วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ลพ.เงิน วัดวังกระทึง

พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน บางคลาน ปี 15 ออกวัดวังกระทึง (อ่าน 8247/ตอบ 0)
พระรูปเหมือนที่ปลุกเสกพิธีเดียวกับ หลวงพ่อเงิน บางคลาน ปี 15

บทความนี้ขอเสนอ

พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน บางคลาน ปี 15 ออกวัดวังกระทึง

รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน บางคลาน ปี 15 ออกวัดวังกระทึง เป็นพระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน บรรจุกริ่ง ที่สร้างโดยวัดวังกระทึง ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร


ลักษณะ

พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน ปี 15 ออกวัดวังกระทึง มีลักษณะเหมือนกับพระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน ปี 15 ออกวัดบางคลาน แต่มีข้อแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ นิ้วหัวแม่มือ (นิ้วโป้ง) ทั้งสองข้างของหลวงพ่อเงิน ปี 15 ออกวัดวังกระทึง จะกระดกขึ้น (มือติงนัง)

ด้านหน้าขององค์พระ เป็นรูปหลวงพ่อเงิน นั่งสมาธิบนฐานเขียงเตี้ยๆ คล้ายกับรูปหล่อหลวงพ่อเงินของเก่า แต่เนื่องจากเป็นพระ"ปั๊ม" จึงปรากฏรายละเอียดต่างๆ คมชัด มีเส้นจีวรที่หน้าอก 3 เส้น และเส้นชายจีวรที่ซอกแขนซ้ายรวม 7 เส้น

เนื่องจากพระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน ปี 15 ออกวัดวังกระทึง เป็นรูปเหมือนปั๊มแบบปั๊มเครื่อง รายละเอียดจึงคมชัด เนื้อพระมีความตึงแน่นเป็นธรรมชาติ ด้านในองค์ บรรจุเม็ดกริ่ง ฐานองค์พระกว้างประมาณ 1.8 ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม. และรูกริ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 มม. เท่าที่พบเห็นมีด้วยกัน 2 เนื้อ คือ เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองเหลือง สำหรับเนื้ออัลปาก้านั้นหายากสุดๆครับ







รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน บางคลาน ปี 15 ออกวัดวังกระทึง เนื้อทองเหลือง





รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน บางคลาน ปี 15 ออกวัดวังกระทึง เนื้อทองเหลือง





รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน บางคลาน ปี 15 ออกวัดวังกระทึง เนื้อทองเหลือง



วัตถุประสงค์การจัดสร้าง

สืบเนื่องมาจากในขณะนั้นทางวัดมูลเหล็ก วัดวังจิก วัดวังกระทึง และวัดท้ายน้ำ มีความต้องการจัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อเงินเพื่อสมนาคุณให้กับผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์ให้กับวัด เพื่อที่ทางวัดจะได้นำทุนทรัพย์เหล่านี้ไปใช้ในการซ่อมแซมและปรับปรุงศาสนสถานต่างๆของวัดที่ได้เสื่อมโทรมลง ซึ่งวัดต่างๆดังที่กล่าวมานี้เป็นวัดที่ค่อนข้างมีทุนทรัพย์น้อย การจัดสร้างวัดถุมงคลและการจัดพิธีปลุกเสกในแต่ละครั้งนั้นค่อนข้างจะเป็นการยาก เพราะต้องใช้ทุนทรัพย์ในการดำเนินการสูง การฝากพระร่วมพิธีปลุกเสกกับทางวัดบางคลานจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เนื่องจากพิธีการปลุกเสกหลวงพ่อเงิน ปี 15 ของวัดบางคลานถือได้ว่าเป็นพิธีที่ดีและยิ่งใหญ่ อีกทั้งวัดบางคลานยังเป็นวัดของหลวงพ่อเงินโดยแท้ วัตถุมงคลที่ผ่านการปลุกเสกในพระอุโบสถวัดบางคลานเปรียบเสมือนได้ว่าเป็นการขออนุญาตจากหลวงพ่อเงินโดยตรง และเป็นการการันตีอีกอย่างหนึ่งว่า วัตถุมงคลที่ผ่านการปลุกเสกจากวัดบางคลานแล้วย่อมมีความเข้มขลังและมีความศักสิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง

การตอกโค้ด

รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน บางคลาน ปี 15 ออกวัดวังกระทึง จะไม่ตอกโค้ด



พิธีปลุกเสกใหญ่ 3 ครั้ง

ชนวนโลหะและการปลุกเสก

มวลสารหลักๆที่นำมาจัดสร้างเป็นวัตถุมงคลรุ่นนี้ คือ แผ่นทองเหลืองแผ่นทองแดงที่พระคณาจารย์ดังทั่วประเทศรวมพลังอธิษฐานจิตลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกมาเป็นอย่างดี หลังจากนั้นจึงนำมาหล่อหลอมเป็นแผ่นโลหะแต่ละชนิด

ปลุกเสกครั้งที่1 ปฐมฤกษ์ เป็นการปลุกเสกแผ่นโลหะซึ่งได้จากการหลอม โดยพระเกจิคณาจารย์ 74 รูปจากทั่วประเทศ ทำพิธีที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ

หลังจากปลุกเสกเสร็จสิ้น ได้มอบแผ่นโลหะเหล่านั้นให้โรงงานนำไปจัดสร้างเป็นวัตถุมงคลชนิดต่างๆจนแล้วเสร็จ นำมาส่งมอบให้คณะกรรมการตรวจรับนับจำนวน

ปลุกเสกครั้งที่2 เมื่อได้รับมอบวัตถุมงคลชนิดต่างๆครบถ้วนแล้ว ได้จัดพิธีปลุกเสกขึ้นที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ ในวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 โดยพระคณาจารย์ดังทั่วประเทศ 127 รูป

เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการปลุกเสกครั้งที่ 2 นี้แล้ว คณะกรรมการได้ขนวัตถุมงคลเดินทางไปยังวัดบางคลาน โดยทางรถไฟ

ปลุกเสกครั้งที่3 ซึ่งเป็นพิธีการปลุกเสกครั้งสุดท้าย ได้จัดพิธีขึ้น ณ วัดต้นกำเนิด คือวัดบางคลานในวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2515 โดยได้นิมนต์พระคณาจารย์จากทั่วประเทศมาบริกรรมปลุกเสกตามพิธีกรรมแบบโบราณ ตลอดทั้งคืนเริ่มตั้งแต่ 4 โมงเย็นไปจนถึง 6 โมงเช้าโดยได้แบ่งพระคณาจารย์เข้าปลุกเสกเป็นชุดๆละ16 รูป จำนวน 6 ชุด รวม 96 รูป ปลุกเสกชุดละ 2 ชั่วโมงสลับกันไปอย่างไม่มีหยุดพักมีทั้งนั่งปรก บริกรรมภาวนาสวดคาถามหาทิพย์มนต์ พระคาถาพุทธาภิเษกและพระคาถาภาณวาร เป็นต้น รุ่งเช้าวันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2515 เป็นการฉลองสมโภช ภายหลังจากนั้น จึงเปิดโอกาสให้ผู้ที่สั่งจองวัตถุมงคลมารับได้

ในการพุทธาภิเษกที่วัดบางคลานในครั้งนี้ อุโบสถวัดบางคลานยังก่อสร้างไม่เสร็จหลังคายังไม่มี ได้เกิดปรากฏการณ์พระราหูอมพระจันทร์ หรือจันทรุปราคาและเกิดเหตุการณ์อีกหลายอย่างจนทำให้ หลวงพ่อเงิน ปี15 จำหน่ายจ่ายแจกหมดอย่างรวดเร็ว และราคาขยับขึ้นอยู่ตลอดเวลาจนบัดนี้

http://jramulet.tarad.com/article?id=32013&lang=th

ขุน



ขุนกับรางวัล ปี 53 อายุ 12 ปี

พล.เงิน 15




พระหลวงพ่อเงินรุ่นนี้สร้างขึ้นในสมัยพระครูพิบูลธรรมเวท หรือหลวงพ่อเปรื่องเป็นเจ้าอาวาส เพื่อหาทุนบูรณะถาวรวัตถุในวัดบางคลาน(วัดหิรัญญาราม) ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่หลวงพ่อเงินสร้างและจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ปัจจุบันพระรุ่นนี้ได้รับความนิยมเช่าบูชากันอยุ่ในเกณฑ์สูงมาก มีราคาตั้งแต่หลายพันจนถึงหลายหมื่น ปรากฏคุณวิเศษเป็นเรื่องปาฏิหาริย์เล่าขานโจษจันกันมากมาย เชื่อกันว่าพระหลวงพ่อเงินรุ่นนี้ ใช้บูชาแทนรุ่นเก่าๆซึ่งมีราคาสูงถึงหลักแสนหลักล้านได้

"รายการพระที่สร้างในปี 2515 ประกอบด้วย"

1. พระหลวงพ่อเงิน ขนาดบูชา 5 นิ้ว จำนวน 1000 องค์
2. พระหลวงพ่อเงิน ขนาดบูชา 3 นิ้ว จำนวน 1000 องค์
3. พระรูปเหมือนลอยองค์ บรรจุกริ่ง เนื้ออัลปาก้า จำนวนประมาณ 5000 องค์
4. พระรูปเหมือนลอยองค์ บรรจุกริ่ง เนื้อทองเหลือง จำนวนประมาณ 5000 องค์
5. เหรียญปั๊ม จอบใหญ่ จำนวน 10000 เหรียญ
6. เหรียญปั๊ม จอบเล็ก จำนวน 10000 เหรียญ
7. เหรียญขวัญถุง กะไหล่ทอง จำนวน 5000 เหรียญ และกะไหล่เงิน 5000 เหรียญ

นอกจากนั้นยังมีพระเนื้อดิน พิมพ์พระเจ้า5พระองค์ พระนางพญาเนื้อดิน จำนวนรวมทั้งหมดประมาณ 84000 องค์ แบ่งให้เช่าและบรรจุกรุในพระเจดีย์ แหวนสำหรับผู้ชายและผู้หญิงจำนวน 2000 วง และเหรียญรูปไข่ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อเงิน ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อเปรื่องและหลังรูปกรมหลวงชุมพรฯ จำนวน 10000 เหรียญ

