะนางเนิอะ มาเร็วมารักกัน ร้อยหมื่นตื้อแสนวัน ค็ (ก็) ให้มาหาคู (กู) เนิอนาง หากอยู่ฝาก (ฟาก) ฟ้าค็ให้มาหาคูเนิอนางเนิอะนาง หากอยู่ฝาก (ฟาก) พู (ภู) ค็ให้มาหาคูเนิอนางเนิอะนาง หากอยู่หล่ายแม่น้ำขั้นแสนวังค็ให้แล่นมาหาคูเทิอะเนิอนางเนิอะนาง หากอยู่นอกฟ้าแลแดนแก้วค็ให้มาหาคูเนิอนางเนิอะนาง หากอยู่เวียงจันทน์แลล้านช้างค็ให้มาหาคูแท้เทาะเนิอะนางเนิอะนางหากอยู่ชวา (ชวา, ชว้า - ล้านช้างหรือหลวงพระบาง) แลเสียมราชค็ให้มาหาคูแท้เทาะเนิอะนางเนิอะนาง หากอยู่ปัจฉิม (ประจิม ?) จันทบุรีแลล้านช้าง ค็ให้มาหาคูแท้เทาะเนิอะนางเนิอะนาง หากอยู่ทิสสะหล้าน้ำแลหัวของ (ของ-โขง ดินแดนไทลื้อสิบสองพันนา) ค็ขอให้มาหาคูแท้เทาะเนิอะนางเนิอะนาง หากอยู่เมืองหงสาหลวงแลเมืองไธย (ไทย-ไทยกลาง) แลเมืองภม่า (พม่า) ค็ให้มาหาคูแท้เทาะเนิอะนางเนิอะ โอม พระสิลเนโห โอมปิยะ โอมปิยา มาอยู่อย้อง (อ่าน หย้อง แต่งให้งาม) สองตราบ(อ่าน ถะหลาบ) ข้าง คูเป็นดั่งช้าง ๗ สาน (สาร) ๗ แสน เป็นดั่งวิมาน ๙๗ ห้อง มาอยู่อย้องแห่งตัวคู แท้เทาะเนิอะนางเนิอะ โอม เอหิ เอหิ มามะ เอหิ เอหิ ปิยัง มามะ ... (จากนั้นเป็นคาถาบาลี ลงตามช่องที่ว่างไว้)
คาถาปลุกพระ
อิติปิโสภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทธโธ นะโมพุทธายะ นะมะอะอุ จิเจรุนิ นะชาลีติ เอหิ เอหิ
คาถาปลุกพระ ใช้ทุกวันก่อนแขวนพระ
พระคาถานิ้วเพชร
อิติปิโส นะธิกัปปัง พระนามะเตนะ พุทโธพุทธัทหึง
พระคาถานิ้วเพชร : พระคาถานิ้วเพชร ใช้เสกนิ้วชี้ให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจปารถนา เสกให้เป็นธนูมือก็ได้เวลาผจญกับศัตรู ภาวนาคาถานี้เถิด ศัตรูทำอะไรเราไม่ได้เลย ก่อนภาวนาให้คิดถึงครูบาอาจารย์
คาถา เพชรพญาธร (สายเจ้าชู้)
โอม สิวะลึง นามว่าพระเพชรพญาธร ควยงามเป็นหนึ่ง กระโปกงามเป็นสอง ตัวงามเป็นสาม ความงามเป็นสี่ ความดีเป็นห้า ท่าจงแสดงฤทธาในด้านเสน่ห์ เมตตามหานิยม ชายเห็นชายหลวง หญิงเห็น รักใครเสน่หา อีกทั้งโชคลาภมั่งมีเอหิมะมา ขะมามิหัง

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้คาวมรู้เกี่ยวกับตระกูล"พระสมเด็จ"