พระหลวงพ่อเงิน ปี 2515 เป็นพระรูปเหมือนบรรจุกริ่ง สร้างด้วยการปั๊ม รายละเอียดจึงคมชัด เนื้อหามีความตึงแน่นเป็นธรรมชาติเฉพาะของพระรุ่นนี้ มีการจัดสร้าง 2 เนื้อ คือ อัลปาก้าและทองเหลือง
สำหรับพิมพ์ทรงมีการแบ่งเป็นมาตรฐานในปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 พิมพ์ คือ พิมพ์คอแอล พิมพ์มือเลขแปด และพิมพ์มือจุด พิมพ์ที่นิยมที่สุด มีราคาสูงสุดคือ
"พิมพ์คอแอล เนื้ออัลปาก้า"
ผู้ตั้งกระทู้ เกาะกลาง ( buddhaimage@hotmail.com )
โทรศัพท์ : 0896362708
วันที่ตั้งกระทู้ 25/9/2551 3:45:59




ข้อความคิดเห็นที่ 1
ข้อความ

"จุดสังเกตุ" ใต้ฐาน 1. รูอุดกริ่งต้องปิดสนิทเรียบร้อย แผ่นโลหะที่อุดเป็นทองเหลือง 2. โค้ดที่ตอกมีความคมชัด ตัวเลขกัดลึกลงในเนื้อพระ 3. เส้นที่คั่นกลางระหว่าง ๑๔ และ ๑๕ จะต้องติดชัดเจน 4. เส้นวงกลมที่ล้อมรอบ ส่วนใหญ่จะติดไม่ครบวง "และที่สำคัญ" ตัวเลข ๑๔ และ ๑๕ จะต้องมีลักษณะลวดลายเส้นสาย "แบบที่ตอกองค์นี้" เท่านั้น *****ขอบคุณข้อมูลจาก "ประวัติและวัตถุมงคล หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปีพ.ศ.2515 สำนักพิมพ์คเนศ์พร" ###ไปเที่ยวบ้านผมที่นี่ครับ http://board.212cafe.com/buddhaimage
ผู้เสนอความเห็น เกาะกลาง ( buddhaimage@hotmail.com ) เมื่อ 25/9/2551 3:50:09



ข้อความคิดเห็นที่ 2
ข้อความ
*** ประวัติการสร้าง หลวงพ่อเงิน ปี 15 *** (เผื่อท่านที่อยากได้ข้อมูลนะครับ) หลังจากที่หลวงพ่อเงินมรณภาพในปี2462ได้มีการสร้างพระในนามของท่านขึ้นมา หลายรุ่น หลายวาระ ทางวัดบางคลาน และวัดอื่นๆ รวมทั้งหน่วยงานราชการ และผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ได้จัดสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายรุ่น แต่ที่โด่งดังสุดๆ ก็คือพระหลวงพ่อเงินที่สร้างในปี พ.ศ. 2515 หรือที่เรามักจะเรียกว่าสั้นๆว่า “หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี 15” ซึ่งสมัยนั้นมีพระครูพิบูลธรรมเวทหรือหลวงพ่อเปรื่อง เป็นเจ้าอาวาส โดยวัตถุประสงค์เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ร่วมสมทบทุนสร้างโบสถ์หลังใหม่ และเป็นที่ระลึกงานผูกพัทธสีมาของวัดบางคลาน หรือชื่อใหม่ก็คือ วัดหิรัญญาราม ซึ่งเป็นวัดเก่าที่หลวงพ่อเงินได้สร้างและจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ โดยมี พล.ต.ต. สง่า กิตติขจร รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น เป็นประธานอุปถัมภ์ นายเผด็จ จิราภรณ์ ประธานสภาจ.พิจิตร เป็นประธานกรรมการอำนวยการ ส่วนประธานฝ่ายสงฆ์คือ สมเด็จพระวันรัต วัด พระเชตุพนฯ และ พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศน์ โดยมี อาจารย์เทพ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธี หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี15 ที่โด่งดังสุดๆ เหตุเพราะการสร้างพระในครั้งนั้นวัตถุประสงค์ดี เจตนาบริสุทธิ์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของอานิสงส์ทำให้เกิดผลอัศจรรย์แก่ผู้ที่มีไว้ครอบครอง ปรากฏให้เป็นข่าวคราวตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เสมอ สิ่งที่เป็นเรื่องอัศจรรย์ก็คือ ความเข้มขลังในพระเครื่องหลวงพ่อเงินนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นของเก่า แม้ที่เพิ่งสร้างใหม่ในนามของหลวงพ่อเงินล้วนแล้วแต่เอกอุไปด้วยพลังแห่ง ความศักดิ์สิทธิ์ที่กระจายอยู่ทุกอนูของวัตถุมงคลมหามงคลนาม " หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ " โดยเฉพาะพระหลวงพ่อเงินที่สร้างในปีที่ลงท้ายด้วยเลข " 5 " ล้วนมีพลังอาถรรพณ์ก่อให้เกิดสิ่งอันเป็นมงคลแก่ผู้ครอบครองในทุกๆ ด้าน เชื่อกันว่าพลังดังกล่าวนั้นเกิดมาจากพลังบารมีของหลวงพ่อเงิน ที่แผ่กระจายครอบคลุมปกปักรักษาผู้ที่เคารพศรัทธาท่าน ให้ปลอดโรคปลอดภัย ปราศจากภยันอันตรายใดๆ ที่จะมากล้ำกราย เนื่องจาก พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี15 จัดพิธีปลุกเสกอย่างสมบูรณ์แบบ ปัจจุบันพระรุ่นนี้จึงได้รับความนิยมเช่าบูชาอยู่ในเกณฑ์สูงมากมีราคา ตั้งแต่หลักหมื่นต้นๆจนถึงหมื่นปลายๆ ปรากฏคุณวิเศษเป็นเรื่อราวเล่าขานมากมายหลายเรื่อง เชื่อกันว่าพระหลวงพ่อเงินรุ่นนี้ใช้บูชาแทนรุ่นเก่าซึ่งมีราคาสูงถึงหลัก ล้านได้ ชนวนโลหะและการปลุกเสก มวลสารหลักๆที่นำมาจัดสร้างเป็นวัตถุมงคลรุ่นนี้ คือ แผ่นทองเหลืองแผ่นทองแดงที่พระคณาจารย์ดังทั่วประเทศรวมพลังอธิษฐานจิตลง อักขระเลขยันต์และปลุกเสกมาเป็นอย่างดี หลังจากนั้นจึงนำมาหล่อหลอมเป็นแผ่นโลหะแต่ละชนิด ปลุกเสกครั้งที่1 ปฐมฤกษ์ เป็นการปลุกเสกแผ่นโลหะซึ่งได้จากการหลอม โดยพระเกจิคณาจารย์ 74 รูปจากทั่วประเทศ ทำพิธีที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ หลังจากปลุกเสกเสร็จสิ้น ได้มอบแผ่นโลหะเหล่านั้นให้โรงงานนำไปจัดสร้างเป็นวัตถุมงคลชนิดต่างๆจนแล้ว เสร็จ นำมาส่งมอบให้คณะกรรมการตรวจรับนับจำนวน ปลุกเสกครั้งที่2 เมื่อได้รับมอบวัตถุมงคลชนิดต่างๆครบถ้วนแล้ว ได้จัดพิธีปลุกเสกขึ้นที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ ในวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 โดยพระคณาจารย์ดังทั่วประเทศ 127 รูป เมื่อเสร็จสิ้นพิธีการปลุกเสกครั้งที่ 2 นี้แล้ว คณะกรรมการได้ขนวัตถุมงคลเดินทางไปยังวัดบางคลาน โดยทางรถไฟ ปลุกเสกครั้งที่3 ซึ่งเป็นพิธีการปลุกเสกครั้งสุดท้าย ได้จัดพิธีขึ้น ณ วัดต้นกำเนิด คือวัดบางคลานในวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2515 โดยได้นิมนต์พระคณาจารย์จากทั่วประเทศมาบริกรรมปลุกเสกตามพิธีกรรมแบบโบราณ ตลอดทั้งคืนเริ่มตั้งแต่ 4 โมงเย็นไปจนถึง 6 โมงเช้าโดยได้แบ่งพระคณาจารย์เข้าปลุกเสกเป็นชุดๆละ16 รูป จำนวน 6 ชุด รวม 96 รูป ปลุกเสกชุดละ 2 ชั่วโมงสลับกันไปอย่างไม่มีหยุดพักมีทั้งนั่งปรก บริกรรมภาวนาสวดคาถามหาทิพย์มนต์ พระคาถาพุทธาภิเษกและพระคาถาภาณวาร เป็นต้น รุ่งเช้าวันจันทร์ที่ 31 มกราคม 2515 เป็นการฉลองสมโภช ภายหลังจากนั้น จึงเปิดโอกาสให้ผู้ที่สั่งจองวัตถุมงคลมารับได้ ในการพุทธาภิเษกที่วัดบางคลานในครั้งนี้ อุโบสถวัดบางคลานยังก่อสร้างไม่เสร็จหลังคายังไม่มี ได้เกิดปรากฏการณ์พระราหูอมพระจันทร์ หรือจันทรุปราคาและเกิดเหตุการณ์อีกหลายอย่างจนทำให้ หลวงพ่อเงิน ปี15 จำหน่ายจ่ายแจกหมดอย่างรวดเร็ว และราคาขยับขึ้นอยู่ตลอดเวลาจนบัดนี้ "พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี 15" ลักษณะ พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี 15 เป็นรูปเหมือนปั๊มแบบปั๊มเครื่อง รายละเอียดจึงคมชัด เนื้อพระมีความตึงแน่นเป็นธรรมชาติ ด้านในองค์ บรรจุเม็ดกริ่ง ฐานองค์พระกว้างประมาณ 1.8 ซม. สูงประมาณ 2.5 ซม. และรูกริ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 มม. มีด้วยกัน 3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อทองเหลือง และเนื้ออัลปาก้า ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อเงิน นั่งสมาธิบนฐานเขียงเตี้ยๆ คล้ายกับรูปหล่อหลวงพ่อเงินของเก่า แต่เนื่องจากเป็นพระ"ปั๊ม" จึงปรากฏรายละเอียดต่างๆ คมชัด มีเส้นจีวรที่หน้าอก 3 เส้น และเส้นชายจีวรที่ซอกแขนซ้ายรวม 7 เส้น *ข้อมูลจาก: http://www.ppamulet.com

http://www.amuletinter.com/viewboard.asp?CatID=5&itemID=40646&Add=view

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

นายทุนเงินกู้หนังเหนียวพลาดท่า-โจรยิงดับ!
(30 พ.ย.) เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.บ้านในหูต อ.หลังสวน จ.ชุมพร รับแจ้งเหตุยิงกันตาย บริเวณศาลาที่พักผู้โดยสาร หน้าสำนักงานขนส่งหลังสวน จ.ชุมพร รุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบศพนายไมตรี คำมูล อายุ 45 ปี หรือ "ตรีปากทรง" นอนเสียชีวิตในศาลาที่พักดังกล่าว บริเวณกลางหน้าอก พบกระสุนปืนทะลุเสื้อเป็นรอยขาดเป็น 4 รู แต่เป็นแค่รอยจ้ำแดงๆ เท่านั้น

เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสอบสวนจึงได้ทราบว่า ผู้ตายมีอาชีพปล่อยเงินกู้ และเป็นเซียนพระเครื่อง โดยเป็นที่รู้จักในพะโต๊ะ โดยก่อนเกิดเหตุผู้ตายมาทำใบขับขี่ที่สำนักงานขนส่ง ระหว่างนั้นมีโทรศัพท์เข้ามา และผู้ตายได้เดินไปที่ศาลาพักผู้โดยสารดังกล่าว ต่อมามีชายฉกรรจ์อายุราว 30-35 ปี ไว้ผมยาวเดินมาพูดคุยตกลงบางอย่างกับผู้ตาย แต่ดูเหมือนทั้งคู่จะมีปากเสียงและทะเลาะกัน จากนั้นชายฉกรรจ์คนดังกล่าวจึงได้ชักปืนที่เอวออกมายิงใส่ผู้คาย 4 นัดซ้อน แต่กระสุนไม่ระคายผิว เพียงแค่ทำให้ผู้ตายมีอาการจุกเท่านั้น

เมื่อชายฉกรรจ์เห็นว่าผู้ตายยังไม่ตาย จึงตะโกนขึ้นว่า "หนังเหนียวนักหรือมึง" ก่อนจะเข้ามากระชากสร้อยคอที่ผู้ตายสวมพระเครื่องชื่อดังไว้ 3 องค์ ได้แก่ หลวงพ่อทวด 1 องค์รุ่น 05 เหรียญกรมหลวงชุมพรรุ่นล็อแม็ก 1 องค์ และเหรียญกรมหลวงชุมพรปากน้ำชุมพรอีก 1 องค์ ขาดร่วงตกลงพื้น และยกปืนลั่นไกที่ศีรษะอีก 2 นัด ทำให้ผู้ตายล้มหงายหลังเสียชีวิตทันที ช่วงจังหวะนั้นคนร้ายขับรถกระบะอีซูซุ สีบรอนซ์ทอง ไม่ทราบทะเบียนหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสายตาประชาชนที่กำลังสัญจรไปมา

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่า เป็นเรื่องธุรกิจเงินกู้ หรือแก้แค้นส่วนตัว และเรื่องชู้สาว ซึ่งเจ้าหน้าที่ฯ จะดำเนินการสืบสวนหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรียงให้เปรียบเทียบศึกษา


กรุ09 บางขุนพรหม

วัดเกศฯ หกชั้น อกตลอด



พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็น 1 ใน 3 ตระกูลพระสมเด็จที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) โดยได้บรรจุไว้ในองค์พระมหาพุทธพิมพ์ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิฐฐานอยู่ภายในพระวิหารวัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร นั่นคือจะต้องมีลักษณะของ อกร่อง หูบายศรี มีขอบกระจก เกือบทุกพิมพ์ทรง วงการพระเครื่องในปัจจุบันให้ความนิยมเป็นอย่างสูงและจัดรวมพระสมเด็จวัดเกศไชโยให้อยู่ในชุด เบญจภาคี เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม

วัดไชโยวรวิหารหรือวัดเกศไชโย ( ชื่อที่ปรากฏในพื้นที่คือ วัดเกศไชโย ) เป็นพระอารามหลวงชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เดิมทีเป็นวัดราษฏร์ สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีประวัติแน่ชัดว่าใครสร้าง แต่มาปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) แห่งวัดระฆังโฆษิตารามได้มาสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ขึ้น เมื่อครั้งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประมาณปี 2400-2405 ซึ่งขณะนั้นท่านยังดำรงสมณะศักดิ์ที่ พระเทพกวี

การที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) มาสร้าง พระหลวงพ่อโต หรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามให้ภายหลังว่า พระมหาพุทธพิมพ์ ขึ้นไว้ที่นี่ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงโยมมารดาซึ่งได้ร่วงลับไปแล้วและเป็นอนุสรณ์สถานความผูกพันในช่วงชีวิตของท่าน เนื่องจากมารดาเคยพาท่านมาพักอยู่ที่ตำบลไชโยเมื่อตอนท่านยังเล็กๆ ซึ่งตามประวัตินั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ท่านมักสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับชีวิตของท่านไว้ตามสถานที่ต่างๆ ไว้มากมาย

คามบันทึกของพระยาทิพโกษา ( สอน โลหะนันท์ ) ได้กล่าวไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) เป็นผู้สร้างขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับโยมมารดาที่ชื่อ เกศ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ทรงสร้างพระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น แล้วนำมาแจกรวมทั้งบรรจุกรุไว้ใน กรุวัดไชโยวิหาร ในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดนี้ และประมาณการจากบันทึกต่างๆว่าน่าจะมีอายุการสร้างสมเด็จพิมพ์วัดเกศไชโยนั้นใกล้เคียงกับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม

พระสมเด็จวักเกศไชโย จึงถือได้ว่าเป็นสมเด็จอีกตระกูลหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังษี ) ทั้งในด้านการปลุกเสก และบรรจุกรุ ส่วนผสมในการสร้างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของดีของวิเศษซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) นำมาประสมกันเป็นเนื้อพระนั้น ส่วนใหญ่ใช้สูตรเดียวกับสมเด็จวัดระฆังฯ และสมเด็จบางขุนพรหม ประกอบด้วยมวลสารหลักได้แก่ ปูนเปลือกหอย ผงวิเศษ ( ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณ ผงปถมัง ผงมหาราช และผงตรีนิสิงเห ) ข้าวสุก กล้วยป่า ดอกไม้แห้ง และน้ำมันตั้วอิ้ว และมวลสารอื่นๆอีกมาก

เนื้อพระสมเด็จวัดเกศไชโย อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะคือ เนื้อนุ่ม เนื้อนุ่มปานกลาง และเนื้อแกร่ง พระเนื้อนุ่มมีมวลสารและน้ำมันตั้งอิ้วผสมอยู่มาก เรียกว่า เนื้อจัด ส่วนใหญ่มีสีขาวขุ่นอมน้ำตาล ( ไม่ใช่คราบเปลื้อนที่ผิว ) ส่วนพระเนื้อนุ่มปานกลาง มีส่วนผสมที่ได้สัดส่วนลงตัว ส่วนใหญ่สีขาวอมเหลือง และพระเนื้อแกร่ง เป็นพระเนื้อแก่ปูน ผิวแห้ง แกร่ง คล้ายเนื้อหินอ่อน มวลสารปรากฏให้เห็นในปริมาณน้อย

พระสมเด็จวัดเกศไชโยนี้ มีด้วยกันหลายพิมพ์ แต่พิมพ์ที่วงการสากลนิยมมี 3 พิมพ์ด้วยกันคือ สมเด็จพิมพ์ 7 ชั้นนิยม สมเด็จพิมพ์ 6 ชั้น และสมเด็จพิมพ์ 3 ชั้น ส่วนในด้านพุทธคุณนั้นเด่นทางด้านโชคลาภ และเมตตามหานิยม
นำลิงค์ไปศึกษา
http://www.krusiam.com/blog/view.asp?Page=3&Blog_ID=B00436&Blog_GID=G00441&Blog_PID=P00821

ปรกโพธิ์



องค์...ปรกโพธิ์

2010-04-04-พระทำน้อย...หายาก..เซียนตู้ขี้เกียจหาเหมาบอกว่า..วัดระฆัง..ไม่ทำพิมพ์นี้เสียเลย..ตัดความยุ่งยาก

พิมพ์ปรกโพธิ์ มีความหมายถึงพระพุทธเเจ้าตรัสรู้ .

ประวัติการสร้าง

พิมพ์ปรกโพธิ์ ข้างละ 7ใบ 8 ใบ นี้ ถือว่ายังพอหาได้และจัดเป็นพิมพ์นิยม สร้างขึ้นเฉพาะตอนฉลองอายุของสมเด็จพุฒาจารย์(โต) สร้างเท่าอายุ คือ

อายุย่าง 60 (พ.ศ. 2390) สร้างฉลองแซยิด 60 องค์เท่านั้นเป็นพิมพ์ ปรกโพธิ์ข้างละ 6 ใบ

,อายุย่าง 70 (พ.ศ. 2400) สร้าง 70 องค์ เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ข้างละ 7 ใบ,

อายุย่าง 80 (พ.ศ.2410) สร้าง 80 องค์เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์ข้างละ 8 ใบ

รวมพระพิมพ์ปรกโพธิ์มี 210 องค์ถือว่าน้อยมาก คนหวงแหนกันมากมีเก็บหมด แทบจะไม่ได้เห็นกันเลย

พิมพ์ปรกโพธิ์ที่ปรากฎนอกจากมีใบโพธิ์ข้างละ 7 ใบ 8 ใบ ยังพบมีข้างละ 5 ใบ,6 ใบ และพิมพ์ปรกโพธิ์ 8 ใบเลื้อย


สำหรับพิมพ์ปรกโพธิ์ข้างละ 5 ใบ 6 ใบ ดังกล่าวฉลองครบรอบตามอายุ สมเด็จ(โต ) ดังกล่าวต่อไปนี้ และสร้างเท่าอายุ เช่นกัน คือ

อายุ 39 ปี จัดสร้าง 39 องค์

อายุ 48 ปี จัดสร้าง 48 องค์

อายุ 56 ปี จัดสร้าง 56 องค์

อายุ 68 ปี จัดสร้าง 68 องค์

อายุ 77 ปี จัดสร้าง 77 องค์

ส่วน พิมพ์ปรกโพธิ์ 8 ใบเลื้อย (พ.ศ. 2412)สร้างตอนอายุครบ 82 ปี จำนวน 82 องค์

ปรกโพธิ์

พระสมเด็จวัดระฆัง..พิมพ์ปรกโพธิ์(ข้างละ..หกใบ)

(ลักษณะใบโพธิ์..สัญฐานค่อนข้างกลม)







พระสมเด็จวัดระฆัง..พิมพ์ปรกโพธิ์(ข้างละ..เจ็ดใบ.)

(ลักษณะใบรี..เล็ก..)

นำลิงค์ไปศึกษาเพิ่มเติม
http://www.9pha.com/?cid=677677

นาดูน


กรุพระนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม










ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้

ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้











ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้



ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้













ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้











ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้





















ไม่สามารถหารูปภาพมาแสดงได้
































































แบบพิมพ์ที่ ๑๒ พระแผงสี่เหลี่ยมขนาดฐานกว้าง ๑๐.๘ ซม. สูง ๑๖.๔ ซม. พระพุทธ

รูปปางสมาธิขนาดใหญ่ ประทับนั่งเรียงแถว ๑๑ แถว เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยม ๑๒๘

องค์






แบบพิมพ์ที่ ๑๓ พระแผงสี่เหลี่ยมขนาดฐานกว้าง ๙.๑ ซม. สูง ๑๔.๗ ซม. พระพุทธรูป
ปางสมาธิ ๘ แถว แต่ละแถวสลับด้วย พระพุทธรูปปางสมาธิ-เจดีย์ –พระพุทธรูป-ต้นไม้
พระพุทธรูป-เจดีย์ เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยม ๙๔ องค์





แบบพิมพ์ที่ ๑๔ พระแผงรูปสี่เหลี่ยมขนาดฐานกว้าง๙.๙ ซม. สูง ๑๕.๕ ซม. พระพุทธ
รูปประทับนั่งสมาธิ ๘ แถวสลับด้วยพระพุทธรูป-เจดีย์-พระพุทธรูป พุ่มดอกไม้-พระพุทธ
รูป-ต้นไม้ พระพุทธรูป-ต้นไม้ เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยม ๓๒ องค์






แบบพิมพ์ที่ ๑๕ พระแผงรูปสี่เหลี่ยมขอบหยักมีพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียงแถวไป

ตามรอยหยักโค้งเว้า แถวละ ๕ องค์ และ ๗ องค์ พระแผงขอบหยัก



แบบพิมพ์ที่ ๑๖ พระแผงรูปสี่เหลี่ยม ๖๗ องค์ ขนาดฐาน ๖.๕ ซม. สูง ๗.๙ ซม. พระ

พุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียง ๗ แถว ๆ ละ ๙ องค์ เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยมขอบหยัก ๖๗

องค์



แบบพิมพ์ที่ ๑๗ พระแผงสี่เหลี่ยม ๔๒ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๗.๕ ซม. สูง ๘.๔ ซม.

พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิแถว ๕ แถว ๆ ละ ๘ องค์ เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยม ๔๒

องค์









แบบพิมพ์ที่ ๑๘ พระแผงสี่เหลี่ยม ขนาดฐานกว้าง ๙ ซม. สูง ๑๑.๕ ซม. พระพุทธรูป

ปางสมาธิ ๖ แถว ๆ ละ ๗ องค์ แต่ละแถวโค้งไปมาไม่ขนานกัน เรียกว่า พระแผง
สี่เหลี่ยมรูปโค้ง









แบบพิมพ์ที่ ๑๙ พระแผงสี่เหลี่ยม ขนาดฐานกว้าง ๙.๑ ซม. สูง ๙.๙ ซม. พระพุทธ

รูปปางสมาธิมีรัศมีวงโค้ง เป็นเรือนแก้ว ๕ แถว แถวที่ ๑ เป็นต้นไม้ ส่วนอีก ๔ แถว มี

พระพุทธรูปรวมกัน ๔๑ องค์ เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยมซุ้มรัศมีเรื่อนแก้ว ๔๑ องค์



แบบพิมพ์ที่ ๒๐ พระแผงสี่เหลี่ยมขนาดฐานกว้าง ๑๐.๗ ซม. สูง ๑๔.๗ ซม. พระ

พุทธรูปประทับนั่งสมาธิในวงรีรูปไข่ จำนวน ๑๒ แถว ๆ ละ ๑๔ องค์ เรียกว่า พระแผงสี่

เหลี่ยมรูปไข่


--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะที่ ๒ แบบฐานเหลี่ยมยอดโค้ง

มี ๑๐ แบบพิมพ์



แบบพิมพ์ที่ ๑ พระพิมพ์ซุ้มโพธิ์บัลลังก์สูง ขนาดฐานกว้าง ๘.๗ ซม. สูง ๑๕ ซม.

พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิใต้ซุ้มโพธิ์ มีประภามลฑล เป็นเส้นโค้งรอบพระองค์เป็นวง

กว้าง เหนือพระอังสา(ไหล่) ด้านพระหัตถ์ซ้ายเป็นรูปสถูป มีบุรุษด้านพระหัตถ์ขวาเกล้าผม

มวยนุ่งผ้าสั้นแค่เข่าปล่อบชายด้านหน้า ยืนพนมมือบุคคลด้านพระหัตถ์ซ้ายเกล้าผมสูง นุ่งผ้า

ยาวคลุมขายืนพนมมือ







แบบพิมพ์ที่ ๒ พระพิมพ์ซุ้มโพธิ์บัลลังก์เตี้ยพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์ฐาน

ดอกบัวมีประภามลฑลเป็นเส้นโค้งรอบพระองค์แผ่รัศมีเป็นวงแคบ มีลวดลายรูปภาพคล้าย

คลึงกับพระพิมพ์ซุ้มโพธิ์บัลลังก์สูงแต่มีขนาดเล็กกว่า







แบบพิมพ์ที่ ๓ พระพิมพ์ซุ้มโพธิ์บัลลังก์สูงพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์ดอกบัว

ภายใต้ต้นโพธิ์แผ่กิ่งก้านที่สวยงาม ลวดลายรูปภาพ คล้ายคลึงกับพิมพ์ที่ ๑ และ ๒ แต่คม

ชัด ละเอียดสวยงามกว่า





แบบพิมพ์ที่ ๔ พระพิมพ์ซุ้มโพธิ์บัลลังก์ฐานดอกบัว ขนาดฐานกว้าง ๗ ซม. สูง ๑๐.๕

ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์ฐานดอกบัวภายใต้ซุ้มโพธิ์โปร่ง มีสถูปทรงสูง

ข้างละ ๑ องค์





แบบพิมพ์ที่ ๕ พระพิมพ์พระโพธิสัตว์สี่กร เป็นพิมพ์รูปยาวรี ขนาดฐานกว้าง ๒.๒ ซม.

สูง ๕.๓ ซม. เป็นรูปพระโพธิสัตว์สี่กร นุ่งผ้ายาวคลุมเท้า ห้อยชายด้านขวา ยืนตริภังค์

หรือพิจารณาตรึกตรอง พบเพียงชิ้นเดียว





แบบพิมพ์ที่ ๖ พระพิมพ์นาคปรกเรือนแกวใบไม้แท่นดอกไม้ มีพระปางนาคปรกขนาดใหญ่

อยู่กลางมีพระปางสมาธิข้างละ ๑ องค์ มีช่อดอกไม้เป็นแท่นรองรับ และมีสถูปใต้ช่อดอกไม้

ข้างละ ๑ องค์





แบบพิมพ์ที่ ๗ พระพิมพ์นาคปรกเรือนแก้วใบไม้แท่นแข้งขาสิงห์ มีพระปางนาคปรกขนาด

ใหญ่อยู่กลางแท่นแข้งสิงห์ มีพระปางสมาธิข้างละ ๑ องค์ มีช่อดอกไม้แท่นรองรับ และมี

สถูปใต้ช่อดอกไม้ ข้างละ ๑ องค์ เช่นเดียวกับแบบพิมพ์ที่ ๖ แต่มีขนาดเล็กกว่า









แบบพิมพ์ที่ ๘ พระพิมพ์นาคปรกซุ้มใบไม้ ปลายโค้งมีฐานตั้ง มีพระปางนครปรกอยู่ใต้

ใบไม้ ๑ แห่ง เรียกกว่า พระพิมพ์นาคปรก











แบบพิมพ์ที่ ๙ พระพิมพ์นาคปรกซุ้มใบไม้หยักสามเหลี่ยมมีฐานตั้ง มีพระนาคปรกองค์ ๑

อยู่ในซุ้มใบไม้ ไม้สามเหลี่ยมทำเป็นหยัก







แบบพิมพ์ที่ ๑๐ พระพิมพ์ปางประทานพรในใบไม้ ขาดฐานกว่าง ๔.๔ ซม. สู. ๘.๒

ซม พระพุธรูปค้างจีวรฉ๊ยงบ่าบนบัลลังก์ ภายในซุ้มไม้แท่นกลมตั้งได้ พระหัตถ์ขวายกขึ้นทำ

ท่าประทานพร


--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะที่๓ แบบหน้าจั่ว

มี ๗ แบบพิมพ์ ดังนี้



แบบพิมพ์ที่ ๑ พระแผงพิมพ์สามเหลี่ยม ๑๕ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๕.๖ ซม. สูง ๙ ซม.

พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียง ๕ แถว แถวบน ๑ องค์ แถวล่าง ๕ องค์ เรียกว่า

พระแผงสามเหลี่ยม ๑๕ องค์









แบบพิมพ์ที่ ๒ พระพิมพ์สามเหลี่ยม ๑๕ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๗ ซม. เช่นเดียวกับพิมพ์

ที่ ๑ แตกต่างที่ฐานกว้างกว่า และสั่นกว่า เรียกว่า พระแผงสามเหลี่ยม ๑๕ องค์









แบบพิมพ์ที่ ๓ พระแผงพิมพ์สามเหลี่ยม ๓๐ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๙.๕ ซม. สูง

๑๑.๕ ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียงแถว ๖ แถว เรียกว่า พระแผงสามเหลี่ยม

๓๐ องค์







แบบพิมพ์ที่ ๔ พระแผงพิมพ์สามเหลี่ยม ๓๙ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๘.๘ ซม. สูง ๑๐

ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสามธิขนาดเล็กเรียงแถว ๖ แถว เรียกว่า พระแผงสามเหลี่ยม









แบบพิมพ์ที่ ๕ พระพิมพ์สามเหลี่ยม ๔๒ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๑๐.๕ ซม. สูง ๑๒.๔

ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียงแถว ๙ แถว เรียกว่า พระแผงสามเหลี่ยม ๔๒ องค์









แบบพิมพ์ที่ ๖ พระแผงพิมพ์สามเหลี่ยม ๖๑ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๑๐.๒ ซม. สูง

๑๑.๒ ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิเรียงกัน ๘ แถว แถวบนสุดมี ๑ องค์ แถวล่าง

สุดมี ๑๓ องค์ เรียกว่า พระแผงสามเหลี่ยม ๖๑ องค์







แบบพิมพ์ที่ ๗ พระแผงสามเหลี่ยมขอบหยัก ๓๗ องค์ ขนาดฐานกว้าง ๑๐ ซม. พระ

พุทธรูปประทับนั่งสามธิเรียงแถว ๗ แถว เรียกว่า พระแผง ๓๗ องค์






--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะที่ ๔ สามเหลี่ยมรูปใบไม้หรือรูปหอย

มี ๓ พิมพ์ ดังนี้



แบบพิมพ์ที่ ๑ พระแผงรูปใบไม้ หรือรูปหอยมีหยักข้างละ ๑ แห่ง ตัดลงเป็นสามเหลี่ยม

ที่ ฐาน ด้านบนสันงอนขึ้นเป็นก้นหอยมีพระพุทธรูปปางสมาธิ ๗ แถว เรียกว่า พระแผงรูป

ใบ ไม้หรือก้นหอย









แบบพิมพ์ที่ ๒ พระแผงรูปเปลวเพลิง ๔๗ องค์ รูปลักษณะเปลวเพลิงทำเป็นหยักข้างซ้าย

มือ ๓ แห่ง ข้างขวามือ ๑ แห่ง มีพระปางสมาธิรวม ๔๗ องค์









แบบพิมพ์ที่ ๓ พระแผงรูปว่าวจุฬา ๖๖ องค์ รูปลักษณะคล้ายว่าวจุฬา ทำเป็นหยักข้างละ

๒ แห่ง ปลายแหลมฐานกว้าง มีพระปางสมาธิรวม ๖๖ องค์






--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะที่ ๕ แบบสี่เหลี่ยมจตุรัส

มี ๑ แบบพิมพ์ คือ

แบบพิมพ์ที่ ๑ พระแผงสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาดฐานกว้าง ๑๐๓ ซม สูง ๑๑๔ ซม มีทั้ง

หมด ๘ แถว ประกอบด้วย พระพุทธรูป-เจดีย์-พระพุทธรูป-พุ่มดอกไม้-พระพุทธรูป-ต้นไม้ พระพุทธรูป-ต้นไม้ แถวล่างสุดมีแจกันปักดอกไม้ทรงหม้อน้ำ ข้างละ ๓ อัน และตรงกลาง

เป็นแท่นมีพุ่มดอกไม้เรียงกัน ๓ พุ่ม เรียกว่า พระแผงสี่เหลี่ยม ๓๒ องค์ มีแจกัน


--------------------------------------------------------------------------------

ลักษณะที่ ๖ แบบลอยตัว

มี ๑๑ แบบพิมพ์ คือ



แบบพิมพ์ที่ ๑ พระพิมพ์ปางนาคปรกเดี่ยวพิมพ์ใหญ่ หรือพิมพ์อกนูน ขนาดฐานกว้าง

๓ ซม. สูง ๗ ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์ทรงสูง มีรัศมีพวยพุ้งขึ้นจาก

เศียรหรือมีประภามลฑลเป็นเส้นโค้ง มีเศียรนาคอยู่เหนือประภามลฑลพระชงฆ์ (แข้ง) ด้าน

พระหัตถ์ขวายาวเรียวลงมาจดอาสน์ พระชงฆ์ ด้านพระหัตถ์ซ้ายซ่อนเข้าไปไว้ด้านใน





แบบพิมพ์ที่ ๒ พระพิมพ์ปางนาคปรกเดี่ยวพิมพ์ใหญ่ ขนาดฐานกว้าง ๓ ซม. สูง ๖

ซม. พระพุทธรูป ประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์สูงมีเส้นประภามลฑลเป็นเส้นวงกลมจดพระ

อังสา (ไหล่) มีเศียรนาคอยู่าประภามลฑล พระพาหา (แขน) ทั้งสอง ทั้งสองข้างวาดโค้ง

เล็กน้อย และหักศอกเข้าตองพระชานุ (เข่า)





แบบพิมพ์ที่ ๓ พระพิมพ์ปางนาคปรกเดี่ยวพิมพ์กลางหรือพิมพ์บาง ขนาดฐานกว้าง ๓

ซม. สูง ๗ ซม. พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิบนบัลลังก์ฐานเตี้ย ไม่มีประภามลฑล เศียร

นาค ๗ เศียร แผ่ออกจากพระเศียร พระชงฆ์ (แข้ง) และพระบาทขวาซ่อนอยู่ใต้พระชงฆ์

(แข้ง) และพระบาทขวาซ่อนอยู่ใต้พระชงฆ์ และพระชานุ (เข่า) เบื้องซ้าย







แบบพิมพ์ที่ ๔ พระพิมพ์ปางนาคปรกเดี่ยวพิมพ์เล็ก รูปลักษณะพระปางนาคปรกประทับ

นั่งบนบัลลังก์ พระหัตถ์ทั้งสองวางไว้พระชานุ (เข่า) ทั้งสองข้าง









แบบพิมพ์ที่ ๕ พระพิมพ์ปางนาคปรกคู่พิมพ์ใหญ่ขนาดฐานกว้าง ๗.๑ ซม. สูง ๕.๒ ซม

.ประกอบด้วยพระนาคปรก ๒ องค์ มีสถูปคั่นกลาง ข้างบนสุดมีพระพุทธรูปขนาดเล็กประ

ทับนั่งยกพระหัตถ์ขึ้นระดับพระอุระ (อก) ทำปางประทานพร มีสถูปข้างละ ๑ องค์







แบบพิมพ์ที่ ๖ พระพิมพ์ปางนาคปรกคู่พิมพ์กลางมีรูปภาพประกอบเช่นเดียวกับพิมพ์ใหญ่













แบบพิมพ์ที่ ๗ พระพิมพ์ปางนาคปรกคู่พิมพ์เล็กมีรูปภาพประกอบเช่นเดียวกับพิมพ์ใหญ่









แบบพิมพ์ที่ ๘ สถูปจำลองดินเผา ขนาดสูง ๑๔.๔ ซม. จำลองสถูปสำริดที่บรรจุพระบรม

สารีริกธาตุ











แบบพิมพ์ที่ ๙ พระพิมพ์ปางสมาธิองค์เดี่ยว รูปลักษณะพระพุทธรูปนั่งสมาธิบนบัลลังก์

ทรงสูงพระเกศสูงจดขอบซุ้ม







แบบพิมพ์ที่ ๑๐ พระพิมพ์ปางลีลา (นางรำ บั๊มพ์หรือดิสโก้) มีอยู่หลายพิมพ์ เช่นปางประ

ทานพรพิมพ์พระโพธิสัตว์อวกิเตศวร บางองค์เอี้ยวพระวรกายไปทางซ้ายก็มี และเอี้ยวไป

ทางขวาก็มี







แบบพิมพ์ที่ ๑๑ พระพิมพ์ปางลีลา หรือพิมพ์นางรำ หรือบั๊มพ์ดิสโก้ หรือพิมพ์บั๊มพ์เป็น

พระปางประทับยืนลักษณะเอี้ยวพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกระดับพระกรรณ (หู) พระหัตถ์

ซ้ายยกขึ้นระดับ พระอุระ (อก) ทำปางประทานพร พระพิมพ์นี้มีหลายแบบ เป็นเอก

ลักษณะปางประทานพรก็มี แบบเอี้ยวพระวรกายไปทางซ้ายก็มี และแบบเอี้ยวพระวรกายไป

ทางขวาก็มี




--------------------------------------------------------------------------------

สรุป

พระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูนมีแบบพิมพ์ในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า

๕๒ แบบพิมพ์ และความสำคัญของพระพิมพ์แต่ละชิ้น ความแตกต่างดังกล่าวย่อมมีความ

อยู่ในตัวเอง อีกทั้งยังบอกถึงคติความเชื่อลัทธิศาสนาที่แฝงอยู่ด้วย ศาสตราจารย์ยอร์ซ เซเด

ส์ (G.COEDES) ได้กล่าวไว้ว่า “พระพิมพ์ในสมัยโบราณไม่ได้แสดงแต่เพียงรูปพระพุทธ

องค์แต่อย่างเดียว แต่ได้แสดงถึงพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งหรือสถานที่แห่งใดแห่งหนี่

งเป็นการเฉพาะ” ซึ่งข้อความดังกล่าวปรากฎให้เห็นในพระพิมพ์ดินเผากรุพระนาดูน
อย่างเด่นชัดอยู่แล้ว


http://203.172.204.162/intranet/1023_mc41/news/nadun02.htm
ขอบตุณ ที่ให้ความรู้

เกศไชโย ลงรัก ปิดทอง



พระสมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยม
ตำหนิเอกลักษณ์
1.ทีเด็ด-พระเกศปลายแหลม ตรงกลางจะโปนออกแผ่วๆ
2.พระกรรณเป็นหูบายศรี พระกรรณซ้ายจะเชิดสูงกว่า
3.พระพักตร์และพระศอ ดูรวมๆคล้ายหัวไม้ขีด
4.ทีเด็ด-พระสภาพเดิมๆติดคมชัด จะเห็นโคนแขน แทงเข้าไปที่หัวไหล่
5.อกพระจะนูน ส่วนล่างถัดลงมาจะเป็นเส้นคู่พลิ้ว
6.ตรงกลางกรอบกระจก ด้านซ้ายมือเราส่วนใหญ่ มักเป็นแอ่งท้องช่างเบาๆ
7.ขอบกระจกด้านล่างขวามือของเราส่วนใหญ่ มักจะเป็นแอ่งท้องช่าง
8.ปลายฐานชั้นล่างสุดทั้งสองข้าง จะเป็นเดือยวิ่งชนเส้นครอบแก้ว
9.เนื้อหาพระละเอียด บางองค์เป็นมันลื่นคล้ายหินสบู่ ถ้าพลิกด้านหลังจะเห็นชัด

อกครุฑ 09



พระพิมพ์สมเด็จบางขุนพรหม09 พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร องค์นี้เป็นพิมพ์ใหญ่ของอกครุฑ เสียดายกดพิมพ์ไม่ลึกเท่าไหร่ แต่พระเนื้อจัดมาก เห็นเม็ดผงเก่าบางขุนพรหมจำนวนมาก มีคราบแป้งโรยพิมพ์ พระเนื้อแห้งสนิทและ มีรอยราน รอยอ้า รอยปูไต่ รอยเหนอะ รอยหนอนด้น ชัดเจนครับ องค์นี้นำไปศึกษาได้เลย เพราะเนื้อเก่าผ่านมากว่า 40 ปีแล้ว ด้านหลังดูง่ายชัดเจน มีตราเจดีย์สีเขียวอมน้ำเงิน พระสมบูรณ์มากครับ

ใหม่ หลังล่องลึก



ศึกษาเปรียบเทียบ

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บางขุนพรหม 09 ใหม่



สมเด็จบางขุนพรหม 09 ที่ได้มาใหม่

หลวงตาพัน



นำลิงค์ไปศึกษาเพิ่มเติม
http://www.anymass.com/shop/product.php?i=kom1977&c=1&p=5
http://www.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=536637&storeNameEng=LorSamrit&storeNo=5576
พระสมเด็จหลวงตาพัน บางขุนพรหมปี 02
หลวงตาท่านเป็นพระอยู่ในวัดบางขุนพรหม ท่านได้รวบรวมพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักมาป่นเป็นผงแล้วนำมากดพิมพ์ใหม่ ตั้งแต่สมัยที่มีการ"ตกเบ็ด"จากคอพระเจดีย์ ก่อนเปิดกรุอย่างเป็นทางการในปี 2500 และท่านนำพระออกแจกในปี 2502 แล้วก็สร้างอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปี 2507 ซึ่งเป็นปีที่ท่านมรณภาพ นอกจากนี้ท่านยังเป็นคนชลบุรี และศิษย์ของ หลวงพ่ออี๋ อีกด้วย
ท่านทำพระไว้หลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์สมเด็จพิมพ์ใหญ่ปกติ พิมพ์กลาง พิมพ์คะแนน และพิมพ์นางกวัก นางพญา พระศีวลี พระครูมูล กระทั่งพิมพ์หลวงปู่ทวดหรือสมเด็จโตก็มี ส่วนมากถ้าไม่แกะพิมพ์เองก็กดพิมพ์มาอีกที พระของท่านหลายๆพิมพ์จึงตื้น ไม่สวยงาม เนื้อขาวอมเหลืองจะเป็นเนื้อที่รู้จักกันทั่วไป แต่เพราะเป็นเนื้อเก่าด้วย จะมีการหดตัวมาก ผิวพระ มีช่องว่างเพราะผงเก่าดูดน้ำ ทำให้เกิดมีร่องรูมาก ผิวพระด้านในซุ้มจะเป็นคราบผิวสีอ่อน เงามุก และไม่เรียบตึง บางองค์ก็ขาวเหลืองสะอาดๆ ถ้าองค์ไหนมีคราบฝ้าน้ำมันสีน้ำตาล เหลืองใส ดูผ่านๆคล้ายสนิม บางทีอมชมพู คลุมทั้งองค์ก็มี อย่างที่เรารู้ๆกันว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ได้สร้างไว้ การที่นำผงแตกหักมาสร้างใหม่เป็นพระของหลวงตาพัน ก็เหมือนกับว่าเรามีพระสมเด็จไว้ใช้บูชาดีๆนี่เองครับ

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการสร้างสมเด็จ วัดระฆัง ปี 36


พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่นเสาร์ห้า ปี 2536

นับแต่โบราณกาลมา วันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ถือกันว่าเป็นวันที่ศักดิ์สิทธิ์ มีพลังอำนาจโดยธรรมชาติ ซึ่งในรอบหลายๆปี จึงจะเวียนมาบรรจบสักครั้ง โบราณจารย์ จึงนิยมใช้เป็นวันมหามงคลฤกษ์ ทำการปลุกเษกวัตถุมงคลให้เข้มขลังด้วยพระพุทธคุณ ทางวัดระฆังโฆสิตาราม จึงได้สร้างสมเด็จเสาร์ห้าขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ตรงกับวันทางจันทรคติของไทยคือ วันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีระกา จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๕๔ คณาจารย์จากทั่วประเทศ นั่งปรกปลุกเศก ณ.พระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม (จากข้อมูลในหนังสือ ของดีวัดระฆัง) หลังจากที่ทางวัด เปิดให้ประชาชนเช่าบูชา ได้หมดลงในเวลาอันรวดเร็ว และเป็นที่ต้องการของผู้เลื่อมใสศรัทธา เป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีผู้นำไปบูชามีประสบการณ์ดีครับ
http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0221

สมเด็จ วัดระฆัง ปี 23 33



ประวัติการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น 108 ปี แห่งการมรณภาพเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม ปี 2523

กำลังจัดทำ

เนื่องในโอกาสแห่งวันคล้ายวันมรณภาพของเจ้าประคุณ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํงสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร บรรจบครบ 108 ปี ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2523

ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ผู้มีความเคารพในเจ้าประคุณสมเด็จเห็นควรว่านอกจากการบำเพ็ญกุศลถวายตามประเพณีดังเช่นที่เคยกระทำกันมาทุกปีแล้ว ควรจัดสร้างถาวรวัตถุอันมีประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อเป็นอนุสรณ์ เป็นเครื่องรำลึกถึงเจ้าประคุณตลอดกาล

การจัดสร้างอนุสรณ์ถาวรวัตถุที่อำนวยประโยชน์ต่อส่วนรวมก็คือ ห้องสมุด อันจะเป็นวิทยาทานทั้งแต่บรรพชิตและประชาชน มีประโยชน์ทั้งในทางพระศาสนาและชาติบ้านเมือง

ประกอบกับขณะนั้นทางวัดเองก็กำลังทำการบูรณะพระอาราม และบูรณะหอพระไตรปิฎกอย่างวิจิตรบรรจง เป็นที่ทราบกันว่าหอพระไตรปิฎกของวัดระฆังนั้นมีความสำคัญทั้งทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมของชาติ ซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมาก

การที่จะหาทุนทรัพย์เป็นจำนวนมาก ทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาได้มีส่วนร่วมในการบูรณปฏิสังขรณ์ด้วย จึงจัดสร้างปูชนียวัตถุมงคลขึ้นเป็นอนุสรณ์ครบรอบ 108 ปี แห่งวันมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จ ให้ประชาชนทั่วไปได้บูชา และนำรายได้มาดำเนินการจนสำเร็จลุล่วงทุกประการ

การดำเนินการจัดสร้างปูชนียวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ 108 ปี กระทำเป็นพิธีมหาพุทธาภิเษก เป็นพิธีใหญ่โตเช่นเดียวกับเมื่อคราวครบรอบ 100 ปี

ปูชนียวัตถุมงคลทุกอย่างจัดสร้างเฉพาะเท่าที่มีผู้สั่งจองเท่านั้น จึงมีจำนวนไม่มากนัก

พิธีมหาพุทธาภิเษก กระทำในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม โดยนิมนต์พระคณาจารย์จากทั่วประเทศมานั่งปรกปลุกเสก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2523

ปูชนียวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ 108 ปี มีทั้งพระบูชาพระประธานจำลอง พระบูชารูปเหมือนสมเด็จ พระเครื่องพระประธานจำลอง พระเครื่องรูปเหมือนสมเด็จ พระเนื้อผง และเหรียญรูปเหมือนสมเด็จที่จัดสร้างโดยโรงกษาปณ์

http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0231
ประวัติการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ 118 ปี สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมํรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม พุทธาภิเษก 22 มิถุนายน 2533
เนื่องในวันที่ 22 มิถุนายน พุทธศักราช 2533 อันเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมํรังสี) ครบรอบ 118 ปี ซึ่งมาถึงอีกครั้งหนึ่ง คณะกรรมการวัดระฆังโฆสิตารามพร้อมด้วยบรรพชิตและฆราวาสมีความประสงค์พ้องต้องกันว่า จะจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นอนุสรณ์ครบรอบวันคล้ายวันมรณภาพของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมํรังสี) ซึ่งเวียนมาบรรจบครบ 118 ปีในครานี้

ทั้งนี้ปัจจัยที่ได้นำไปใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับกิจการงานต่าง ๆ ของมูลนิธิเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) บูรณะศาลาการเปรียญของวัดซึ่งเป็นโบราณสถานของชาติแห่งหนึ่งให้คงสภาพเดิม และจัดสร้างศาลาศาลาเอนกประสงค์เพื่อเป็นถาวรวัตถุรำลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)

วัตถุมงคลรุ่นอนุสรณ์ 118 ปี สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ซึ่งจัดสร้างขึ้นในครานี้มีด้วยกันหลายลักษณะดังเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งพระพุทธรูปบูชา พระรูปเหมือนขนาดบูชา พระรูปเหมือน รูปเหมือนหยดน้ำ พระผงลักษณะต่าง ๆ และเหรียญปั๊ม เป็นต้น

การจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นอนุสรณ์ 118 ปี กระทำเป็นพิธีใหญ่ดั่งเช่นทุกครั้งที่ผ่านมาทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย และประธานนั่งปรกเจริญภาวนาประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ร่วมกับคณาจารย์ทั่วประเทศกว่า 118 รูป ภายในอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2533

http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0221

สมเด็จ วัดระฆัง ปี 15


พระสมเด็จวัดระฆังฯ รุ่นอนุสรณ์ 100 ปี สมเด็จพุฒาจารย์โต

- สร้างโดย : วัดระฆังโฆษิตาราม

- อายุการสร้าง : วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2515

- มวลสารสำคัญ : ผงเก่าสมเด็จวัดระฆังฯ. ผงเก่าสมเด็จวัดบางขุนพรหม, ผงเก่าสมเด็จวัดเกศไชโย, ผงสม

เด็จปิลันทร์ ฯลฯ พระสมเด็จรุ่นอนุสรณ์ 100 ปีนั้น ถือว่าเป็นพระสมเด็จยุคที่ 2 ของวัดระฆังฯ ได้เลยครับ ที่มี

อายุการสร้างเตรียมจัดเข้าทำเนียบพระเก่าได้เลย โดยมีพิธีการสร้างครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การ

สร้างพระของวัด ระฆังฯ ก็ว่าได้เพราะเป็นการจัดงานบำเพ็ญกุศลครบรอบ 100 ปี การมรณะภาพของสมเด็จ

พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อครั้งปี พ.ศ.2415 โดยมีในหลวงและพระราชินีเสด็จพระราชดำเนินมาทรง

เป็นองค์ประธานทั้งสองคราว

ครั้งที่1 เสด็จพระราชดำเนินมาเททองหล่อพระบูชาจำลององค์พระประธานและรูปหล่อรูปเหมือน เจ้าประคุณ

สมเด็จฯ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2514

ครั้งที่2 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกและวางศิลาฤกษ์อาคารโรงเรียน พระ

ปริยัติธรรมเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2515

มีพระคณาจารย์ชื่อดังในยุดนั้นทั่วฟ้าเมืองไทย อาทิเช่น หลวงพ่อเนื่อง หลวงพ่อเต๋ หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อแพ

หลวงปู่เทียม หลวงพ่อเส่ง หลวงพ่อมุม และพระคณาจารย์ชื่อดังอีกกว่าร้อยรูป ร่วมพิธีปลุกเสก การกดพิมพ์

พระนั้นทางวัดกำชับให้จัดทำขึ้นภายในวัดทุกขั้นตอน และเข้าพิธีในคราวเดียวกันทั้งหมด จึงไม่มีพระเสริมที่

ไม่ได้ผ่านพิธี พิมพ์พระเนื้อผงจัดทำขึ้นทั้งหมด 4 พิมพ์ ได้แก่

- พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น (พิมพ์ใหญ่)

- พิมพ์รูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

- พิมพ์สมเด็จพระประธานฐาน 3 ชั้น

- พิมพ์รูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งพบเห็นได้น้อยมาก

สมเด็จบางขุนพรหม ปี 15 17 และ 31



โดยส่วนตัวผมชอบพระสมเด็จฯ (ไม่ระบุวัด) เนื่องจาก หากพิจารณาถึงลายเส้นขององค์พระแล้ว ผมจัดให้อยู่ในการออกแบบในรูปแบบ Minimalism (ออกแบบโดยมีรายละเอียดน้อย ไม่มีเส้นที่วุ่นวาย เนี้ยบ กริบ) โดยองค์พระเองใช้เส้นเพียง 7 เส้นเท่านั้น (ฐาน 3, ขา 1, ตัว 1, แขน 1, เศียร 1) รายละเอียดน้อยแต่ใช้จินตนาการเยอะ ดูสวยและสมดุล หนักแน่นแต่อ่อนโยน ดูแล้วประทับใจ เป็นหนึ่งในพระที่มีองค์ประกอบสวยที่สุดสำหรับผมครับ

พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 2517 จัดสร้างเนื่องในโอกาสครบ 101 ปี แห่งการมรณภาพของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อนนำเงินรายได้สร้างโรงเรียนเทศบาลวัดใหม่อมตรส ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2517 โดยมีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกหลายรูปด้วยกัน อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ และอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นต้น ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ คือ ช่างเกษม มงคลเจริญ พระทุกพิมพ์จะมีฝากรอบเป็นแผ่นทองเหลือง และมีขาหยั่งเป็นตัวกำหนดความหนาขององค์พระ ดังนั้นจึงทำให้ความหนาขององค์พระค่อนข้างเป็นมาตรฐาน ด้านข้างมีทั้งที่แบบที่ปรากฏรอยตัด และเรียบไม่ปรากฏรอยดังกล่าว ส่วนด้านหลังมีทั้งลักษณะเรียบและหลังลายผ้า สำหรับเนื้อหาขององค์พระนั้น ส่วนใหญ่แล้วมีเนื้อละเอียดเป็นมาตรฐานเดียวกัน จะมีแตกต่างกันก็ตรงที่บางองค์มีลักษณะแก่ผง หรือแก่น้ำมันแตกต่างกันไป

จำแนกพิมพ์
ประกอบด้วยพระพิมพ์ต่างๆ รวม 13 พิมพ์คือ
1. พิมพ์ใหญ่
2. พิมพ์เส้นด้าย
3. พิมพ์ทรงเจดีย์
4. พิมพ์เกศบัวตูม
5. พิมพ์สังฆาฏิ
6. พิมพ์ปรกโพธิ์
7. พิมพ์ฐานคู่
8. พิมพ์ฐานแซม
9. พิมพ์อกครุฑ
10. พิมพ์ไสยาสน์
11. พิมพ์คะแนน
12. พิมพ์จันทร์ลอย
13. พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จโต
14. พระบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ ( พิเศษ )
มีด้วยกันหลายแม่พิมพ์ลักษณะพิเศษก็คือ พิมพ์ทรงจะมีความคมชัดมากเป็นพิเศษ ด้านหลังจะประทับตราเจดีย์ใหญ่ (บรรจุกล่องเดียว - นอกกล่องชุดที่บรรจุ 12 องค์ ) แบ่งออกได้
- พิมพ์หนึ่งจุด สังเกตบริเวณใต้ฐานหมอนชั้นล่างสุด ฝั่งซ้ายมือเราจะปรากฏเม็ดไข่ปลาอยู่หนึ่งจุด
- พิมพ์สามจุด สังเกตข้างซุ้มด้านนอกซ้ายมือเรามีเม็ดไข่ปลาสองจุดอีกจุดปรากฏบริเวณเดียวกันกับที่ปรากฏบริเวณเดียวกันกับที่ปรากฏในพิมพ์ หนึ่งจุด
- พิมพ์ห้าจุด สังเกตจากข้างแขนด้านในบริเวณหักศอกด้านละหนึ่งจุดข้างแขนด้านนอกบริเวณ ศอกขวาองค์พระหนึ่งจุดและบริเวณใต้ฐานหมอนชั้นล่างสุด ซ้ายมือเรามีเม็ดไข่ปลาสองจุดรวมทั้งหมดห้าจุดพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด

ประวัติการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 17
ผู้สร้าง
ประกอบ พิธีพุทธาภิเษก เมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม พ . ศ . 2517 มีพระคณาจารย์ร่วมปลูกเสกจำนวนหลายองค์ เช่น
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ,
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี ,
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ,
หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา ,
หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
และอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของการสร้าง
เพื่อนำเงินรายได้สร้างโรงเรียน เทศบาล วัดใหม่อมตรส

ศิลปสกุลช่าง
ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ก็คือช่างเกษม มงคลเจริญ พระทุกพิมพ์จะมีฝากรอบเป็นแผ่นทองเหลือง มีขาหยั่งเป็นตัวกำหนดความหนาขององค์พระฉะนั้นเรื่องของความหนาบางจึงค่อนข้างเป็นเรื่องที่มีมาตรฐาน ด้านข้างมีทั้งปรากฏรอยตัดและเรียบด้านหลังปรากฎสองลักษณะคือหลังเรียบและหลังลายผ้า

อายุการสร้าง
พระบางขุนพรหมปี พ .ศ.2517 ซึ่งมักนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่าพระบางขุนพรหมปี 17 หรือหากจะเรียกอย่างเป็นทางการก็คือ รุ่นอนุสรณ์ในปีที่ 101 แห่งการมรณภาพสมเด็จพระพุฒจารย์ ( โตพรหมรังสี ) ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อ วันที่26ตุลาคมพ.ศ. 2517

http://www.web-pra.com/Shop/camel/Show/156839

วัดระฆัง เสาร์ห้า ปี36



พระสมเด็จวัดระฆัง รุ่นเสาร์ห้า ปี36 เนื้อผง กล่องเดิม()

บางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑกลาง



พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑ ยุคก่อนเคยถูกจัดอันดับพิมพ์ท้าย ๆ คู่กับพิมพ์ฐานคู่ แต่ในปัจจุบันไม่เป็นอย่างนั้นแล้วครับ พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑ จัดเป็นพิมพ์เฉพาะกลุ่มของบางขุนพรหม ซึ่งไม่มีในสมเด็จวัดระฆังฯ สมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑ จะมีเอกลักษณ์พิเศษแตกต่างจากพิมพ์อื่น ๆ หลายประการ แม่พิมพ์พระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑ พิมพ์หลัก ๆ ที่พบเห็นทั่วไปมี 2 แม่พิมพ์ คือ 1. พิมพ์อกครุฑใหญ่ 2. พิมพ์อกครุฑกลาง (แท้ที่จริงแล้วพิมพ์อกครุฑยังมีอีก 2 แม่พิมพ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่พบน้อยมาก คือ พิมพ์อกครุฑเล็ก และพิมพ์อกครุฑว่าวจุฬา) สำหรับพระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์อกครุฑองค์นี้ เนื้อจัดและแกร่ง สภาพสวยสมบูรณ์มากครับ....
http://www.krusiam.com/shop/phromporn/product/detail.asp?ProductID=P0012252
http://pakawadee.igetweb.com/index.php?mo=28&id=88417
http://www.siam-shop.com/screen_tmp.php?mode=product_more_detail&product_id=12521&score=-1&shop_id=1875&mode2=vote
http://market.yellowpages.co.th/photo/0000/0115/115262/1152623.jpg
copy link ศึกษาเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระใช้ ชุดที่ 2 ในการเดินทาง และเหน็บสมเด็จทุกครั้ง



หลวงพ่อเงิน หล่อโบราณ หลวงพ่อเดิม ไม่ทราบที่มา หลวงปู่ทวด ไหล่จุด 97cและ งากำจัด

พระใช้ ชุดที่ 1 ในเมือง



พระชุดนี้ ใช้เป็นประจำสำหรับในเมือง บางขุนพรหม เส้นด้าย กรุเก่า กรุใหม่ วัดระฆังพิมพ์หลวงวิจารย์ ขอบกระจก

บางขุนพรหม เนื้อแห้งเก่า เบา ทาแลคฯใหม่



พิมพ์เส้นด้าย เหมือนลงหนังสือพิมพ์ มีลอยตอกตัดสี่มุมไม่ค่อยชัด ขอบเกิน หลังลายกาบหมาก มีเส้นขอบบังคับพิมพ์ เกศทะลุ สภาพสมบูรณ์ เดิมๆ

บางขุนพรหม พิมพฺพิเศษ หลังตราวัด ลึก



ลงรัก ปิดทอง เนื้อชาด

09 ลงกรุ มาใหม่ กรุเดียวกัน ที่จะนำส่ง



มาใหม่ 23 ตุลาคม 53 ที่จนำส่งอาจารย์ ทังหมด สิบองค์

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระเก็บ





เก็บสะสม

พล.เงิน



ชุดเดียวกันกับที่ส่งให้ใช้

09 ลงกรุ



พระสมเด็จ วัดบางขุนพรม พิมพ์ใหญ่ ปี 09 ลงกรุ

รายนามพระเถรานเถนะ คณาจารย์ ที่ร่วมนั่งปรกบริกรรมปลุกเสก ประกอบด้วย
1. ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) วัดระฆัง กรุงเทพฯ
2. ท่านเจ้าคุณพระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
3. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
4. ท่านพระครูประสาทวิทยา (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
5. ท่านเจ้าคุณวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
6. ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี
7. ท่านอาจารย์อำพล วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
8. ท่านอาจารย์สาธิต วัดวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพฯ
9. ท่านอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี

เนื้อหามวลสาร
1. มวลสารหลัก คือ ชิ้นส่วนพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ชำรุดแตกหัก
2. ดินกรุที่ได้จากการเปิดกรุของทางวัดเมื่อปี พ.ศ.2500
3. ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ต่างๆ ปูนขาว ปูนเปลือกหอย
4. เกสรดอกไม้อันมีนามที่เป็นมงคล ได้แก่ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกมะลิ และเกสรดอกบัวหลวง
5. มีน้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อยและน้ำผึ้ง เป็นตัวประสาน

ศิลปสกุลช่าง

ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ พอแบ่งได้ 4 ผีมือช่างคือ
1. ลุงแฉล้ม บัวเปลี่ยนสี มีด้วยกันหลายพิมพ์ ลักษณะจะคลายพิมพ์มาตรฐานของวัดแต่จะแตกต่างออกไปบ้างเป็นเอกลักษณ์ เช่น องค์ค่อนข้างผอม รวมไปถึงพิมพ์พิเศษบางพิมพ์
2. มานิตย์ ปฐพี (สมัยนั้นมียศเป็นจ่าทหารเรือ )รับผิดชอบแกะแม่พิมพ์บล็อกวัดตามพิมพ์มาตรฐานที่พบในการเปิดกรุ รวมไปถึงพิมพ์พิเศษอีกจำนวนหนึ่ง
3. ช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งได้เข้ามาช่วยเหลือในช่วงระยะสุดท้ายแล้ว แม่พิมพ์ที่แกะจะมีความสวยงามคมชัดลึกมากเป็นพิเศษ
4. บล็อกกรรมการ หมายถึงผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้ามาช่วยในการสร้างพระบางขุนพรหมปี 09 และมีพระกรุบางขุนพรหมอยู่ในครอบครองจึงนำมาถอดแม่พิมพ์ ทำเป็นบล็อกแม่พิมพ์ในการกดพิมพ์พระ ซึ่งพระบล็อกนี้โครงสร้างของพิมพ์ทรงจะคล้ายและใกล้เคียงกับพระกรุบางขุนพรหม มากเพียงแต่ขนาดเล็กกว่า พร้อมทั้งตื้นกว่า ด้วยสาเหตุการถอดพิมพ์มานั้นเอง

องค์ประกอบพระ

การสร้างพระบางขุนพรหม ปี พ.ศ 2509 พระพิมพ์เนื้อผงต่างๆ เหล่านี้มีการจัดสร้างและเตรียมการมาก่อน คือเริ่มสร้างมาตั้งแต่เดือนตุลาคม มาแล้วเสร็จเอาเมื่อประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน พ .ศ. 2508 ทำพิธีการสร้างตำผง กดพิมพ์พระกันภายในพระอุโบสถ โดยหลวงพ่อชม เป็นผู้กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นคณะกรรมการต่างๆ ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ต่างร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำจนสำเร็จในที่สุด

ลักษณะวรรณะพระ

ลักษณะการสร้าง แบ่งเป็น 2 ชนิดประเภทคือ
1. ประเภทให้บูชาเพื่อนำไปบรรจุกรุในพระเจดีย์ ให้ทำบุญองค์ละ 1 บาทด้านหลังจะปั๊มคำว่า บรรจุ จำนวนรวมกันทั้งหมดทุกพิมพ์ 84,000 องค์
2. ประเภทให้บูชาทำบุญและนำติดตัวกลับบ้าน ให้ทำบุญองค์ละ 10 องค์ ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ทำบุญองค์ละ 25 บาท รวมไปถึงทำบุญเป็นกล่องชุด 11 พิมพ์ (ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ) ทำบุญุชุดละ 100 บาท ด้านหลังจะประทับตราเจดีย์ ซึ่งจำนวนการสร้างพระในประเภทนี้มีทั้งหมด 84,000 บาท องค์เช่นกัน เพียงแต่ภายหลังคัดพระที่ชำรุดแตกหักไม่สมบูรณ์ออกจึงเหลือเพียงประมาณ 72,518 องค์ เนื้อหามวลสาร มวลสารหลักของพระขุนพรหม ปี 09 คือ ชิ้นส่วนพระชำรุดแตกหักดินกรุที่ได้จากการเปิดกรุของทางวัดเมื่อปี พ . ศ . 2500 ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ต่างๆรวมไปถึง ปูนขาว ปูนเปลือกหอย นำมันตัวอิ๊วน้ำผึง เกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล และ ฯลฯ

พุทธลักษณะ

บล็อกแม่พิมพ์ พระขุนพรหม ปี 09 มีบล็อกแม่พิมพ์หลายตัว เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ครั้งนั้นชำรุดแตกหักได้ง่าย เช่น ปูนพาสเตอร์ ซีเมนต์ขาว ยางทำฟัน เป็นต้น เมื่อกดพิมพ์พระไปสักระยะแม่พิมพ์จะเริ่มชำรุดเสียหาย ต้องถอดพิมพ์ทำบล็อกใหม่ เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้จำนวนพระตามต้องการในพระทุกพิมพ์ กล่าวกันว่า เฉพาะพระพิมพ์ใหญ่เพียงพิมพ์เดียว มีแม่พิมพ์ถึง 27 แม่พิมพ์ สำหรับพิมพ์เกศทะลุซุ้มนั้น ครั้งแรกๆ ก็เป็นพิมพ์ใหญ่ธรรมดา ต่อมาบังเอิญตรงซุ้มเกิดกะเทาะ จึงแต่งเพิ่มกลายเป็นพิมพ์เกศทะลุซุ้ม เป็นต้น

จำแนกพิมพ์

ประกอบด้วยพระพิมพ์ต่างๆ รวม 12 พิมพ์คือ
1. พิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์พระประธาน
2. พิมพ์เส้นด้าย
3. พิมพ์ทรงเจดีย์
4. พิมพ์เกศบัวตูม
5. พิมพ์สังฆาฏิ
6. พิมพ์ปรกโพธิ์
7. พิมพ์ฐานคู่
8. พิมพ์ฐานแซม
9. พิมพ์อกครุฑ
10. พิมพ์ไสยาสน์
11. พิมพ์คะแนน
12. พิมพ์จันทร์ลอย

ข้อมูลพิเศษ

กรุพระบางขุนพรหม ปี พ .ศ. 2509 พระทั้งหมดจะบรรจุภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดใหม่อมตรส โดยภายในกรุก่อเป็นแบบแท๊งค์น้ำ มีช่องระบายอากาศจำนวน 10 ช่อง เอาทรายเทปูพื้น แล้วจึงนำพระมาบรรจุ เสร็จแล้วก็กลบเป็นชั้นๆ มาถึงด้านบน ใช้แผ่นเงินจำนวน 6 แผ่น จารึกข้อความว่า บรรจุปี 09 จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่า พระกรุนี้จะมีสภาพพระที่สวยและสมบูรณ์ กว่ากรุแรกแน่นอน
http://www.sameamulet.com/product.php?catid=2&catsubid=18&id=2180

พระสมเด็จบางขุนพรหม 09 พิมพฺใหญ่ ลงกรุ